คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
1. จากข้อมูลสำมะโนประชากรในมณฑลไห่หนานหรือเกาะไหหลำระบุว่า 82.6% เป็นชาวจีนฮั่น(ชาวหลินเกา(臨高)จำนวน 8% ถูกรวมเข้าไปด้วย) รองลงมาคือชาวหลี/ไหล(黎族) 15.84%, เหมียว(苗族) 0.82%, จ้วง(壮族) 0.67% และส่วนที่เหลือเป็นชาวอุตซุล(Utsul)หรือชาวจามไหหลำ โดยครึ่งหนึ่งของประชากรชาวจีนฮั่นบนเกาะไหหลำหรือประมาณ 5 ล้านคน พูดภาษาไห่หนาน(海南話)เป็นภาษาแม่ ซึ่งจำแนกอยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต(Sino-Tibetan languages) สาขาจีน(Sinitic) กลุ่มภาษาหมิ่น(Min/閩語)(ภาษาฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วก็จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าว) และนอกจากการใช้ภาษาจีนกลางกันอย่างเป็นมาตรฐานกับภาษาจุนฮวา(軍話)ที่เป็นภาษาย่อย(Dialect)หนึ่งของจีนกลางแล้ว ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆที่อยู่ต่างกลุ่มเช่นฮากกา, ตานโจว(儋州話), ไม่ฮว่า(邁話) และกลุ่มภาษาเยว่ อาทิ กวางตุ้ง และต้านเจีย(Tanka/蜑家) โดยสันนิษฐานว่าชาวจีนฮั่นเริ่มเข้ามาตั้งรกรากบนเกาะไหหลำหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นแผ่ขยายอำนาจลงมาทางใต้เมื่อ 110 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาจึงมีการเคลื่อนย้ายเข้ามารุกไล่และแทนที่ชนพื้นเมืองเดิมหลายระลอก
ขณะที่ชาว"หลี" (Li) หรือเรียกอีกอย่างว่า"ไหล" (Hlai), ชาวจ้วง(Zhuang) และชาวหลินเกา(Limgao) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลขร้า-ไท(Kra-Tai languages) ชาวหลีส่วนใหญ่บนเกาะไหหลำจะพูดภาษาในสาขาไหล(Hlai languages) ส่วนน้อยพูดภาษาเจียมาว(Jiamao/塞), ชาวจ้วงพูดภาษาในสาขาไท(Tai) และชาวหลินเกาที่พูดภาษาในสาขาเบ/อังเบ(Be/Ong Be) จากผลการศึกษาทางโบราณคดีระบุว่า ชาวหลีเป็นชาติพันธุ์กลุ่มแรกๆเคลื่อนย้ายเข้ามายังเกาะไหหลำเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยชาวจ้วงกับหลินเกาอาจตามเข้ามาหลังจากนั้น
ส่วนชาวเหมียว(Miao/苗族)พูดภาษากิมมุน(金门方言) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลม้ง-เมี่ยน(Hmong-Mein languages) สาขาเมี่ยน/เย้า(Mienic) แต่โดยทั่วไปแล้วภาษากิมมุนเป็นของชนเผ่าเย้า(Yao/Mien/瑤族) อนึ่งชาวเหมียวกลุ่มนี้เคลื่อนย้ายมาจากบริเวณมณฑลกุ้ยโจว เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่เชิงเขาทางใต้ของเกาะ ผ่านการเป็นทหารรับจ้างของราชวงศ์ชิงเพื่อต่อต้านการปลดแอกของชาวหลีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18
