ยังหลักหมื่น! ยอดติดเชื้อใหม่10,486ราย หายป่วย10,711 ราย เสียชีวิตอีก94
https://www.dailynews.co.th/news/375997/
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 94 ราย ขณะที่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 10,486 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,733,327 ราย
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 15 ต.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 10,486 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10,319 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 167 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 มีจำนวน 1,733,327 ราย หายป่วยกลับบ้าน 10,711 ราย หายป่วยสะสม 1,609,035 ราย กำลังรักษา 107,606 ราย
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 94 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 มียอดสะสมสูงถึง 18,123 ราย
ประชาสังคมเตือน สธ. ยาโมลนูพิราเวียร์ไม่มีสิทธิบัตรในไทย อย่าซื้อแพงเกินจำเป็น ยาอินเดียถูกกว่าเกือบ 50 เท่า
https://prachatai.com/journal/2021/10/95479
14 ต.ค.2564 ฝ่ายข้อมูลเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แจ้งว่า 7 องค์กรภาคประชาสังคมมีจดหมายถึงกระทรวงสาธารณสุข เรียกร้องให้ต่อรองราคายาโมลนูพิราเวียร์ที่กำลังจะจัดซื้อในเดือนธันวาคมสำหรับผู้ป่วย 2 แสนรายให้ได้ราคาที่เหมาะสม และนำเข้ายาชนิดนี้เดียวกันที่ราคาถูกกว่าเกือบ 50 เท่าจากอินเดียมาใช้แทนหลังจากนั้น
ในจดหมายที่ส่งถึงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงฯ อธิบดีกรมการแพทย์ และเลขาธิการของ อย. เมื่อ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา นิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนองค์กรประชาสังคมที่ทำงานส่งเสริมการเข้าถึงยา ระบุว่ายาโมลนูพิราเวียร์ไม่มีสิทธิบัตรในประเทศไทย ไทยสามารถนำเข้ายาที่กำลังจะผลิตและขายโดยบริษัทยาในอินเดียได้ในราคาที่ 400 – 460 บาทต่อการรักษา ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังเจรจาขอซื้อยาจากบริษัทเมอร์ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทยาต้นแบบและมีแผนจะขายในอเมริการาคา 23,000 บาทต่อการรักษา
“แม้ว่าบริษัทเมอร์ค จำกัดอาจยอมลดราคาให้ไทย ตามนโยบายกำหนดราคาให้ประเทศต่างๆ ตามความพัฒนาของประเทศก็ตาม แต่คาดการณ์ได้ว่าน่าจะยังเป็นราคาที่แพงและเป็นภาระงบประมาณก้อนใหญ่กับระบบสาธารณสุขของไทย ในขณะที่บริษัทยาที่อินเดียผลิตยานี้ได้ ไทยสามารถนำเข้าหรือผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ได้ในราคาที่ถูกกว่ามาก เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องสิทธิบัตร” นิมิตร์ กล่าว
นอกจากนี้ งานวิจัยฉบับหนึ่งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ทำร่วมกับโรงพยาบาลแพทย์ของคิงส์คอลเลจ ยังพบว่าต้นทุนการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ราคาถูกมาก และไม่ควรมีราคาขายไม่เกิน 19.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 660 บาท) ต่อการรักษา ซึ่งราคาที่อ้างในงานวิจัยนี้ได้รวมต้นทุนการผลิตและบวกกำไรร้อยละ 10 และภาษีร้อยละ 27 แล้ว
กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม (มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.), ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.), มูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, ชมรมเภสัชชนบท, และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ภาคประชาชน (FTA Watch)) มีข้อเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขต่อรองราคากับบริษัทเมอร์ค จำกัดให้ได้ราคาที่เหมาะสมสำหรับยาที่จะจัดซื้อสำหรับรักษาผู้ป่วยได้ 200,000 รายในเดือนธันวาคมนี้ และนำเข้ายาโมลนูพิราเวียร์ที่เป็นยาชื่อสามัญจากอินเดียหรือให้บริษัทยาในประเทศผลิตในราคาที่ถูกในระยะต่อไป ทั้งนี้ ขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยเร่งพิจารณาและอนุญาตการขึ้นทะเบียนยาโมลนูพิราเวียร์ที่เป็นยาชื่อสามัญ เมื่อมีการมาขอขึ้นทะเบียนยา
ผลจากการวิจัยทดลองยาโมลนูพิราเวียร์ในระยะที่ 3 พบว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ช่วยลดอัตราการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลหรืออัตราการเสียชีวิตลดได้มากถึงร้อยละ 50 ในผู้ป่วยโควิด 19 ที่เป็นผู้ใหญ่และมีอาการป่วยไม่รุนแรง โดยที่ผู้ป่วยต้องกินยาในขนาด 800 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมงต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน บริษัทเมอร์ค จำกัดกำลังขอขึ้นทะเบียนยาโมลนูพิราเวียร์เป็นยารักษาโควิด 19 เป็นกรณีฉุกเฉินกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของสหรัฐฯ และมีแผนที่จะขอขึ้นทะเบียนยานี้กับ อย. ในหลายประเทศทั่วโลก
ยาโมลนูพิราเวียร์ไม่มีสิทธิบัตรจดไว้ในประเทศอินเดียและไทย ขณะนี้มีบริษัทยาชื่อสามัญในอินเดียสามารถผลิตยานี้และกำลังขอขึ้นทะเบียนยากับ อย. ของอินเดียมากกว่า 8 บริษัท และคาดหมายว่าจะได้รับการอนุมัติและเริ่มขายในอินเดียปลายเดือน ต.ค. นี้ ซึ่งจะส่งผลให้มียาโมลนูพิราเวียร์หลายยี่ห้อแข่งขันในตลาดและมีราคาไม่แพง
ในขณะที่ประเทศเวียดนามได้เริ่มรักษาโควิด 19 ด้วยยาโมลนูพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงเกือบ 200,000 รายนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยให้กินยาและรักษาตัวที่บ้าน
ส.เอสเอ็มอี ฝาก 5 ข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งลงมือ หลังเปิดประเทศ
https://www.matichon.co.th/economy/news_2991087
สมาพันธ์เอสเอ็มอี ชี้ผ่อน ศบค.คลายล็อก ดีต่อเศรษฐกิจ ฝาก 5 ข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งลงมือ
นาย
แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ว่า การปรับเวลาเคอร์ฟิว เป็นเวลา 23.00-03.00 น. รวมถึงลดจำนวนพื้นที่ควบคุมเข้มงวดและสูงสุดลงนั้น เป็นผลดีเศรษฐกิจ ให้กิจกกรมต่างๆกลับมาเป็นปกติ ทั้งต่อประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านการคมนาคม ด้านการขนส่งสินค้า ทำได้สะดวก ทางร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ก็เพิ่มโอกาสในการค้าขายมากขึ้น
แต่จากการผ่อนคลายมาตรการนั้น นอกจากจะมีผลในด้านบวกแล้ว ก็ยังมีผลทางด้านลบ ด้วย เพราะถ้ามีการผ่อนคลายแล้ว การควบคุมหรือการเฝ้าระวังที่ไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เชื้อโควิด-19 กลับมาแพร่ระบาดและมีอัตราการติดเชื้อสูงได้อีกครั้ง จึงอยากให้รัฐบาล เร่งดำเนินการตามข้อเสนอดังนี้
1. เร่งกระจายวัคซีนให้ทั่วถึง ทุกคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เร่งแค่เพียงในพื้นที่ ที่จัดเป็นพื้นที่ควบคุมเข้ม เนื่องจากผลของการระบาดนั้น เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ ดังนั้นการกระจายให้ทั่วถึง ประชากรทุกคนโดยเร็ว จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้มากขึ้น
