แม่เบี้ยเคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มา 3 เวอร์ชั่น ละครทีวี 2 เวอร์ชั่น ละครเวที 1 ครั้ง ล้วนประสบความสำเร็จ ได้รับความนิยมทุกครั้ง จนกระทั่งมีการกล่าวขานมาจนทุกวันนี้
แต่กระทู้นี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะละครทีวีทั้ง 2 เวอร์ชั่น เพราะเห็นว่าแม่เบี้ย 2564 มีกระแสที่โด่งดังมากๆ ทำให้อดที่จะเล่าเรื่องของแม่เบี้ย 2534 ไม่ได้
แม่เบี้ย 2534 เรียกว่าเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์กันเลย เพราะในประวัติศาสตร์ไทยยังไม่เคยมีละครหลังข่าวเรื่องไหนที่ถูกสั่งให้ย้ายเวลาอากาศไปช่วง 4 ทุ่มครึ่งมาก่อน เนื่องจากเป็นละครล่อแหลมไม่เหมาะกับเยาวชนดู กลัวเยาวชนเอาแบบอย่างตามนางเอก จนกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์อยู่หลายวัน
เรื่องเป็นอย่างไรผมจะเล่าให้ฟังครับ ทั้งหมดเป็นการเล่าจากประสบการณ์จริงที่เคยอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ในปี 2534 และจากที่พบเห็นผ่านหูผ่านตามาครับ
แม่เบี้ย 2534
เป็นละครโทรทัศน์ยาว 24 ตอนจบ
ตอนละ 60 นาทีรวมโฆษณา
ออนแอร์ทุกวัน พุธ พฤหัสบดี 21.00-22.00 ทางช่อง 7 สี
ต่อมาถูกกบว.ให้ย้ายเวลาไปหลัง 22.30 ผู้บริหารเลยย้ายเวลาไปออกอากาศทุกวันอังคาร 22.30-24.00
ผลิตโดย กันตนา
บทโทรทัศน์โดย วิสาสิณี
กำกับการแสดง อดุลย์ บุญบุตร
นำแสดงโดย
ยุรนันท์ ภมรมนตรี รับบท ชนะชล
แสงระวี อัศวรักษ์ รับบท เมขลา
สุรัตนา ข้องตระกูล รับบท ไหมแก้ว
เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์ รับบท พจน์
ส.อาสนจินดา รับบท ลุงทิม
ก่อนอื่นต้องขอเล่าก่อนนะว่าเมื่อปี 2531 นั้นนวนิยายแม่เบี้ยถูกนำไปสร้างเป็นหนังโดยมีช่อง 7 ลงทุนและมีกันตนารับหน้าที่ผลิตให้ นำแสดงโดย ลิขิต เอกมงคล ภัสสร บุญญเกียรติ อภิรดี ภวภูตานนท์ หนังทำเงินถล่มทลาย และคุณแดงก็ได้วางแพลนที่จะทำเป็นละครในอีก 3 ปีข้างหน้า
ปี 2534 ก็ได้ฤกษ์เปิดกล้องและวางตัวให้ฮันนี่ ภัสสร บุญญเกียรติมารับบทเมขลาอีกครั้ง และพระเอกก็คือแด๊กซ์ ลิขิต เอกมงคลเช่นเดิม
แต่ต่อมาฮันนี่ขอถอนตัวเพราะป่วยเป็นตับอักเสบ ส่วนลิขิตก็ขอถอนตัวด้วยเช่นกันแต่เพราะเหตุอะไรผมก็ไม่แน่ใจ
คุณแดงจึงได้ทาบทามเหมียว ชไมพร จตุรภุชมารับบทเมขลาแทน แต่ด้วยคุณเหมียวติดคิวละครเรื่องอื่นจึงขอปฏิเสธไปอีกคน จนกระทั่งได้จุ๋ม แสงระวี อัศวรักษ์อดีตมิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี 1986 และสาวเช็คเนสกาแฟผู้โด่งดังมาสวมบทเมขลาแทน (เช็คคือการเอากาแฟและน้ำแข็งใส่แก้วปิดฝาแล้วเขย่าๆๆๆ จะเย็นชื่นใจมากๆ)
ปี 2533 โฆษณานี้ดังสุดๆ นาที 0.21 เป็นท่าเต้นที่ดังมาก การรับน้องในมหาวิทยาลัยหลายสถาบันในสมัยนั้น freshy ทั้งผู้ชายผู้หญิงมักจะถูกรุ่นพี่บังคับให้เต้นท่านี้ ผมก็ถูกบังคับให้เต้นเหมือนกัน นึกถึงทีไรก็รู้สึก TUเรศตัวเองไม่หาย 555
