ก่อนอื่นขอประชาสัมพันธ์ ว่าตอนนี้มาจากตอนอื่นๆ ที่บันทึกไว้ เกี่ยวกับ บันทึกท่องเที่ยวอังกฤษสก๊อตแลนด์ นำชมพิพิธภัณฑ์หอศิลป์ และอื่นๆ
ถ้าสนใจไปชมตรงนี้ครับ
https://ppantip.com/topic/41018924
เล่าต่อดีกว่า
ติ๊ง ติ๊ง ติ๊งหน่อง
เช้านี้มือถือที่ชาร์จไว้ที่พื้นด้านล่างส่งเสียงสวัสดียามเช้าตรงเวลา แปลกมากที่ผมยังคงได้ยินเสียงของมันแม้ว่าจะอยู่เตียงชั้นบนแล้วก็โชคดีที่เสียงปลุกของมันไม่เหมือนใคร และก็ไม่มีใครถือสาเวลามันปลุก คนในห้องนี้คงจะรู้แหละว่าถ้าสมัครใจมาอยู่ห้องรวมแล้วก็ต้องทนกับเสียงอะไรอะไรจากคนอื่นๆได้ ดูเหมือนแต่ละคนจดจำเสียงปลุกจากนาฬิกาเฉพาะตนไม่ปะปนกัน ถ้ายังไม่ใช่เสียงนาฬิกาของตัวเองก็จะยังคงนอนต่อไป
วันนี้เรามาทัวร์กันที่ วิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบี้ (Westminster Abby) ซึ่งเป็นวิหารที่สำคัญมากที่สุดของลอนดอนและของอังกฤษอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะไม่ทราบมาก่อนแต่เมื่อได้มายืนอยู่ที่นี่ก็จะทราบได้เองจากลักษณะสถาปัตยกรรมและตำแหน่งที่ตั้งซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางของเมือง ใกล้กันกับรัฐสภา หอนาฬิกาบิ๊กเบน และมีสถาปัตยกรรมแบบโกธิคเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีความผูกพันกันทั้งในด้านของประวัติศาสตร์ การใช้งาน รูปแบบอาคาร ซึ่งรวมกันแสดงความเป็นลอนดอน ถ้าไม่มาก็เหมือนมาไม่ถึง
By Σπάρτακος (changes by Rabanus Flavus) - File:Westminster-Abbey.JPG, CC BY-SA 4.0,
https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=76031882
By Diego Delso, CC BY-SA 4.0,
https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=35480025
วิหารเวสต์มินสเตอร์นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมสำคัญอื่นๆในลอนดอนซึ่งมีประวัติเก่าแก่สัมพันธ์กับราชวงศ์ ถูกสร้างและบูรณะใหม่หลายครั้ง มีช่วงที่รุ่งเรืองและตกต่ำ ตามตำนานเล่าว่าวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี คศ. 616 ในบริเวณที่เดิมเป็นเกาะกลางแม่น้ำ โดยมีคนหาปลาได้เห็นนักบุญซีโมน เปโตรมาปรากฏตัวในบริเวณนั้น อย่างไรก็ตามจากหลักฐานที่มีอยู่ยืนยันชัดเจนว่านักบุญคัทสตันกับพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceable) (ชอบชื่อกษัตริย์อังกฤษจัง หลายพระองค์มีห้อยท้ายน่ารักแบบนี้) ได้ก่อสร้างโบสถ์นี้และถูกเรียกว่า West Minster (ในขณะที่ ST.Paul นั้นเป็น East Minster) มีการสถาปนาในปี 1065 ซึ่งใช้งานสำคัญพอดิบพอดี นั่นคืองานพระศพของพระองค์ที่มีขึ้นหลังจากนั้นเพียง 1 สัปดาห์
พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceable)
โดย Unknown author - Scanned from the book The National Portrait Gallery History of the Kings and Queens of England by David Williamson, ISBN 1855142287., สาธารณสมบัติ,
https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=2554901