2. เรื่องของชุดตรวจโควิด-19 แบบแอนติเจนเทสต์คิต หรือ เอทีเค นั้น ในภาคธุรกิจก็ให้การสนับสนุนและพร้อมที่จะใช้ในการช่วยคัดกรองแรงงานตามที่รัฐบาลออกมาตรการ ซึ่งทางสมาพันธ์เอสเอ็มไทย ได้ร่วมกับ ผู้นำเข้าชุดตรวจเอทีเคที่ได้รับการรับรอง ในการจัดหาชุคตรวจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ให้เข้าถึงได้ง่าย และอยู่ในราคาที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบัน ราคาที่หาได้ อยู่ที่ 77 บาทต่อชุด ซึ่งถือว่าราคาสูงกว่าที่รัฐบาลเคยประกาศไว้ ที่ว่าจะอยู่ 30-40 ทำให้ผู้ประกอบต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
“จึงอยากเสนอให้ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาควบคุมราคาชุดตรวจเอทีเค ให้ได้ในราคาไม่เกิน 40 บาท เชื่อว่าถ้าอยู่ในราคานี้ ผู้ประกอบการจะเข้าถึงและหามาใช้งานมากขึ้น จะเป็นอีกทางที่จะช่วยในการควบคุมการระบาดของโควิดได้” นาย
แสงชัย กล่าว
3. คืออยากให้รัฐบาลทำเอกสารประชาสัมพันธ์ เป็นความรู้เรื่องเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังโควิด อาจจะเป็นเอกสาร คู่มือ ทางออนไลน์ หรือเป็นวิดีโอ ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ อาทิ เมี่อคลายล็อกดาวน์แล้วแต่ละกิจกรรมทำอะไรได้บ้าง หากกรณีผู้ประกอบการพบผู้ติดเชื้อ ควรทำอย่างไรต่อ เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
4. คือมาตรการเยียวยา ส่วนแรกขอชื่นชมในมาตรการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพอิสระ คนขับแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์รับจ้าง ที่อายุเกิน 65 ปี ที่เข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยาก่อนหน้านี้ เข้าที่เพิ่งผ่านมติ คณะรัฐมนตรีไป เป็นสิ่งที่ช่วยได้อย่างมาก แต่ขณะนี้ ยังมีแรงงานอีกจำนวนมาก ที่ยังตกหล่น จึงอยากให้เร่งตรวจสอบ และติดตาม คนที่ต้องค้าง ให้ได้รับการเยียวยาโดยเร็ว นอกจากนี้ ก็อยากให้ช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการและคนขับแท็กซี่ หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ในเรื่องของการผ่อนผันการชำระหนี้คงค้าง ไม่ให้ถึงยึดรถที่ใช้ประกอบอาชีพไป
5. เรื่องการเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟูต่างๆ ขณะนี้ยังพบปัญหาที่ว่า การจะขอสินเชื่อต้องใช้หลักฐาน ความสามารถในการชำระหนี้อยู่ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ เอสเอ็มอี เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ดังนั้นรัฐบาลควรดูแลให้เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง นอกจากจะเติมทุน เป็นเงินแล้ว ควรสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประการ พัฒนากิจการในเข้ากับสู่ยุคสมัยด้วย ทั้งทุนมนุษย์ คือการเติมความรู้ และทุนโอกาส คือทำอย่างไรให้เข้าถึงได้โดยง่าย กว้างขวาง ทำธุรกิจได้โดยที่มีต้นทุนต่ำลง เพราะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นั้นแตกต่างจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่
“สุดท้ายนี้ ทั้ง 5 ข้อเสนอนี้ รวมถึงมาตรการต่างๆ หลังจากมีการผ่อนคลายล็อกดาวน์รัฐบาลออกไปแล้ว นั้น อยากฝากว่า ให้มีการประเมิน และสำรวจผู้ตกหล่นให้หมด และช่วยให้เข้าถึงอย่างเร็วที่สุด แล้วค่อยไปสู่ ข้อเสนอที่ 5 เพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุน และนำไปสู่การพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถให้ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำโดยด่วน” นาย
แสงชัย กล่าว
