หลายท่านคงจะเคยประสบปัญหาว่าไม่รู้จะจัดการกับถ้วยกาแฟหรือถ้วยเครื่องดื่มที่ดื่มหมดแล้วอย่างไรดี การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่แรกด้วยการพกถ้วยหรือภาชนะที่ใช้ซ้ำได้ไปเองย่อมที่ดีที่สุด แต่บางครั้งด้วยความไม่สะดวก หรือลืม หรือทางร้านกลัวโควิด เราก็จำใจรับถ้วยพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมา เมื่อเลี่ยงไม่ได้แล้ว ถ้าจะลดผลกระทบจากการทิ้งของเรา เราควรต้องรู้ก่อนว่าถ้วยพลาสติกมีกี่แบบ ทิ้งแล้วถ้วยไปไหนต่อ
แค่เรียกชื่อก็งงแล้ว
ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการทิ้ง เรามาดูปัญหาพื้นๆ กันก่อน ภาชนะที่ใส่เครื่องดื่มที่พบเห็นตามร้านกาแฟนั้นคือ ถ้วย (cup) เช่นถ้วยกาแฟ ถ้วยชา ถ้วยเซรามิค ถ้วยกระดาษ ส่วนคำว่าแก้ว (glass) คือวัสดุชนิดหนึ่งที่มีลักษณะแข็งใสได้จากการใช้ทรายขาวเป็นส่วนประกอบสําคัญ ราชบัณฑิตยสถานเรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำดื่มว่า ถ้วยแก้ว ถ้าใครพูดคำว่า แก้วพลาสติก ก็ให้นึกถึงกระจกรถยนต์แทนเพราะมีส่วนประกอบที่เป็นแก้วและฟิล์มติดกระจกที่ทำจากพลาสติก น่าจะใกล้เคียงที่สุด
หลากหลายประเภท ดูอย่างไรดี
ส่วนใหญ่วิธีการสังเกตที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดคือการดูสัญลักษณ์ที่ก้นถ้วย ซึ่งจะมีเลขและตัวหนังสือ สำหรับพลาสติกโดยทั่วไป จะใช้เลข 1-7 ดังรูปที่ 1 โดยเลข 7 คืออื่นๆ อีกมากมาย ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังต้องกุมขมับ
รูปที่ 1 สัญลักษณ์บ่งชี้ประเภทของพลาสติก (
https://rethinkwaste.org/2019/10/18/the-hard-facts-about-plastic/)
ถ้ามีเลขชัดเจนแบบนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาในการแยกแล้วสิ หลายคนอาจจะคิดแบบนี้ แต่ในโลกที่หลักการทางฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และเศรษฐกิจแบบทุนนิยมยังปกครองอยู่นั้น ชีวิตมันโรยไปด้วยหนามกุหลาบ ถ้วยเครื่องดื่มที่ใช้กันทั่วไปมักจะผลิตจาก PET PP หรือ PS (รูปที่ 2) และอาจมีหมายเลข 7 โผล่มาให้เห็นบ้าง เช่น Polylactic acid (PLA) ซึ่งผลิตจากพืชหรือ bio-PET ดังรูปที่ 3
รูปที่ 2 ถ้วยที่ทำจาก PET PP และ PS (ที่มา: ภัทรพล ตุลารักษ์ และสุจิตรา วาสนาดำรงดี)
รูปที่ 3 ถ้วยที่มีสัญลักษณ์หมายเลข 7 (ที่มา: ภัทรพล ตุลารักษ์)
หากจะบ่งชี้ตามที่มาของวัตถุดิบ อาจจะแบ่งเป็นสองกลุ่มหลัก คือ 1) ถ้วยที่ผลิตจากน้ำมันหรือก๊าซ (petroleum หรือ fossil-based) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้กันทั่วโลกในการผลิตถ้วยพลาสติก และ 2) ผลิตจากพืชที่ปลูกกันทั่วไป เช่น อ้อย หรือข้าวโพด (renewable หรือ bio-based) นำมาผ่านกระบวนการทำเป็นโพลิเมอร์ หน้าตาและสัมผัสเหมือนพลาสติกทั่วไป แต่อาจช่วยในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีทั้งแบบย่อยสลายได้และแบบรีไซเคิลได้