โด่ง อรรถชัยกับเหมียว ชไมพร
ส่วนบทชนะชลพระเอกของเรื่อง เริ่มแรกได้วางตัวโด่งอรรถชัย อนันตเมฆ แต่โด่งติดติวละครเรื่องอื่น ไป ๆ มา ๆ บทชนะชลเลยมาตกกับแซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี
ตามจริงแม้ว่าแซม ยุรนันท์จะไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางช่อง 7 แต่ก็มีสัญญาใจและมีข้อตกลงว่าจะต้องให้แซมเล่นละครที่ออกอากาศเฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์เท่านั้น และเขาต้องร้องเพลงไตเติลละครทุกเรื่องด้วย แต่แปลกที่พี่แซมกลับยอมรับเล่นละครเรื่อง “แม่เบี้ย” ที่ออกอากาศทุกวันพุธ พฤหัสและเพลงไตเลิลกลับเป็นหน้าที่ของพี่จุ๋ม แสงระวีร้อง สงสัยว่าพี่แซมจะหลงเสนห์พี่จุ๋มจนยอมทุกอย่างป่ะเนี้ย
แต่ทั้งหมดก็คงเพราะเหตุผลทางธุรกิจเพลง เพราะสมัยนั้นเป็นยุคที่ธุรกิจเพลงกำลังบูม จึงมีค่ายเพลงหลายค่ายมาดีลกับทางช่อง 7 เพื่อโปรโมทเทปเพลงผ่านละคร เช่น ให้นักร้องในค่ายร่วมแสดงหรือร้องเพลงไตเติล จากนั้นก็จะนำเพลงไปเติลไปทำเทปออกขาย หรือไม่ก็ขอเอาเพลงที่กำลังออกจำหน่ายมาประกอบละคร ดังนั้นละครหลายเรื่องในสมัยนั้นจึงมักจะมีเสียงเพลงของนักร้องดัง ๆ ให้ได้ยินเป็นระยะ ๆ ทั้งหมดก็เพราะทางช่อง 7 ได้รับส่วนแบ่งจากยอดกำไรขายเทปด้วย
การโปรโมทเพลงแทรกในละครจะเห็นได้ชัดเจนในละครแม่เบี้ย 2534 นี่ล่ะ ก็เพราะคุณจุ๋ม แสงระวีกำลังออกอัลปั้มเพลงชุด "แมงมุมขยุ้มหัวใจ" กับทางค่ายคีตานั่นเองครับ
เทปเพลงชุดแมงมุมขยุ้มหัวใจ ของจุ๋ม แสงระวี ค่ายคีตาผลิต โด่งดังมาก ๆ ในปี 2534 เห็นว่าขายได้เป็นล้านตลับเลยทีเดียว
แม่เบี้ย 2534 ถูกกบว.สั่งย้ายเวลาให้ไปออกอากาศหลัง 4 ทุ่มครึ่ง
พอละครแม่เบี้ยออนแอร์ไปได้ไม่กี่ตอนก็เป็นเรื่องซะแล้ว เพราะถูกกระแสวิจารณ์จากกลุ่มอนุรักษ์นิยมว่าแม่เบี้ยเป็นละครที่ไม่เหมาะสมกับเยาวชน เนื่องจากเมขลานางเอกของเรื่องเป็นผู้หญิงเจ้าชู้ มีคู่นอนเป็นผัชายหลายคน ตอนจบก็ใช่ว่าจะสำนึก แต่ยังทำตัวเหมือนเดิม กลัวเยาวชนจะเอาเป็นแบบอย่าง
พอมีผู้ใหญ่กลุ่มอนุรักษ์นิยมไม่เห็นด้วย ก็ทำให้กบว.ดิ้นผาง (คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินการของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย รวมถึงการเซ็นเซอร์เนื้อหาของรายการต่างๆ แต่ปัจจุบันไม่มีกองนี้แล้ว ถูกยุบไปตั้งแต่ปี 2535 เพราะเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นัยว่ากองนี้บังคับให้ทีวีเสนอข่าวไม่เป็นความจริงกับประชาชน จึงมีการตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กกช. ขึ้นมาแทน และยกเลิกการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการ โดยให้คณะกรรมการของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งตรวจพิจารณากันเอง) กบว.