ต่อมาพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 ก็ได้ปรับปรุงใหม่เป็นรูปแบบแบบโกธิคซึ่งมีลักษณะแบบที่เราเห็นทุกวันนี้และได้เป็นที่ฝังพระศพของพระองค์เช่นกัน หลังจากนั้นตั้งแต่ยุคของพระเจ้าวิลเลี่ยมผู้พิชิต (William the Conqueror) วิหารเวสต์มินสเตอร์ก็ได้ถูกใช้ในราชพิธีต่างๆหลายรัชกาลสืบต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน โดยเฉพาะพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์จะประทับอยู่บนบัลลังก์ที่เก่าแก่และได้รับการสวมมงกุฎในที่แห่งนี้
https://en.wikipedia.org/wiki/Westminster_Abbey#/media/File:Westminster_Abbey_c1711.jpg
ความสำคัญอย่างหนึ่งคือการเป็นสุสานบุคคลสำคัญของอังกฤษมากมาย แน่นอนว่าพระบรมศพของกษัตริย์และพระราชินีอังกฤษหลายพระองค์ได้มาพำนักพักผ่อนอย่างถาวรที่นี่ นอกจากนั้นคนสำคัญอื่นๆจากหลายวงการก็ได้ฝากฝังร่างไว้ที่เช่นกัน ทั้งศิลปิน นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ นักการเมือง และทหารหาญ ทั้งที่รู้จักชื่อและไม่ทราบชื่อ อยากจะให้พวกเราลองนึกชื่อคนดังของอังกฤษบางคนดู บางทีคนที่ระลึกถึงนั้นอาจถูกฝังร่างอยู่ที่นี่ก็เป็นได้
เมื่อได้เข้ามาในตัวอาคารจะได้พบกับสิ่งสำคัญหลายประการ นอกจากอนุสาวรีย์และอนุสรณ์ของบุคคลต่างๆอยู่แล้วยังมีส่วนของห้องบูชาพระแม่มาเรีย (Lady chapel) ที่สร้างโดยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ จุดสนใจคือเพดานรูปพัดที่สวยงามมาก
Lady Chapel
https://i2.wp.com/gem.org.uk/wp-content/uploads/2020/06/Lady-Chapel.png?ssl=1
จุดสำคัญอีกแห่งที่ต้องไปชมคือแท่นบูชาหลัก (High Altar) ตรงจุดที่เป็นศูนย์กลางของพิธีหลายอย่าง ในพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ตรงนี้เป็นที่ตั้งของพระเก้าอี้ราชาภิเษก ซีงกษัตริย์พระองค์ใหม่จะสวมมงกุฎประทับอยู่ ณ จุดนี้
หากคุณเป็นคนที่ชอบศพหรือพระศพ รับรองว่าจะสนุกกับการตามหาร่างของบุคคลสำคัญรวมทั้งกษัตริย์และพระราชินีแห่งอังกฤษซึ่งพบได้หลายพระองค์ เช่นพระเจ้าเอดเวิร์ดผู้สารภาพที่ได้สร้างวิหารนี้ ที่ฝังพระศพของบางพระองค์มีการสร้างอนุสรณ์เอาไว้ เป็นประติมากรรมที่นอนทอดร่างอยู่ด้านบน หลายท่านอยู่ในท่านอนพนมมือเพื่อแสดงการเคารพพระผู้เป็นเจ้าในขณะที่พระองค์จะเสด็จไปสรวงสวรรค์ พระพักตร์ของบางพระองค์ดูเศร้าสร้อย (อาจยังคงอาลัยกับการละทิ้งชีวิตในโลกนี้)
และพระศพที่มีคนต้องการไปเยือนมากที่สุด คือพระราชินีผู้โด่งดังในประวัติศาสตร์ 3 พระองค์ คือพระราชินีแมรี่ที่ 1 พระนางเอลิซาเบธที่ 1 และพระราชินีแมรี่แห่งสก็อตแลนด์ ผู้ เรื่องราวของสตรีสามท่านห้ำหั่นกันสนุกสนานมาก ท่านผู้อ่านหลายคนอาจรู้จักและคุ้นเคยกันมาแล้ว (แต่ถ้ายังไม่รู้จักก็ไม่ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจไป เราจะได้เล่าให้ฟังในช่วงเวลาต่อไปในช่วงของการทัวร์หอคอยแห่งลอนดอน โปรดติดตามชม) และได้พบเรื่องราวของพระองค์ทั้งหลายเมื่อไปเยือนที่อื่นๆอีกหลายแห่ง พระนางเอลิซาเบธที่ 1นั้นทรงทอดร่างอยู่ในชุดเต็มยศพร้อมด้วยพระมหามงกุฎ พระพักตร์ดูค่อนข้างดุดัน (ในสายตาของผมนะ) ส่วนพระราชินีแมรี่แห่งสก็อตแลนด์มีพระพักตร์ที่ดูนิ่งสงบ แม้ว่าทั้งสองนั้นเป็นศัตรูถึงขนาดเช่นฆ่ากันแต่ในที่สุดก็ได้มาอยู่เคียงคู่กันชั่วนิรันดร์ที่นี่ ดูแล้วจงปลงและปล่อยวางซะ