ดังที่กล่าวข้างต้น ถึงจะมีสัญลักษณ์มีหมายเลขชัดเจน และรู้ที่มาของพลาสติกแต่ละชนิดแล้ว แต่ความยุ่งยากมึนงงยังคงมีอยู่ เช่น
1) ถึงจะเป็น PET ก็ไม่ได้แปลว่ารีไซเคิลได้เหมือนขวดเครื่องดื่มที่ทำจาก PET เพราะโรงงานปลายทางไม่อยากเอาถ้วย PET มาปนกับขวด PET ด้วยเกรงว่าจะควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์รีไซเคิลไม่ได้ ทำให้ไม่มีราคารับซื้อ ร้านรับซื้อของเก่าและซาเล้งก็ไม่รับ โชคดีที่ปัจจุบันมีบางโรงงานกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะรับถ้วย PET ไปรีไซเคิล
2) บางร้านใช้ถ้วย PET แต่ฝาเป็น PS ซึ่งดูด้วยตาเปล่าไม่ออก ถ้าทิ้งรวมกันก็จบข่าว ยิ่งถ้ามีหลอดดูดเป็น PP เสียบคาอยู่อีก ยิ่งไปกันใหญ่ ไม่มีใครอยากนำไปรีไซเคิล
3) ประเทศไทยไม่มีกฎหมายบังคับเรื่องแสดงสัญลักษณ์ประเภทพลาสติก ใครใคร่แสดงก็แสดง ใครใคร่ใช้คำกำกวม ก็ไม่โดนลงโทษอะไร เช่นคำว่า degradable ซึ่งไม่ได้แปลว่ามันดีกับสิ่งแวดล้อม เพราะมันไม่ได้ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ แต่เป็นการเติมสารเร่งการแตกตัวให้เกิดเป็นไมโครพลาสติกตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมและเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร ที่สำคัญผู้ผลิตบางรายมักจะเรียกสารเร่งการแตกตัวว่าเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งก็ไม่ผิดเพราะมาจากธรรมชาติจริง แต่ตัวพลาสติกที่ใช้ยังมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ดี แถมยังทำให้รีไซเคิลไม่ได้เลย หากหลุดเข้าไปในกระบวนการรีไซเคิลปกติของ PET หรือ PP อาจถึงขั้นต้องหยุดเครื่องจักรมาล้างทำความสะอาดกันเลย แล้วยิ่งถ้าอ้างว่าเป็น bio-PET ทั้งๆ ที่ทำจากพวกฟอสซิลแล้วเติมสารเร่งดังกล่าวยิ่งสร้างความสับสนและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีก
4) สัญลักษณ์ที่แสดงถึงคุณสมบัติของพลาสติกที่ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ที่เป็นมาตรฐานระดับสากลมีลักษณะดังรูปที่ 4 หากพบเห็นรูปที่คล้ายแต่ไม่เหมือนแบบนี้ ก็น่าจะแสดงว่าเป็นสัญลักษณ์อุปโลกน์ขึ้นมาเองไม่มีใครรับรอง
รูปที่ 4 สัญลักษณ์ compostable ที่มีมาตรฐานการรับรองในยุโรป ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ (
https://www.european-bioplastics.org/bioplastics/standards/labels/)