ต้องทำตามกระแสต่อต้านทันที จึงสั่งให้ช่อง 7 ย้ายเวลาไปออกอากาศหลัง 22.30 เพราะเยาวชนเข้านอนกันหมดแล้ว พอกบว.สั่งออกมาแบบนี้ก็กลายเป็นข่าวดังมากจนพาดหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์อยู่หลายวัน และนิตยสารบันเทิงก็มีเรื่องได้เขียนกันไปหลายฉบับเลยทีเดียว
คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์
เมื่อถูกสั่งย้ายเวลาอย่างกะทันหันแบบนี้ ทำให้คุณแดง สุรงค์เปรมปรีด์ (ผู้บริหารช่อง 7 ในขณะนั้น) ถึงกลับต้องกุมขมับเข้าห้องประชุมช่อง 7 อยู่หลายรอบและต้องให้คุณชลอ นาคอ่อนผู้จัดการฝ่ายการตลาดไปคุยกับเอเจนซี่เรื่องขายโฆษณาใหม่หมด
ต่อมาคุณแดงก็สรุปได้ว่าจะเอาละครแม่เบี้ยแพ่ร่ภาพช่วง 22.30 -24.00 ทุกวันอังคารเพียงวันเดียวเท่านั้น ที่ต้องเอาเวลาดังกล่าวก็เพราะเป็นเวลาแพร่ภาพของละคร “คดีแดง” ซึ่งก็เป็นละครของกันตนาเหมือนกัน เพราะถ้าไปตัดเวลาของบริษัทอื่นก็จะกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทเขา เอาเวลาของกันตนาด้วยกันจึงเหมาะที่สุดแล้ว คุณแดงจึงให้หยุดการแพร่ภาพละคร"คดีแดง"ไว้ก่อนแล้วนำ "แม่เบี้ย" ไปแพร่ภาพแทน
คุณแดงอุทธรณ์ขอแพร่ภาพ “แม่เบี้ย” อีกเพียง 2 ตอน เพราะไม่มีละครในสต็อค ผลิตละครเรื่องใหม่ไม่ทันจริง ๆ
สร้างละคร "กำแพงบุญ" อย่างเร่งด่วนเพื่อขัดตาทัพ
ในช่วงเวลาที่เหลือประมาณ 10 วันคุณแดงก็สั่งให้กันตนาสร้างละครเรื่อง “กำแพงบุญ” มาแทนทันที ดู ๆ ไปก็เหมือนประชดนะ เพราะมีการกล่าวหาว่าละครแม่เบี้ยเป็นละครล่อแหลม ช่อง 7 ก็เลยทำละครเรื่องใหม่เกี่ยว ๆ กับบุญบาปซะ
ละครเรื่องใหม่นี้ทีมงานมีเวลาเตรียมงานกันแค่ไม่กี่วันก็ถ่ายทำทันที ถ่ายปุ๊บก็ออกอากาศปั๊บเลย
ละครกำแพงบุญละครขัดตาทัพ
ถึงเวลาทำงานน้อยแต่ละครกำแพงบุญก็ทำได้ดีมีคุณภาพนะครับ ผมดูแล้วยังคิดว่าละครนี้ถ่ายทำมาหลายเดือนแล้ว มารู้ทีหลังว่าพึ่งถ่ายเมื่อไม่มีกี่วันมานี้เอง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมสมัยนั้นคุณแดงจึงให้ช่อง 7 มีค่ายละครผลิตละครแค่ 2 ค่ายคือดาราวีดีโอกับกันตนา ทั้งหมดก็เพราะละครของช่อง 7 ถ่ายไปออกอากาศไปนั่นเอง ไม่ใช่ละครสต๊อคแบบทุกวันนี้ เหตุที่ต้องทำละครถ่ายไปออกอากาศไปก็เพราะมีอะไรจะได้แก้เกมส์ได้ทัน เช่น ถ้าละครไม่ดัง ก็พิจารณาว่าไม่ดังตรงไหนล่ะ บทไม่สนุกเหรอ ก็แก้ใหม่ซิ ละครไม่ฮิตก็รีบตัดจบเลย ละครดังก็ยืดตอนออกไป
