สวัสดีค่ะ เราลาออกจากบริษัทเก่าที่มีออฟฟิศอยู่ในไทย และกำลังจะเริ่มงานใหม่กับบริษัทที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ (ไม่มีออฟฟิศในไทย) ค่ะ
โดยเราจะต้องดำเนินการยื่นภาษีด้วยตัวเอง, ถ้าจะทำประกันสังคมก็ต้องดำเนินการเอง บริษัทจะไม่สามารถดำเนินการให้ได้ค่ะ
ตอนทำงานที่บริษัทเก่า บริษัทจะเป็นคนจัดการทุกเรื่องให้เลย อย่างประกันสังคม (ม.33) ก็จะหักจากเงินเดือนอย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วค่ะ
เลยอยากขอคำแนะนำว่าในกรณีนี้ เราควรส่งเงินประกันสังคมด้วยตัวเอง (ม.39) ต่อไป ดีหรือไม่คะ?
ส่วนตัวเรามีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย (OPD + IPD) อยู่แล้ว โดยรายละเอียดคร่าวๆสำหรับประกันสุขภาพที่เรามี ดังนี้ค่ะ
- วงเงินเหมาจ่าย 10 ล้านบาท / ปี (ครอบคลุมตั้งแต่เจ็บป่วยเล็กน้อย ไปจนถึงโรคร้ายแรง เช่น เนื้องอก/มะเร็ง และการทำเคมีบำบัด/รังสีบำบัด ด้วยค่ะ)
- OPD 50,000 บาท / ปี
- ค่าห้อง 9,000 บาท / คืน ไม่จำกัดจำนวนคืนต่อปี (คิดแค่ค่าห้อง + ค่าอาหารค่ะ, ส่วนค่าบริการพยาบาลและอื่นๆ จะยกไปรวมในงบ 10 ล้านบาทค่ะ)
- ค่าทำฟัน 4,000 บาท / ปี (จ่าย 80% ไม่เกิน 4,000 บาทค่ะ ส่วนอีก 20% เราจ่ายเองค่ะ)
อันนี้เป็นรายละเอียดหลักๆนะคะ เราคิดว่าตัวที่เราทำ มันครอบคลุมทั้งหมดเท่าที่เราจะนึกออกแล้วค่ะ
และทุกครั้งที่เราป่วย หรือแม้แต่ admit ในโรงพยาบาล เราใช้ประกันสุขภาพในการรักษาตัวทุกครั้ง ไม่เคยใช้ประกันสังคมเลยค่ะ
แต่เราก็ยังคงไม่มั่นใจว่าจะหยุดส่งประกันสังคมดีไหม เพราะกลัวว่าจะพลาดสิทธิประโยชน์บางอย่างที่เรายังไม่รู้ หรือนึกไม่ถึงไปน่ะค่ะ
ตอนลาออกจากงานเก่า เราได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงาน 90 วัน เนื่องจากอยู่ภายใต้ ม.33
แต่ถ้าเราส่ง ม.39 ด้วยตัวเอง เราจะไม่ได้รับสิทธิเงินชดเชยกรณีว่างงานค่ะ
อีกอย่างที่เรายังสับสน คือเรื่องเงินบำเหน็จ/บำนาญ กรณีชราภาพค่ะ สำหรับ ม.39 จากที่อ่านคือ ถ้าอายุ 55 ปี จะมีเกณฑ์จ่าย ดังนี้
- จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 1 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับเงินสมทบที่เราได้จ่ายไป
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 1 - 15 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่เราและนายจ้างจ่ายสมทบ
- จ่ายเงินสมทบครบ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญ ในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
- จ่ายเงินสมทบมากกว่า 15 ปี ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ปี
สิ่งที่เราไม่เข้าใจจากเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จ/บำนาญ มีดังนี้ค่ะ
1. ในกรณีที่เราไม่ได้ทำงานในบริษัทที่อยู่ในไทย (จ่ายม.39) เราจะยังได้รับเงินบำเหน็จ (กรณีจ่ายระหว่าง 1 - 15 ปี) อยู่ไหมคะ?
2. จากที่หาข้อมูลมา เงินบำนาญสำหรับ ม.39 จะคิดจากฐานเงินเดือนแค่ 4,800 บาทใช่หรือไม่คะ?
ถ้าเป็นเช่นนั้น แสดงว่า กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 15 ปี เงินบำนาญจะคิดจาก 20% ของ 4,800 บาท (960 บาท/เดือน) ใช่หรือไม่คะ?
3. เราจ่ายม.33 มาทั้งหมด 44 เดือน (3 ปี กับเศษอีก 8 เดือน) ถ้าเราจะออกจากประกันสังคม คือไม่ต่อ ม.39 แล้ว
เราจะทำได้แค่ขอเงินบำเหน็จคืน และจะได้เท่ากับจำนวนเงินที่ทั้งเราและนายจ้างจ่ายสมทบตอน ม.33 ถูกต้องไหมคะ?
4. ถ้าเราตัดสินใจจะส่งประกันสังคม ม.39 ต่อ จนรวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มส่ง ม.33 ไปจนถึง ม.39 เดือนสุดท้าย รวมกัน (สมมติ) 14 ปี
เราจะสามารถขอเงินบำเหน็จคืน เท่ากับจำนวนเงินทั้งหมดที่เรา+นายจ้างสมทบใน ม.33, และเงินที่เราจ่ายเองของ ม.39 ด้วยหรือไม่คะ?
จากที่กล่าวไปข้างต้น อยากรบกวนขอคำแนะนำจากทุกท่านที่มีข้อมูล หรือมีประสบการณ์ ว่าเราควรจะตัดสินใจอย่างไรดีค่ะ
ขอบพระคุณมากนะคะ
มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ควรส่งประกันสังคม (จาก ม.33 เป็น ม.39) ต่อดีไหมคะ?
