“ผมมองหาสิ่งที่ดูเป็นหมอกควัน สิ่งที่เป็นด้านมืดของจิตใจ ซึ่งเป็นอะไรที่เรารู้สึกเมื่อตกอยู่ในสงครามกลางเมือง”
แสงแดดอุ่นส่องลอดหมู่ไม้ยามบ่าย เด็กหญิงร่างเล็กถักผมเปียยาวฮัมเพลงขณะเดินก้าวกระโดดเก็บเห็ดในป่า ก่อนจะพบร่างบอบช้ำของนายทหารหนีทัพจากสงครามกลางเมือง… นั่นคือฉากเปิดเรื่องของ The Beguiled หนังของ โซเฟีย คอปโปลา อันว่าด้วยชายหนุ่มหนึ่งคนกับสตรีทั้งเจ็ดในบ้านหลังใหญ่ The Beguiled ฉายที่เทศกาลหนังเมืองคานส์และกวาดคำชมมาเต็มอ้อมแขน ตัวคอปโปลาคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมได้สำเร็จ พร้อมบรรดานักแสดงที่เดินสายกวาดรางวัลไม่แพ้ตัวหนัง
แต่สิ่งหนึ่งที่ The Beguiled โดดเด่นมากคืองานกำกับภาพของ ฟิลิปป์ เลอ ซัวร์ จาก A Good Year (2006, ริดลีย์ สก็อตต์) และ The Grandmaster (2013, หว่อง กาไว) ที่ภาพที่ปรากฏในหนังนั้นทั้งดูอ่อนนุ่ม สวยงาม และคุกคามในเวลาเดียวกัน
แสงธรรมชาติ เงื่อนไขหลักที่ปฏิเสธไม่ได้
เลอ ซัวร์คลุกคลีกับคอปโปลาก่อนถ่ายทำเรื่องนี้อยู่พักใหญ่ โดยมีเงื่อนไขหลักๆ คือภาพต้องดูนุ่มนวลชนฝัน ขณะเดียวกันก็ต้องสื่อให้เห็นอันตรายจากสงครามด้วย (!?) และต้องใช้แสงจากธรรมชาติล้วนๆ ซึ่งก็เพราะตัวเลอ ซัวร์เห็นว่าภาพวาดสมัย 60 ซึ่งเป็นช่วงเวลาในเรื่องนั้น ส่วนใหญ่อาศัยแสงจากเทียนและแสงธรรมชาติเป็นหลัก และเงื่อนไขที่สอง คือโลเคชั่นที่พวกเขาดั้นด้นไปถ่ายทำนั้น ไม่มี เอ่อ… ไฟฟ้า
ทีมงานใช้บ้านเก่าหลังใหญ่พร้อมเรือกสวนด้านหลังเป็นโรงเรียนคริสเตียนดรุณีศึกษาในหนัง ความเก่าแก่ของมันทำให้ไม่มีแม้กระทั่งไฟฟ้าใช้ด้วยซ้ำ เลอ ซัวร์ จึงต้องอาศัยแสงธรรมชาติและแสงเทียนเป็นหลักในการถ่ายทำและใช้แสงจากไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น “ผมพยายามใช้แสงธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าคุณเคยเห็นภาพวาดของเฟอร์เมร์ (โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ จิตรกรชาวดัตช์) คุณจะเห็นว่าแสงในภาพวาดของเขาล้วนมาจากแสงเทียนหรือแสงจากหน้าต่างทั้งนั้น นี่คือจุดมุ่งหมายของผม”
ขณะที่ฉากที่ถ่ายนอกสถานที่นั้น เลอ ซัวร์ก็ใช้แสงธรรมชาติล้วนๆ คนดูจึงรู้สึกราวกับสัมผัสไอแดดจากหนังจริงๆ พร้อมกันนั้นก็รู้สึกว่าป่าหลังโรงเรียนซึ่งเป็นจุดที่เด็กหญิงเข้าไปเจอนายทหารบาดเจ็บ ช่างเป็นแหล่งอันตรายที่ไม่ควรเข้าไปยุ่มย่าม
