อยากถามความเห็นของทุกๆท่านครับว่า เราจะสามารถกระตุ้นให้คนไทยมีความกระตือรือร้นโดยไม่มีวาทกรรมหรือความเข้าใจผิดได้หรือไม่ครับ
อย่างที่หลายๆท่านอาจทราบกันว่า มีวาทกรรมและความเข้าใจผิดจำนวนมากในการพัฒนาระหว่างไทยและประเทศต่างๆ พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
1."ไทยเปิดประเทศพร้อมๆกับญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นไปได้ไกลกว่าเพราะ..." ในส่วนนี้มีหลายกระทู้ที่ตั้งถาม มีคนมาแสดงความเห็นไว้หลายข้อว่าในช่วงเปิดประเทศนั้น ญี่ปุ่นมีความพร้อมและพื้นฐานที่มากกว่าสยาม เลยทำให้พัฒนาไปได้ไกลกว่า ยกตัวอย่างเช่นกระทู้นี้ของ จขกท.เอง ลองไปอ่านกันดูครับ
https://ppantip.com/topic/40724893
2."สมัยก่อนไทยเคยเจริญกว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย ตอนนี้เขาก้าวหน้าไปแล้ว ทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้มีอะไรพร้อม" ในส่วนนี้มีหลายท่านมาอธิบายแล้วว่า ในความเป็นจริงแล้ว มาเลเซียและสิงคโปร์ไม่เคยแซงไทย โดยเฉพาะในด้าน GDP Per Capita ซึ่งมีมากกว่าไทยมาตั้งแต่ก่อนได้รับเอกราช ความเจริญทางวัตถุต่างๆก็มากกว่าสยามมานาน อย่างที่เรามักจะเคยได้ยินจากในนิยายแนวพีเรียดหรือแม้แต่เรื่องจริงที่ผู้มีฐานะจำนวนมาก โดยเฉพาะทางปักษ์ใต้ มักส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อที่ปีนังหรือสิงคโปร์ในยุคที่การศึกษาของไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก ส่วน GDP นั้นไทยมีมากกว่าอยู่นานแล้วเนื่องจากมีเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนเรื่องความพร้อม มลายาและสิงคโปร์นั้นก็ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ มีทรัพยากรอยู่พอสมควร แถมยังตั้งอยู่ในเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลกอีกด้วย
3."เพราะหลายๆอย่าง (ต่างฝ่ายต่างอ้างแนวคิดของตัวเอง) เวียดนามที่เคยตามไทยก็เริ่มจะแซงแล้ว" ในส่วนนี้มีคนอธิบายไว้แล้วว่า เป็นเรื่องปกติที่พอประเทศมีรายได้สูงขึ้น ค่าแรงสูงขึ้น ก็ย่อมขยับขยายไปประเทศอื่นที่ค่าแรงยังต่ำกว่าเป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่นักลงทุนไทยเองก็เริ่มไป ในส่วนนี้จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะสูงกว่าก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนเรื่องอื่นๆเช่นความพร้อมของประชากร การศึกษา ความขยัน ฯลฯ อันนี้ จขกท.เห็นด้วยที่อัตราคนหนุ่มสาวทำงานไทยเริ่มน้อยลงเพราะว่าอัตราการเกิดน้อยลง เรื่องการศึกษากลุ่ม Sinosphere ค่อนข้างมีมายาวนานกว่าสยาม ส่วนความขยันนั้น จขกท.ว่าทุกประเทศมีคนขยันคนไม่ขยันเหมือนกันหมดครับ ส่วนเรื่องจะแซงหรือไม่ นอกจากการพัฒนาของไทยที่ต้องไม่หยุดนิ่งแล้ว (ซึ่งก็ไม่เคยหยุด เร็วบ้างช้าบ้างตามบริบทในแต่ละยุค) ถ้าเวียดนามนำการเจริญเติบโตที่สูงมาต่อยอดสาธารณูปโภคได้ พัฒนานวัตกรรมได้ เรื่องแซงก็ไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนนี้ก็ต้องคอยดูว่าชาติไหนจะเข้าสู่เศรษฐกิจนวัตกรรมได้ก่อนกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อันนี้รู้สึกแปลกๆเวลาเห็นสารคดีหรือสกู๊ปข่าวมาแล้วมักจะมีความเห็นทำนองว่า "แถวบ้านมีแต่คนอย่างนั้นอย่างนี้" คือคนในทุกสังคมมันมีหลายประเภทเหมือนกันแหละครับ หรือบางคนกลัวว่าโรงงานย้ายไปหมดแล้วคนไทยจะไม่มีงาน คือก็ควรดึงการลงทุนไว้ ทว่าก็ไม่ใช่ว่าถ้าไทยไม่มีคนลงทุนคนไทยจะไม่มีงานทำเลย