5) แต่เดี๋ยวก่อน พลาสติกที่ทำจากพืช หรือมีคำว่า compostable ได้มาตรฐาน ก็ไม่ได้แปลว่าโยนทิ้งลงดินแล้วจะสลายหายไปเอง เช่น PLA ที่ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะย่อยสลายในสภาวะปกติ ดังรูปที่ 5 หรือการที่ทำจากพืชก็ไม่ได้แปลว่าจะรีไซเคิลไม่ได้ เช่น PET หรือ PP ที่ทำจากอ้อยหรือข้าวโพด (bio-PET, bio-PP) จะมีหน้าตาและคุณสมบัติเหมือน PET หรือ PP ที่ทำจากปิโตรเลียมเป๊ะ สามารถรีไซเคิล bio-PET รวมกับ fossil-based PET หรือ bio-PP รวมกับ fossil-based PP ไปพร้อมกันได้เลย
6) สำหรับประเภทที่ชนะเลิศในการสร้างความปวดหัวคือถ้วยจากร้านชา(ไข่มุก) ซึ่งใช้เครื่องปิดผนึกฝาถ้วยด้วยความร้อนทำให้ฝาที่เป็นแผ่นฟิล์มติดแน่นกับถ้วย ทำให้มีโอกาสที่น้ำแข็ง และไข่มุก (แป้งมันสำปะหลัง) ตกค้างอยู่ในถ้วย รวมถึงฟิล์มที่ใช้มักจะเป็นวัสดุผสมและเป็นคนละชนิดกับตัวถ้วย เป็นการมัดตราสังตอกฝาโลงไม่ให้ถ้วยได้กลับไปผุดไปเกิดด้วยกระบวนการรีไซเคิลได้เลย
รูปที่ 5 ถ้วยที่ทำจาก PLA หลังจากฝังดินมาเป็นเวลา 5 เดือน ยังคงรูปเดิมอยู่ (ที่มา: ภัทรพล ตุลารักษ์)
หลังจากที่เราเข้าใจแล้วว่าพลาสติกประเภทไหนรีไซเคิลได้ ประเภทไหนย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ได้ การรู้ที่ไปว่าถ้วยที่เราทิ้งจะถูกจัดการอย่างไรถือเป็นเรื่องสำคัญในการแก้ปัญหาขยะ เนื่องจากการแยกประเภทขยะต้องแยกให้สอดคล้องกับการจัดการปลายทาง คือถ้าปลายทางมีกระบวนการรีไซเคิลแปรรูปได้ ก็ควรแยกไปรีไซเคิลก่อน ส่วนพวกที่เป็น compostable ยังไม่มีความจำเป็นต้องแยกถ้วยพลาสติกกลุ่มนี้ออกมาจากกลุ่มที่รีไซเคิลไม่ได้ เนื่องจากในประเทศไทยแทบไม่มีโรงงานที่สามารถย่อยสลายพลาสติกชีวภาพเป็นปุ๋ยได้เลย พวกที่เหลือที่รีไซเคิลไม่ได้ (ไม่ว่าจะเป็น fossil-based หรือ bio-based) ก็ให้พยายามจัดการด้วยการเผาเป็นพลังงานทดแทนซึ่งทั้งประเทศมีเตาเผาอยู่ไม่กี่แห่ง ก่อนจะส่งไปกำจัดด้วยการฝังกลบ (หรือเทกองไว้เฉยๆ) เป็นทางเลือกสุดท้าย
แล้วเราควรจะทำอย่างไร
ถ้าท่านเป็นเจ้าของร้านเครื่องดื่มต้องการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมจริงๆ ควรจะดำเนินการดังนี้
· ยอมให้ลูกค้าใช้ถ้วยหรือกระบอกที่นำมาเองได้
· อย่าเพียงแต่ให้ส่วนลดคนที่นำถ้วยหรือกระบอกมาเอง แต่ต้องคิดเงินค่าถ้วยพลาสติกจากคนที่ไม่นำมาเองด้วย เนื่องจากจะได้ผลในการเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าการให้ส่วนลด เช่นถ้าราคา Iced Americano ปกติ 75 บาท เมื่อก่อนลูกค้าที่นำถ้วยมาเองจะได้ลด 5 บาท จ่ายจริง 70 บาท ลูกค้าที่ไม่นำถ้วยมาก็จ่าย 75 บาท แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นตั้งราคา 70 บาท ถ้าไม่นำถ้วยมาเองต้องจ่าย 75 บาท ซึ่งก็คือเท่าเดิม แต่จำนวนลูกค้าที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมนำถ้วยมาเองในคราวถัดไปจะเพิ่มจำนวนอย่างมาก
