วัฒนธรรมการตั้ง ชื่อเล่น ของไทยรับมาจากไหน ตอนไหนครับ

รุ่นพ่อแม่ พอมีบ้าง แต่อาจจะเป็น ชื่อย่อจากชื่อจริง เช่น สมหญิง - หญิง ทศพล-พล

แต่เด้กรุ่นหลังๆ เรารับวัฒนธรรมนี้มาจากไหนครับ เพราะเพื่อนต่างชาติก็ไม่ค่อยเห็นใครมีชื่อเล่น
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
สมัยอยุธยา ชาวบ้านชื่อสั้นๆ เรียกง่ายอยู่แล้ว ไม่น่ามีชื่อเล่น แต่ พระนามของเชื้อพระวงศ์ เรียกยาก
ทำให้ชาวบ้านใช้ชื่อเรียกสะดวกปากเป็น เช่น ขุนหลวงหาวัด ขุนหลวงขี้เรื้อน ฯ
           ในขณะที่ในวังเองก็มีพระนามลำลอง ที่ขุนนางใช้เรียกพระนาม เช่น พระเจ้าท้ายสระ ก็เรียกตามคำขุนนาง
ในยุคนั้นที่หมายเอาสถานที่ประทับของพระองค์ คือพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งอยู่ท้ายสระน้ำทางทิศเหนือ หรือ
พระเจ้าเอกทัศน์ เรียกว่าพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์
             

พระองค์ดำ พระองค์ขาว นั้น - วิพากษ์ประวัติศาสตร์ บันทึกว่า
            ......พระนามที่ไม่พบในหลักฐานไทย
                  แต่ปรากฏอยู่ในหลักฐานของชาติตะวันตกหลายชิ้น
                  ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า "Black King" และ "White King" ไม่น่าจะเป็นพระนามเดิมแต่น่าจะเป็นพระนาม ตอนเมื่อ
ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วที่ราษฎรสมมติขึ้นเรียกขานกันอย่างปากตลาดหรือเป็น "ชื่อเล่น" ทำนองเดียวกับ
กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาตอนปลายที่นิยมเรียกกันอย่างปากตลาดว่า พระเจ้าเสือ ขุนหลวงทรงปลา ขุนหลวงขี้เรื้อน เป็นต้น
                  ทั้งนี้ ปรากฏว่าในสังคมไทยสมัยโบราณตั้งแต่สมัยอยุทธยา พบว่าคนทั่วไปจะไม่นิยมออกพระนามจริงของพระมหากษัตริย์
เพราะถือเป้นเรื่องไม่บังควร จึงปรากฏว่าได้ยักเยื้องไปสมมติเรียกพระนามอื่นๆ แทน

https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1063189790411157/

                 ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ปรากฏการเรียกพระนามตามลำดับ เมื่อครั้งหลังจากสมเด็จพระนครินทราธิราชสวรรคต
(ปี ๑๙๖๗) พระโอรสสองพระองค์ตามลำดับ ๑ และ ๒ - เจ้าอ้ายกับเจ้ายี่ ชิงราชสมบัติกระทำยุทธหัตถีกันแล้วสิ้นพระชนม์
ทั้งคู่ ราชสมบัติจึงตกมาถึงเจ้าสาม พระอนุชาลำดับที่ ๓ มีพระนามว่า “เจ้าสามพระยา”
                การเรียกชื่อลูกตามลำดับนี้ ปรากฏใน “พระไอยการบานผแนก” ที่เป็นกฎหมายเก่าสมัยอยุธยาและนำมารวบรวม
ไว้ใน “กฎหมายตราสามดวง” ยุครัตนโกสินทร์ ได้แก่

ลูกชายคนโต อ้าย คนที่ ๒ ญี่ (ยี่) / คนที่ ๓ สาม / คนที่ ๔ ไส / คนที่ ๕ งัว(งั่ว)* / คนที่ ๖ ลก / คนที่ ๗ เจด(เจ็ด) / คนที่ ๘ แปด /
คนที่ ๙ เจา / คนที่ ๑๐ จง / คนที่ ๑๑ นิง / คนที่ ๑๒ สอง  
*(ลูกชายคนที่ ๕ เช่น ขุนหลวงพะงั่ว - กษัตริย์อยุธยาตอนต้น)
ลูกสาวคนโตคือ เอื้อย / คนที่ ๒ อี่ / คนที่ ๓ อาม / คนที่ ๔ ไอ / คนที่ ๕ อัว / คนที่ ๖ อก / คนที่ ๗ เอก / คนที่ ๘ แอก / คนที่ ๙ เอา /
คนที่ ๑๐ อัง

                 สมัยรัตนโกสินทร์ พระนามที่คุ้นเคยคือ พระนาม(เดิม) ฉิม ของ ร.๒ ประสูติก่อนสถาปนาราชวงศ์(พ.ศ. ๒๓๑๑),
พระองค์เจ้าทับ ต่อมาคือ ร.๓
                 พระนามลำลองของเชื้อพระวงศ์ที่โดดเด่น เป็นเรื่องราวกล่าวขานคือ เจ้าฟ้าเหม็น ซึ่งโดยกำเนิดเป็นลูกและหลานกษัตริย์
แต่สุดท้ายต้องโทษคดีเป็นกบฏ ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ในสมัย ร.๒
                 กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งทรงเห็นกฎหมายโบราณข้างต้น ได้นำมาใช้ตั้งเป็น “ชื่อเล่น” ประทานแก่พระโอรสพระธิดา
ได้แก่ หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร (เอื้อย) หม่อมเจ้าชายอ้าย (สิ้นชีพิตักษัยในวันประสูติ) หม่อมเจ้าชายเจริญใจ (ยี่) หม่อมเจ้าชายสาม
(สิ้นชีพิตักษัยแต่ยังเล็ก) หม่อมเจ้าหญิงประโลมจิตร (อี่) หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร (อาม) หม่อมเจ้าชายยาใจ (ไส) หม่อมเจ้าชายเพลารถ (งั่ว)
และหม่อมเจ้าหญิงกรณิกา (ไอ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่