คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/408035090814821
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564
ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 13,897 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 1,434,237 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 11,797 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 394 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 9 ราย
- ผู้ติดเชื้อในสถานกักกันของรัฐสะสม 5,116 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้ 1,697 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 273,409 ราย)
เสียชีวิตรวม 14,953 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 188 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 1,290,556 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 13,527 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 128,728 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 13,494 ราย มีรายละเอียดดังนี้ จากกรุงเทพฯ(3,141) ปริมณฑล (2,120) จังหวัดอื่น ๆ (8,233)
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 9 ราย และเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่นราธิวาส(1) ภูเก็ต(2) เชียงราย(1) และ สระแก้ว(5) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศมาเลเซีย 1 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 5 ราย
- จากประเทศเมียนมา 1 ราย
- จากประเทศสหรัฐอเมริกา 1 ราย
- จากประเทศอิสราเอล 1 ราย
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 227.2 ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 4.6 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.06 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 203.9 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 89.74)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 164,509 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 685,023 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 33.3 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 30,361 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 32.5 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 97.6
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 29 และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 42 ของโลก
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 438,951 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,263 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 16,784 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,030,935 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 19,495 ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 101,443 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,067 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 17,905 ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 12,321 ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 10,585 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 16,186 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://web.facebook.com/nrctofficial/posts/4161519523973588
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/408035090814821
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564
ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 13,897 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 1,434,237 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 11,797 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 394 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 9 ราย
- ผู้ติดเชื้อในสถานกักกันของรัฐสะสม 5,116 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้ 1,697 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 273,409 ราย)
เสียชีวิตรวม 14,953 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 188 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 1,290,556 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 13,527 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 128,728 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 13,494 ราย มีรายละเอียดดังนี้ จากกรุงเทพฯ(3,141) ปริมณฑล (2,120) จังหวัดอื่น ๆ (8,233)
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 9 ราย และเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่นราธิวาส(1) ภูเก็ต(2) เชียงราย(1) และ สระแก้ว(5) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศมาเลเซีย 1 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 5 ราย
- จากประเทศเมียนมา 1 ราย
- จากประเทศสหรัฐอเมริกา 1 ราย
- จากประเทศอิสราเอล 1 ราย
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 227.2 ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 4.6 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.06 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 203.9 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 89.74)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 164,509 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 685,023 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 33.3 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 30,361 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 32.5 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 97.6
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 29 และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 42 ของโลก
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 438,951 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,263 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 16,784 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,030,935 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 19,495 ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 101,443 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,067 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 17,905 ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 12,321 ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 10,585 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 16,186 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://web.facebook.com/nrctofficial/posts/4161519523973588
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน🧡16ก.ย.ป่วย13,897คน ตาย188คน วานนี้830,413โดส/โควิด77จว./ไทม์ไลน์ไฟเซอร์เด็ก/โหลดแบบฟอร์ม/หมอ ยงเผย/ลองโควิด
วันนี้ (16 ก.ย.) เมื่อเวลา 07.30 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า....✏
ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 13,897 ราย ยอดติดเชื้อรวมระลอกเมษายน 1,405,374 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 1,434,237 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 188 ราย เสียชีวิตสะสม 14,953 ราย หายป่วยเพิ่ม 13,527 ราย หายป่วยสะสมระลอกเมษายน 1,263,130 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 128,728 ราย
https://www.sanook.com/news/8443742/
เช็คที่นี่! 10 จังหวัดติดโควิดสูงสุด กทม.-ปากน้ำ-ชลบุรี กลับมาเพิ่มอีกแล้ว
วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564, 13.39 น.
