มีจิตวิทยาเข้าใจและรับมือกับคนที่มีวัยแตกต่างกันไหมคะ

สังคมเอเชียจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ครอบครัวของสังคมไทยก็เป็นเช่นนั้น มีพ่อแม่ลูกหลานปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอา ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านหลังเดียวกันหมด และการที่มีสมาชิกในบ้านมีคนหลายคน ปัญหากระทบกระทั่งกันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้
ครอบครัวใครที่มีเด็กๆผู้ใหญ่และผู้สูงอายุอายุเหมือนกันบ้าง

จากประสบการณ์ของเราเองและที่ได้รับรู้จากคนอื่นๆ

วัยเด็ก ให้ความรัก อย่าตีต้องไม่ใช้ความรุนแรงเพราะเป็นการปลูกฝังความรุนแรง แต่ดุได้บ้างบังคับได้บ้าง อยากให้เด็กเชื่อฟัง ผู้ใหญ่ต้องพูดจาเพราะๆอย่าเข้มงวดกับเด็ก มีอะไรให้พูดความจริงกับเด็กอย่าโกหก เช่นเด็กถามว่าหนูเกิดมาได้อย่างไร ให้ตอบว่าหนูเกิดจากที่พ่อกับแม่มาอยู่ด้วยกันรักกันทำให้หนูเกิดมา ไม่ใช่บอกว่าเก็บจากถังขยะมาเลี้ยง เด็กจะฝังใจและไม่เชื่อใจอีกถ้ารู้ว่าเราโกหก

วัยรุ่น ให้ความเข้าใจ อย่าบังคับเพราะมันจะสะท้อนกลับมาต่อต้านแรงมาก มีอะไรให้คุยด้วยเหตุผล โตพอที่จะเข้าใจอะไรต่างๆได้แล้ว วัยนี้เราต้องมีเทคนิคต่างๆเยอะมาก อย่าโง่กว่าวัยรุ่นแต่อย่าแสดงออกว่าเรารู้ทัน อยากให้วัยรุ่นทำอะไรเราต้องหลอกล่อให้มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีอะไรให้ตัดสินใจกันคนละครึ่ง
ผู้ใหญ่อยากให้วัยรุ่นเป็นอย่างไร ต้องเป็นตัวอย่างทำอย่างนั้นให้วัยรุ่นดู ผู้ใหญ่ไม่อยากให้วัยรุ่นเป็นคนอย่างนั้น ผู้ใหญ่ก็อย่าเป็นคนอย่างนั้นเสียเอง วัยรุ่นจะได้ให้ความเคารพ
ผู้ใหญ่อย่าเอาแต่ใจเราฝ่ายเดียว แต่เราก็คอยดูอยู่ห่างๆ

วัยผู้ใหญ่ ต้องมีมารยาทเข้าหากันและต้องถนอมน้ำใจกัน เป็นวัยทำงานสร้างเนื้อสร้างตัว มีความเครียดและมีสาระพัดปัญหาเข้ามาในชีวิตเลย วัยผู้ใหญ่ต้องดูแลสุขภาพสุขภาพไม่ดีก็ทำอะไรไม่ได้ วัยนี้เราต้องเอาใจเขามาใส่ใส่ใจเรา ให้คำปรึกษาเป็นผู้ฟังที่ดีและห้ามก้าวก่ายเด็ดขาด แต่ถ้าผู้ใหญ่นิสัยแย่สันดานไม่ดี เราก็ไม่ต้องยอม

วัยสูงอายุ ต้องให้กำลังใจ วัยสูงอายุนี้ขี้บ่นขี้วิตกกังวลเพราะผ่านประสบการณ์มามาก เป็นโรคชรา เราก็ดูแลไม่ทอดทิ้งบอกกล่าวว่าไม่ต้องห่วงอะไรไม่ต้องคิดมาก และปล่อยให้ผู้สูงอายุอยากทำอะไรให้ทำเลยถ้ามันไม่ได้มีอะไรที่ไม่ดี เพราะผู้สูงอายุจะได้ไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า

ไม่แน่ใจว่าผิดถูกอย่างไร

ขอให้ผู้มีความรู้ช่วยแนะนำกันด้วยนะคะ

หนาว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่