โดยเราจะต้องดำเนินการยื่นภาษีด้วยตัวเอง, ถ้าจะทำประกันสังคมก็ต้องดำเนินการเอง บริษัทจะไม่สามารถดำเนินการให้ได้ค่ะ
ตอนทำงานที่บริษัทเก่า บริษัทจะเป็นคนจัดการทุกเรื่องให้เลย อย่างประกันสังคม (ม.33) ก็จะหักจากเงินเดือนอย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วค่ะ
เลยอยากขอคำแนะนำว่าในกรณีนี้ เราควรส่งเงินประกันสังคมด้วยตัวเอง (ม.39) ต่อไป ดีหรือไม่คะ?
ส่วนตัวเรามีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย (OPD + IPD) อยู่แล้ว โดยรายละเอียดคร่าวๆสำหรับประกันสุขภาพที่เรามี ดังนี้ค่ะ
- วงเงินเหมาจ่าย 10 ล้านบาท / ปี (ครอบคลุมตั้งแต่เจ็บป่วยเล็กน้อย ไปจนถึงโรคร้ายแรง เช่น เนื้องอก/มะเร็ง และการทำเคมีบำบัด/รังสีบำบัด ด้วยค่ะ)
- OPD 50,000 บาท / ปี
- ค่าห้อง 9,000 บาท / คืน ไม่จำกัดจำนวนคืนต่อปี (คิดแค่ค่าห้อง + ค่าอาหารค่ะ, ส่วนค่าบริการพยาบาลและอื่นๆ จะยกไปรวมในงบ 10 ล้านบาทค่ะ)
- ค่าทำฟัน 4,000 บาท / ปี (จ่าย 80% ไม่เกิน 4,000 บาทค่ะ ส่วนอีก 20% เราจ่ายเองค่ะ)
อันนี้เป็นรายละเอียดหลักๆนะคะ เราคิดว่าตัวที่เราทำ มันครอบคลุมทั้งหมดเท่าที่เราจะนึกออกแล้วค่ะ
และทุกครั้งที่เราป่วย หรือแม้แต่ admit ในโรงพยาบาล เราใช้ประกันสุขภาพในการรักษาตัวทุกครั้ง ไม่เคยใช้ประกันสังคมเลยค่ะ
แต่เราก็ยังคงไม่มั่นใจว่าจะหยุดส่งประกันสังคมดีไหม เพราะกลัวว่าจะพลาดสิทธิประโยชน์บางอย่างที่เรายังไม่รู้ หรือนึกไม่ถึงไปน่ะค่ะ
ตอนลาออกจากงานเก่า เราได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงาน 90 วัน เนื่องจากอยู่ภายใต้ ม.33
แต่ถ้าเราส่ง ม.39 ด้วยตัวเอง เราจะไม่ได้รับสิทธิเงินชดเชยกรณีว่างงานค่ะ
อีกอย่างที่เรายังสับสน คือเรื่องเงินบำเหน็จ/บำนาญ กรณีชราภาพค่ะ สำหรับ ม.39 จากที่อ่านคือ ถ้าอายุ 55 ปี จะมีเกณฑ์จ่าย ดังนี้
- จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 1 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับเงินสมทบที่เราได้จ่ายไป
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 1 - 15 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่เราและนายจ้างจ่ายสมทบ
- จ่ายเงินสมทบครบ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญ ในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
- จ่ายเงินสมทบมากกว่า 15 ปี ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ปี
สิ่งที่เราไม่เข้าใจจากเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จ/บำนาญ มีดังนี้ค่ะ
1. ในกรณีที่เราไม่ได้ทำงานในบริษัทที่อยู่ในไทย (จ่ายม.39) เราจะยังได้รับเงินบำเหน็จ (กรณีจ่ายระหว่าง 1 - 15 ปี) อยู่ไหมคะ?
2. จากที่หาข้อมูลมา เงินบำนาญสำหรับ ม.39 จะคิดจากฐานเงินเดือนแค่ 4,800 บาทใช่หรือไม่คะ?
ถ้าเป็นเช่นนั้น แสดงว่า กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 15 ปี เงินบำนาญจะคิดจาก 20% ของ 4,800 บาท (960 บาท/เดือน) ใช่หรือไม่คะ?
3. เราจ่ายม.33 มาทั้งหมด 44 เดือน (3 ปี กับเศษอีก 8 เดือน) ถ้าเราจะออกจากประกันสังคม คือไม่ต่อ ม.39 แล้ว
เราจะทำได้แค่ขอเงินบำเหน็จคืน และจะได้เท่ากับจำนวนเงินที่ทั้งเราและนายจ้างจ่ายสมทบตอน ม.33 ถูกต้องไหมคะ?
4. ถ้าเราตัดสินใจจะส่งประกันสังคม ม.39 ต่อ จนรวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มส่ง ม.33 ไปจนถึง ม.39 เดือนสุดท้าย รวมกัน (สมมติ) 14 ปี
เราจะสามารถขอเงินบำเหน็จคืน เท่ากับจำนวนเงินทั้งหมดที่เรา+นายจ้างสมทบใน ม.33, และเงินที่เราจ่ายเองของ ม.39 ด้วยหรือไม่คะ?
จากที่กล่าวไปข้างต้น อยากรบกวนขอคำแนะนำจากทุกท่านที่มีข้อมูล หรือมีประสบการณ์ ว่าเราควรจะตัดสินใจอย่างไรดีค่ะ
ขอบพระคุณมากนะคะ