💖มาลาริน/ข่าวดีๆขานรับนายกฯลุงตู่เปิดประเทศ..ต่างชาติมองไทยเปิดประเทศ วิเคราะห์เงินบาทแข็งค่ารับข่าวดี

เพี้ยนปักหมุดต่างชาติมองไทยเปิดประเทศ วิเคราะห์เงินบาทแข็งค่ารับข่าวดี



นักวิเคราะห์ชี้เงินบาทแข็งค่ารับนโยบายเปิดประเทศ นักท่องเที่ยวต่างชาติแห่แสดงความคิดเห็น

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม อันเป็นผลมาจากการผ่อนปรนข้อกำหนดการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคึกคัก
จากผลสำรวจของ Bloomberg คาดว่าค่าเงินบาทจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 32.6 ต่อดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 2% จากระดับปัจจุบัน

ขณะที่เงินเปโซของฟิลิปปินส์และริงกิตมาเลเซียคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1% และ 0.5% ตามลำดับ ในทางกลับกันคาดว่ารูเปียห์ของอินโดนีเซียจะลดลง 0.6% จากระดับปัจจุบัน

Divya Devesh หัวหน้าฝ่ายวิจัยการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศประจำภูมิภาคอาเซียนและเอเชียใต้ของ Standard Chartered เชื่อว่าการเปิดประเทศจะสร้างผลกระทบเชิงบวกในตลาดในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทฟื้นตัว หลังจากที่ร่วงลงงสู่จุดต่ำสุดของการจัดอันดับสกุลเงินของเอเชีย โดยขาดทุนเกือบ 11% ในปีนี้

เช่นเดียวกับ Irene Cheung นักยุทธศาสตร์อาวุโสจาก Australia & New Zealand Banking Group ซึ่งมองว่าการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเป็นกุญแจสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย

อย่างไรก็ตาม Yanxi Tan นักยุทธศาสตร์การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจาก Malayan Banking Bhd มองว่ารายรับจากการท่องเที่ยวอาจฟื้นตัวช้าในระยะแรก และคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าอย่างชัดเจนมากขึ้นหลังผ่านไปแล้ว 2 ถึง 3 ไตรมาส แต่เชื่อว่าสิ้นปีนี้เงินบาทอาจแตะระดับ 33 ต่อดอลลาร์

โดยภายหลังจากที่ไทยประกาศว่าจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโควิด-19 และเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยโดยทางอากาศได้โดยไม่ต้องกักตัว เมื่อแสดงผลตรวจเชื้อเป็นลบ
บรรดาสำนักข่าวและเว็บไซต์ต่างประเทศก็ได้นำเสนอข่าวดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางความคิดเห็นต่างๆ นานาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงแฟนแพจเฟซบุ๊กของ BBC News

โดยชาวต่างชาติส่วนหนึ่งยังคงมีความกังวลที่จะท่องเที่ยวในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงน่าเป็นห่วง หรืออาจมีโอกาสที่จะมีผู้ติดเชื้อจากต่างชาติเล็ดลอดเข้ามาในประเทศไทยได้

ขณะที่บางคนมองว่าโควิด-19 ได้ทำให้วิถีชีวิตของทุกคนเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง และไม่คิดว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่จากสิ่งนี้

อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติจำนวนมากมองว่าการที่ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวนั้นเป็นข่าวดี และพวกเขาก็หวังว่าจะได้มาเที่ยวที่ประเทศไทยเร็วๆ นี้



https://www.posttoday.com/world/665382

พาพันไฟท์ติ้ง ถึงเวลาที่คนไทยต้องเรียนรู้ สู้กับโควิดให้ได้ค่ะ

ได้เวลาอันเหมาะสมแล้ว  ทั่วโลกพร้อมเปิดประเทศเพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างขับเคลื่อนไปได้ไม่หยุดนิ่ง ใครๆก็เห็นด้วย..
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12

รัฐบาลเร่งดำเนินคดี ฉ้อโกง - หลอกขายของออนไลน์ ปชช. สามารถร้องเรียน/ร้องทุกข์ โทร. สายด่วน 1212 และ 1441

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และหน่วยงานอื่น ๆ กำลังเร่งดำเนินการสืบสวนเอาผิดมิจฉาชีพออนไลน์ คดีฉ้อโกงและหลอกหลวงประชาชน