“เราถ่ายทำฉากนี้กันที่รัฐหลุยส์เซียน่า และหนึ่งในหนังที่ผมใช้มาเป็นเรฟเฟอร์เรนซ์คือ ‘Rashomon’ (1950, อาคิระ คุโรซาวะ)” เลอ ซัวร์อธิบาย “นั่นเพราะผมพยายามทำให้ป่านี้มันลึกลับจนเกือบจะดูเป็นป่าช้า เหมือนเราก้าวเข้าไปสู่ความดำมืดของสงครามกลางเมืองกับตัวละครด้วยเลย”
เพศชายคือวัตถุ
ความที่มันเป็นหนังที่ว่าด้วยกลุ่มผู้หญิงที่แสดงท่าทีที่ต่างกันออกไปต่อชายหนุ่มเพียงคนเดียวในบ้าน ทำให้เลอ ซัวร์ออกแบบทิศทางของกล้องเพื่อขับเน้นในประเด็นนี้ “ผู้ชายในเรื่องต้องดูเป็นวัตถุ หมอนี่ต้องดูดุดัน มีความเป็นชายสูง ขณะที่ภาพของผู้หญิงนั้น ผมอยากให้ภาพมันออกมานุ่มกว่า” ทั้งการที่คอปโปลาเองตั้งใจจะให้คนดูจับจ้องการเคลื่อนไหวและภาษากายของนักแสดง กล้องจึงแช่ภาพการแสดงโดยตรง “เราพยายามจะหลีกเลี่ยงการเคลื่อนกล้องที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด และผมพบว่า ยิ่งคุณขยับกล้องมากเท่าไหร่ คุณยิ่งได้อารมณ์กลับมาน้อยเท่านั้น”
ภาษากายบนจอหนัง
นั่นทำให้เลอ ซัวร์ถ่ายทำหนังในอัตราส่วน 1.66:1 เพื่อขับเน้นให้คนดูได้เห็นภาษากายและการเคลื่อนไหวของนักแสดงได้ชัดขึ้น “ก็หนังเรื่องนี้มันไม่ได้พูดถึงเรื่องพื้นที่ทิวทัศน์ มันพูดเรื่องคน” เขาว่า และใช้เลนส์วินเทจถ่ายเพื่อให้ภาพดูนุ่ม (“ไม่ใช่เพราะผมอยากจะทำตัวย้อนยุคอะไรหรอกนะ”) เว้นแต่ฉากกลางคืนที่เขาหันไปใช้เลนส์ที่จับภาพความไวสูงแทน แต่ยังยืนยันที่จะใช้แสงจากเทียนไขและแสงธรรมชาติเป็นหลักในการเล่าเรื่องอยู่ดี
“การเคลื่อนไหวน่ะมันใช้เพื่อขับเน้นความดราม่าในหนังได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะจำเป็นต่อการแสดงอารมณ์อะไรทั้งนั้น บางครั้ง อารมณ์ที่นักแสดงส่งมาก็หายไปเพียงเพราะกล้องขยับเพียงครั้งเดียว”
The Beguiled เล่ห์ลวง พิศวาส ปรารถนา : เรื่องราวของหนังเกิดขึ้นในโรงเรียนประจำหญิงล้วนในภาคใต้ของอเมริกา ช่วงสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ กลุ่มเด็กสาวช่วยชีวิตและนำทหารฝ่ายศัตรูที่บาดเจ็บเข้ามาอยู่ในโรงเรียน ขณะที่พวกเธอให้ที่พักพิงและรักษาอาการบาดเจ็บของเขา สถานที่แห่งนี้ก็ถูกครอบงำด้วยความตึงเครียดเรื่องชู้สาวและการชิงดีชิงเด่นที่เป็นภัย และข้อห้ามก็ถูกละเมิดเมื่อเกิดการพลิกผันที่ไม่คาดคิดของเรื่องราว
ติดตามรับชม
The Beguiled เล่ห์ลวง พิศวาส ปรารถนา
วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม เวลา 23.35 น. ทางช่อง MONO29
แสงธรรมชาติใน The Beguiled: เบื้องหลังงานกำกับภาพสุดอลังในหนังชาย 1 หญิง 7 ของโซเฟีย คอปโปลา
แต่สิ่งหนึ่งที่ The Beguiled โดดเด่นมากคืองานกำกับภาพของ ฟิลิปป์ เลอ ซัวร์ จาก A Good Year (2006, ริดลีย์ สก็อตต์) และ The Grandmaster (2013, หว่อง กาไว) ที่ภาพที่ปรากฏในหนังนั้นทั้งดูอ่อนนุ่ม สวยงาม และคุกคามในเวลาเดียวกัน
“เราถ่ายทำฉากนี้กันที่รัฐหลุยส์เซียน่า และหนึ่งในหนังที่ผมใช้มาเป็นเรฟเฟอร์เรนซ์คือ ‘Rashomon’ (1950, อาคิระ คุโรซาวะ)” เลอ ซัวร์อธิบาย “นั่นเพราะผมพยายามทำให้ป่านี้มันลึกลับจนเกือบจะดูเป็นป่าช้า เหมือนเราก้าวเข้าไปสู่ความดำมืดของสงครามกลางเมืองกับตัวละครด้วยเลย”
ความที่มันเป็นหนังที่ว่าด้วยกลุ่มผู้หญิงที่แสดงท่าทีที่ต่างกันออกไปต่อชายหนุ่มเพียงคนเดียวในบ้าน ทำให้เลอ ซัวร์ออกแบบทิศทางของกล้องเพื่อขับเน้นในประเด็นนี้ “ผู้ชายในเรื่องต้องดูเป็นวัตถุ หมอนี่ต้องดูดุดัน มีความเป็นชายสูง ขณะที่ภาพของผู้หญิงนั้น ผมอยากให้ภาพมันออกมานุ่มกว่า” ทั้งการที่คอปโปลาเองตั้งใจจะให้คนดูจับจ้องการเคลื่อนไหวและภาษากายของนักแสดง กล้องจึงแช่ภาพการแสดงโดยตรง “เราพยายามจะหลีกเลี่ยงการเคลื่อนกล้องที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด และผมพบว่า ยิ่งคุณขยับกล้องมากเท่าไหร่ คุณยิ่งได้อารมณ์กลับมาน้อยเท่านั้น”
นั่นทำให้เลอ ซัวร์ถ่ายทำหนังในอัตราส่วน 1.66:1 เพื่อขับเน้นให้คนดูได้เห็นภาษากายและการเคลื่อนไหวของนักแสดงได้ชัดขึ้น “ก็หนังเรื่องนี้มันไม่ได้พูดถึงเรื่องพื้นที่ทิวทัศน์ มันพูดเรื่องคน” เขาว่า และใช้เลนส์วินเทจถ่ายเพื่อให้ภาพดูนุ่ม (“ไม่ใช่เพราะผมอยากจะทำตัวย้อนยุคอะไรหรอกนะ”) เว้นแต่ฉากกลางคืนที่เขาหันไปใช้เลนส์ที่จับภาพความไวสูงแทน แต่ยังยืนยันที่จะใช้แสงจากเทียนไขและแสงธรรมชาติเป็นหลักในการเล่าเรื่องอยู่ดี
“การเคลื่อนไหวน่ะมันใช้เพื่อขับเน้นความดราม่าในหนังได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะจำเป็นต่อการแสดงอารมณ์อะไรทั้งนั้น บางครั้ง อารมณ์ที่นักแสดงส่งมาก็หายไปเพียงเพราะกล้องขยับเพียงครั้งเดียว”
วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม เวลา 23.35 น. ทางช่อง MONO29
: https://movie.mthai.com/bioscope