ที่ฝังพระศพ พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Elizabeth_I_of_England_grave_(left)_2013_crop1.jpg#/media/File:Elizabeth_I_of_England_grave_(left)_2013.jpg
ที่ฝังพระศพ พระราชินแมรี่ แห่งสก๊อตแลนด์
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a7/Mary_Stuart_tomb.jpg
นอกจากกษัตริย์และพระราชินีแล้ว บุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่งซึ่งดูแล้วไม่เห็นสมควรที่จะได้ฝังร่าง ณ ที่นี้เลยก็คือโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ผู้ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ (หากต้องการทราบเรื่องราวของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ อ่านได้จากบทแทรกในลิงก์ xxxx)
เห็นไหมว่าวิหารเวสต์มินสเตอร์นั้นสำคัญแค่ไหน ขนาดครอมเวลล์ยังอยากจะมาอยู่ที่นี่ร่วมกับกษัตริย์อังกฤษเลย
แต่ครอมเวลล์ก็อยู่ที่นี่ได้ไม่นาน เพราะหลังจากนั้นสถาบันกษัตริย์ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ พระเจ้าเจมส์จึงรับสั่งให้ขุดศพขึ้นมาประหารโดยนำมาแขวนคอให้ตายครั้งที่ 2 ที่ตะแลงแกงใกล้กับที่นี่
อนุสาวรีย์ ครอมเวล ที่หน้าพระราชวังเวสมินสเตอร์
<img src="
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/91/Oliver_Cromwell_statue%2C_Westminster.jpg">
นอกจากนี้แล้ว หากท่านต้องการเยี่ยมเยือนบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษ ขอให้ท่านลองนึกถึงชื่อบางบุคคล ดูว่ามีใครที่อยากพบบ้าง ไม่แน่นะ ใครคนหนึ่งหรือหลายคนอาจจะถูกฝังอยู่ที่นี่ก็ได้ ตัวอย่างเช่นกวีและนักเขียนคนสำคัญของอังกฤษ จะมีพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า Poet corner ท่านจะได้พบกับประติมากรรมอนุสรณ์ของวิลเลียม เช็คสเปียร์ ชาร์ล ดิกเกน ผู้แต่งเรื่อง Great expectation หลุยส์ แครอล ผู้แต่งเรื่องอลิซในแดนมหัศจรรย์ เจน ออสตินที่แต่งเรื่อง Sense and sensibility กับ Emma และวิลเลี่ยม เบลค ผู้เป็นกวีและจิตรกรคนโปรดของผม นอกจากนี้ หากใครต้องการพบนักวิทยาศาสตร์นามกระเดื่อง อย่างเช่น เซอร์ไอแซค นิวตัน หรือ ชาร์ล ดาร์วิน ท่านก็สามารถมาพบได้ที่นี่เช่นกัน (ลองเช็คเวบ อาจเจออีกหลายคน) และถ้าท่านได้เคยดูภาพยนตร์ Lawrence of Arabia ท่านก็จะพบอนุสรณ์ของเขาที่นี้ด้วย
Poet corner
By Taken from VictorianWeb which gives explicit permission., Public Domain,
https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=5656638
นอกจากบุคคลนามกระเดื่องเหล่านี้แล้ว ยังมีสุสานบุคคลนิรนาม (Grave of unknown warrior) อยู่ด้วย ที่นี่จะมีศพของทหารหาญที่เสียชีวิตในสมรภูมิที่ฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกนำมาฝังร่างไว้ ณ ตรงนี้จะเห็นแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมวางอยู่บนพื้นล้อมรอบด้วยดอกป๊อปปี้สีแดง ด้านล่างมีดินจากสมรภูมิฝรั่งเศสบรรจุอยู่ด้วย
สุสานบุคคลนิรนาม (Grave of unknown warrior)
By Mike from England - Tomb of the Unknown Warrior, CC BY-SA 2.0,
https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=18443245
