เที่ยวต่อไม่รอแล้วนะ ณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อ.นครไทย..ถึงโกนเซินมาฉันก็จะฝ่าไป (ทริปเหงาๆ 10 ก.ย.64)

กระทู้สนทนา
ฮัลโหล นกอีก๋อยฯ กลับมาแล้วหลังจากอึดอัดอยู่นานเพราะไม่ได้เที่ยวนานหลายเดือน...ฟิ้ววววว 

เพี้ยนลอยเพี้ยนลอยเพี้ยนลอย

//// ความจริงก็สองจิตสองใจอยู่พักหนึ่งเพราะพายุโกนเซินดันเข้าไทยพอดี แม่น้ำวังทองถึงกับเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในอำเภอหลายสิบหลังคาเรือน 
+++++ แต่ๆๆๆ คุณสาบอกว่าไปเหอะ นอนไม่ได้ก็แค่ขับรถกลับ (ใช้เวลาเดินทางชั่วโมงครึ่ง) “ทำไมใกล้จัง” นกอีก๋อยก็แอบคิดนะ 555 
//// ++++ รอบนี้เป็นทริปหลังคลายล็อกดาวน์ ปักหมุดอุทยานแห่งชาติใกล้บ้านอย่าง “อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง” จ.พิษณุโลก
+++ ที่ที่เราจะไปกางเต๊นท์อยู่ในเขต อ.นครไทย และที่ต้องเที่ยวในจังหวัดเพราะยังออกนอกพื้นที่ไม่ได้จ้า
//// +++++ สัมภาระไม่ต้องคิดอะไรมาก เราแค่เอากล่องแค้มปิ้งออกมา จับของในนั้นยัดใส่กระเป๋าใบย่อยๆ รับรองว่าครบทุกสิ่ง 

นี่จ้ะ ที่ทำการของอุทยานฯ แต่เราไม่ได้ต้องไปติดต่ออะไร  
ส่วนจุดนี้ เป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องมาชำระค่ากางเต๊นท์ คนละ 30 บาท/ 1 คืน และเมื่อจะออกก็มาแลกเอาบัตรประชาชนของเราคืน 
ด้านหน้าศูนย์บริการข้อมูลมีแผนที่แสดงอาณาบริเวณของอุทยาน ที่เนื้อที่ครอบคลุมไปถึงจังหวัดเพชรบูรณ์โน่น
หรือที่รู้จักกันว่า “หนองแม่นา” (นกอีก๋อยไปมาแล้ว และมันก็สวยมากๆๆๆๆๆๆๆ เลยจ้า) 
จากข่าวพายุโกนเซินเข้าไทย กระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างที่สุด สรุปเราเหมาลานจ้า ต้องเรียกว่าเหมาศาลาจึงจะถูก และที่เราเลือกศาลาเพราะเรากลัวฝนกลัวน้ำป่า (ความกังวลอันเนื่องมาจากคนที่บ้านด้วยแหละ) 
ฝนตกฝนตกฝนตก
นี่งัย เหมาลานจริง ๆ นะ รถมอไซค์ก็ของคุณป้าแม่บ้านเค้าแหละ 

ลุยจ้า! กางเต๊นท์สิ รออะไร 

กางเต๊นท์เสร็จแล้ว ขอพักใจพักกายสักหน่อยเหอะ มองไปทางไหนก็ไม่เห็นนักท่องเที่ยวเลย จะมีก็แต่แม่บ้าน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของทางอุทยานฯ ซึ่งแกน่ารักมาก แนะนำเราหลายอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะได้เจอ ทั้งตุ๊กแกเจ้าถิ่นในศาลา และเสียงร้องของน้องบ่างยามวิกาล
 
มีแอบพกเคบับจากในเมืองมากินแก้หิวด้วยนะ เพราะที่ลานกางเต๊นท์ไม่มีร้านอาหาร เตรียมอะไรมารองท้องได้เตรียมมาก่อนเลย
ร้านอาหารและเครื่องดื่มจะมีเปิดขายด้านหน้าอุทยานฯ เท่านั้นจ้า   

มาดูบรรยกาศรอบ ๆ กันบ้าง เริ่มจากจุดถ่ายรูปว่าเรามาถึงละนะ “สะพานสลิง” 

ศาลาที่เรากางเต๊นท์อยู่ในเขต “อำเภอนครไทย” ด้านข้างถัดไปประมาณ 100 เมตร จะมีบ้านพักเจ้าหน้าที่ 1 หลัง