เนื่องจากตั้งแต่เดือนม.ค. - ต.ค. ที่ผ่านมา มีประชาชนร้องเรียนผ่านสายด่วน 1212 เข้ามามาก เช่น การสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้า ได้รับสินค้าไม่ตรงตามโฆษณา เป็นต้น

สำหรับสัดส่วนการร้องเรียนจากการซื้อผ่านเฟซบุ๊ก สูงสุดถึง 82.4% (19,296 ครั้ง) เว็บไซต์ 4.6% และอินสตาแกรม 4.3%

โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเร่งดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 11 ที่ต้องโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท อีกด้วย

ประชาชนสามารถร้องเรียน/ร้องทุกข์ ได้ที่
> สายด่วน 1212 และ เบอร์ 1441 สายด่วนตำรวจไซเบอร์  
> https://www.1212occ.com
> อีเมล์ 1212@mdes.go.th

อ่านเพิ่มเติม https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46795
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1275101329622337


ใช้สิทธิ์คนละครึ่ง ในระบบขนส่งสาธารณะ และรถไฟฟ้า MRT กระทรวงคมนาคม ร่วมโครงการ คนละครึ่ง เฟส 3
สามารถใช้สิทธิ์ได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64
https://www.facebook.com/sod.mot/posts/5118570744825643


สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC ครั้งที่ 3/2564 (ผ่านระบบ Video Conference) ที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในพื้นที่ EEC เป็นอย่างมาก โดยเน้นย้ำให้ดึงดูดกลุ่ม EU และประเทศที่มีศักยภาพให้มาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน 7 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งการศึกษา การวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ พร้อมเร่งรัดดำเนินการเรื่องที่ยังติดค้างอยู่ให้สำเร็จภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย สอดคล้องกับสถานการณ์การยกระดับเศรษฐกิจของต่างประเทศในปี 2565

ทั้งนี้ รัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุน โดยยังเร่งรัดฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายและยืนยันวัคซีนมีเพียงพอสำหรับฉีดให้กับประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งในกลุ่มแรงงานซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากนี้ ยังเน้นการใช้ศักยภาพทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรทางพืชเกษตรที่ไทยมีอยู่จำนวนมาก ให้มอบ อว. กับหน่วยงานวิจัย ช่วยวิจัยพัฒนาแปรรูปพืชผลทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าพืชเกษตรให้สูงขึ้น แก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดและตกต่ำรวมทั้งให้ขยายโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EEC) ไปสู่ทางด้านธุรกิจประมง ทั้งการจัดห้องเย็นให้เพียงพอและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของสิ้นค้าต่างๆ ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

โดยที่ประชุมได้มีการรับทราบและเห็นชอบวาระสำคัญ อาทิ

• โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F
• แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2566 - 2570) ในส่วน โครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EEC)
• แผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA เพื่อขยายผลสู่การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
• โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง เป็น 1 ในโครงการ EEC Project List
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/646062033445789


บอร์ดบีโอไออนุมัติมาตรการสนับสนุนการยกระดับอุตสาหกรรมและบริการให้เป็นระบบอัจฉริยะ และก้าวไปสู่ Industry 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมขยายระยะเวลามาตรการหนุน SMEs เพื่อเร่งสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการยกระดับไปสู่ Industry 4.0 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามเกณฑ์ที่กำหนดในด้านต่างๆ เช่น ระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Automation and Network Technology) การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฏิบัติการที่ชาญฉลาด (Smart Operation) หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการในกระบวนการผลิตและการบริหารองค์กร (Digital Technology in Production & Enterprise Processes) เป็นต้น โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี สัดส่วนร้อยละ 100 ของเงินลงทุนในการปรับปรุง ทั้งนี้ ต้องเสนอแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565 และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม

“จากการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคอุตสาหกรรมไทยกว่าร้อยละ 70 ยังอยู่ในระดับอุตสาหกรรม 2.0 หรือต่ำกว่า ระดับอุตสาหกรรม 3.0 มีเพียงร้อยละ 28 บีโอไอจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการสนับสนุนการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งต้องมีการปรับปรุงในหลายมิติไปพร้อมๆ กัน ทั้งระบบอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะ และเทคโนโลยีดิจิทัล และใช้เงินลงทุนสูง มาตรการใหม่นี้จะช่วยเสริมมาตรการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่ระบบอัตโนมัติและมาตรการสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ที่มีอยู่เดิม ” เลขาธิการบีโอไอ กล่าว