ก่อนที่จะออกจากวิหารแห่งนี้ไป จะมีห้องหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของพระเก้าอี้หรือราชบัลลังก์ราชาภิเษก (coronation chair) ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่กษัตริย์เอดเวิร์ด 1296 เป็นเก้าอี้ไม้โอ๊คโบราณ ลายประดับบางส่วนแหว่งหายไปและมีรอยขีดข่วนอยู่เต็มไปหมด บัลลังก์นี้มีความสำคัญยิ่งยวดเนื่องจากถูกนำออกมาใช้เป็นที่ประทับในงานพระบรมราชาภิเษกทุกครั้ง และข้างใต้ที่นั่งจะมีช่องสำหรับใส่ศิลาแห่งสโคน (stone of Scone) ซึ่งถือกันว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ โดยขณะนี้ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่สก๊อตแลนด์ ศิลานี้มีประวัติศาสตร์และเรื่องราวมากมายและเคยทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างอังกฤษและสก๊อตแลนด์มาแล้ว เดี๋ยวเอาไว้เล่าให้ฟังตอนเราอยู่ ที่สก๊อตแลนด์กัน
ราชบัลลังก์ราชาภิเษก (coronation chair)
By Kjetil Bjørnsrud - Own work, CC BY 2.5,
https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=780325
ใครที่ได้เห็นบัลลังก์นี้อาจสงสัยว่าทำไมเก้าอี้ไม้นี้ดูกระจอกและเก่าคร่ำคร่า นั่นเป็นเพราะมันเก่าแก่มาก อีกทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยถูกอพยพหนีไปรักษาไว้ที่อื่นและโดนขีดเขียนจากพวกมือบอน มีข้อความหนึ่งเขียนว่า CP Abbott ได้มานอนบนเก้าอี้นี้ในวันที่ 5-6 กรกฎาคม 1800 ด้วย (เวรกรรม) แต่ก็โชคดีที่มันอยู่ด้านหลังเก้าอี้ หลังจากนั้นก็มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่ แม้ว่าซ่อมแล้วสภาพก็ยังดูเก่าซอมซ่อแต่ก็เป็นความเก่าที่ทรงคุณค่าเพราะเราสามารถรู้สึกได้ถึงเส้นทางอันยาวนานของสถาบันกษัตริย์แห่งอังกฤษจากราชบัลลังก์นี้
วิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบี้ (Westminster Abby) วิหารคู่บ้าน สุสานคู่เมือง
ถ้าสนใจไปชมตรงนี้ครับ https://ppantip.com/topic/41018924
เล่าต่อดีกว่า
ติ๊ง ติ๊ง ติ๊งหน่อง
เช้านี้มือถือที่ชาร์จไว้ที่พื้นด้านล่างส่งเสียงสวัสดียามเช้าตรงเวลา แปลกมากที่ผมยังคงได้ยินเสียงของมันแม้ว่าจะอยู่เตียงชั้นบนแล้วก็โชคดีที่เสียงปลุกของมันไม่เหมือนใคร และก็ไม่มีใครถือสาเวลามันปลุก คนในห้องนี้คงจะรู้แหละว่าถ้าสมัครใจมาอยู่ห้องรวมแล้วก็ต้องทนกับเสียงอะไรอะไรจากคนอื่นๆได้ ดูเหมือนแต่ละคนจดจำเสียงปลุกจากนาฬิกาเฉพาะตนไม่ปะปนกัน ถ้ายังไม่ใช่เสียงนาฬิกาของตัวเองก็จะยังคงนอนต่อไป
วันนี้เรามาทัวร์กันที่ วิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบี้ (Westminster Abby) ซึ่งเป็นวิหารที่สำคัญมากที่สุดของลอนดอนและของอังกฤษอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะไม่ทราบมาก่อนแต่เมื่อได้มายืนอยู่ที่นี่ก็จะทราบได้เองจากลักษณะสถาปัตยกรรมและตำแหน่งที่ตั้งซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางของเมือง ใกล้กันกับรัฐสภา หอนาฬิกาบิ๊กเบน และมีสถาปัตยกรรมแบบโกธิคเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีความผูกพันกันทั้งในด้านของประวัติศาสตร์ การใช้งาน รูปแบบอาคาร ซึ่งรวมกันแสดงความเป็นลอนดอน ถ้าไม่มาก็เหมือนมาไม่ถึง
By Σπάρτακος (changes by Rabanus Flavus) - File:Westminster-Abbey.JPG, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=76031882
