ทำไมเจ้าหน้าที่พยาบาล โรงพยาบาลของรัฐตามต่างจังหวัดถึงพูดจาดีๆ กับคนไข้และญาติคนไข้ไม่ได้

น้าชายของดิฉันประสบอุบัติเหตุรถชน ไปเข้าห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่พยาบาลและคุณหมอประจำห้องฉุกเฉินพูดจาไม่สุภาพ
เหมือนคุณแม่ของดิฉันเป็นคนต่างดาว ตะคอกใส่เสียงดัง ไม่ให้เกียรติท่านเลย คิดว่าหลายคนคงเจอมาบ้าง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 104
จขกท อยู่ จว อะไร ครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมญาติคนไข้ตามโรงพยาบาลรัฐต่างจังหวัด มักจะพากันเฮโลกันไปเยี่ยมคนป่วยนึกว่ามีงานบุญ แล้วก็ชอบไปก้าวก่ายการทำงานของเจ้าหน้าที่ ( ถ้านึกภาพไม่ออก ก็ดูในคลิปต่าง ๆ ที่เคยเป็นข่าวครับ ) เข้าใจแหละว่าเป็นห่วงคนไข้หรือญาติตัวเอง แทนที่จะให้เจ้าหน้าที่ทำงานสะดวกและญาติตัวเองได้พักผ่อน ไปก็คุยกันรบกวนคนคนไข้เตียงอื่นอีก * พูดในฐานะคนที่เคยใช้โรงพยาบาลรัฐทั้งในฐานะผู้ป่วยและคนเฝ้าไข้ ทุกวันนี้เน้นใช้โรงพยาบาลเอกชน เบื่อญาติคนไข้โรงพยาบาลรัฐ
ความคิดเห็นที่ 2
มองอีกแง่นึง ห้องฉุกเฉิน มันต้องด่วนครับ
แข่งกับเวลา ช้านิดเดียวคนไข้ตายได้เลย
สภาพการทำงานบังคับให้ต้องพูด ห้วนๆ ดังๆ กระชับครับ ให้เข้าใจง่าย
บางคนแก่หูตึง ก็ต้องดังเพิ่มอีก

บางทีเข้าเวร48-72 ชม. ข้ามวันข้ามคืน
ถ้าต้องพุดเนิบๆ ช้าๆ แบบในหนังมันจะทันไหม
ตรวจช้า คนไขคนอื่นก้โวยอีก หมอไปไหน ทำอะไรอยู่
หมอไม่ได้ตั้งใจจะพูดตะคอกหรอกครับ แต่สภาพการทำงานบังคับให้เป็นแบบนั้น

ลองเปิดใจดูครับ
ความคิดเห็นที่ 14
ที่มา
1. ความเยอะ ของญาติคนไข้ รู้ยิ่งกว่าหมอ อยากได้ไม่สิ้นสุด โวยวาย จนพยาบาลต้องใช้เสียงขู่ ถึงจะหยุด บางครั้งมันทำให้พยาบาลรู้สึกว่า ถ้าทำหน้าดุ เสียงดังใส่ก่อน ก็จะลดความเยอะของญาติ การโวยวายของญาติได้
2. ความเหนื่อยจากงาน ความเครียดจากงาน .... ถ้าคุณไปทำงานแบบนั้นบ้าง เจอคนไข้วิกฤติเป็นตายเท่ากันแล้วคุณต้องคิดตลอดเวลาว่าจะช่วยเค้าอย่างไร (+ญาติเรื่องมาก ตามข้อ 1) ก็จะรู้ว่า มันเครียดแค่ไหน บางทีมันก็แสดงออกมาเป็นหน้าที่เครียด น้ำเสียงที่เครียดได้

... ญาตินี่แหล่ะตัวดี ทำให้พยาบาลหงุดหงิด เพราะคิดว่า เคสของตัวเองสำคัญสุด ไม่ฟังอะไร อยากให้หมอดูของตัวเองก่อน ไม่รู้ว่าหมอเค้ารักษาเคสอะไรที่สำคัญมากน้อยแค่ไหนอยู่ก่อนหน้านี้  ...
ความคิดเห็นที่ 10
เคยเห็น แต่ไม่เคยเจอกับตัวค่ะ เคยไปเยี่ยมไข้แล้วเห็นพยาบาลพูดตะคอกกับญาติคนไข้ แรกๆก็ไม่ชอบใจค่ะ แต่พอโตขึ้นมา มุมมองชีวิตเปลี่ยนไปมาก มองเห็นจุดที่เค้าอยู่ก็พอเข้าใจว่าอะไรหล่อหลอมให้เป็นเช่นนี้ สุขภาพจิตเค้าต้องได้รับการดูแล แต่ก็ไม่เคยได้รับ ที่เค้าสัมผัสมันมีหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่พูดจาไม่รู้เรื่อง(พอจะนึกออกมั้ยคะ บางทีภาษาราชการมันสื่อสารลำบาก) คนไข้วิกฤติ คนไข้ที่ดื้ออวดดี(เหมือนญาติพี่น้องเราที่ดื้อเวลาป่วยนั่นแหละ) หมอที่รีบมาเร่งที่พยาบาล(หมอก็รีบเพราะทำงานกับชีวิตคน บุคลากรก็ไม่เพียงพอ) คนที่จอแจวุ่นวาย สภาพนี้ที่เจอทุกวัน วันละหลายๆรอบ สภาพจิตใจมันไม่สามารถแฮปปี้ได้ตลอดจริงๆหรอกค่ะ เคยเจอชาวบ้านแบบที่มึนๆ พูดอะไรก็ไม่รู้เรื่อง พยาบาลพูดดีๆเค้าก็ไม่เข้าใจ จนต้องตะคอก ไปๆมาๆกล่ยเป็นว่าตัดปัญหาด้วยการตะคอกซะทีเดียวให้จบๆ พยายามมองผ่านๆไปเถอะค่ะ สภาพมันยากมากๆที่จะให้แฮปปี้ ถามว่าทำไมเอกชนถึงดีกว่า ก็ตอบได้ว่า เพราะเงินเป็นหลักค่ะ อีกทั้งสภาพคนที่มาติดต่อโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ก็คนละแบบ ใช้ภาษากันคนละอย่าง ผลเลยแตกต่างกันค่ะ
ความคิดเห็นที่ 7
กรุงเทพผมก็เจอนะ ไม่ใช่แค่ต่างจังหวัด
แต่ส่วนใหญ่ผมมองว่าเค้ามักจะเสียงดังและห้วนเวลาคุยกับคนแก่ เพราะคนแก่มักไม่ค่อยได้ยินมากกว่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่