ทั้งนี้ จากตัวเลขดังกล่าว น่าสังเกตว่า ในพื้นที่ กทม.เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากเมื่อวาน 2,772 วันนี้เป็น 2,886 ราย เช่นเดียวกับสมุทรปราการ เพิ่มขึ้นอีกจากเมื่อวาน 1,351 ราย วันนี้เพิ่มเป็น 1,455 ราย ขณะที่ชลบุรีก็เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 835 ราย วันนี้เป็น 973 ราย ที่น่าสนใจก็คือ วันนี้สมุทรสาครลดลงมาก จากเมื่อวาน 404 ราย เหลือ 338 ราย ส่วนยะลา พบผู้ป่วย 376 ราย ขึ้นมาเป็นอันดับ 7 ของตาราง
https://www.naewna.com/local/602517
ปลัด ศธ.ยันหากการฉีดวัคซีนเดินตามแผนที่วางไว้
15 พ.ย.นี้ เด็กมัธยม-อาชีวะ เรียนที่โรงเรียนได้ 100%
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ ให้กับเด็กอายุ 12 - 18 ปี ว่า จากที่ ศธ.และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดให้เด็กอายุ 12 - 17 ปี 11 เดือน 29 วัน ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียน นักศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า โดยมี ไทม์ไลน์ในการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้นักเรียน ของ ศธ.ดังนี้ วันที่ 10 - 17 กันยายน สถานศึกษาจัดเตรียมรายชื่อและจำนวนนักเรียน ระหว่างนั้น ศธ.และ สธ.จัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อซักซ้อมความเข้าใจการฉีดวัคซีนและการทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง วันที่ 17 - 22 กันยายน โรงเรียน สถานศึกษา จัดประชุมทำความเข้าใจให้ข้อมูลกับผู้ปกครองในการฉีดวัคซีนให้เด็ก วันที่ 21 - 24 กันยายน โรงเรียน สถานศึกษาเชิญผู้ปกครองลงนามในแบบฟอร์มเพื่อแจ้งความประสงค์ (ยินยอม) ให้นักเรียนเข้ารับวัคซีนไฟเซอร์
นายสุภัทร กล่าวต่อว่า ในวันที่ 25 กันยายน โรงเรียน สถานศึกษา นำส่งบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ประสงค์รับวัคซีนไฟเซอร์ แก่ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) หรืออาชีวศึกษาจังหวัด (อศจ.) แล้วนำส่ง ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) วันที่ 26 กันยายน ศธจ. , ผู้อำนวยการ สพท. , อศจ. , ผู้แทนหน่วยงานการศึกษาในจังหวัด ประชุมสรุปจำนวนและรายชื่อนักเรียนเพื่อนำส่งสาธารสุขจังหวัด วันที่ 28 - 30 กันยายน สาธารสุขจังหวัด จะวางแผนการรับวัคซีนและกำหนดการฉีดวัคซีนรายโรงเรียน วันที่ 1 ตุลาคม โรงเรียน สถานศึกษา รับทราบกำหนดการและจัดเตรียมสถานที่ และจะทำการนัดเวลาและสถานที่ให้นักเรียนมาฉีดวัคซีนที่สถานศึกษาใด และวันที่ 4 ตุลาคม เริ่มการฉีดวัคซีนแก่นักเรียน
"หากเป็นไปตามไทม์ไลน์ที่วางไว้ คือ ถ้าฉีดเข็มที่ 1 ในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม จะมีเด็กส่วนหนึ่งได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ช่วงสิ้นเดือนตุลาคม และเด็กจะทยอยได้รับการฉีดเข็มที่ 2 จนครบหมดทุกคนภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ซึ่งก็จะทำให้โรงเรียนบางส่วนในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม สามารถเปิดเรียนแบบ On-Site สลับกับ On-Air ได้ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน แต่ถ้าการฉีดวัคซีนให้เด็กเป็นไปตามแผน คาดว่าภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน โรงเรียน สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะสามารถเปิดเรียนแบบ On-Site ได้ 100% ทั้งประเทศ" นายสุภัทร กล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ.ได้สั่งการให้ตั้งคณะทำงานประกอบด้วยผู้ตรวจราชการ ศธ. ศึกษาธิการภาค และผู้แทนจาก สพฐ.ลงพื้นที่เพื่อรวบรวมปัญหาการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการเรียนออนไลน์ของครูและนักเรียน ในแต่ละจังหวัดเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียและหากพบปัญหาจะได้หาแนวทางแก้ไขพัฒนาต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ช่วงนี้เป็นการเรียนออนไลน์ เด็กที่เรียนในพื้นที่สีแดงเข้มบางคนกลับต่างจังหวัดตามผู้ปกครอง จะดำเนินการฉีดวัคซีนให้เด็กกลุ่มนี้อย่างไร นายสุภัทร กล่าวว่า สถานศึกษาจะต้องแจกแจงให้ได้ว่าในสถานศึกษาของตนมีเด็กที่ต้องการฉีดวัคซีนแต่อยู่ต่างจังหวัดกี่คน แล้วส่งรายชื่อให้ ศธจ.และ ศธจ.จะรวบรวมรายชื่อส่งให้กรมควบคุมโรคจัดสรรวัคซีนในจังหวัดนั้นๆ ให้ อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้เด็ก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รับรองให้ฉีดในเด็ก ซึ่งเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ในการณีที่เกิดผลข้างเคียง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็พร้อมจะรับดูแลทั้งการให้สถานพยาบาลและให้ค่าเสียหาย แต่โอกาสที่จะมีผลข้างเคียงกับเด็กมีน้อยมาก
https://www.naewna.com/local/602578
