ส่องแม่น้ำมูล แม่น้ำสายหลักของภาคอีสานประเทศไทย

หลายคนคงรู้จัก แม่น้ำมูล กันดี แม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคอีสาน เป็นแม่น้ำสำคัญในการส่งผลต่อศักยภาพในด้านต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัด เดิมชาวบ้านในท้องถิ่นสะกดชื่อแม่น้ำสายนี้ด้วยอักษร “น” คำว่า “มูน” เป็นภาษาพื้นถิ่นหมายถึง สิ่งมีค่าน่าหวงแหน มรดกของบรรพบุรุษที่สั่งสมเก็บไว้ให้ลูกหลาน ทีนี้ บ้านบ้าน จะพาไปเจาะลึกข้อมูลของแม่น้ำสายนี้กันครับ ว่ามีข้อมูล และประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง


มาทำความรู้จักแม่น้ำมูลกันก่อน
แม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำสายใหญ่และยาวที่สุดของภาคอีสาน มีความยาวประมาณ ๖๔๐ กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบริเวณเขื่อนมูลบน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านหลายอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ก่อนบรรจบแม่น้ำชีที่บ้านขอนไม้ยูง ตำบลห้วยขะยูง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี แล้วไหลผ่านหลายอำเภอของอุบลราชธานีมาลงแม่น้ำโขงที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอโขงเจียม

ดูเส้นทางแม่น้ำมูลกันแบบชัด ๆ 

พื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลมีความกว้างประมาณ ๖๙,๗๐๑ ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖ ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดทั้งประเทศ ครอบคลุมอาณาเขต ๑๐ จังหวัดของภาคอีสานตอนล่างหรืออีสานใต้ และภาคอีสานตอนกลาง มีปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงเฉลี่ยประมาณ ๒๖,๖๕๕ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยเฉลี่ยประมาณน้ำ และพื้นที่ครอบคลุมดังนี้

ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง
เฉลี่ยประมาณ 26,555 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี

พื้นที่ครอบคลุมของลุ่มน้ำมูลในแต่ละเขตจังหวัด
- นครราชสีมา 0.02 ร้อยละพื้นที่ในลุ่มน้ำมูล
- อุบลราชธานี 26.86 ร้อยละพื้นที่ในลุ่มน้ำมูล
- บุรีรัมย์ 14.19 ร้อยละพื้นที่ในลุ่มแม่น้ำมูล

แม่น้ำมูลไหลกั้นผ่าน ระหว่างตัวเมือง และวารินชำราบ ของจังหวัดอุบลราชธานี เชื่อมต่อด้วยสะพานข้าม นั่นก็คือ สะพานเสรีประชาธิปไตย นั่นเอง

แม่น้ำมูลไหลกั้นผ่านระหว่างตัวเมืองอุบลราชธานีและวารินชำราบ เชื่อมต่อกันด้วยสะพานข้ามแม่น้ำมูล สะพานเสรีประชาธิปไตย ( สะพานข้ามแม่น้ำมูลแห่งแรกของอุบลฯ ) เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2497 และสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี เริ่มเปิดใช้ปี 2535 เป็นปีที่อุบลราชธานีอายุครบ 200 ปี 

ข้อแนะนำ : ส่องข้อมูลเมืองอุบลราชธานี ราชินีแห่งภาคอีสาน

ประวัติความเป็นมาในท้องถื่น
เดิมชาวบ้านในท้องถิ่นสะกดชื่อแม่น้ำสายนี้ด้วยอักษร "น" คำว่า "มูน" เป็นภาษาพื้นถิ่นหมายถึง สิ่งมีค่าน่าหวงแหน มรดกของบรรพบุรุษที่สั่งสมเก็บไว้ให้ลูกหลาน แต่ต่อมาทางราชการได้กำหนดให้สะกดชื่อใหม่โดยใช้ตัวอักษร "ล" กลายเป็น "แม่น้ำมูล"

และอีกอย่างชื่อหมู่บ้านแห่งใหม่ที่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลก่อตั้งขึ้นบริเวณริมสันเขื่อนปากมูล เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐหันมาแก้ปัญหาทั้งเรื่องน้ำท่วมที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน พื้นที่ทางการเกษตร แหล่งหาปลา ชาวบ้านจำนวนมากต้องกลายเป็นผู้อพยพหลังสร้างเขื่อน ยังคงสะกดด้วยอักษร "น" คือหมู่บ้าน "แม่มูนมั่นยืน"

เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนแบบน้ำไหลผ่าน สันเขื่อน ประตูระบายน้ำ และเครื่องจักรสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ห่างจากจุดที่แม่น้ำมูลไหลลงแม่น้ำโขงประมาณ ๕.๕ กิโลเมตร

ความคิดสร้างเขื่อนปากมูลเกิดขึ้นเมื่อช่วงปี ๒๕๐๐ สำนักงานพลังงานแห่งชาติเห็นว่าน้ำจากแม่น้ำมูลไหลลงแม่น้ำโขงปริมาณมากทุกปี จึงคิดพัฒนาแหล่งน้ำโดยการผลิตกระแสไฟฟ้า ครั้งแรกวางแผนสร้างเขื่อนบริเวณแก่งตะนะ ห่างปากแม่น้ำมูลประมาณ ๔ กิโลเมตร แต่หลังจากสำรวจพบว่าจะมีชาวบ้านต้องอพยพออกจากพื้นที่ถูกน้ำท่วมขังจากการสร้างเขื่อนมากถึง ๔,๐๐๐ ครอบครัว ภาครัฐต้องจ่ายเงินค่าชดเชยจำนวนมากไม่คุ้มค่าการลงทุนจึงพับโครงการเก็บไว้นั่นเอง

เป็นยังไงกันบ้างครับ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแม่น้ำสายหลักของประเทศเลยก็ว่าได้ นอกจากประวัติความเป็นมาจะน่าสนใจแล้ว การท่องเที่ยวก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ลองหาเวลาว่างไปนั่งเรือล่องแม่น้ำมูลดูสักวัน หรือไปเดินเล่นสันเขื่อนรับลมชมวิว รับรองไม่ผิดหวังแน่นอนครับผม

ขอบคุณข้อมูลจาก สารคดีดอทคอม

ที่มา : https://baanbaan.co/story/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่