ผมยังจำได้ปี 2530 ละครเรื่อง “หนุ่มทิพย์” ออนแอร์ 4 ตอนแรกโฆษณายังเข้าเบรกละ 4 ตัว ละครยังไม่เป็นที่นิยม คุณแดงก็ให้เพิ่มบทตรงนั้นนิด ตรงนี้หน่อยให้ฮายิ่งขึ้น เอาใจผู้ชม ปรากฏว่าได้ผลเรทติ้งถล่มทลาย กระแสมาเต็ม ทำให้โฆษณาเข้าเต็มเอี๊ยดเบรกละ 10 ตัวเลย เรียกว่าแก้บทกันวันต่อวันทีเดียว บางทีก็ถ่ายเช้า ออกอากาศตอนค่ำเลย พอตัดต่อ post production เสร็จทางค่ายก็จะ copy vdo ไว้ 2 ม้วน แล้วให้มอเตอร์ไซด์ 2 คันไปส่งที่ช่อง 7 เรียกว่าถ้าคันใดคันหนึ่งประสบอุบัติเหตุ คันสำรองก็จะต้องไปส่งเทปให้ช่อง 7 ได้ทัน
ก็เหมือนกับที่เกิดปัญหานี้ขึ้นกับละครแม่เบี้ยนี่แหล่ะ พอคุณแดงสั่งปุ๊บกันตนาก็จะต้องสามารถถ่ายละครใหม่มาออนปั๊บได้ทันที ไม่มีใครกล้าขัดคำสั่งคุณแดง คนเขียนบทต้องไว ทีมงานต้องพร้อม ดาราถ้าถูกสั่งให้มาแสดงก็ต้องมา ระดมพลปุ๊บเดียวได้เลย เพราะนี่คือมืออาชีพแห่งธุรกิจบันเทิง จะมาทำช้าทำเล่นไมได้ ถ้าพลาดอาจจะไม่มีงานทำต่ออีกเลยก็ได้
การทำละครถ่ายไปออนไป จึงต้องใช้บริษัทที่มีประสบการณ์ ซึ่งก็มีเพียงกันตนากับดาราวีโอเท่านั้นที่ทำรับหน้าที่อันหนักหน่วงแบบมืออาชีพ ซึ่งก็ถูกใจคุณแดงนัก
คุณแดงทำให้ช่อง 7 เฟื่องฟูมากในยุคนั้น เพราะเกมส์มองขาดธุรกิจบันเทิงที่ขาดนี่เอง ทำให้ผมศรัทธาคุณแดงมาก ยิ่งคุณแดงอายุเท่าคุณแม่ของผม และคุณแม่ผมก็เป็นนักธุรกิจหญิงเหมือนกัน เรียกว่าพอผมเห็นคุณแดงทีไรก็นึกถึงคุณแม่ของผมทุกที
หลังโยกแม่เบี้ยไป 4 ทุ่มครึ่งช่อง 7 ก็จัดผังรายการวันพุธใหม่ดังนี้
19.30 ข่าวภาคคํ่า
21.00 ละครกำแพงบุญ
22.00 รายการเจาะสนามช่วง 1
22.30 ละครแม่เบี้ย
24.00 รายการเจาะสนามช่วงที่ 2
แต่สมัยนั้นผมยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรีก็ไม่รู้เรียกว่าเยาวชนหรือเปล่านะ เวลา 22.30 ผมก็ยังนั่งดูละครแม่เบี้ยกับเพื่อนๆตามปกติ
ละครแม่เบี้ย 2534 ดังไหม กระแสเป็นอย่างไร ?
แม่เบี้ย 2534 ดังมาก ๆ ยิ่งเป็นข่าวขึ้นมายิ่งดัง ผมก็ชอบละครเรื่องนี้เช่นกัน
การเล่าเรื่องของแม่เบี้ย 2534 จะเล่าแบบตรง ๆ คือ 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10 ถ้าคนสมัยนี้อาจจะบอกว่าเล่าแบบเรื่อย ๆ ไปเรียง ๆ เล่าไม่เร้าใจไม่ลุ้นระทึก ผมก็อยากขอชี้แจงหน่อยนะครับว่าภาพรวมของละครก็มักจะสะท้อนสังคมตามยุคสมัยล่ะ ก็เพราะสมัยนั้นการแข่งขันน้อย คนยังใช้ชีวิตเรียบง่าย โทรศัพท์ก็มีแค่โทรศัพท์บ้าน ไม่มีมือถือ ไม่มี app ทีวีก็มีแค่ 5 ช่องคือ 3-5-7-9-11 ช่อง ITV ก็ยังไม่มี ก็เลยสะท้อนชีวิตคนสมัยนั้นอย่างดี
ดังนั้นการเล่าเรื่องของแม่เบี้ย 2534 จึงสนุกดีตามยุคสมัย เรียกว่าดีงามตามยุคสมัย แต่ที่น่าสนใจมาก ๆ นั่นก็คือละครไม่มีซีจีนักแสดงเลยต้องเล่นกับงูเห่าจริง ๆ แต่ก็มีระบบความปลอดภัยก็คือการเย็บปากงูนั่นเอง
มาอ่านรายละเอียดของแม่เบี้ย 2534 จากนิตยสารและหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นกันครับ
โชคดีมากที่ผมไปค้นเจอนิตยสารเก่า ๆ ที่เก็บเอาไว้เลยนำมาให้อ่านกันครับ
