“โรคซึมเศร้า” เมื่อเข้าใจก็รักษาได้



“โรคซึมเศร้า” เมื่อเข้าใจก็รักษาได้



มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีภาวะซึมเศร้า บางคนเป็นโดยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่ได้รับการรักษา ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ หรือในเด็กเองก็เกิดขึ้นได้การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นจะเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก เอาแต่ท้อแท้ สิ้นหวัง จริงๆ แล้วมันเป็นอาการของโรค หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคนี้ก็จะทุเลาหรือหายเป็นปกติได้



เช็คลิสต์ “โรคซึมเศร้า” มีองค์ประกอบ 5 อย่างดังนี้
• มีอาการเบื่อหน่ายท้อแท้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่เคยทำแล้วรู้สึกชอบ แต่กลับเกิดความเบื่อหน่าย
ไม่อยากทำและเป็นอยู่อย่างนั้นแทบจะทุกวัน เบื่ออาหาร งานอดิเรกที่เคยชอบก็ไม่ชอบ
• นอนไม่หลับกระสับกระส่าย
• รู้สึกว่าตัวเองเหมือนไม่มีคุณค่า
• รู้สึกอยากทำร้ายตัวเองไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
• รู้สึกว่าตัวเองอยากฆ่าตัวตาย

หากมีอาการเหล่านี้นานกว่า 2 สัปดาห์ก็บ่งชี้ว่ามีอาการของ “โรคซึมเศร้า” เข้าให้แล้วสามารถตรวจทางด้านจิตเวชได้โดยใช้ “การทดสอบทางจิตวิทยา” หรือ Psychological Test ซึ่งเป็นแบบทดสอบมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยประกอบด้วยการทดสอบทางจิตเวช กับการทดสอบบุคลิกภาพครอบคลุมถึงการตรวจทางด้านจิตใจ ความคิด โดยอาศัยการซักประวัติผู้ป่วยเป็นหลักและทำการตรวจร่างกายหรือการตรวจ LAB เลือดเพื่อเอามาตัดโรคบางชนิดที่เป็นเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่น การขาดวิตามินบี12 หรือมีไทรอยด์ผิดปกติ ขณะที่บางรายเป็นโรคมะเร็ง รวมทั้งโรคอื่นที่สร้างความเจ็บปวดทำให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้าตามมา



โดยแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าที่เป็นมาตรฐาน ที่ใช้ในปัจจุบันประกอบด้วย 
1.ทำจิตบำบัด  โดยให้ผู้ป่วยได้พบ “นักจิตบำบัด” ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 20-30 ครั้ง เพื่อแกะปมที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ ที่เกิดจากการทำงานของสมองลดลงในส่วนอารมณ์ที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
2. รักษาด้วยยา ซึ่งให้แล้วอาจเห็นผลรวดเร็วแต่มีข้อเสีย คือบางรายกินยาแล้วอาจมีผลข้างเคียง เช่น มีอาการง่วง ใจสั่น ปากแห้ง คอแห้ง
3. ช๊อตไฟฟ้า หรือ ECT เป็นการใช้ไฟช๊อตเข้าไปที่สมอง เปรียบเทียบได้กับลักษณะของการปิด-เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการ “รีสตาร์ท”
4. การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ TMS หลักการคือใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์ประสาทที่บริเวณเปลือกของสมองตรงตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์ๆ ละ 5 วันจึงจะเห็นผล



การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถใช้รักษาอาการโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการทำงานของเครื่อง TMS คือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นสมองบริเวณที่มีปัญหา เพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมอง ช่วยลดอาการซึมเศร้าให้กลับมาปกติดีขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพ้ยา หรือดื้อยาใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง/ครั้ง โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร แต่ก็มีข้อควรระวังในผู้ป่วยบางราย เช่น
• ผู้ที่มีอาการชักมาก่อน
• ผู้ที่มีโลหะฝังอยู่ในสมอง
• ผู้ที่ฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กแล้วส่วนใหญ่จะดีขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งวิธีป้องกันต้องอาศัยหลักการปฏิบัติตัว 3 อย่างประกอบกันคือ“Bio-Psycho-Social”โดย Bioมีความหมายครอบคลุมเรื่อง “อาหารและการนอน” ซึ่งไม่ควรอดทั้ง 2 อย่าง และต้อง “ออกกำลังกาย” เป็นกิจวัตรประจำวันด้วยส่วน “Psycho-Social”หมายความถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีส่วนต่อการปรับเปลี่ยน ที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องเข้ารับการทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีกส่วนการทานยาซึมเศร้าส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ทานคู่ไปด้วยโดยไม่แนะนำให้หยุดยา และควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชควบคู่กันไป ถ้าแพทย์ประเมินว่าดีขึ้นแล้วก็อาจลดยาลงได้ หรือเมื่อได้ทำ TMS แล้วจะลดยาได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา



เทคโนโลยี TMS จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีความปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียงในการรักษา แต่จำเป็นต้องได้รับการประเมินและวางแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/803
พญ.อริยา ทิมา
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรกรรมประสาทวิทยา
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่