ที่ประชุมฯ อนุมัติขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นสิ้นสุดวันทำการสุดท้ายของปี 2565 จากเดิมมาตรการจะสิ้นสุดในวันทำการสุดท้ายของปี 2564 โดยมาตรการพิเศษสำหรับ SMEs กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าจากเกณฑ์ปกติ และผ่อนปรนเงื่อนไขต่างๆ รวมถึงการให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) เพื่อกระตุ้นให้ SMEs พัฒนาศักยภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งจะช่วยให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ ตลอดจนส่งเสริม SMEs ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
https://www.facebook.com/mumdrone/posts/293368689283415


บีโอไอสรุปภาวะการลงทุน ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 สถิติการขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นเกินคาด มีมูลค่ารวมมากกว่า 5 แสนล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นโดยสูงกว่าปี 2563 ทั้งปี และยังสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยก่อนเกิดโควิดในช่วงปี 2558 – 2562 ขณะที่การลงทุนผ่าน FDI มูลค่าก็เพิ่มขึ้นสอดคล้องกัน โดยมีอัตราเติบโตมากกว่า 200% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค. - ก.ย.) ปี 2564 มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,273 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 520,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 140 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าสูงกว่าปี 2563 ทั้งปี (432,000 ล้านบาท) และสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยก่อนเกิดโควิดช่วงปี 2558 – 2562 (483,664 ล้านบาท)

กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 269,730 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 ของมูลค่าการขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุดอันดับแรก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 77,210 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการย้ายฐานการผลิตและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เปลี่ยนกิจกรรมของคนทำงานในรูปแบบ WFH ทำให้มีความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น อันดับ 2 อุตสาหกรรมการแพทย์ 59,210 ล้านบาท ซึ่งก็เป็นการลงทุนต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโควิด เช่น ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นอย่างมาก อันดับ 3 ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 36,760 ล้านบาท อันดับ 4 การเกษตรและแปรรูปอาหาร 31,660 ล้านบาท และอันดับ 5 เทคโนโลยีชีวภาพ 20,950 ล้านบาท

สำหรับมูลค่าขอรับการส่งเสริมจากต่างประเทศ หรือ FDI ช่วง 9 เดือนแรกปี 2564 มีจำนวน 587 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 372,068 ล้านบาท โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 220 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่มีมูลค่าลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 67,816 ล้านบาท สหรัฐฯ 26,936 ล้านบาท และสิงคโปร์ 26,882 ล้านบาท

สำหรับพื้นที่เป้าหมาย EEC มีการขอรับส่งเสริมจำนวน 348 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 173,780 ล้านบาท โดยจังหวัดระยอง มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 91,670 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี มูลค่าเงินลงทุน 54,310 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทรา มูลค่าเงินลงทุน 27,800 ล้านบาท ตามลำดับ

นอกจากนี้ การขอรับส่งเสริมตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ในช่วง 9 เดือนแรกมีจำนวน 134 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 14,806 ล้านบาท โดยการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมีมูลค่าสูงสุด รองลงมาคือ การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน พลังงานทดแทน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการตื่นตัวเรื่องการใช้พลังงานทดแทน โครงการที่ขอสิทธิประโยชน์สำหรับการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนไว้ใช้เองได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประมาณการว่าโครงการเหล่านี้ที่ยื่นคำขอในปีจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนรวมถึง 300 เมกกะวัตต์

“นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติยังคงให้ความสนใจยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อีกทั้งผู้ประกอบการมีความพร้อมเพื่อยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 สังเกตได้จากมีกิจการยื่นขอรับการส่งเสริมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้านเครื่องจักรด้วยการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าเงินลงทุน 7,378 ล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของคำขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ และเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท Western Digital ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอก็ได้รับคัดเลือกจาก World Economic Forum ให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติด้านการใช้เทคโนโลยีในกลุ่มของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution) มาใช้ในโรงงาน ซึ่งนับเป็นโรงงานแห่งแรกของไทยที่ได้รับรางวัลนี้ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยที่พร้อมขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตอย่างเต็มรูปแบบ”เลขาธิการบีโอไอ กล่าว
https://www.facebook.com/mumdrone/posts/293426949277589
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่