สวัสดีครับวันนี้ผมจะเพื่อนๆ ไปเที่ยวสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ กรมประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ (28 ตุลาคม 63) แต่ตอนนี้เขาปิดชั่วคราวอยู่หรือเปล่า ผมดูอากู๋บอกว่าปิดชั่วคราว
ทริปนี้ผมออกจากบ้านไปขึ้นรถเมล์สาย 134 แล้วไปลงที่พงษ์เพชร เพื่อไปต่อรถเมล์สาย 114 อีกที เมื่อมาถึงหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผมก็ลงรถเมล์แล้วเดินเข้าไปข้างในม.เกษตรศาสตร์
เจอแล้วสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ผมก็เดินเข้าไป
อัตราค่าเข้าชม
ซื้อบัตรเข้าชม วัดอุณหภูมิ เรียบร้อยแล้วผมก็เดินเข้าไปข้างในทันที เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปดูกันเลย
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดกรุงเทพมหานคร
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพมหานคร (อังกฤษ: Bangkok Aquarium) ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 บริเวณแผนกทดลองเพาะเลี้ยง เกษตรกลาง บางเขน เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวรูปโดมมีปีกสองข้าง ในระยะแรกมีตู้กระจกเลี้ยงปลาขนาดประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 20 ตู้ โดยปลาที่นำมาแสดงเป็นปลาน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ต่อมาเกิดการชำรุดทรุดโทรมและคับแคบลง กรมประมงจึงดำริที่จะสร้างสถานแสดงพันธุ์ปลาขึ้นใหม่ โดยใน พ.ศ. 2516 ได้มีความ
ตกลงร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแคนนาดาในการจัดตั้งสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ โครงการก่อสร้างสถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดแห่งใหม่จึงได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติด้วย
โดยสถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดได้ก่อสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯมาทรงเปิดสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ณ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ บางเขน อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2521 ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุดสำหรับกรมประมง
ปัจจุบันสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกลุ่มวิจัยและพัฒนาสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ภายในรั้วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และใน พ.ศ. 2546 กรมประมงได้รับงบประมาณเพื่อปรับปรุงอาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ รวมทั้งก่อสร้างอาคารจัดแสดงพรรณไม้น้ำเพิ่มเติม เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้น้ำสวยงามและทำให้สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
การจัดแสดง
ส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเป็นอาคารสูง 3 ชั้น จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดประมาณ 100 ชนิด ประกอบด้วยปลาท้องถิ่นของไทยชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ปลาหายาก ใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งปลาต่างประเทศบางชนิดด้วย ในพื้นที่จัดแสดงประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่มีความจุตั้งแต่ 1.5-24.0 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 33 ตู้ บ่อสัตว์น้ำที่สามารถสัมผัสได้ (touch pool) นอกจากนี้ยังมีแบบจำลอง และโครงกระดูกของปลากระโห้ที่เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และโครงกระดูกปลาบึกที่พบในแม่น้ำโขงมีน้ำหนักประมาณ 293 กิโลกรัม ความยาวประมาณ 2.7 เมตร ซึ่งผู้เข้าชมสามารถดูข้อมูลของปลาแต่ละชนิดได้จากป้ายที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อชนิดของปลา แหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะการกินอาหาร และลักษณะเด่นของปลาชนิดนั้นๆ ส่วนในชั้นที่ 3 จะใช้เป็นบริเวณสำหรับปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และยังมีบ่อพักปลา เพื่อใช้สับเปลี่ยนหมุนเวียนในการจัดแสดงต่อไป
ส่วนแสดงพรรณไม้น้ำเป็นอาคารเรือนกระจก (greenhouse) ชั้นเดียว โดยจากอาคารสถานแสดงพันธุ์
สัตว์น้ำจะมีทางเดินเชื่อมต่อเพื่อนำไปชมพรรณไม้น้ำของไทย ซึ่งมีทั้งที่นำมาเพาะชำไว้ในตู้กระจก ใช้ประดับตู้ภายในอาคารพรรณไม้น้ำ และเป็นแปลงสาธิตการปลูกพรรณไม้น้ำรอบๆ อาคาร โดยชนิดของพรรณไม้น้ำที่นำมาจัดแสดงนี้เป็นพรรณไม้น้ำชนิดที่ส่งออกของไทยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 100 ชนิด ซึ่งผู้เข้าชมสามารถดูข้อมูลพรรณไม้น้ำแต่ละชนิดได้จากป้ายชื่อไทย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ด้านข้างตู้
เวลาเปิดให้บริการ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชม วันอังคาร - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 16.00 น. และปิดให้บริการทุกวันจันทร์ โดยมีอัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก นักเรียน นักศึกษา 10 บาท และผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ไม่เสียค่าเข้าชม
ติดต่อ : เบอร์โทรศัพท์
กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด กรมประมง เกษตรกลาง จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0 2940 6543, 0 2562 0600 - 15 ต่อ 5118, 5220, 5221, 5222