By Diego Delso, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=35480025
วิหารเวสต์มินสเตอร์นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมสำคัญอื่นๆในลอนดอนซึ่งมีประวัติเก่าแก่สัมพันธ์กับราชวงศ์ ถูกสร้างและบูรณะใหม่หลายครั้ง มีช่วงที่รุ่งเรืองและตกต่ำ ตามตำนานเล่าว่าวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี คศ. 616 ในบริเวณที่เดิมเป็นเกาะกลางแม่น้ำ โดยมีคนหาปลาได้เห็นนักบุญซีโมน เปโตรมาปรากฏตัวในบริเวณนั้น อย่างไรก็ตามจากหลักฐานที่มีอยู่ยืนยันชัดเจนว่านักบุญคัทสตันกับพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceable) (ชอบชื่อกษัตริย์อังกฤษจัง หลายพระองค์มีห้อยท้ายน่ารักแบบนี้) ได้ก่อสร้างโบสถ์นี้และถูกเรียกว่า West Minster (ในขณะที่ ST.Paul นั้นเป็น East Minster) มีการสถาปนาในปี 1065 ซึ่งใช้งานสำคัญพอดิบพอดี นั่นคืองานพระศพของพระองค์ที่มีขึ้นหลังจากนั้นเพียง 1 สัปดาห์
พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceable)
โดย Unknown author - Scanned from the book The National Portrait Gallery History of the Kings and Queens of England by David Williamson, ISBN 1855142287., สาธารณสมบัติ, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=2554901
ต่อมาพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 ก็ได้ปรับปรุงใหม่เป็นรูปแบบแบบโกธิคซึ่งมีลักษณะแบบที่เราเห็นทุกวันนี้และได้เป็นที่ฝังพระศพของพระองค์เช่นกัน หลังจากนั้นตั้งแต่ยุคของพระเจ้าวิลเลี่ยมผู้พิชิต (William the Conqueror) วิหารเวสต์มินสเตอร์ก็ได้ถูกใช้ในราชพิธีต่างๆหลายรัชกาลสืบต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน โดยเฉพาะพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์จะประทับอยู่บนบัลลังก์ที่เก่าแก่และได้รับการสวมมงกุฎในที่แห่งนี้
https://en.wikipedia.org/wiki/Westminster_Abbey#/media/File:Westminster_Abbey_c1711.jpg
ความสำคัญอย่างหนึ่งคือการเป็นสุสานบุคคลสำคัญของอังกฤษมากมาย แน่นอนว่าพระบรมศพของกษัตริย์และพระราชินีอังกฤษหลายพระองค์ได้มาพำนักพักผ่อนอย่างถาวรที่นี่ นอกจากนั้นคนสำคัญอื่นๆจากหลายวงการก็ได้ฝากฝังร่างไว้ที่เช่นกัน ทั้งศิลปิน นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ นักการเมือง และทหารหาญ ทั้งที่รู้จักชื่อและไม่ทราบชื่อ อยากจะให้พวกเราลองนึกชื่อคนดังของอังกฤษบางคนดู บางทีคนที่ระลึกถึงนั้นอาจถูกฝังร่างอยู่ที่นี่ก็เป็นได้
เมื่อได้เข้ามาในตัวอาคารจะได้พบกับสิ่งสำคัญหลายประการ นอกจากอนุสาวรีย์และอนุสรณ์ของบุคคลต่างๆอยู่แล้วยังมีส่วนของห้องบูชาพระแม่มาเรีย (Lady chapel) ที่สร้างโดยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ จุดสนใจคือเพดานรูปพัดที่สวยงามมาก
Lady Chapel
https://i2.wp.com/gem.org.uk/wp-content/uploads/2020/06/Lady-Chapel.png?ssl=1
จุดสำคัญอีกแห่งที่ต้องไปชมคือแท่นบูชาหลัก (High Altar) ตรงจุดที่เป็นศูนย์กลางของพิธีหลายอย่าง ในพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ตรงนี้เป็นที่ตั้งของพระเก้าอี้ราชาภิเษก ซีงกษัตริย์พระองค์ใหม่จะสวมมงกุฎประทับอยู่ ณ จุดนี้