ถ่ายรูปกันเพลินมาก เพราะมีแค่เราสองคนนะจ๊ะ 
 
สายน้ำที่ไหลบ่าเสียงดังซู่ซ่าตลอดเวลา สีน้ำขุ่นเป็นโอวัลตินเลย และความสูงของน้ำที่ขึ้นก็แทบจะมิดโขดหินด้านข้างแล้ว
 
หากไม่ใช่ฤดูฝน ป้าแม่บ้านว่าจะเป็นแก่งให้ลงเล่นน้ำกันได้ด้วยนะ 

สวยไม่เบา มุมนี้ 

มุมไกลกันบ้าง 

และหากไม่ใช่ฤดูฝน เราคงได้มากางเต๊นท์ที่จุดนี้ซึ่งสวยและเป็นมุมที่ชิลเอามาก ๆ 

จุดกางเต๊นท์ที่ทำเลดีอีกจุด ลานหญ้ากว้างๆ พอจะกางได้หลายเต๊นท์เลยล่ะ

ชมความแน่นหนาของสะพานสลิง แข็งแรงมาก มั่นใจได้เลยว่าเดินได้ไม่หลุดร่วงลงไปข้างล่างแน่นอน

และเมื่อเดินข้ามมาอีกฝั่งเราก็จะมายืนอยู่ที่ “เขตอำเภอวังทอง” 

ที่ฝั่ง อ. วังทอง จะเป็นที่ตั้งของบ้านพักเจ้าหน้าที่อีกหลัง 

ห้องน้ำแยกฝั่งชาย-หญิง มีให้บริการทั้งแบบนั่งยอง ๆ และแบบชักโครก สะดวกและสะอาดมาก ๆ ซึ่งอยากขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวว่าให้เปลี่ยนรองเท้าที่ด้านหน้าก่อนใช้บริการนะจ๊ะ เพราะมันจะทำให้ไม่มีดินที่ติดรองเท้าของเราไปเปื้อนในห้องน้ำ 

จุดล้างภาชนะมี 1 จุดนะจ๊ะ อาจเพราะเป็นจุดกางเต๊นท์ที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมาก 

กางเต๊นท์เสร็จเวลาเหลือเยอะเลยขับรถย้อนมาหาอะไรกินที่บ้านแยง
จำชื่อร้านไม่ได้ ป้าขายอาหารตามสั่งและก๋วยเตี๋ยว อร่อยและราคาไม่แพงเลย
            
    และแล้วก็ถึงเวลาค่ำคืน ราตรีช่างยาวนาน เพราะไม่มีไฟฟ้าแถมสัญญาณอินเตอร์เน็ตก็ช่างแห้งแล้งเหลือเกิน นอนฟังเสียงบ่างไปเพลิน ๆ ตอนตีหนึ่ง หลับบ้างไม่หลับบ้าง เป็นครั้งแรกที่รู้สึกกลัวความมืดเพราะมองออกไปนอกเต๊นท์เราไม่เห็นอะไรเลยสักอย่าง  ฝนเริ่มลงเม็ดพอให้รู้ว่าพายุเข้า ซึ่งเราอยากให้ตกหนักกว่านี้เพราะไม่ได้เตรียมพัดลมกันมา หวังจะมาอาศัยอากาศเย็นๆ ซะหน่อย แต่งานนี้ทำเอาเหงื่อซึมกันไปเลยจ้า     
เพี้ยนฝันดีเพี้ยนรู้สึกเงียบ

กฎเป็นกฎ อาหารที่อุทยานฯ อนุญาตให้ทำต้องไม่มีกลิ่นรุนแรงที่จะทำให้เกิดการรบกวนต่อบรรดาสัตว์ป่า 

โจ๊กมาม่านี่แหละตอบโจทย์ที่สุดสำหรับมื้อเช้า

นี่งัย น้องตุ๊กเจ้าถิ่น “ไม่เข้าไปนอนในเต๊นท์กับพี่ด้วยเลยล่ะน้อง” หึหึหึ 

ก่อนเข้าบ้าน เราแวะหาอะไรกินกันก่อน
ขอโปรโมทของอร่อยในพิษณุโลกหน่อยน้าาา “ข้าวมันไก่พั้งกี่” กินกับต้มจืดผักกาดดองกับเครื่องในหมู อร่อยสุด ๆ ฟินนาเล่มากจ้า 
 

อิ่มแล้วกลับบ้านได้ แล้วพบกันทริปหน้าจ้าาาา..เพี้ยนลาเวนเดอร์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่