โปรดกรุณาอ่านต่อคห. 1 ครับ
(เกร็ดประวัติศาสตร์) แม่เบี้ย 2534 ละครหลังข่าวที่ถูกสั่งให้เปลี่ยนเวลาฉายอย่างกระทันหัน
แต่กระทู้นี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะละครทีวีทั้ง 2 เวอร์ชั่น เพราะเห็นว่าแม่เบี้ย 2564 มีกระแสที่โด่งดังมากๆ ทำให้อดที่จะเล่าเรื่องของแม่เบี้ย 2534 ไม่ได้
แม่เบี้ย 2534 เรียกว่าเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์กันเลย เพราะในประวัติศาสตร์ไทยยังไม่เคยมีละครหลังข่าวเรื่องไหนที่ถูกสั่งให้ย้ายเวลาอากาศไปช่วง 4 ทุ่มครึ่งมาก่อน เนื่องจากเป็นละครล่อแหลมไม่เหมาะกับเยาวชนดู กลัวเยาวชนเอาแบบอย่างตามนางเอก จนกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์อยู่หลายวัน
เรื่องเป็นอย่างไรผมจะเล่าให้ฟังครับ ทั้งหมดเป็นการเล่าจากประสบการณ์จริงที่เคยอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ในปี 2534 และจากที่พบเห็นผ่านหูผ่านตามาครับ
แม่เบี้ย 2534
เป็นละครโทรทัศน์ยาว 24 ตอนจบ
ตอนละ 60 นาทีรวมโฆษณา
ออนแอร์ทุกวัน พุธ พฤหัสบดี 21.00-22.00 ทางช่อง 7 สี
ต่อมาถูกกบว.ให้ย้ายเวลาไปหลัง 22.30 ผู้บริหารเลยย้ายเวลาไปออกอากาศทุกวันอังคาร 22.30-24.00
ผลิตโดย กันตนา
บทโทรทัศน์โดย วิสาสิณี
กำกับการแสดง อดุลย์ บุญบุตร
นำแสดงโดย
ยุรนันท์ ภมรมนตรี รับบท ชนะชล
แสงระวี อัศวรักษ์ รับบท เมขลา
สุรัตนา ข้องตระกูล รับบท ไหมแก้ว
เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์ รับบท พจน์
ส.อาสนจินดา รับบท ลุงทิม
ก่อนอื่นต้องขอเล่าก่อนนะว่าเมื่อปี 2531 นั้นนวนิยายแม่เบี้ยถูกนำไปสร้างเป็นหนังโดยมีช่อง 7 ลงทุนและมีกันตนารับหน้าที่ผลิตให้ นำแสดงโดย ลิขิต เอกมงคล ภัสสร บุญญเกียรติ อภิรดี ภวภูตานนท์ หนังทำเงินถล่มทลาย และคุณแดงก็ได้วางแพลนที่จะทำเป็นละครในอีก 3 ปีข้างหน้า
ปี 2534 ก็ได้ฤกษ์เปิดกล้องและวางตัวให้ฮันนี่ ภัสสร บุญญเกียรติมารับบทเมขลาอีกครั้ง และพระเอกก็คือแด๊กซ์ ลิขิต เอกมงคลเช่นเดิม
แต่ต่อมาฮันนี่ขอถอนตัวเพราะป่วยเป็นตับอักเสบ ส่วนลิขิตก็ขอถอนตัวด้วยเช่นกันแต่เพราะเหตุอะไรผมก็ไม่แน่ใจ
คุณแดงจึงได้ทาบทามเหมียว ชไมพร จตุรภุชมารับบทเมขลาแทน แต่ด้วยคุณเหมียวติดคิวละครเรื่องอื่นจึงขอปฏิเสธไปอีกคน จนกระทั่งได้จุ๋ม แสงระวี อัศวรักษ์อดีตมิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี 1986 และสาวเช็คเนสกาแฟผู้โด่งดังมาสวมบทเมขลาแทน (เช็คคือการเอากาแฟและน้ำแข็งใส่แก้วปิดฝาแล้วเขย่าๆๆๆ จะเย็นชื่นใจมากๆ)
ปี 2533 โฆษณานี้ดังสุดๆ นาที 0.21 เป็นท่าเต้นที่ดังมาก การรับน้องในมหาวิทยาลัยหลายสถาบันในสมัยนั้น freshy ทั้งผู้ชายผู้หญิงมักจะถูกรุ่นพี่บังคับให้เต้นท่านี้ ผมก็ถูกบังคับให้เต้นเหมือนกัน นึกถึงทีไรก็รู้สึก TUเรศตัวเองไม่หาย 555