หากคุณเป็นคนที่ชอบศพหรือพระศพ รับรองว่าจะสนุกกับการตามหาร่างของบุคคลสำคัญรวมทั้งกษัตริย์และพระราชินีแห่งอังกฤษซึ่งพบได้หลายพระองค์ เช่นพระเจ้าเอดเวิร์ดผู้สารภาพที่ได้สร้างวิหารนี้ ที่ฝังพระศพของบางพระองค์มีการสร้างอนุสรณ์เอาไว้ เป็นประติมากรรมที่นอนทอดร่างอยู่ด้านบน หลายท่านอยู่ในท่านอนพนมมือเพื่อแสดงการเคารพพระผู้เป็นเจ้าในขณะที่พระองค์จะเสด็จไปสรวงสวรรค์ พระพักตร์ของบางพระองค์ดูเศร้าสร้อย (อาจยังคงอาลัยกับการละทิ้งชีวิตในโลกนี้)
และพระศพที่มีคนต้องการไปเยือนมากที่สุด คือพระราชินีผู้โด่งดังในประวัติศาสตร์ 3 พระองค์ คือพระราชินีแมรี่ที่ 1 พระนางเอลิซาเบธที่ 1 และพระราชินีแมรี่แห่งสก็อตแลนด์ ผู้ เรื่องราวของสตรีสามท่านห้ำหั่นกันสนุกสนานมาก ท่านผู้อ่านหลายคนอาจรู้จักและคุ้นเคยกันมาแล้ว (แต่ถ้ายังไม่รู้จักก็ไม่ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจไป เราจะได้เล่าให้ฟังในช่วงเวลาต่อไปในช่วงของการทัวร์หอคอยแห่งลอนดอน โปรดติดตามชม) และได้พบเรื่องราวของพระองค์ทั้งหลายเมื่อไปเยือนที่อื่นๆอีกหลายแห่ง พระนางเอลิซาเบธที่ 1นั้นทรงทอดร่างอยู่ในชุดเต็มยศพร้อมด้วยพระมหามงกุฎ พระพักตร์ดูค่อนข้างดุดัน (ในสายตาของผมนะ) ส่วนพระราชินีแมรี่แห่งสก็อตแลนด์มีพระพักตร์ที่ดูนิ่งสงบ แม้ว่าทั้งสองนั้นเป็นศัตรูถึงขนาดเช่นฆ่ากันแต่ในที่สุดก็ได้มาอยู่เคียงคู่กันชั่วนิรันดร์ที่นี่ ดูแล้วจงปลงและปล่อยวางซะ
ที่ฝังพระศพ พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Elizabeth_I_of_England_grave_(left)_2013_crop1.jpg#/media/File:Elizabeth_I_of_England_grave_(left)_2013.jpg
ที่ฝังพระศพ พระราชินแมรี่ แห่งสก๊อตแลนด์
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a7/Mary_Stuart_tomb.jpg
นอกจากกษัตริย์และพระราชินีแล้ว บุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่งซึ่งดูแล้วไม่เห็นสมควรที่จะได้ฝังร่าง ณ ที่นี้เลยก็คือโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ผู้ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ (หากต้องการทราบเรื่องราวของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ อ่านได้จากบทแทรกในลิงก์ xxxx)
เห็นไหมว่าวิหารเวสต์มินสเตอร์นั้นสำคัญแค่ไหน ขนาดครอมเวลล์ยังอยากจะมาอยู่ที่นี่ร่วมกับกษัตริย์อังกฤษเลย
แต่ครอมเวลล์ก็อยู่ที่นี่ได้ไม่นาน เพราะหลังจากนั้นสถาบันกษัตริย์ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ พระเจ้าเจมส์จึงรับสั่งให้ขุดศพขึ้นมาประหารโดยนำมาแขวนคอให้ตายครั้งที่ 2 ที่ตะแลงแกงใกล้กับที่นี่
อนุสาวรีย์ ครอมเวล ที่หน้าพระราชวังเวสมินสเตอร์
<img src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/91/Oliver_Cromwell_statue%2C_Westminster.jpg">