และชาวอุตซุล(Utsul)หรือชาวจามไหหลำ พูดภาษาทซัต/อุตซัต/หุยฮุย(Tsat/Utsat/回輝語) จำแนกอยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน(Austronesian languages) สาขามาลาโย-โพลีนีเซีย(Malayo-Polynesian) เช่นเดียวกับชาวมาเลย์กับฟิลิปปินส์ แต่อยู่ในกลุ่มภาษาจาม(Chamic languages) โดยมากนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีและอยู่ในเมืองซานย่า(三亚)ทางใต้สุดของเกาะ คาดว่าเริ่มเคลื่อนย้ายเข้ามายังเกาะไหหลำเมื่อ ค.ศ. 1471 หลังราชวงศ์ราชวงศ์เหิ่วเล(Hậu Lê triều)แห่งดั่ยเหวียต(Đại Việt)สามารถพิชิตเมืองวิชัยของรัฐจามปาที่อยู่ทางตอนใต้ได้สำเร็จ จึงส่งผลให้เจ้าชายพร้อมชาวเมืองประมาณ 1,000 คนอพยพออกไป
2. ยังไม่ทราบว่าภาพยนตร์จีนดังกล่าวคือเรื่องอะไร แต่เข้าใจว่าฉากนั้นอาจได้แรงบันดาลใจมาจากความเชื่อของจีนเกี่ยวกับ"ทางหวงเฉวียน" (黄泉路)ในนรกภูมิ(地獄) ซึ่งหลังจากที่เหล่าดวงวิญญาณได้ขึ้นสะพานไน่เหอ(奈何橋)(ในหนังสือเฟิงตูจงเจี้ยวฉีสูเตี้ยวฉา(酆都宗教习俗调查)ระบุว่ามีอยู่ 3 ระดับ โดยชั้นบนสุดมีไว้สำหรับวิญญาณที่ดี ส่วนชั้นสองกับสามมีไว้สำหรับวิญญาณชั่วร้ายที่จะมีอุปสรรคต่างๆรออยู่) เพื่อข้ามแม่น้ำวั่งชวน(忘川河)(ในหนังสือเซวียนซื่อจื้อ(宣室志)ที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง อธิบายว่าเป็นแม่น้ำที่เต็มไปด้วยเลือดและกลิ่นเหม็น) บริเวณริมแม่น้ำจะมีหินซานเซิน(三生石)เป็นที่บันทึกเรื่องราวในชาติปัจจุบันและอดีต เมื่อดวงวิญญาณข้ามสะพานมาได้จะพบกับยายเมิ่ง(孟婆) ซึ่งเป็นเทพที่ทำหน้าที่มอบน้ำแกงเบญจรสให้แก่วิญญานทุกดวงดื่ม เพื่อลบความทรงจำก่อนจะไปเกิดใหม่บนโลกมนุษย์ครับ
ขณะที่ชาว"หลี" (Li) หรือเรียกอีกอย่างว่า"ไหล" (Hlai), ชาวจ้วง(Zhuang) และชาวหลินเกา(Limgao) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลขร้า-ไท(Kra-Tai languages) ชาวหลีส่วนใหญ่บนเกาะไหหลำจะพูดภาษาในสาขาไหล(Hlai languages) ส่วนน้อยพูดภาษาเจียมาว(Jiamao/塞), ชาวจ้วงพูดภาษาในสาขาไท(Tai) และชาวหลินเกาที่พูดภาษาในสาขาเบ/อังเบ(Be/Ong Be) จากผลการศึกษาทางโบราณคดีระบุว่า ชาวหลีเป็นชาติพันธุ์กลุ่มแรกๆเคลื่อนย้ายเข้ามายังเกาะไหหลำเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยชาวจ้วงกับหลินเกาอาจตามเข้ามาหลังจากนั้น
ส่วนชาวเหมียว(Miao/苗族)พูดภาษากิมมุน(金门方言) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลม้ง-เมี่ยน(Hmong-Mein languages) สาขาเมี่ยน/เย้า(Mienic) แต่โดยทั่วไปแล้วภาษากิมมุนเป็นของชนเผ่าเย้า(Yao/Mien/瑤族) อนึ่งชาวเหมียวกลุ่มนี้เคลื่อนย้ายมาจากบริเวณมณฑลกุ้ยโจว เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่เชิงเขาทางใต้ของเกาะ ผ่านการเป็นทหารรับจ้างของราชวงศ์ชิงเพื่อต่อต้านการปลดแอกของชาวหลีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18