JJNY : ติดเชื้อ10,486 เสียชีวิต94│ประชาสังคมเตือนสธ. ยาอินเดียถูกกว่า│ส.SMEsฝาก5ข้อเร่งลงมือ│เตือน4ภาค ฝนหนักถึงหนักมาก
https://www.dailynews.co.th/news/375997/
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 94 ราย ขณะที่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 10,486 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,733,327 ราย
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 15 ต.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 10,486 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10,319 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 167 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 มีจำนวน 1,733,327 ราย หายป่วยกลับบ้าน 10,711 ราย หายป่วยสะสม 1,609,035 ราย กำลังรักษา 107,606 ราย
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 94 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 มียอดสะสมสูงถึง 18,123 ราย
ประชาสังคมเตือน สธ. ยาโมลนูพิราเวียร์ไม่มีสิทธิบัตรในไทย อย่าซื้อแพงเกินจำเป็น ยาอินเดียถูกกว่าเกือบ 50 เท่า
https://prachatai.com/journal/2021/10/95479
14 ต.ค.2564 ฝ่ายข้อมูลเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แจ้งว่า 7 องค์กรภาคประชาสังคมมีจดหมายถึงกระทรวงสาธารณสุข เรียกร้องให้ต่อรองราคายาโมลนูพิราเวียร์ที่กำลังจะจัดซื้อในเดือนธันวาคมสำหรับผู้ป่วย 2 แสนรายให้ได้ราคาที่เหมาะสม และนำเข้ายาชนิดนี้เดียวกันที่ราคาถูกกว่าเกือบ 50 เท่าจากอินเดียมาใช้แทนหลังจากนั้น
ในจดหมายที่ส่งถึงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงฯ อธิบดีกรมการแพทย์ และเลขาธิการของ อย. เมื่อ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา นิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนองค์กรประชาสังคมที่ทำงานส่งเสริมการเข้าถึงยา ระบุว่ายาโมลนูพิราเวียร์ไม่มีสิทธิบัตรในประเทศไทย ไทยสามารถนำเข้ายาที่กำลังจะผลิตและขายโดยบริษัทยาในอินเดียได้ในราคาที่ 400 – 460 บาทต่อการรักษา ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังเจรจาขอซื้อยาจากบริษัทเมอร์ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทยาต้นแบบและมีแผนจะขายในอเมริการาคา 23,000 บาทต่อการรักษา
“แม้ว่าบริษัทเมอร์ค จำกัดอาจยอมลดราคาให้ไทย ตามนโยบายกำหนดราคาให้ประเทศต่างๆ ตามความพัฒนาของประเทศก็ตาม แต่คาดการณ์ได้ว่าน่าจะยังเป็นราคาที่แพงและเป็นภาระงบประมาณก้อนใหญ่กับระบบสาธารณสุขของไทย ในขณะที่บริษัทยาที่อินเดียผลิตยานี้ได้ ไทยสามารถนำเข้าหรือผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ได้ในราคาที่ถูกกว่ามาก เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องสิทธิบัตร” นิมิตร์ กล่าว
นอกจากนี้ งานวิจัยฉบับหนึ่งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ทำร่วมกับโรงพยาบาลแพทย์ของคิงส์คอลเลจ ยังพบว่าต้นทุนการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ราคาถูกมาก และไม่ควรมีราคาขายไม่เกิน 19.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 660 บาท) ต่อการรักษา ซึ่งราคาที่อ้างในงานวิจัยนี้ได้รวมต้นทุนการผลิตและบวกกำไรร้อยละ 10 และภาษีร้อยละ 27 แล้ว
กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม (มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.), ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.), มูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, ชมรมเภสัชชนบท, และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ภาคประชาชน (FTA Watch)) มีข้อเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขต่อรองราคากับบริษัทเมอร์ค จำกัดให้ได้ราคาที่เหมาะสมสำหรับยาที่จะจัดซื้อสำหรับรักษาผู้ป่วยได้ 200,000 รายในเดือนธันวาคมนี้ และนำเข้ายาโมลนูพิราเวียร์ที่เป็นยาชื่อสามัญจากอินเดียหรือให้บริษัทยาในประเทศผลิตในราคาที่ถูกในระยะต่อไป ทั้งนี้ ขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยเร่งพิจารณาและอนุญาตการขึ้นทะเบียนยาโมลนูพิราเวียร์ที่เป็นยาชื่อสามัญ เมื่อมีการมาขอขึ้นทะเบียนยา
ผลจากการวิจัยทดลองยาโมลนูพิราเวียร์ในระยะที่ 3 พบว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ช่วยลดอัตราการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลหรืออัตราการเสียชีวิตลดได้มากถึงร้อยละ 50 ในผู้ป่วยโควิด 19 ที่เป็นผู้ใหญ่และมีอาการป่วยไม่รุนแรง โดยที่ผู้ป่วยต้องกินยาในขนาด 800 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมงต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน บริษัทเมอร์ค จำกัดกำลังขอขึ้นทะเบียนยาโมลนูพิราเวียร์เป็นยารักษาโควิด 19 เป็นกรณีฉุกเฉินกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของสหรัฐฯ และมีแผนที่จะขอขึ้นทะเบียนยานี้กับ อย. ในหลายประเทศทั่วโลก
ยาโมลนูพิราเวียร์ไม่มีสิทธิบัตรจดไว้ในประเทศอินเดียและไทย ขณะนี้มีบริษัทยาชื่อสามัญในอินเดียสามารถผลิตยานี้และกำลังขอขึ้นทะเบียนยากับ อย. ของอินเดียมากกว่า 8 บริษัท และคาดหมายว่าจะได้รับการอนุมัติและเริ่มขายในอินเดียปลายเดือน ต.ค. นี้ ซึ่งจะส่งผลให้มียาโมลนูพิราเวียร์หลายยี่ห้อแข่งขันในตลาดและมีราคาไม่แพง
ในขณะที่ประเทศเวียดนามได้เริ่มรักษาโควิด 19 ด้วยยาโมลนูพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงเกือบ 200,000 รายนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยให้กินยาและรักษาตัวที่บ้าน
ส.เอสเอ็มอี ฝาก 5 ข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งลงมือ หลังเปิดประเทศ
https://www.matichon.co.th/economy/news_2991087
สมาพันธ์เอสเอ็มอี ชี้ผ่อน ศบค.คลายล็อก ดีต่อเศรษฐกิจ ฝาก 5 ข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งลงมือ
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ว่า การปรับเวลาเคอร์ฟิว เป็นเวลา 23.00-03.00 น. รวมถึงลดจำนวนพื้นที่ควบคุมเข้มงวดและสูงสุดลงนั้น เป็นผลดีเศรษฐกิจ ให้กิจกกรมต่างๆกลับมาเป็นปกติ ทั้งต่อประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านการคมนาคม ด้านการขนส่งสินค้า ทำได้สะดวก ทางร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ก็เพิ่มโอกาสในการค้าขายมากขึ้น
แต่จากการผ่อนคลายมาตรการนั้น นอกจากจะมีผลในด้านบวกแล้ว ก็ยังมีผลทางด้านลบ ด้วย เพราะถ้ามีการผ่อนคลายแล้ว การควบคุมหรือการเฝ้าระวังที่ไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เชื้อโควิด-19 กลับมาแพร่ระบาดและมีอัตราการติดเชื้อสูงได้อีกครั้ง จึงอยากให้รัฐบาล เร่งดำเนินการตามข้อเสนอดังนี้
1. เร่งกระจายวัคซีนให้ทั่วถึง ทุกคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เร่งแค่เพียงในพื้นที่ ที่จัดเป็นพื้นที่ควบคุมเข้ม เนื่องจากผลของการระบาดนั้น เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ ดังนั้นการกระจายให้ทั่วถึง ประชากรทุกคนโดยเร็ว จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้มากขึ้น
