สวัสดีค่ะ ตามหัวข้อกระทู้เลยค่ะ
ในเรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร มีเนื้อหาเกี่ยวกับจุดเดือดว่า 'ณ เวลาที่เกิดการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส จุดเดือดจะคงที่จนกระทั่งสารระเหยหมด' แต่จขกท.ไม่รู้ว่าสารที่กล่าวถึงรวมไปถึงสารละลายซึ่งเป็นสารผสมไหม เลยสงสัยว่า ถ้า 'จุดเดือดจะคงที่' จะขัดกับสมบัติของสารละลายที่ว่าจุดเดือดไม่คงที่รึเปล่า เลยตั้งคำถามไว้ดังนี้ค่ะ
1.จากข้อความ 'จุดเดือดจะคงที่ ณ เวลาที่เกิดการเปลี่ยนสถานะจนเปลี่ยนหมด' จะใช้ไม่ได้กับสารละลายใช่ไหมคะ หรือว่าสารทุกสารมีอุณหภูมิ จุดเดือดที่คงที่
2.ถ้าจากข้อ 1 ถ้าใช้ไม่ได้ แล้วกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารละลายจะแตกต่างจากกราฟปกติ (ที่อุณหภูมิ ณ เวลาเปลี่ยนสถานะคงที่จนเปลี่ยนหมด) อย่างไรเหรอคะ
3.เราสามารถคำนวณพลังงานความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารละลายได้ไหมคะ (ข้อนี้สงสัยมาก ๆ เลยค่ะ เพราะพลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารละลาย ณ เวลาที่เปลี่ยนใช้ไปกับทั้งการเพิ่มอุณหภูมิและการเปลี่ยนสถานะ สูตรที่เรียนมีแต่คำนวณเป็นขั้น ๆ ทีละอย่างค่ะ)
(ข้อที่ 4 เป็นข้อที่เพิ่มมาค่ะ จขกท.เคยเห็นในหนังสือเรียนหลาย ๆ เล่ม สามารถเขียนระบุจุดเดือดเลยจุดหลอมเหลวของสารละลายไว้เป็นค่า ๆ หนึ่งได้เลย เลยอยากรู้ว่าสารละลายที่ปกติจุดเดือดจะไม่คงที่ เราจะสามารถวัดจุดเดือดได้ยังไงเหรอคะ)
บางประโยคอาจจะพิมพ์งง ๆ จขกท.เขียนตอนดึกมากแล้วค่ะ เลยมึน ๆ อย่างไรก็ตามไม่เข้าใจประโยคไหนสามารถถามได้เลยนะคะ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและขอบคุณท่านที่ช่วยชี้แจ้งไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างสูงเลยค่ะ
การเปลี่ยนสถานะของสารละลาย จะแตกต่างจากสารบริสุทธิ์ไหม
ในเรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร มีเนื้อหาเกี่ยวกับจุดเดือดว่า 'ณ เวลาที่เกิดการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส จุดเดือดจะคงที่จนกระทั่งสารระเหยหมด' แต่จขกท.ไม่รู้ว่าสารที่กล่าวถึงรวมไปถึงสารละลายซึ่งเป็นสารผสมไหม เลยสงสัยว่า ถ้า 'จุดเดือดจะคงที่' จะขัดกับสมบัติของสารละลายที่ว่าจุดเดือดไม่คงที่รึเปล่า เลยตั้งคำถามไว้ดังนี้ค่ะ
1.จากข้อความ 'จุดเดือดจะคงที่ ณ เวลาที่เกิดการเปลี่ยนสถานะจนเปลี่ยนหมด' จะใช้ไม่ได้กับสารละลายใช่ไหมคะ หรือว่าสารทุกสารมีอุณหภูมิ จุดเดือดที่คงที่
2.ถ้าจากข้อ 1 ถ้าใช้ไม่ได้ แล้วกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารละลายจะแตกต่างจากกราฟปกติ (ที่อุณหภูมิ ณ เวลาเปลี่ยนสถานะคงที่จนเปลี่ยนหมด) อย่างไรเหรอคะ
3.เราสามารถคำนวณพลังงานความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารละลายได้ไหมคะ (ข้อนี้สงสัยมาก ๆ เลยค่ะ เพราะพลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารละลาย ณ เวลาที่เปลี่ยนใช้ไปกับทั้งการเพิ่มอุณหภูมิและการเปลี่ยนสถานะ สูตรที่เรียนมีแต่คำนวณเป็นขั้น ๆ ทีละอย่างค่ะ)
(ข้อที่ 4 เป็นข้อที่เพิ่มมาค่ะ จขกท.เคยเห็นในหนังสือเรียนหลาย ๆ เล่ม สามารถเขียนระบุจุดเดือดเลยจุดหลอมเหลวของสารละลายไว้เป็นค่า ๆ หนึ่งได้เลย เลยอยากรู้ว่าสารละลายที่ปกติจุดเดือดจะไม่คงที่ เราจะสามารถวัดจุดเดือดได้ยังไงเหรอคะ)
บางประโยคอาจจะพิมพ์งง ๆ จขกท.เขียนตอนดึกมากแล้วค่ะ เลยมึน ๆ อย่างไรก็ตามไม่เข้าใจประโยคไหนสามารถถามได้เลยนะคะ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและขอบคุณท่านที่ช่วยชี้แจ้งไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างสูงเลยค่ะ