· หากต้องเลือกซื้อถ้วยพลาสติกจริงๆ ให้เลือก bio-PP หรือ PP ธรรมดาก่อนเพราะรีไซเคิลได้ง่ายมีราคารับซื้อแน่นอน ส่วน PET กับ PS ยังมีความไม่แน่นอนแล้วแต่ร้านรับซื้อขยะ
· ไม่จำเป็นต้องไปเลือกใช้กลุ่ม compostable ที่ย่อยสลายช้า เพราะจะทำให้กระบวนการรีไซเคิลเสียหายได้ สุดท้ายก็ทิ้งรวมไปฝังกลบอยู่ดี หากอยากได้ถ้วยที่ย่อยสลายในธรรมชาติได้ในเวลาไม่ถึงปีต้องเลือกใช้ถ้วยกระดาษที่เคลือบด้วย bio-plastic ที่ย่อยสลายเร็ว เช่น PBS หรือ PHA
· พวกที่เติมสารเร่งการแตกตัว แล้วชอบใช้คำว่า 100% degradable รักษ์โลก ให้เลี่ยงได้เป็นดี
สำหรับผู้บริโภค ก็แน่นอนว่าเราควรพกภาชนะใช้ซ้ำเวลาซื้อเครื่องดื่ม พยายามใช้หลอดหรือฝาปิดถ้วยเท่าที่จำเป็นจริงๆ เมื่อดื่มเสร็จแล้วให้เทเครื่องดื่มและน้ำแข็งที่เหลือในอ่างล้างมือ หรือลงดิน ก่อนทิ้งถ้วย และถ้าท่านมีความรู้เรื่องถ้วยๆ มากขึ้นแล้วก็อาจให้คำแนะนำหรือแสดงความเห็นในช่องทางต่างๆ ให้เจ้าของร้านได้รับทราบด้วย
ส่วนภาครัฐไม่ต้องแนะนำอะไรเพราะทราบข้อมูลดีอยู่แล้ว ขอแค่ให้มี political willingness ก็พอ
สุดท้ายนี้หวังว่าทุกท่านจะไม่งงหนักกว่าเดิมและมาช่วยกันลดและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกจากถ้วยเครื่องดื่มได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
เรื่องถ้วยๆ ที่ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ
แค่เรียกชื่อก็งงแล้ว
ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการทิ้ง เรามาดูปัญหาพื้นๆ กันก่อน ภาชนะที่ใส่เครื่องดื่มที่พบเห็นตามร้านกาแฟนั้นคือ ถ้วย (cup) เช่นถ้วยกาแฟ ถ้วยชา ถ้วยเซรามิค ถ้วยกระดาษ ส่วนคำว่าแก้ว (glass) คือวัสดุชนิดหนึ่งที่มีลักษณะแข็งใสได้จากการใช้ทรายขาวเป็นส่วนประกอบสําคัญ ราชบัณฑิตยสถานเรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำดื่มว่า ถ้วยแก้ว ถ้าใครพูดคำว่า แก้วพลาสติก ก็ให้นึกถึงกระจกรถยนต์แทนเพราะมีส่วนประกอบที่เป็นแก้วและฟิล์มติดกระจกที่ทำจากพลาสติก น่าจะใกล้เคียงที่สุด
หลากหลายประเภท ดูอย่างไรดี
ส่วนใหญ่วิธีการสังเกตที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดคือการดูสัญลักษณ์ที่ก้นถ้วย ซึ่งจะมีเลขและตัวหนังสือ สำหรับพลาสติกโดยทั่วไป จะใช้เลข 1-7 ดังรูปที่ 1 โดยเลข 7 คืออื่นๆ อีกมากมาย ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังต้องกุมขมับ