4."ไทยพร้อมทุกอย่าง ไม่เคยมีสงครามกลับไปได้ช้า" ประการแรก แม้ไทยอาจพร้อมในด้านทรัพยากรและภูมิศาสตร์ ทว่าในช่วงเริ่มต้นก็อาจยังไม่ได้พร้อมนักในด้านนโยบายหรือแผนพัฒนา ส่วนสงครามนั้น ใช่ว่าพอไทยไม่มีสงครามใหญ่ๆชนิดที่อยู่ในประวัติศาสตร์โลกแล้วจะมีแต่ช่วงสงบสุขอย่างเดียว สงคราม ความขัดแย้งย่อยๆก็ยังมีอยู่บ้าง ใช่ว่าจะไม่มี ถ้าไม่นับสงครามกับตองอู, อังวะในสมัยโบราณ ก็มีปะทะกับฝรั่งเศสหรือประเทศเพื่อนบ้านบ้าง ในช่วงสร้างรัฐชาติสมัยรัชกาลที่ห้าก็มีกบฏรอบทิศ สมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็ได้รับผลกระทบ สงครามเย็นแม้ไม่ใช่สมรภูมิโดยตรงก็ยังได้รับผลกระทบ คือเราก็มีความขัดแย้งหรือสงครามอยู่เหมือนกัน ใช่ว่าไม่มี
5."สมัยก่อนเกาหลีใต้เจริญน้อยกว่าไทย ตอนนี้ก้าวนำหน้าไปไกลแล้ว" ความเป็นจริงมีหลายท่านมาอธิบายแล้วว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไม่เคยตามไทย แม้แต่ตอนก่อนสงครามเกาหลี ทั้ง GDP และ GDP Per Capita ของเกาหลีใต้มากกว่าไทยมานาน มีบางช่วงที่ไทยมีมากกว่าบ้างซึ่งเป็นผลมาจากสงครามเกาหลี ส่วนอุตสาหกรรมที่เจริญก้าวหน้านั้น เกาหลีใต้มีรากฐานอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ยุคสมัยที่ญี่ปุ่นปกครอง แม้จะมีอุตสาหกรรมในจะมีในภาคเหนือมากกว่าเพื่อเป็นฐานขยายเข้าไปสู่แมนจูเรียของจีน ในขณะที่ภาคใต้จะเน้นเกษตรกรรมมากกว่าอุตสาหกรรม (เป็นเพราะมีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกมากกว่าด้วย) ทำให้ในช่วงแรกเกาหลีเหนือมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากกว่า เคยมีบันทึกว่าชาวเกาหลีในญี่ปุ่นช่วงแรกที่เดินทางกลับเกาหลีมักไปเกาหลีเหนือ ทว่าต่อมาพออุตสาหกรรมเกาหลีเหนือไม่ได้รับการพัฒนาต่อยอด ประกอบกับเกาหลีใต้ในยุคทศวรรษที่ 1960 เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ทำให้เศรษฐกิจเริ่มก้าวหน้ามากกว่า จนเกาหลีใต้เริ่มยกระดับเป็นประเทศรายได้ปานกลางและรายได้สูงในยุคทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ในขณะที่ไทยเพิ่งเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมเบาเพื่อทดแทนการนำเข้าในทศวรรษที่ 1960 มาเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมหนักเพื่อการส่งออกในช่วงทศวรรษที่ 1980 ยกระดับเป็นประเทศรายได้ปานกลางในทศวรรษที่ 1990 ถ้าไทยอยากจะยกระดับขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง ก็ต้องพัฒนาเศรษฐกิจนวัตกรรมให้ได้
สองวิดีโอนี้เป็น GDP และ GDP Per Capita ของประเทศในเอเชีย จะเห็นได้ว่าไทยเราเองก็ไม่ได้อยู่เหนือเกาหลีใต้ สิงคโปร์และมาเลเซียมาแต่เดิม
เหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของความเข้าใจผิดที่เรามักเคยได้ยินกัน ทว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่การติดต่อสื่อสารเจริญก้าวหน้า ทำให้วาทกรรมและความเข้าใจผิดต่างๆเริ่มได้รับการแก้ไขจำนวนมาก (โดยเฉพาะในพันทิป และตามคลิป Youtube ช่องต่างๆ) ทว่าก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังคงมีความเชื่อแบบเดิมอยู่ (อีกทั้งบางคนยังนำไปใช้เป็นประเด็นทางการเมืองอีกด้วย) อาจต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการปรับให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทว่าหลายคนก็มองว่า ไม่แน่การคงความเข้าใจผิดเหล่านี้ต่อไป ก็อาจเกิดผลดีเพราะเป็นการกระตุ้นให้คนไทยเกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนา โดยส่วนตัว จขกท. มองว่า ในอดีต ในยุคที่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยหรือต่างประเทศยังคงถูกจำกัดวงเฉพาะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปจะคิดไปต่างๆ นานาตามที่ได้ยินได้ฟังกัน บางเรื่องก็เข้าใจถูก บางเรื่องก็เข้าใจไม่ถูก