'บิ๊กตู่' เชิญ 'ไบเดน' เยือนไทยร่วมประชุมเอเปคพ.ย.ปีหน้า
นายกฯเชิญ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เยือนไทยร่วมประชุมเอเปคปีหน้า 'บอริส จอห์นสัน'ชื่นชม เป้าหมายเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2 พ.ย.2564- เมื่อเวลา 21.00 น.ของวันที่ 1 พ.ย. 2564 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร (ตรงกับเวลา 04.00 น.วันที่ 2 พ.ย.ของประเทศไทย) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างงานเลี้ยงรับรองผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือสมัยที่ 26 ( COP26)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย พบปะพูดคุยพร้อมทั้งเชิญประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ระหว่างงานเลี้ยงรับรองผู้นำ COP 26 หลังจากได้พบกันในการประชุมสุดยอดอาเซียนสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมสอบถามถึงสถานการณ์โควิด 19 รวมทั้งเชิญประธานาธิบดีไบเดน เยือนไทยในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation )ในในเดือนพฤศจิกายนปี 2565
นอกจากนี้ นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ได้ทักทายพูดคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ เช่นกัน พร้อมกล่าวชื่นชมในความมุ่งมั่นพยายามของไทยในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2065 พร้อมทั้งขอบคุณนายกรัฐมนตรีของไทยที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
https://www.thaipost.net/hi-light/16791/
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น สก็อตแลนด์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมผู้นำ COP 26 โดยมีผู้นำจากทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรสเปนและประธานการประชุม COP25 จะกล่าวถ้อยแถลงเป็นอันดับแรก และนายกรัฐมนตรีจะกล่าวในช่วงบ่าย
ทั้งนี้ การประชุมนี้ได้รับความสนใจอย่างคับคั่งจากทั้งประเทศที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนจากทั่วโลก ทำให้สถานที่ประชุมมีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์จำนวนมาก และรอสัมภาษณ์ผู้นำในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
รวมทั้งบรรยากาศภายนอกการประชุม มีกลุ่มผู้แสดงความคิดเห็น และเรียกร้องในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องอยู่หน้าที่ประชุมด้วย
ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เวลาระหว่างรอพิธีการเปิดการประชุมฯ พบปะทักทายกับผู้นำจากทั่วโลกอย่างเป็นกันเอง ในประเด็นที่สนใจร่วมกัน รวมทั้ง การที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพเอเปกในปีหน้าด้วย (2565) อาทิ นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี นายนาฟตาลี เบนเน็ตต์ นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และนายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา โดยได้มีการใช้ข้อศอกชนเพื่อทักทายกันแทนการจับมือ ถือเป็นการทักทายรูปแบบใหม่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ก่อนขึ้นไปบนเวทีเพื่อพบกับนายบอริส จอหน์สัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
https://www.naewna.com/politic/612929
นายกฯประกาศเจตนารมณ์เวทีผู้นำ COP26 บรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2065
2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 6:54 น.
นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ COP26 ประกาศเจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง ย้ำต้องหยุดทำร้ายธรรมชาติเพราะไม่มีโลกใบที่สองเหมือนโลกนี้อีกแล้ว
2 พ.ย.2564 -วันที่ 1 พฤศจิกายน เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นที่เมืองกลาสโกว์ ซึ่งตรงกับเวลา 23.00 น. ของไทย) ณ ศูนย์การประชุม The Scottish Event Campus พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร นาย ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสาระสำคัญการกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ดังนี้...👇
นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมยืนยันไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ ทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญของโลกเพื่ออนาคตของลูกหลานของพวกเราทุกคน
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดเรื่องภูมิอากาศของสหประชาชาติที่กรุงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 2015 เพราะไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกเพียงร้อยละ 0.72 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งโลก แต่ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยจึงอยู่ในกลุ่มแรกที่ให้สัตยาบันเป็นภาคีของความตกลงปารีส และไทยได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง แข็งขัน