นอกจากนี้แล้ว หากท่านต้องการเยี่ยมเยือนบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษ ขอให้ท่านลองนึกถึงชื่อบางบุคคล ดูว่ามีใครที่อยากพบบ้าง ไม่แน่นะ ใครคนหนึ่งหรือหลายคนอาจจะถูกฝังอยู่ที่นี่ก็ได้ ตัวอย่างเช่นกวีและนักเขียนคนสำคัญของอังกฤษ จะมีพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า Poet corner ท่านจะได้พบกับประติมากรรมอนุสรณ์ของวิลเลียม เช็คสเปียร์ ชาร์ล ดิกเกน ผู้แต่งเรื่อง Great expectation หลุยส์ แครอล ผู้แต่งเรื่องอลิซในแดนมหัศจรรย์ เจน ออสตินที่แต่งเรื่อง Sense and sensibility กับ Emma และวิลเลี่ยม เบลค ผู้เป็นกวีและจิตรกรคนโปรดของผม นอกจากนี้ หากใครต้องการพบนักวิทยาศาสตร์นามกระเดื่อง อย่างเช่น เซอร์ไอแซค นิวตัน หรือ ชาร์ล ดาร์วิน ท่านก็สามารถมาพบได้ที่นี่เช่นกัน (ลองเช็คเวบ อาจเจออีกหลายคน) และถ้าท่านได้เคยดูภาพยนตร์ Lawrence of Arabia ท่านก็จะพบอนุสรณ์ของเขาที่นี้ด้วย
Poet corner
By Taken from VictorianWeb which gives explicit permission., Public Domain, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=5656638
นอกจากบุคคลนามกระเดื่องเหล่านี้แล้ว ยังมีสุสานบุคคลนิรนาม (Grave of unknown warrior) อยู่ด้วย ที่นี่จะมีศพของทหารหาญที่เสียชีวิตในสมรภูมิที่ฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกนำมาฝังร่างไว้ ณ ตรงนี้จะเห็นแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมวางอยู่บนพื้นล้อมรอบด้วยดอกป๊อปปี้สีแดง ด้านล่างมีดินจากสมรภูมิฝรั่งเศสบรรจุอยู่ด้วย
สุสานบุคคลนิรนาม (Grave of unknown warrior)
By Mike from England - Tomb of the Unknown Warrior, CC BY-SA 2.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=18443245
ก่อนที่จะออกจากวิหารแห่งนี้ไป จะมีห้องหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของพระเก้าอี้หรือราชบัลลังก์ราชาภิเษก (coronation chair) ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่กษัตริย์เอดเวิร์ด 1296 เป็นเก้าอี้ไม้โอ๊คโบราณ ลายประดับบางส่วนแหว่งหายไปและมีรอยขีดข่วนอยู่เต็มไปหมด บัลลังก์นี้มีความสำคัญยิ่งยวดเนื่องจากถูกนำออกมาใช้เป็นที่ประทับในงานพระบรมราชาภิเษกทุกครั้ง และข้างใต้ที่นั่งจะมีช่องสำหรับใส่ศิลาแห่งสโคน (stone of Scone) ซึ่งถือกันว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ โดยขณะนี้ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่สก๊อตแลนด์ ศิลานี้มีประวัติศาสตร์และเรื่องราวมากมายและเคยทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างอังกฤษและสก๊อตแลนด์มาแล้ว เดี๋ยวเอาไว้เล่าให้ฟังตอนเราอยู่ ที่สก๊อตแลนด์กัน
ราชบัลลังก์ราชาภิเษก (coronation chair)
By Kjetil Bjørnsrud - Own work, CC BY 2.5, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=780325
ใครที่ได้เห็นบัลลังก์นี้อาจสงสัยว่าทำไมเก้าอี้ไม้นี้ดูกระจอกและเก่าคร่ำคร่า นั่นเป็นเพราะมันเก่าแก่มาก อีกทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยถูกอพยพหนีไปรักษาไว้ที่อื่นและโดนขีดเขียนจากพวกมือบอน มีข้อความหนึ่งเขียนว่า CP Abbott ได้มานอนบนเก้าอี้นี้ในวันที่ 5-6 กรกฎาคม 1800 ด้วย (เวรกรรม) แต่ก็โชคดีที่มันอยู่ด้านหลังเก้าอี้ หลังจากนั้นก็มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่ แม้ว่าซ่อมแล้วสภาพก็ยังดูเก่าซอมซ่อแต่ก็เป็นความเก่าที่ทรงคุณค่าเพราะเราสามารถรู้สึกได้ถึงเส้นทางอันยาวนานของสถาบันกษัตริย์แห่งอังกฤษจากราชบัลลังก์นี้