โด่ง อรรถชัยกับเหมียว ชไมพร
ส่วนบทชนะชลพระเอกของเรื่อง เริ่มแรกได้วางตัวโด่งอรรถชัย อนันตเมฆ แต่โด่งติดติวละครเรื่องอื่น ไป ๆ มา ๆ บทชนะชลเลยมาตกกับแซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี
ตามจริงแม้ว่าแซม ยุรนันท์จะไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางช่อง 7 แต่ก็มีสัญญาใจและมีข้อตกลงว่าจะต้องให้แซมเล่นละครที่ออกอากาศเฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์เท่านั้น และเขาต้องร้องเพลงไตเติลละครทุกเรื่องด้วย แต่แปลกที่พี่แซมกลับยอมรับเล่นละครเรื่อง “แม่เบี้ย” ที่ออกอากาศทุกวันพุธ พฤหัสและเพลงไตเลิลกลับเป็นหน้าที่ของพี่จุ๋ม แสงระวีร้อง สงสัยว่าพี่แซมจะหลงเสนห์พี่จุ๋มจนยอมทุกอย่างป่ะเนี้ย
แต่ทั้งหมดก็คงเพราะเหตุผลทางธุรกิจเพลง เพราะสมัยนั้นเป็นยุคที่ธุรกิจเพลงกำลังบูม จึงมีค่ายเพลงหลายค่ายมาดีลกับทางช่อง 7 เพื่อโปรโมทเทปเพลงผ่านละคร เช่น ให้นักร้องในค่ายร่วมแสดงหรือร้องเพลงไตเติล จากนั้นก็จะนำเพลงไปเติลไปทำเทปออกขาย หรือไม่ก็ขอเอาเพลงที่กำลังออกจำหน่ายมาประกอบละคร ดังนั้นละครหลายเรื่องในสมัยนั้นจึงมักจะมีเสียงเพลงของนักร้องดัง ๆ ให้ได้ยินเป็นระยะ ๆ ทั้งหมดก็เพราะทางช่อง 7 ได้รับส่วนแบ่งจากยอดกำไรขายเทปด้วย
การโปรโมทเพลงแทรกในละครจะเห็นได้ชัดเจนในละครแม่เบี้ย 2534 นี่ล่ะ ก็เพราะคุณจุ๋ม แสงระวีกำลังออกอัลปั้มเพลงชุด "แมงมุมขยุ้มหัวใจ" กับทางค่ายคีตานั่นเองครับ
เทปเพลงชุดแมงมุมขยุ้มหัวใจ ของจุ๋ม แสงระวี ค่ายคีตาผลิต โด่งดังมาก ๆ ในปี 2534 เห็นว่าขายได้เป็นล้านตลับเลยทีเดียว
แม่เบี้ย 2534 ถูกกบว.สั่งย้ายเวลาให้ไปออกอากาศหลัง 4 ทุ่มครึ่ง
พอละครแม่เบี้ยออนแอร์ไปได้ไม่กี่ตอนก็เป็นเรื่องซะแล้ว เพราะถูกกระแสวิจารณ์จากกลุ่มอนุรักษ์นิยมว่าแม่เบี้ยเป็นละครที่ไม่เหมาะสมกับเยาวชน เนื่องจากเมขลานางเอกของเรื่องเป็นผู้หญิงเจ้าชู้ มีคู่นอนเป็นผัชายหลายคน ตอนจบก็ใช่ว่าจะสำนึก แต่ยังทำตัวเหมือนเดิม กลัวเยาวชนจะเอาเป็นแบบอย่าง
พอมีผู้ใหญ่กลุ่มอนุรักษ์นิยมไม่เห็นด้วย ก็ทำให้กบว.ดิ้นผาง (คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินการของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย รวมถึงการเซ็นเซอร์เนื้อหาของรายการต่างๆ แต่ปัจจุบันไม่มีกองนี้แล้ว ถูกยุบไปตั้งแต่ปี 2535 เพราะเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นัยว่ากองนี้บังคับให้ทีวีเสนอข่าวไม่เป็นความจริงกับประชาชน จึงมีการตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กกช. ขึ้นมาแทน และยกเลิกการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการ โดยให้คณะกรรมการของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งตรวจพิจารณากันเอง) กบว.