ในส่วนของไทย ได้กำหนดเป้าหมาย NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Actions) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานและขนส่งอย่างน้อย ร้อยละ 7 ภายในปี ค.ศ. 2020 แต่ไทยสามารถทำได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงกว่า 2 เท่า ก่อนกำหนดเวลาถึง 1 ปี เพราะในปี ค.ศ. 2019 ไทยลดก๊าซเรือนกระจกได้แล้วถึงร้อยละ 17 นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศแรก ๆ ที่จัดส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) และได้ส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำให้กับ UNFCCC รวมถึงได้จัดทำแผนงานต่าง ๆ ในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 และด้วยการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้ กรอบอนุสัญญาฯ ไทยจะยกระดับ NDC ของเราขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2050
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 (ค.ศ. 2022) ว่าไทยได้กำหนดให้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ เป็นวาระหลักในการประชุมฯ
ซึ่งในตอนท้ายของการประชุมนายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันดูแล รักษาโลก เพราะ “เราทุกคนไม่มี ‘แผนสอง’ ในเรื่องการรักษา เยียวยาสภาพภูมิอากาศ เพราะเราจะไม่มี ‘โลกที่สอง’ ซึ่งเป็นบ้านของพวกเราเหมือนโลกนี้อีกแล้ว”
ทั้งนี้ ภายหลังนายกรัฐมนตรีร่วมการประชุมฯ เวลา 19.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นที่เมืองกลาสโกว์ ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน เวลา 02.00 น. ของไทย) ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Kelvingrove นายกรัฐมนตรีได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองสำหรับผู้นำที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพ และมีพระบรมวงศานุวงศ์ของสหราชอาณาจักรเข้าร่วมในโอกาสดังกล่าวด้วย
https://www.thaipost.net/hi-light/16745/
"นายกฯ"ร่วมเวที COP26 คุ้มค่า-เกิดประโยชน์ประเทศ เผยผู้นำโลกพร้อมร่วมมือกับไทยทุกมิติ เดินหน้าในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุน
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมหารือและการกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (UNFCCC: COP26) ว่า ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับผู้นำประเทศต่างๆ ซึ่งหลายท่านรู้จักและคุ้นเคยกันดี ในหลายประเด็น ได้พูดคุยกันถึงเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีที่มีกันมาอย่างยาวนาน เพราะหลายคนก็ไม่ได้พบกันหลายปีพอสมควร แต่หลายคนก็อยู่ด้วยกัน โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียน
"อย่างไรก็ตาม ผู้นำประเทศต่างๆ เขาพูดกับผมอย่างเดียวว่าพร้อมที่จะร่วมมือกับไทย พร้อมที่จะเดินหน้าในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าการลงทุน แม้แต่ในกลุ่มประเทศอาเซียน อย่างเวียดนาม ได้ยืนยันว่าจะต้องดำเนินการทุกอย่างให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการเจรจาทวิภาคีและทวิภาคี หรืออย่างเกาหลีใต้ เยอรมนนี และได้ใช้โอกาสในการพูดคุยเชิญชวนบรรดาผู้นำประเทศต่างๆ มาเข้าร่วมประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือการประชุมเอเปค ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี 2565 ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ในการประชุมอาเซียนที่ผ่านมาก็ได้มีการเรียนเชิญไปบ้างแล้ว
การเดินทางเข้าร่วมประชุม COP26 ในครั้งนี้ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ถือว่าคุ้มค่า และเกิดประโยชน์กับประเทศและประชาชนไทย ทุกคนที่เดินทางมาทำงานกันอย่างเต็มที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ไทยที่อยู่ในต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้มีการเตรียมการข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี ได้มีการบูรณาการงานตามที่รับนโยบายมา ซึ่งนโยบายของนายกรัฐมนตรีให้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งผมได้กำหนดกรอบและนโยบายลงมา โดยเป็นการบูรณาการร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ตามแผนยุทธศาสตร์ที่เราได้ออกมาแล้ว สิ่งเหล่านี้ตนต้องไล่ติดตามทั้งหมด โดยจะต้องทำตามกรอบที่กำหนดให้ได้ทั้งหมดก็เพื่อลูกหลานของเรา และคนทั้งโลก" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
https://www.naewna.com/politic/613001
สุดยอดเลยค่ะ ผู้นำไทย นายกฯลุงตู่ ท่าทีสง่างามไม่แพ้ชาติใด มีความองอาจ ผึ่งผาย จริงใจและผูกมิตรเป็นกันเอง ไม่เคอะเขิน ไม่สร้างภาพภาษากายจนเกินงาม
ประเทศไทยมีชื่อเสียงที่ดีขึ้น เพราะผู้นำอย่างลุงตู่ ที่ซื่อสัตย์ไม่แพ้ชาติอื่น ไม่ต้องอายใครค่ะ ทุกประเทศก็มีมิตรไมตรีกับผู้นำไทยอย่างมากมาย
ประเทศไทย ยุคลุงคือยุคแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
สัมผัสมือกันก็สื่อสารได้ค่ะ นายกไทยสง่างามจริงๆทั้งกายและใจ