https://siamrath.co.th/n/281085
ผู้ที่ติดเชื้อและเคยได้รับวัคซีนครบ 2 ครั้งมาก่อนโดยครั้งที่ 2 ก่อน 14 วัน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนในขณะนี้ รอจนกระทั่งมีวัคซีน สายพันธุ์ใหม่แล้วค่อยกระตุ้น น่าจะเป็นปีหน้า
https://www.thaipost.net/main/detail/116869
กรมควบคุมโรคพบอาการ"ลอง โควิด"จากผู้ป่วยโควิดที่รักษาหายแล้ว เจอร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มป่วยรุนแรง อาการแตกต่างกันเช่น มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่น หรือรสชาติลดลง หายใจไม่อิ่ม ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า สาเหตุส่วนใหญ่จาความเครียดสะสม
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้แนวโน้มผู้ป่วยโควิด19 ที่รักษาหายรายวันมีจำนวนเพิ่มขึ้น สูงกว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่ สะท้อนถึงคุณภาพระบบการดูแลรักษา ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.64 จนถึงวันนี้รวม 1,405,374 ราย หลายรายแม้จะหายป่วยและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในร่างกายแล้วอาจจะยังมีอาการหลงเหลืออยู่ องค์การอนามัยโลก(World Health Organization : WHO)เรียกอาการที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ภาวะลอง โควิด” (Long COVID)หรืออาการหลงเหลือของเชื้อโควิด 19 ระยะยาว ซึ่งสามารถพบภาวะนี้ได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก พบได้ร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยโรคโควิด 19 จึงไม่ต้องตกใจหรือกังวลใจแต่อย่างใด
ขณะที่ นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่าอาการของ“ภาวะลอง โควิด” แสดงออกได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกัน ไม่มีลักษณะตายตัว เช่น ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยล้า ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ท้องเสีย เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง และบางรายอาจมีอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้าร่วมด้วย โดยผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มสีแดงหรือผู้ป่วยที่มีอาการป่วยรุนแรง จะมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดสูงกว่าผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการน้อย เนื่องจากอาจมีปัจจัยเรื่องความเครียดที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงป่วยเป็นโรคโควิด 19 จึงส่งผลต่อเนื่องอาจยาวนาน 3-6 เดือนได้กว่าจะกลับมาเป็นปกติ
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะลองโควิดด้วย เช่น อายุโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เรื่องเพศ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหอบหืด และผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่หายป่วยแล้วไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด
"หากผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด 19 แล้วยังมีอาการที่กล่าวมา แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากบางรายอาจเป็นผลจากตัวยาที่ใช้ในการรักษา หรือบางรายอาจจะมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย จึงต้องมีการตรวจเพิ่มเติมและทำการรักษาให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น และยังมีความเป็นไปได้ในผู้หายป่วยแล้ว บางรายอาจจะติดเชื้อโควิด 19 ซ้ำได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ต่างไปจากสายพันธุ์เดิม แต่อาจไม่แสดงอาการชัดเจน ดังนั้นผู้ป่วยโควิด 19 แม้หายป่วยแล้ว แต่ยังจำเป็นต้องปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 อย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ เช่น ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาแม้อยู่บ้าน หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% และไม่ไปในแหล่งชุมชนแออัด หรือสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422"นพ.จักรรัฐ กล่าว
https://www.naewna.com/local/602608
วันนี้ป่วยมากกว่าหายป่วย 350 คนค่ะ ผู้เสียชีวิตลดลง แต่ไทยยังติดTop 10 ติดเชื้อระดับโลกในวันนี้นะคะ
กทม.และสมุทรปราการยังติดเชื้อเป็นพันคน
วานนี้ฉีดวัคซีนได้มากถึงแปดแสนกว่าโดส
กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มให้ไทม์ไลน์การฉีดไฟเซอร์เด็ก มีให้โหลดใบอนุญาตสำหรับผู้ปกครอง
อาจารย์หมอ ยง ท่านให้ข้อมูลว่าผู้ฉีดวัคซีน 2 เข็ม แล้วติดเชื่อเมื่อหายแล้ว รอวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ค่อยฉีดกระตุ้นคาดว่าจะได้ในปีหน้า
ภาวะลองโควิด ทั้งทางกายและใจ อาจเป็นได้ถึงร้อยละ 30-50 จะหายในเวลา1-3 เดือน หากไม่หายต้องปรึกษาแพทย์ค่ะ
ดูแลตัวเองกันนะคะ...