2. เรื่องของชุดตรวจโควิด-19 แบบแอนติเจนเทสต์คิต หรือ เอทีเค นั้น ในภาคธุรกิจก็ให้การสนับสนุนและพร้อมที่จะใช้ในการช่วยคัดกรองแรงงานตามที่รัฐบาลออกมาตรการ ซึ่งทางสมาพันธ์เอสเอ็มไทย ได้ร่วมกับ ผู้นำเข้าชุดตรวจเอทีเคที่ได้รับการรับรอง ในการจัดหาชุคตรวจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ให้เข้าถึงได้ง่าย และอยู่ในราคาที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบัน ราคาที่หาได้ อยู่ที่ 77 บาทต่อชุด ซึ่งถือว่าราคาสูงกว่าที่รัฐบาลเคยประกาศไว้ ที่ว่าจะอยู่ 30-40 ทำให้ผู้ประกอบต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
“จึงอยากเสนอให้ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาควบคุมราคาชุดตรวจเอทีเค ให้ได้ในราคาไม่เกิน 40 บาท เชื่อว่าถ้าอยู่ในราคานี้ ผู้ประกอบการจะเข้าถึงและหามาใช้งานมากขึ้น จะเป็นอีกทางที่จะช่วยในการควบคุมการระบาดของโควิดได้” นายแสงชัย กล่าว
3. คืออยากให้รัฐบาลทำเอกสารประชาสัมพันธ์ เป็นความรู้เรื่องเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังโควิด อาจจะเป็นเอกสาร คู่มือ ทางออนไลน์ หรือเป็นวิดีโอ ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ อาทิ เมี่อคลายล็อกดาวน์แล้วแต่ละกิจกรรมทำอะไรได้บ้าง หากกรณีผู้ประกอบการพบผู้ติดเชื้อ ควรทำอย่างไรต่อ เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
4. คือมาตรการเยียวยา ส่วนแรกขอชื่นชมในมาตรการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพอิสระ คนขับแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์รับจ้าง ที่อายุเกิน 65 ปี ที่เข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยาก่อนหน้านี้ เข้าที่เพิ่งผ่านมติ คณะรัฐมนตรีไป เป็นสิ่งที่ช่วยได้อย่างมาก แต่ขณะนี้ ยังมีแรงงานอีกจำนวนมาก ที่ยังตกหล่น จึงอยากให้เร่งตรวจสอบ และติดตาม คนที่ต้องค้าง ให้ได้รับการเยียวยาโดยเร็ว นอกจากนี้ ก็อยากให้ช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการและคนขับแท็กซี่ หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ในเรื่องของการผ่อนผันการชำระหนี้คงค้าง ไม่ให้ถึงยึดรถที่ใช้ประกอบอาชีพไป
5. เรื่องการเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟูต่างๆ ขณะนี้ยังพบปัญหาที่ว่า การจะขอสินเชื่อต้องใช้หลักฐาน ความสามารถในการชำระหนี้อยู่ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ เอสเอ็มอี เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ดังนั้นรัฐบาลควรดูแลให้เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง นอกจากจะเติมทุน เป็นเงินแล้ว ควรสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประการ พัฒนากิจการในเข้ากับสู่ยุคสมัยด้วย ทั้งทุนมนุษย์ คือการเติมความรู้ และทุนโอกาส คือทำอย่างไรให้เข้าถึงได้โดยง่าย กว้างขวาง ทำธุรกิจได้โดยที่มีต้นทุนต่ำลง เพราะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นั้นแตกต่างจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่
“สุดท้ายนี้ ทั้ง 5 ข้อเสนอนี้ รวมถึงมาตรการต่างๆ หลังจากมีการผ่อนคลายล็อกดาวน์รัฐบาลออกไปแล้ว นั้น อยากฝากว่า ให้มีการประเมิน และสำรวจผู้ตกหล่นให้หมด และช่วยให้เข้าถึงอย่างเร็วที่สุด แล้วค่อยไปสู่ ข้อเสนอที่ 5 เพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุน และนำไปสู่การพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถให้ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำโดยด่วน” นายแสงชัย กล่าว