💘มาลาริน/นายกฯไทยคนแรกที่พบกับปธ.สหรัฐฯถึง2คน เชิญไบเดนเยือนไทยปีหน้า กระทบไหล่ผู้นำโลกCOP26 ประกาศเจตนารมณ์ไทย
นายกฯเชิญ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เยือนไทยร่วมประชุมเอเปคปีหน้า 'บอริส จอห์นสัน'ชื่นชม เป้าหมายเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2 พ.ย.2564- เมื่อเวลา 21.00 น.ของวันที่ 1 พ.ย. 2564 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร (ตรงกับเวลา 04.00 น.วันที่ 2 พ.ย.ของประเทศไทย) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างงานเลี้ยงรับรองผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือสมัยที่ 26 ( COP26)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย พบปะพูดคุยพร้อมทั้งเชิญประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ระหว่างงานเลี้ยงรับรองผู้นำ COP 26 หลังจากได้พบกันในการประชุมสุดยอดอาเซียนสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมสอบถามถึงสถานการณ์โควิด 19 รวมทั้งเชิญประธานาธิบดีไบเดน เยือนไทยในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation )ในในเดือนพฤศจิกายนปี 2565
นอกจากนี้ นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ได้ทักทายพูดคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ เช่นกัน พร้อมกล่าวชื่นชมในความมุ่งมั่นพยายามของไทยในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2065 พร้อมทั้งขอบคุณนายกรัฐมนตรีของไทยที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
https://www.thaipost.net/hi-light/16791/
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น สก็อตแลนด์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมผู้นำ COP 26 โดยมีผู้นำจากทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรสเปนและประธานการประชุม COP25 จะกล่าวถ้อยแถลงเป็นอันดับแรก และนายกรัฐมนตรีจะกล่าวในช่วงบ่าย
ทั้งนี้ การประชุมนี้ได้รับความสนใจอย่างคับคั่งจากทั้งประเทศที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนจากทั่วโลก ทำให้สถานที่ประชุมมีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์จำนวนมาก และรอสัมภาษณ์ผู้นำในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
รวมทั้งบรรยากาศภายนอกการประชุม มีกลุ่มผู้แสดงความคิดเห็น และเรียกร้องในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องอยู่หน้าที่ประชุมด้วย
ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เวลาระหว่างรอพิธีการเปิดการประชุมฯ พบปะทักทายกับผู้นำจากทั่วโลกอย่างเป็นกันเอง ในประเด็นที่สนใจร่วมกัน รวมทั้ง การที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพเอเปกในปีหน้าด้วย (2565) อาทิ นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี นายนาฟตาลี เบนเน็ตต์ นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และนายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา โดยได้มีการใช้ข้อศอกชนเพื่อทักทายกันแทนการจับมือ ถือเป็นการทักทายรูปแบบใหม่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ก่อนขึ้นไปบนเวทีเพื่อพบกับนายบอริส จอหน์สัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
https://www.naewna.com/politic/612929
นายกฯประกาศเจตนารมณ์เวทีผู้นำ COP26 บรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2065
2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 6:54 น.
นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ COP26 ประกาศเจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง ย้ำต้องหยุดทำร้ายธรรมชาติเพราะไม่มีโลกใบที่สองเหมือนโลกนี้อีกแล้ว
2 พ.ย.2564 -วันที่ 1 พฤศจิกายน เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นที่เมืองกลาสโกว์ ซึ่งตรงกับเวลา 23.00 น. ของไทย) ณ ศูนย์การประชุม The Scottish Event Campus พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร นาย ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสาระสำคัญการกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ดังนี้...👇
นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมยืนยันไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ ทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญของโลกเพื่ออนาคตของลูกหลานของพวกเราทุกคน
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดเรื่องภูมิอากาศของสหประชาชาติที่กรุงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 2015 เพราะไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกเพียงร้อยละ 0.72 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งโลก แต่ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยจึงอยู่ในกลุ่มแรกที่ให้สัตยาบันเป็นภาคีของความตกลงปารีส และไทยได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง แข็งขัน