และชาวอุตซุล(Utsul)หรือชาวจามไหหลำ พูดภาษาทซัต/อุตซัต/หุยฮุย(Tsat/Utsat/回輝語) จำแนกอยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน(Austronesian languages) สาขามาลาโย-โพลีนีเซีย(Malayo-Polynesian) เช่นเดียวกับชาวมาเลย์กับฟิลิปปินส์ แต่อยู่ในกลุ่มภาษาจาม(Chamic languages) โดยมากนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีและอยู่ในเมืองซานย่า(三亚)ทางใต้สุดของเกาะ คาดว่าเริ่มเคลื่อนย้ายเข้ามายังเกาะไหหลำเมื่อ ค.ศ. 1471 หลังราชวงศ์ราชวงศ์เหิ่วเล(Hậu Lê triều)แห่งดั่ยเหวียต(Đại Việt)สามารถพิชิตเมืองวิชัยของรัฐจามปาที่อยู่ทางตอนใต้ได้สำเร็จ จึงส่งผลให้เจ้าชายพร้อมชาวเมืองประมาณ 1,000 คนอพยพออกไป
2. ยังไม่ทราบว่าภาพยนตร์จีนดังกล่าวคือเรื่องอะไร แต่เข้าใจว่าฉากนั้นอาจได้แรงบันดาลใจมาจากความเชื่อของจีนเกี่ยวกับ"ทางหวงเฉวียน" (黄泉路)ในนรกภูมิ(地獄) ซึ่งหลังจากที่เหล่าดวงวิญญาณได้ขึ้นสะพานไน่เหอ(奈何橋)(ในหนังสือเฟิงตูจงเจี้ยวฉีสูเตี้ยวฉา(酆都宗教习俗调查)ระบุว่ามีอยู่ 3 ระดับ โดยชั้นบนสุดมีไว้สำหรับวิญญาณที่ดี ส่วนชั้นสองกับสามมีไว้สำหรับวิญญาณชั่วร้ายที่จะมีอุปสรรคต่างๆรออยู่) เพื่อข้ามแม่น้ำวั่งชวน(忘川河)(ในหนังสือเซวียนซื่อจื้อ(宣室志)ที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง อธิบายว่าเป็นแม่น้ำที่เต็มไปด้วยเลือดและกลิ่นเหม็น) บริเวณริมแม่น้ำจะมีหินซานเซิน(三生石)เป็นที่บันทึกเรื่องราวในชาติปัจจุบันและอดีต เมื่อดวงวิญญาณข้ามสะพานมาได้จะพบกับยายเมิ่ง(孟婆) ซึ่งเป็นเทพที่ทำหน้าที่มอบน้ำแกงเบญจรสให้แก่วิญญานทุกดวงดื่ม เพื่อลบความทรงจำก่อนจะไปเกิดใหม่บนโลกมนุษย์ครับ
แสดงความคิดเห็น
ในทางภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ ภาษา ไหหลำใกล้ชิดเวียดนามแค่ไหนคะ / หนังจีนสมัยก่อน เกี่ยวกับกงเต้ก หรือนรกแบบจีน
2. สมัยเดี๊ยนเด็ก ๆ เหมือนเคยดูหนังผีจีน หรือหนังเกี่ยวกับการไปตามวิญญาณกลับมาคืนร่าง มีการเลี้ยงน้ำชา ที่ถ้าวิญญาณดื่มแล้วจะลืมอดีต มีการข้ามสะพานคล้าย ๆ ที่พิธีกงเต้กจำลองมา น่าจะวิญญาณข้ามไปแล้วจะย้อนกลับมาไม่ได้ ต้องไปห้ามไม่ให้วิญญาณข้าม เพื่อดึงกลับมาคืนร่าง
ชวนให้นึกถึงมุมมองเกี่ยวกับนรก ของชาวกรีกโบราณ ประมาณแม่น้ำสติช หมา 3 หัว เซอร์บิรอส เฝ้าประตูนรก ทับทิมที่เพอร์ซิโฟเน เสวยไป 6 เมล็ด (แต่ละสำนวน จำนวนเมล็ดไม่แน่นอน) ออฟิอุสตามหาคนรักในเขตปกครองของเทพฮาเดส อะไรประมาณนี้ค่ะ