รูปที่ 1 สัญลักษณ์บ่งชี้ประเภทของพลาสติก (https://rethinkwaste.org/2019/10/18/the-hard-facts-about-plastic/)
ถ้ามีเลขชัดเจนแบบนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาในการแยกแล้วสิ หลายคนอาจจะคิดแบบนี้ แต่ในโลกที่หลักการทางฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และเศรษฐกิจแบบทุนนิยมยังปกครองอยู่นั้น ชีวิตมันโรยไปด้วยหนามกุหลาบ ถ้วยเครื่องดื่มที่ใช้กันทั่วไปมักจะผลิตจาก PET PP หรือ PS (รูปที่ 2) และอาจมีหมายเลข 7 โผล่มาให้เห็นบ้าง เช่น Polylactic acid (PLA) ซึ่งผลิตจากพืชหรือ bio-PET ดังรูปที่ 3
รูปที่ 2 ถ้วยที่ทำจาก PET PP และ PS (ที่มา: ภัทรพล ตุลารักษ์ และสุจิตรา วาสนาดำรงดี)
รูปที่ 3 ถ้วยที่มีสัญลักษณ์หมายเลข 7 (ที่มา: ภัทรพล ตุลารักษ์)
หากจะบ่งชี้ตามที่มาของวัตถุดิบ อาจจะแบ่งเป็นสองกลุ่มหลัก คือ 1) ถ้วยที่ผลิตจากน้ำมันหรือก๊าซ (petroleum หรือ fossil-based) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้กันทั่วโลกในการผลิตถ้วยพลาสติก และ 2) ผลิตจากพืชที่ปลูกกันทั่วไป เช่น อ้อย หรือข้าวโพด (renewable หรือ bio-based) นำมาผ่านกระบวนการทำเป็นโพลิเมอร์ หน้าตาและสัมผัสเหมือนพลาสติกทั่วไป แต่อาจช่วยในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีทั้งแบบย่อยสลายได้และแบบรีไซเคิลได้
ดังที่กล่าวข้างต้น ถึงจะมีสัญลักษณ์มีหมายเลขชัดเจน และรู้ที่มาของพลาสติกแต่ละชนิดแล้ว แต่ความยุ่งยากมึนงงยังคงมีอยู่ เช่น
1) ถึงจะเป็น PET ก็ไม่ได้แปลว่ารีไซเคิลได้เหมือนขวดเครื่องดื่มที่ทำจาก PET เพราะโรงงานปลายทางไม่อยากเอาถ้วย PET มาปนกับขวด PET ด้วยเกรงว่าจะควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์รีไซเคิลไม่ได้ ทำให้ไม่มีราคารับซื้อ ร้านรับซื้อของเก่าและซาเล้งก็ไม่รับ โชคดีที่ปัจจุบันมีบางโรงงานกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะรับถ้วย PET ไปรีไซเคิล
2) บางร้านใช้ถ้วย PET แต่ฝาเป็น PS ซึ่งดูด้วยตาเปล่าไม่ออก ถ้าทิ้งรวมกันก็จบข่าว ยิ่งถ้ามีหลอดดูดเป็น PP เสียบคาอยู่อีก ยิ่งไปกันใหญ่ ไม่มีใครอยากนำไปรีไซเคิล
3) ประเทศไทยไม่มีกฎหมายบังคับเรื่องแสดงสัญลักษณ์ประเภทพลาสติก ใครใคร่แสดงก็แสดง ใครใคร่ใช้คำกำกวม ก็ไม่โดนลงโทษอะไร เช่นคำว่า degradable ซึ่งไม่ได้แปลว่ามันดีกับสิ่งแวดล้อม เพราะมันไม่ได้ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ แต่เป็นการเติมสารเร่งการแตกตัวให้เกิดเป็นไมโครพลาสติกตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมและเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร ที่สำคัญผู้ผลิตบางรายมักจะเรียกสารเร่งการแตกตัวว่าเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งก็ไม่ผิดเพราะมาจากธรรมชาติจริง แต่ตัวพลาสติกที่ใช้ยังมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ดี แถมยังทำให้รีไซเคิลไม่ได้เลย หากหลุดเข้าไปในกระบวนการรีไซเคิลปกติของ PET หรือ PP อาจถึงขั้นต้องหยุดเครื่องจักรมาล้างทำความสะอาดกันเลย แล้วยิ่งถ้าอ้างว่าเป็น bio-PET ทั้งๆ ที่ทำจากพวกฟอสซิลแล้วเติมสารเร่งดังกล่าวยิ่งสร้างความสับสนและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีก
4) สัญลักษณ์ที่แสดงถึงคุณสมบัติของพลาสติกที่ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ที่เป็นมาตรฐานระดับสากลมีลักษณะดังรูปที่ 4 หากพบเห็นรูปที่คล้ายแต่ไม่เหมือนแบบนี้ ก็น่าจะแสดงว่าเป็นสัญลักษณ์อุปโลกน์ขึ้นมาเองไม่มีใครรับรอง
รูปที่ 4 สัญลักษณ์ compostable ที่มีมาตรฐานการรับรองในยุโรป ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ (https://www.european-bioplastics.org/bioplastics/standards/labels/)
5) แต่เดี๋ยวก่อน พลาสติกที่ทำจากพืช หรือมีคำว่า compostable ได้มาตรฐาน ก็ไม่ได้แปลว่าโยนทิ้งลงดินแล้วจะสลายหายไปเอง เช่น PLA ที่ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะย่อยสลายในสภาวะปกติ ดังรูปที่ 5 หรือการที่ทำจากพืชก็ไม่ได้แปลว่าจะรีไซเคิลไม่ได้ เช่น PET หรือ PP ที่ทำจากอ้อยหรือข้าวโพด (bio-PET, bio-PP) จะมีหน้าตาและคุณสมบัติเหมือน PET หรือ PP ที่ทำจากปิโตรเลียมเป๊ะ สามารถรีไซเคิล bio-PET รวมกับ fossil-based PET หรือ bio-PP รวมกับ fossil-based PP ไปพร้อมกันได้เลย
6) สำหรับประเภทที่ชนะเลิศในการสร้างความปวดหัวคือถ้วยจากร้านชา(ไข่มุก) ซึ่งใช้เครื่องปิดผนึกฝาถ้วยด้วยความร้อนทำให้ฝาที่เป็นแผ่นฟิล์มติดแน่นกับถ้วย ทำให้มีโอกาสที่น้ำแข็ง และไข่มุก (แป้งมันสำปะหลัง) ตกค้างอยู่ในถ้วย รวมถึงฟิล์มที่ใช้มักจะเป็นวัสดุผสมและเป็นคนละชนิดกับตัวถ้วย เป็นการมัดตราสังตอกฝาโลงไม่ให้ถ้วยได้กลับไปผุดไปเกิดด้วยกระบวนการรีไซเคิลได้เลย
รูปที่ 5 ถ้วยที่ทำจาก PLA หลังจากฝังดินมาเป็นเวลา 5 เดือน ยังคงรูปเดิมอยู่ (ที่มา: ภัทรพล ตุลารักษ์)
หลังจากที่เราเข้าใจแล้วว่าพลาสติกประเภทไหนรีไซเคิลได้ ประเภทไหนย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ได้ การรู้ที่ไปว่าถ้วยที่เราทิ้งจะถูกจัดการอย่างไรถือเป็นเรื่องสำคัญในการแก้ปัญหาขยะ เนื่องจากการแยกประเภทขยะต้องแยกให้สอดคล้องกับการจัดการปลายทาง คือถ้าปลายทางมีกระบวนการรีไซเคิลแปรรูปได้ ก็ควรแยกไปรีไซเคิลก่อน ส่วนพวกที่เป็น