+++ เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ +++
+++ ใครยังไม่ได้ดูไม่ควรอ่านด้วยประการทั้งปวง +++
หมายเหตุ: เป็นการตีความส่วนตัว เนื่องจากไม่อาจทราบแน่ชัดได้ว่าตัวหนังตั้งใจนำเสนอประเด็นเหล่านี้อย่างจงใจหรือไม่
************
HIGHLIGHT
************
.
ร่างทรงมี 2 ประเด็นที่น่าสนใจ
.
1. มันว่าด้วยการที่คนรุ่นใหม่ต้องรับกรรมจากคนรุ่นก่อนหน้า ทั้งที่ไม่ได้ก่อไว้
เหมือนสิ่งที่รุ่นต้นตระกูล “ยะสันเทียะ” ได้ก่อกรรมทำไว้ ส่งผลต่อรุ่นลูกอย่างมิ้ง ที่ต้องมารับกรรมที่เธอไม่ได้เป็นผู้ก่อ
ซึ่งมันเป็นประเด็นสากลที่เข้าใจได้ไม่ยาก เช่น คนรุ่นเก่าทำลายสิ่งแวดล้อม คนรุ่นใหม่ก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมอันย่ำแย่จากน้ำมือคนรุ่นเก่า
.
2. ประเด็นว่าด้วย “ค่านิยมการสืบทอดอำนาจผ่านทางสายเลือด”
การเป็นร่างทรงของย่าบาหยัน ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ถือเป็นอำนาจมหาศาลที่ผู้เป็นร่างทรงจะได้รับทั้งในแง่การเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน รวมถึงพลังอำนาจพิเศษบางประการที่เหนือมนุษย์
แต่อำนาจนี้กลับถูกส่งผ่านทางสายเลือดเท่านั้น โดยไม่ได้พิจารณาคุณสมบัติอื่นๆที่เหมาะสม
เราจะพบว่า มิ้ง คือตัวเลือกในการสืบทอดร่างทรงย่าบาหยัน ทั้งที่คุณสมบัติของเธอดูแล้วไม่เหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นการผิดผีได้เสียกับพี่ชายตัวเอง ที่สำคัญก็คือ เธอไม่ศรัทธาในย่าบาหยันแม้แต่น้อย
.
จากสองประเด็นข้างบนคือสิ่งที่หนังบอกเราว่า
“กรรม” และ “อำนาจ” คือสิ่งที่สามารถถ่ายทอดทางสายเลือดได้
.
ซึ่งนี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง พบเห็นได้ง่าย และไม่มีใครสามารถปฏิเสธการมีอยู่ของมันได้
.
คำถามคือ มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ?
มันเหมาะสมหรือไม่ที่คนที่ไม่ได้กระทำต้องมารับกรรมที่คนอื่นก่อไว้ ?
มันเหมาะสมหรือไม่ที่อำนาจถูกส่งต่อผ่านสายเลือด ?
.
.
.
แม้ร่างทรงจะมีจุดด้อยที่ทำให้หนังไปได้ไม่สุดอย่างที่ควรจะเป็น
แต่แค่นี้หนังก็เป็นความระทึกขวัญที่น่าประทับใจ ในแบบที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ
ซึ่งจุดแข็งมาจากทีมนักแสดงที่มอบการแสดงอันยอดเยี่ยม
รวมถึงการเล่าเรื่องที่ค่อยๆไต่ระดับความระทึกก่อนจะระเบิดความบ้าคลั่งในช่วงสุดท้าย
.
นั่นทำให้ “ร่างทรง” เป็นหนังที่มอบประสบการณ์ที่น่าจดจำได้อย่างดีมากเรื่องหนึ่ง
[CR] <<< วิเคราะห์-วิจารณ์ *** ร่างทรง *** ความเหมือนของ "กรรม" และ "อำนาจ" >>> (เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)
ร่างทรงมี 2 ประเด็นที่น่าสนใจ
.
1. มันว่าด้วยการที่คนรุ่นใหม่ต้องรับกรรมจากคนรุ่นก่อนหน้า ทั้งที่ไม่ได้ก่อไว้
เหมือนสิ่งที่รุ่นต้นตระกูล “ยะสันเทียะ” ได้ก่อกรรมทำไว้ ส่งผลต่อรุ่นลูกอย่างมิ้ง ที่ต้องมารับกรรมที่เธอไม่ได้เป็นผู้ก่อ
ซึ่งมันเป็นประเด็นสากลที่เข้าใจได้ไม่ยาก เช่น คนรุ่นเก่าทำลายสิ่งแวดล้อม คนรุ่นใหม่ก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมอันย่ำแย่จากน้ำมือคนรุ่นเก่า
.
2. ประเด็นว่าด้วย “ค่านิยมการสืบทอดอำนาจผ่านทางสายเลือด”
การเป็นร่างทรงของย่าบาหยัน ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ถือเป็นอำนาจมหาศาลที่ผู้เป็นร่างทรงจะได้รับทั้งในแง่การเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน รวมถึงพลังอำนาจพิเศษบางประการที่เหนือมนุษย์
แต่อำนาจนี้กลับถูกส่งผ่านทางสายเลือดเท่านั้น โดยไม่ได้พิจารณาคุณสมบัติอื่นๆที่เหมาะสม
เราจะพบว่า มิ้ง คือตัวเลือกในการสืบทอดร่างทรงย่าบาหยัน ทั้งที่คุณสมบัติของเธอดูแล้วไม่เหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นการผิดผีได้เสียกับพี่ชายตัวเอง ที่สำคัญก็คือ เธอไม่ศรัทธาในย่าบาหยันแม้แต่น้อย
.
จากสองประเด็นข้างบนคือสิ่งที่หนังบอกเราว่า
.
คำถามคือ มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ?
มันเหมาะสมหรือไม่ที่คนที่ไม่ได้กระทำต้องมารับกรรมที่คนอื่นก่อไว้ ?
มันเหมาะสมหรือไม่ที่อำนาจถูกส่งต่อผ่านสายเลือด ?
.
.
.
แม้ร่างทรงจะมีจุดด้อยที่ทำให้หนังไปได้ไม่สุดอย่างที่ควรจะเป็น
แต่แค่นี้หนังก็เป็นความระทึกขวัญที่น่าประทับใจ ในแบบที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ
ซึ่งจุดแข็งมาจากทีมนักแสดงที่มอบการแสดงอันยอดเยี่ยม
รวมถึงการเล่าเรื่องที่ค่อยๆไต่ระดับความระทึกก่อนจะระเบิดความบ้าคลั่งในช่วงสุดท้าย
.
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้