ต้องทำตามกระแสต่อต้านทันที จึงสั่งให้ช่อง 7 ย้ายเวลาไปออกอากาศหลัง 22.30 เพราะเยาวชนเข้านอนกันหมดแล้ว พอกบว.สั่งออกมาแบบนี้ก็กลายเป็นข่าวดังมากจนพาดหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์อยู่หลายวัน และนิตยสารบันเทิงก็มีเรื่องได้เขียนกันไปหลายฉบับเลยทีเดียว
คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์
เมื่อถูกสั่งย้ายเวลาอย่างกะทันหันแบบนี้ ทำให้คุณแดง สุรงค์เปรมปรีด์ (ผู้บริหารช่อง 7 ในขณะนั้น) ถึงกลับต้องกุมขมับเข้าห้องประชุมช่อง 7 อยู่หลายรอบและต้องให้คุณชลอ นาคอ่อนผู้จัดการฝ่ายการตลาดไปคุยกับเอเจนซี่เรื่องขายโฆษณาใหม่หมด
ต่อมาคุณแดงก็สรุปได้ว่าจะเอาละครแม่เบี้ยแพ่ร่ภาพช่วง 22.30 -24.00 ทุกวันอังคารเพียงวันเดียวเท่านั้น ที่ต้องเอาเวลาดังกล่าวก็เพราะเป็นเวลาแพร่ภาพของละคร “คดีแดง” ซึ่งก็เป็นละครของกันตนาเหมือนกัน เพราะถ้าไปตัดเวลาของบริษัทอื่นก็จะกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทเขา เอาเวลาของกันตนาด้วยกันจึงเหมาะที่สุดแล้ว คุณแดงจึงให้หยุดการแพร่ภาพละคร"คดีแดง"ไว้ก่อนแล้วนำ "แม่เบี้ย" ไปแพร่ภาพแทน
คุณแดงอุทธรณ์ขอแพร่ภาพ “แม่เบี้ย” อีกเพียง 2 ตอน เพราะไม่มีละครในสต็อค ผลิตละครเรื่องใหม่ไม่ทันจริง ๆ
สร้างละคร "กำแพงบุญ" อย่างเร่งด่วนเพื่อขัดตาทัพ
ในช่วงเวลาที่เหลือประมาณ 10 วันคุณแดงก็สั่งให้กันตนาสร้างละครเรื่อง “กำแพงบุญ” มาแทนทันที ดู ๆ ไปก็เหมือนประชดนะ เพราะมีการกล่าวหาว่าละครแม่เบี้ยเป็นละครล่อแหลม ช่อง 7 ก็เลยทำละครเรื่องใหม่เกี่ยว ๆ กับบุญบาปซะ
ละครเรื่องใหม่นี้ทีมงานมีเวลาเตรียมงานกันแค่ไม่กี่วันก็ถ่ายทำทันที ถ่ายปุ๊บก็ออกอากาศปั๊บเลย
ละครกำแพงบุญละครขัดตาทัพ
ถึงเวลาทำงานน้อยแต่ละครกำแพงบุญก็ทำได้ดีมีคุณภาพนะครับ ผมดูแล้วยังคิดว่าละครนี้ถ่ายทำมาหลายเดือนแล้ว มารู้ทีหลังว่าพึ่งถ่ายเมื่อไม่มีกี่วันมานี้เอง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมสมัยนั้นคุณแดงจึงให้ช่อง 7 มีค่ายละครผลิตละครแค่ 2 ค่ายคือดาราวีดีโอกับกันตนา ทั้งหมดก็เพราะละครของช่อง 7 ถ่ายไปออกอากาศไปนั่นเอง ไม่ใช่ละครสต๊อคแบบทุกวันนี้ เหตุที่ต้องทำละครถ่ายไปออกอากาศไปก็เพราะมีอะไรจะได้แก้เกมส์ได้ทัน เช่น ถ้าละครไม่ดัง ก็พิจารณาว่าไม่ดังตรงไหนล่ะ บทไม่สนุกเหรอ ก็แก้ใหม่ซิ ละครไม่ฮิตก็รีบตัดจบเลย ละครดังก็ยืดตอนออกไป