compostable ยังไม่มีความจำเป็นต้องแยกถ้วยพลาสติกกลุ่มนี้ออกมาจากกลุ่มที่รีไซเคิลไม่ได้ เนื่องจากในประเทศไทยแทบไม่มีโรงงานที่สามารถย่อยสลายพลาสติกชีวภาพเป็นปุ๋ยได้เลย พวกที่เหลือที่รีไซเคิลไม่ได้ (ไม่ว่าจะเป็น fossil-based หรือ bio-based) ก็ให้พยายามจัดการด้วยการเผาเป็นพลังงานทดแทนซึ่งทั้งประเทศมีเตาเผาอยู่ไม่กี่แห่ง ก่อนจะส่งไปกำจัดด้วยการฝังกลบ (หรือเทกองไว้เฉยๆ) เป็นทางเลือกสุดท้าย
แล้วเราควรจะทำอย่างไร
ถ้าท่านเป็นเจ้าของร้านเครื่องดื่มต้องการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมจริงๆ ควรจะดำเนินการดังนี้
· ยอมให้ลูกค้าใช้ถ้วยหรือกระบอกที่นำมาเองได้
· อย่าเพียงแต่ให้ส่วนลดคนที่นำถ้วยหรือกระบอกมาเอง แต่ต้องคิดเงินค่าถ้วยพลาสติกจากคนที่ไม่นำมาเองด้วย เนื่องจากจะได้ผลในการเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าการให้ส่วนลด เช่นถ้าราคา Iced Americano ปกติ 75 บาท เมื่อก่อนลูกค้าที่นำถ้วยมาเองจะได้ลด 5 บาท จ่ายจริง 70 บาท ลูกค้าที่ไม่นำถ้วยมาก็จ่าย 75 บาท แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นตั้งราคา 70 บาท ถ้าไม่นำถ้วยมาเองต้องจ่าย 75 บาท ซึ่งก็คือเท่าเดิม แต่จำนวนลูกค้าที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมนำถ้วยมาเองในคราวถัดไปจะเพิ่มจำนวนอย่างมาก
· หากต้องเลือกซื้อถ้วยพลาสติกจริงๆ ให้เลือก bio-PP หรือ PP ธรรมดาก่อนเพราะรีไซเคิลได้ง่ายมีราคารับซื้อแน่นอน ส่วน PET กับ PS ยังมีความไม่แน่นอนแล้วแต่ร้านรับซื้อขยะ
· ไม่จำเป็นต้องไปเลือกใช้กลุ่ม compostable ที่ย่อยสลายช้า เพราะจะทำให้กระบวนการรีไซเคิลเสียหายได้ สุดท้ายก็ทิ้งรวมไปฝังกลบอยู่ดี หากอยากได้ถ้วยที่ย่อยสลายในธรรมชาติได้ในเวลาไม่ถึงปีต้องเลือกใช้ถ้วยกระดาษที่เคลือบด้วย bio-plastic ที่ย่อยสลายเร็ว เช่น PBS หรือ PHA
· พวกที่เติมสารเร่งการแตกตัว แล้วชอบใช้คำว่า 100% degradable รักษ์โลก ให้เลี่ยงได้เป็นดี
สำหรับผู้บริโภค ก็แน่นอนว่าเราควรพกภาชนะใช้ซ้ำเวลาซื้อเครื่องดื่ม พยายามใช้หลอดหรือฝาปิดถ้วยเท่าที่จำเป็นจริงๆ เมื่อดื่มเสร็จแล้วให้เทเครื่องดื่มและน้ำแข็งที่เหลือในอ่างล้างมือ หรือลงดิน ก่อนทิ้งถ้วย และถ้าท่านมีความรู้เรื่องถ้วยๆ มากขึ้นแล้วก็อาจให้คำแนะนำหรือแสดงความเห็นในช่องทางต่างๆ ให้เจ้าของร้านได้รับทราบด้วย
ส่วนภาครัฐไม่ต้องแนะนำอะไรเพราะทราบข้อมูลดีอยู่แล้ว ขอแค่ให้มี political willingness ก็พอ
สุดท้ายนี้หวังว่าทุกท่านจะไม่งงหนักกว่าเดิมและมาช่วยกันลดและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกจากถ้วยเครื่องดื่มได้ถูกต้องยิ่งขึ้น