เป็นโจทก์คดีถูกทำร้ายร่างกาย แต่ไม่ทราบคำพิพากษาของศาล

เรื่องมีอยู่ว่า พ่อถูกทำร้ายร่างกาย ซึ่งไม่ใช่เป็นการทะเลาะวิวาท เพราะพ่อกำลังปฏิบัติงาน เป็น อปภร. พ่อยืนหันหลังแล้วเข้ามาทำร้ายโดยที่พ่อไม่ได้ตั้งตัว พ่อ หัวแตก และนิ้วก้อยกระดูกงอเพราะพ่อยกมือขึ้นบังตอนที่มันกำลังจะตี 
 
ซึ่งเข้าแจ้งความ ทางเราไม่ไกล่เกลี่ย เพราะคนที่ทำร้ายเป็น อปภร.เหมือนกัน มีอาการมึนเมา ไม่ไกล่เกลี่ย ให้ทำตามกระบวนการไปเลย  เหตุเกิดเมื่อเดือน เมษายน 2564 
 
 มิถุนายน อัยการโทรมาถามพ่อว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง พ่อบอกอาการตามความจริง คือ มือที่นิ้วก้อยงอนั้น เหยียดไม่ได้ มีอาการบวมปวด แต่หัวที่แตก เย็บไป4 เข็ม อาการดีขึ้น  แต่หมอที่จังหวัดนัดผ่าตัดอีกครั้ง อัยการเลยส่งเอกสารคืนมาที่ สถานีตำรวจให้สอบเพิ่ม
 
ถึงเดือน  กรกฎาคม 2564 มีเอกสารส่งให้พ่อไปที่  กลุ่มสืบเสาะและพินิจ  เรื่อง 1. สภาพความผิดและพฤติการณ์แห่งคดี 2. ความเสียหาย การบรรเทาผลร้ายและความประสงค์ของท่านในฐานะผู้เสียหายที่จะให้ศาลพิจารณาดำเนินการกับจำเลย
 
ซึ่งเมื่อให้ข้อมูลแล้ว พ่อก็เรียกร้อง ไป 1 แสนบาท   กระทั่งเดือน ตุลาคม เราได้โทร สอบถามที่ กลุ่มสืบเสาะและพินิจ  เขาให้เราโทรไปสอบถามที่ศาลของจังหวัด
 
เราเลยโทรไปที่ศาลของจังหวัด ได้ความว่า ศาลตัดสินไปแล้วเมื่อเดือน สิงหาคม 2564 เราเลยถามว่า อ้าวแล้วจะไม่มีเอกสารแจ้งให้ผู้เสียหายทรายหรือค่ะ ว่าศาลตัดสินจำเลยว่าอย่างไร (เขาเลยตอบว่านั่นสิครับ)  เอ้า ตอบแบบนี้คืออะไร
 
เขาเลยแจ้งว่าศาลพิพากษา ให้จำคุก 6 เดือน รอลงโทษ ปรับ หนึ่งหมื่นบาท และวางค่าทดแทนสินไหม 20,000 บาท
เราเลยถามต่อว่า แล้วคดีอื่นเป็นแบบนี้ไหม ถ้าไม่แจ้งโจทก์ จะทราบได้อย่างไร  เขาบอกว่าต้องแสดงความจำนงว่าขอเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ (แล้วจะรู้ไหมหากไม่บอกว่าให้เป็นโทก์ร่วม) ถึงจะทราบผล อ้าวววววว คือแบบนี่คือ คดีชาวบ้านถูกทำร้ายนะ แล้วถ้าตาสีตาสา ไม่มีลูกหลานจะทำกันอย่างไร  เราทำงานอยู่อีกจังหวัด เราเลยไม่ได้ไปกับพ่อตอนไปให้ปากคำเพิ่ม (พ่ออายุ 70+ แต่คนที่ทำร้าย 50+ )
 
อยากถามผู้รู้ว่า กระบวนการเป็นแบบไหน หากโจทก์ ไม่โทรถาม เงินทดแทนสินไหม จะไปอยู่ที่ไหน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่