ผมยังจำได้ปี 2530 ละครเรื่อง “หนุ่มทิพย์” ออนแอร์ 4 ตอนแรกโฆษณายังเข้าเบรกละ 4 ตัว ละครยังไม่เป็นที่นิยม คุณแดงก็ให้เพิ่มบทตรงนั้นนิด ตรงนี้หน่อยให้ฮายิ่งขึ้น เอาใจผู้ชม ปรากฏว่าได้ผลเรทติ้งถล่มทลาย กระแสมาเต็ม ทำให้โฆษณาเข้าเต็มเอี๊ยดเบรกละ 10 ตัวเลย เรียกว่าแก้บทกันวันต่อวันทีเดียว บางทีก็ถ่ายเช้า ออกอากาศตอนค่ำเลย พอตัดต่อ post production เสร็จทางค่ายก็จะ copy vdo ไว้ 2 ม้วน แล้วให้มอเตอร์ไซด์ 2 คันไปส่งที่ช่อง 7 เรียกว่าถ้าคันใดคันหนึ่งประสบอุบัติเหตุ คันสำรองก็จะต้องไปส่งเทปให้ช่อง 7 ได้ทัน
ก็เหมือนกับที่เกิดปัญหานี้ขึ้นกับละครแม่เบี้ยนี่แหล่ะ พอคุณแดงสั่งปุ๊บกันตนาก็จะต้องสามารถถ่ายละครใหม่มาออนปั๊บได้ทันที ไม่มีใครกล้าขัดคำสั่งคุณแดง คนเขียนบทต้องไว ทีมงานต้องพร้อม ดาราถ้าถูกสั่งให้มาแสดงก็ต้องมา ระดมพลปุ๊บเดียวได้เลย เพราะนี่คือมืออาชีพแห่งธุรกิจบันเทิง จะมาทำช้าทำเล่นไมได้ ถ้าพลาดอาจจะไม่มีงานทำต่ออีกเลยก็ได้
การทำละครถ่ายไปออนไป จึงต้องใช้บริษัทที่มีประสบการณ์ ซึ่งก็มีเพียงกันตนากับดาราวีโอเท่านั้นที่ทำรับหน้าที่อันหนักหน่วงแบบมืออาชีพ ซึ่งก็ถูกใจคุณแดงนัก
คุณแดงทำให้ช่อง 7 เฟื่องฟูมากในยุคนั้น เพราะเกมส์มองขาดธุรกิจบันเทิงที่ขาดนี่เอง ทำให้ผมศรัทธาคุณแดงมาก ยิ่งคุณแดงอายุเท่าคุณแม่ของผม และคุณแม่ผมก็เป็นนักธุรกิจหญิงเหมือนกัน เรียกว่าพอผมเห็นคุณแดงทีไรก็นึกถึงคุณแม่ของผมทุกที
หลังโยกแม่เบี้ยไป 4 ทุ่มครึ่งช่อง 7 ก็จัดผังรายการวันพุธใหม่ดังนี้
19.30 ข่าวภาคคํ่า
21.00 ละครกำแพงบุญ
22.00 รายการเจาะสนามช่วง 1
22.30 ละครแม่เบี้ย
24.00 รายการเจาะสนามช่วงที่ 2
แต่สมัยนั้นผมยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรีก็ไม่รู้เรียกว่าเยาวชนหรือเปล่านะ เวลา 22.30 ผมก็ยังนั่งดูละครแม่เบี้ยกับเพื่อนๆตามปกติ
ละครแม่เบี้ย 2534 ดังไหม กระแสเป็นอย่างไร ?
แม่เบี้ย 2534 ดังมาก ๆ ยิ่งเป็นข่าวขึ้นมายิ่งดัง ผมก็ชอบละครเรื่องนี้เช่นกัน
การเล่าเรื่องของแม่เบี้ย 2534 จะเล่าแบบตรง ๆ คือ 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10 ถ้าคนสมัยนี้อาจจะบอกว่าเล่าแบบเรื่อย ๆ ไปเรียง ๆ เล่าไม่เร้าใจไม่ลุ้นระทึก ผมก็อยากขอชี้แจงหน่อยนะครับว่าภาพรวมของละครก็มักจะสะท้อนสังคมตามยุคสมัยล่ะ ก็เพราะสมัยนั้นการแข่งขันน้อย คนยังใช้ชีวิตเรียบง่าย โทรศัพท์ก็มีแค่โทรศัพท์บ้าน ไม่มีมือถือ ไม่มี app ทีวีก็มีแค่ 5 ช่องคือ 3-5-7-9-11 ช่อง ITV ก็ยังไม่มี ก็เลยสะท้อนชีวิตคนสมัยนั้นอย่างดี
ดังนั้นการเล่าเรื่องของแม่เบี้ย 2534 จึงสนุกดีตามยุคสมัย เรียกว่าดีงามตามยุคสมัย แต่ที่น่าสนใจมาก ๆ นั่นก็คือละครไม่มีซีจีนักแสดงเลยต้องเล่นกับงูเห่าจริง ๆ แต่ก็มีระบบความปลอดภัยก็คือการเย็บปากงูนั่นเอง
มาอ่านรายละเอียดของแม่เบี้ย 2534 จากนิตยสารและหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นกันครับ
โชคดีมากที่ผมไปค้นเจอนิตยสารเก่า ๆ ที่เก็บเอาไว้เลยนำมาให้อ่านกันครับ
โปรดกรุณาอ่านต่อคห. 1 ครับ