ในส่วนของไทย ได้กำหนดเป้าหมาย NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Actions) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานและขนส่งอย่างน้อย ร้อยละ 7 ภายในปี ค.ศ. 2020 แต่ไทยสามารถทำได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงกว่า 2 เท่า ก่อนกำหนดเวลาถึง 1 ปี เพราะในปี ค.ศ. 2019 ไทยลดก๊าซเรือนกระจกได้แล้วถึงร้อยละ 17 นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศแรก ๆ ที่จัดส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) และได้ส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำให้กับ UNFCCC รวมถึงได้จัดทำแผนงานต่าง ๆ ในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 และด้วยการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้ กรอบอนุสัญญาฯ ไทยจะยกระดับ NDC ของเราขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2050
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 (ค.ศ. 2022) ว่าไทยได้กำหนดให้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ เป็นวาระหลักในการประชุมฯ
ซึ่งในตอนท้ายของการประชุมนายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันดูแล รักษาโลก เพราะ “เราทุกคนไม่มี ‘แผนสอง’ ในเรื่องการรักษา เยียวยาสภาพภูมิอากาศ เพราะเราจะไม่มี ‘โลกที่สอง’ ซึ่งเป็นบ้านของพวกเราเหมือนโลกนี้อีกแล้ว”
ทั้งนี้ ภายหลังนายกรัฐมนตรีร่วมการประชุมฯ เวลา 19.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นที่เมืองกลาสโกว์ ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน เวลา 02.00 น. ของไทย) ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Kelvingrove นายกรัฐมนตรีได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองสำหรับผู้นำที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพ และมีพระบรมวงศานุวงศ์ของสหราชอาณาจักรเข้าร่วมในโอกาสดังกล่าวด้วย
https://www.thaipost.net/hi-light/16745/
"นายกฯ"ร่วมเวที COP26 คุ้มค่า-เกิดประโยชน์ประเทศ เผยผู้นำโลกพร้อมร่วมมือกับไทยทุกมิติ เดินหน้าในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุน
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมหารือและการกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (UNFCCC: COP26) ว่า ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับผู้นำประเทศต่างๆ ซึ่งหลายท่านรู้จักและคุ้นเคยกันดี ในหลายประเด็น ได้พูดคุยกันถึงเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีที่มีกันมาอย่างยาวนาน เพราะหลายคนก็ไม่ได้พบกันหลายปีพอสมควร แต่หลายคนก็อยู่ด้วยกัน โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียน
"อย่างไรก็ตาม ผู้นำประเทศต่างๆ เขาพูดกับผมอย่างเดียวว่าพร้อมที่จะร่วมมือกับไทย พร้อมที่จะเดินหน้าในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าการลงทุน แม้แต่ในกลุ่มประเทศอาเซียน อย่างเวียดนาม ได้ยืนยันว่าจะต้องดำเนินการทุกอย่างให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการเจรจาทวิภาคีและทวิภาคี หรืออย่างเกาหลีใต้ เยอรมนนี และได้ใช้โอกาสในการพูดคุยเชิญชวนบรรดาผู้นำประเทศต่างๆ มาเข้าร่วมประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือการประชุมเอเปค ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี 2565 ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ในการประชุมอาเซียนที่ผ่านมาก็ได้มีการเรียนเชิญไปบ้างแล้ว
การเดินทางเข้าร่วมประชุม COP26 ในครั้งนี้ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ถือว่าคุ้มค่า และเกิดประโยชน์กับประเทศและประชาชนไทย ทุกคนที่เดินทางมาทำงานกันอย่างเต็มที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ไทยที่อยู่ในต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้มีการเตรียมการข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี ได้มีการบูรณาการงานตามที่รับนโยบายมา ซึ่งนโยบายของนายกรัฐมนตรีให้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งผมได้กำหนดกรอบและนโยบายลงมา โดยเป็นการบูรณาการร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ตามแผนยุทธศาสตร์ที่เราได้ออกมาแล้ว สิ่งเหล่านี้ตนต้องไล่ติดตามทั้งหมด โดยจะต้องทำตามกรอบที่กำหนดให้ได้ทั้งหมดก็เพื่อลูกหลานของเรา และคนทั้งโลก" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
https://www.naewna.com/politic/613001
สุดยอดเลยค่ะ ผู้นำไทย นายกฯลุงตู่ ท่าทีสง่างามไม่แพ้ชาติใด มีความองอาจ ผึ่งผาย จริงใจและผูกมิตรเป็นกันเอง ไม่เคอะเขิน ไม่สร้างภาพภาษากายจนเกินงาม
ประเทศไทยมีชื่อเสียงที่ดีขึ้น เพราะผู้นำอย่างลุงตู่ ที่ซื่อสัตย์ไม่แพ้ชาติอื่น ไม่ต้องอายใครค่ะ ทุกประเทศก็มีมิตรไมตรีกับผู้นำไทยอย่างมากมาย
ประเทศไทย ยุคลุงคือยุคแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
สัมผัสมือกันก็สื่อสารได้ค่ะ นายกไทยสง่างามจริงๆทั้งกายและใจ