โทรสาร. 0 2940 5623
ข้อมูล จากวิกิพีเดีย ขอขอบคุณมากครับ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ กรมประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพ (28 ตุลาคม 63)
ทริปนี้ผมออกจากบ้านไปขึ้นรถเมล์สาย 134 แล้วไปลงที่พงษ์เพชร เพื่อไปต่อรถเมล์สาย 114 อีกที เมื่อมาถึงหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผมก็ลงรถเมล์แล้วเดินเข้าไปข้างในม.เกษตรศาสตร์
เจอแล้วสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ผมก็เดินเข้าไป
อัตราค่าเข้าชม
ซื้อบัตรเข้าชม วัดอุณหภูมิ เรียบร้อยแล้วผมก็เดินเข้าไปข้างในทันที เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปดูกันเลย
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดกรุงเทพมหานคร
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพมหานคร (อังกฤษ: Bangkok Aquarium) ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 บริเวณแผนกทดลองเพาะเลี้ยง เกษตรกลาง บางเขน เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวรูปโดมมีปีกสองข้าง ในระยะแรกมีตู้กระจกเลี้ยงปลาขนาดประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 20 ตู้ โดยปลาที่นำมาแสดงเป็นปลาน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ต่อมาเกิดการชำรุดทรุดโทรมและคับแคบลง กรมประมงจึงดำริที่จะสร้างสถานแสดงพันธุ์ปลาขึ้นใหม่ โดยใน พ.ศ. 2516 ได้มีความ
ตกลงร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแคนนาดาในการจัดตั้งสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ โครงการก่อสร้างสถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดแห่งใหม่จึงได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติด้วย
โดยสถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดได้ก่อสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯมาทรงเปิดสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ณ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ บางเขน อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2521 ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุดสำหรับกรมประมง
ปัจจุบันสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกลุ่มวิจัยและพัฒนาสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ภายในรั้วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และใน พ.ศ. 2546 กรมประมงได้รับงบประมาณเพื่อปรับปรุงอาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ รวมทั้งก่อสร้างอาคารจัดแสดงพรรณไม้น้ำเพิ่มเติม เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้น้ำสวยงามและทำให้สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
การจัดแสดง
ส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเป็นอาคารสูง 3 ชั้น จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดประมาณ 100 ชนิด ประกอบด้วยปลาท้องถิ่นของไทยชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ปลาหายาก ใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งปลาต่างประเทศบางชนิดด้วย ในพื้นที่จัดแสดงประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่มีความจุตั้งแต่ 1.5-24.0 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 33 ตู้ บ่อสัตว์น้ำที่สามารถสัมผัสได้ (touch pool) นอกจากนี้ยังมีแบบจำลอง และโครงกระดูกของปลากระโห้ที่เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และโครงกระดูกปลาบึกที่พบในแม่น้ำโขงมีน้ำหนักประมาณ 293 กิโลกรัม ความยาวประมาณ 2.7 เมตร ซึ่งผู้เข้าชมสามารถดูข้อมูลของปลาแต่ละชนิดได้จากป้ายที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อชนิดของปลา แหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะการกินอาหาร และลักษณะเด่นของปลาชนิดนั้นๆ ส่วนในชั้นที่ 3 จะใช้เป็นบริเวณสำหรับปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และยังมีบ่อพักปลา เพื่อใช้สับเปลี่ยนหมุนเวียนในการจัดแสดงต่อไป
ส่วนแสดงพรรณไม้น้ำเป็นอาคารเรือนกระจก (greenhouse) ชั้นเดียว โดยจากอาคารสถานแสดงพันธุ์
สัตว์น้ำจะมีทางเดินเชื่อมต่อเพื่อนำไปชมพรรณไม้น้ำของไทย ซึ่งมีทั้งที่นำมาเพาะชำไว้ในตู้กระจก ใช้ประดับตู้ภายในอาคารพรรณไม้น้ำ และเป็นแปลงสาธิตการปลูกพรรณไม้น้ำรอบๆ อาคาร โดยชนิดของพรรณไม้น้ำที่นำมาจัดแสดงนี้เป็นพรรณไม้น้ำชนิดที่ส่งออกของไทยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 100 ชนิด ซึ่งผู้เข้าชมสามารถดูข้อมูลพรรณไม้น้ำแต่ละชนิดได้จากป้ายชื่อไทย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ด้านข้างตู้
เวลาเปิดให้บริการ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชม วันอังคาร - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 16.00 น. และปิดให้บริการทุกวันจันทร์ โดยมีอัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก นักเรียน นักศึกษา 10 บาท และผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ไม่เสียค่าเข้าชม
ติดต่อ : เบอร์โทรศัพท์
กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด กรมประมง เกษตรกลาง จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0 2940 6543, 0 2562 0600 - 15 ต่อ 5118, 5220, 5221, 5222
โทรสาร. 0 2940 5623
ข้อมูล จากวิกิพีเดีย ขอขอบคุณมากครับ