อจินไตย 4 พระพุทธเจ้าห้าม แต่ทำไมจึงมีคนอยากจะรู้

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด
เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการ
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

📌พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ 
📌ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ 
📌วิบากแห่งกรรม ๑ 
📌ความคิดเรื่องโลก ๑ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความ
เป็นบ้า เดือดร้อน ฯ

เรื่องวิบากกรรมนี่มีคนสนใจมากที่สุด ชีวิตเป็นอย่างนี้เกิดจากอะไร? ทำไมจนอย่างนี้มีวิบากกรรมอะไรติดตัวมา? ทำไมป่วยรักษาไม่หายเสียทีเป็นกรรมอะไร? แต่พระพุทธเจ้าห้ามไปสนใจ ถือเป็นอจินไตย พวกสติเฟื่องอยากจะ ไปศึกษาค้นคว้าก็มีนะครับ มีตำราแต่งใหม่เยอะแยะที่กล่าวถึงเรื่องเหล่านี้

พระพุทธเจ้าไม่ให้ไปสนใจ กรรมที่ผ่านพ้นมาแล้ว เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้ว สิ่งสำคัญคือปัจจุบัน เพราะถ้ามัวแต่มุ่งแต่กรรมในอดีต ก็ไม่เป็นอันต้องทำอะไรกันแล้วชาตินี้ เพราะมัวหมกมุ่นแต่เรื่องกรรมเก่า 

[๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้ ถูกบัณฑิต
ไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างลัทธิสืบๆ มา ตั้งอยู่ในอกิริยทิฐิ ๓ อย่าง
เป็นไฉน คือ 
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรม
ที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ 
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ อย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วน แต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ 
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์

ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนมีแต่กรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหต
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วถามอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านทั้งหลายมี วาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ จริงหรือ

ถ้าสมณ พราหมณ์พวกนั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง
เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ จักต้องลักทรัพย์ จักต้องประพฤติกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จักต้องพูดเท็จ จักต้องพูดคำส่อเสียด จักต้องพูดคำหยาบ จักต้องพูดคำเพ้อเจ้อ จักต้องมากไปด้วยอภิชฌา จักต้องมีจิตพยาบาท จักต้องมีความเห็นผิด 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อ บุคคลยึดถือกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนโดยความเป็นแก่นสาร ความพอใจหรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ และอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตัว ย่อมจะสำเร็จไม่ได้ แก่ผู้มีสติฟั่นเฟือน ไร้เครื่องป้องกัน
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่