ทว่าในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลความรู้ต่างๆเริ่มสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นแล้ว วาทกรรมหรือความเข้าใจผิดต่างๆย่อมมีผู้เข้าใจได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น เช่นนี้แล้วเราจะสามารถกระตุ้นให้คนไทยมีความกระตือรือร้นโดยไม่มีวาทกรรมหรือความเข้าใจผิดได้หรือไม่ และ จขกท. มองอีกว่า คนที่ส่งเสริมหรือพยายามปลูกฝังความเข้าใจผิดเหล่านี้ แม้ว่าอาจพอจะเข้าใจได้และเป็นเรื่องดีที่อาจต้องการให้คนไทยมีความกระตือรือร้น ทว่าน่าจะดีกว่า ถ้าหากคนไทยเรามีความรู้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และมีความพัฒนา กระตือรือร้นอยู่เสมอไม่ว่าจะแข่งกับใครก็ตาม และแม้ว่าไทยเราอาจไปได้ไกลกว่านี้ ทว่าที่เราเป็นมาก็นับได้ว่าเราไม่ได้ด้อยไปกว่าใครเลย มีความสามารถอยู่พอสมควร
ลองแสดงความเห็นกันดูครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ และหากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผืดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อถกเถียงกันบนพื้นฐานของความรู้และวิชาการ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น
เราจะสามารถกระตุ้นให้คนไทยมีความกระตือรือร้นโดยไม่มีวาทกรรมหรือความเข้าใจผิดได้หรือไม่
อย่างที่หลายๆท่านอาจทราบกันว่า มีวาทกรรมและความเข้าใจผิดจำนวนมากในการพัฒนาระหว่างไทยและประเทศต่างๆ พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
1."ไทยเปิดประเทศพร้อมๆกับญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นไปได้ไกลกว่าเพราะ..." ในส่วนนี้มีหลายกระทู้ที่ตั้งถาม มีคนมาแสดงความเห็นไว้หลายข้อว่าในช่วงเปิดประเทศนั้น ญี่ปุ่นมีความพร้อมและพื้นฐานที่มากกว่าสยาม เลยทำให้พัฒนาไปได้ไกลกว่า ยกตัวอย่างเช่นกระทู้นี้ของ จขกท.เอง ลองไปอ่านกันดูครับ
https://ppantip.com/topic/40724893
2."สมัยก่อนไทยเคยเจริญกว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย ตอนนี้เขาก้าวหน้าไปแล้ว ทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้มีอะไรพร้อม" ในส่วนนี้มีหลายท่านมาอธิบายแล้วว่า ในความเป็นจริงแล้ว มาเลเซียและสิงคโปร์ไม่เคยแซงไทย โดยเฉพาะในด้าน GDP Per Capita ซึ่งมีมากกว่าไทยมาตั้งแต่ก่อนได้รับเอกราช ความเจริญทางวัตถุต่างๆก็มากกว่าสยามมานาน อย่างที่เรามักจะเคยได้ยินจากในนิยายแนวพีเรียดหรือแม้แต่เรื่องจริงที่ผู้มีฐานะจำนวนมาก โดยเฉพาะทางปักษ์ใต้ มักส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อที่ปีนังหรือสิงคโปร์ในยุคที่การศึกษาของไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก ส่วน GDP นั้นไทยมีมากกว่าอยู่นานแล้วเนื่องจากมีเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนเรื่องความพร้อม มลายาและสิงคโปร์นั้นก็ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ มีทรัพยากรอยู่พอสมควร แถมยังตั้งอยู่ในเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลกอีกด้วย
3."เพราะหลายๆอย่าง (ต่างฝ่ายต่างอ้างแนวคิดของตัวเอง) เวียดนามที่เคยตามไทยก็เริ่มจะแซงแล้ว" ในส่วนนี้มีคนอธิบายไว้แล้วว่า เป็นเรื่องปกติที่พอประเทศมีรายได้สูงขึ้น ค่าแรงสูงขึ้น ก็ย่อมขยับขยายไปประเทศอื่นที่ค่าแรงยังต่ำกว่าเป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่นักลงทุนไทยเองก็เริ่มไป ในส่วนนี้จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะสูงกว่าก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนเรื่องอื่นๆเช่นความพร้อมของประชากร การศึกษา ความขยัน ฯลฯ อันนี้ จขกท.เห็นด้วยที่อัตราคนหนุ่มสาวทำงานไทยเริ่มน้อยลงเพราะว่าอัตราการเกิดน้อยลง เรื่องการศึกษากลุ่ม Sinosphere ค่อนข้างมีมายาวนานกว่าสยาม ส่วนความขยันนั้น จขกท.ว่าทุกประเทศมีคนขยันคนไม่ขยันเหมือนกันหมดครับ ส่วนเรื่องจะแซงหรือไม่ นอกจากการพัฒนาของไทยที่ต้องไม่หยุดนิ่งแล้ว (ซึ่งก็ไม่เคยหยุด เร็วบ้างช้าบ้างตามบริบทในแต่ละยุค) ถ้าเวียดนามนำการเจริญเติบโตที่สูงมาต่อยอดสาธารณูปโภคได้ พัฒนานวัตกรรมได้ เรื่องแซงก็ไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนนี้ก็ต้องคอยดูว่าชาติไหนจะเข้าสู่เศรษฐกิจนวัตกรรมได้ก่อนกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4."ไทยพร้อมทุกอย่าง ไม่เคยมีสงครามกลับไปได้ช้า" ประการแรก แม้ไทยอาจพร้อมในด้านทรัพยากรและภูมิศาสตร์ ทว่าในช่วงเริ่มต้นก็อาจยังไม่ได้พร้อมนักในด้านนโยบายหรือแผนพัฒนา ส่วนสงครามนั้น ใช่ว่าพอไทยไม่มีสงครามใหญ่ๆชนิดที่อยู่ในประวัติศาสตร์โลกแล้วจะมีแต่ช่วงสงบสุขอย่างเดียว สงคราม ความขัดแย้งย่อยๆก็ยังมีอยู่บ้าง ใช่ว่าจะไม่มี ถ้าไม่นับสงครามกับตองอู, อังวะในสมัยโบราณ ก็มีปะทะกับฝรั่งเศสหรือประเทศเพื่อนบ้านบ้าง ในช่วงสร้างรัฐชาติสมัยรัชกาลที่ห้าก็มีกบฏรอบทิศ สมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็ได้รับผลกระทบ สงครามเย็นแม้ไม่ใช่สมรภูมิโดยตรงก็ยังได้รับผลกระทบ คือเราก็มีความขัดแย้งหรือสงครามอยู่เหมือนกัน ใช่ว่าไม่มี
5."สมัยก่อนเกาหลีใต้เจริญน้อยกว่าไทย ตอนนี้ก้าวนำหน้าไปไกลแล้ว" ความเป็นจริงมีหลายท่านมาอธิบายแล้วว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไม่เคยตามไทย แม้แต่ตอนก่อนสงครามเกาหลี ทั้ง GDP และ GDP Per Capita ของเกาหลีใต้มากกว่าไทยมานาน มีบางช่วงที่ไทยมีมากกว่าบ้างซึ่งเป็นผลมาจากสงครามเกาหลี ส่วนอุตสาหกรรมที่เจริญก้าวหน้านั้น เกาหลีใต้มีรากฐานอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ยุคสมัยที่ญี่ปุ่นปกครอง แม้จะมีอุตสาหกรรมในจะมีในภาคเหนือมากกว่าเพื่อเป็นฐานขยายเข้าไปสู่แมนจูเรียของจีน ในขณะที่ภาคใต้จะเน้นเกษตรกรรมมากกว่าอุตสาหกรรม (เป็นเพราะมีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกมากกว่าด้วย) ทำให้ในช่วงแรกเกาหลีเหนือมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากกว่า เคยมีบันทึกว่าชาวเกาหลีในญี่ปุ่นช่วงแรกที่เดินทางกลับเกาหลีมักไปเกาหลีเหนือ ทว่าต่อมาพออุตสาหกรรมเกาหลีเหนือไม่ได้รับการพัฒนาต่อยอด ประกอบกับเกาหลีใต้ในยุคทศวรรษที่ 1960 เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ทำให้เศรษฐกิจเริ่มก้าวหน้ามากกว่า จนเกาหลีใต้เริ่มยกระดับเป็นประเทศรายได้ปานกลางและรายได้สูงในยุคทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ในขณะที่ไทยเพิ่งเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมเบาเพื่อทดแทนการนำเข้าในทศวรรษที่ 1960 มาเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมหนักเพื่อการส่งออกในช่วงทศวรรษที่ 1980 ยกระดับเป็นประเทศรายได้ปานกลางในทศวรรษที่ 1990 ถ้าไทยอยากจะยกระดับขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง ก็ต้องพัฒนาเศรษฐกิจนวัตกรรมให้ได้
สองวิดีโอนี้เป็น GDP และ GDP Per Capita ของประเทศในเอเชีย จะเห็นได้ว่าไทยเราเองก็ไม่ได้อยู่เหนือเกาหลีใต้ สิงคโปร์และมาเลเซียมาแต่เดิม
ลองแสดงความเห็นกันดูครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ และหากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผืดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อถกเถียงกันบนพื้นฐานของความรู้และวิชาการ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น