ทำไม ถึงเอาภาษาเขียนมาตั้งเป็นชื่อหนังสือการ์ตูน ???

ถ้าเป็นชื่อตอนยังโอเค แต่เป็นชื่อเรื่องฟังแล้วรู้สึกแปลกชอบกล
เช่น
(ขอโทษนะครับ)
มาเล่าเรื่องผีกันมั้ยครับอาจารย์, หน้าม้าผมเป็นเด็กประถมเหรอเนี่ย?,
รุ่นพี่ครับไม่ต้องมาฟินกับเสียงผมเลยนะ, ผมเทพสุดจริงเหรอ, ชีวิตใหม่ในโลกต่างมิติของฉันถูกลิขิตให้เลี้ยงลูกจอมมารทั้งสิบ 

อันนี้คือตัวอย่างน้อยนิดที่ยกมา มีเรื่องออกใหม่อีกเป็น ร้อย ๆ ที่ตั้งชื่อตรง ๆ ด้วยภาษาเขียนแบบนี้...

ไม่เหมือนชื่อหนังสือการ์ตูนรุ่นก่อน จะเป็น
ผ่าพิภพไททัล, เปลวฟ้าผ่าปฐพี, หุ่นเชิดสังหาร,ชาแมนคิง, เทพอสูรจิ้งจอกเงิน, มือปราบปืนโหด, หมัดสั่งสร้างฝัน 
เห็นมั้ยครับ ชื่อเพราะ  มีเสน่ห์ โดดเด่น กระชับสั้น ๆ  มีอิมแพคบางอย่างที่คนอ่านแล้วจำได้ทันที

ผมสงสัยว่าความคิดสร้างสรรค์ในการตั้งชื่อเรื่องให้สะดุดตาเหมือนคนรุ่นก่อนหายไปไหนแล้ว
คนที่ตั้งชื่อหนังสือมักเป็นนักแปลถูกไหม ? น่าจะมีคลังคำศัพท์ในหัวมากกว่านี้นะครับ 
 
ถึงจะบอกว่าไม่ควรตัดสินหนังสือจากชื่อ หรือ ปก 
แต่ยังไงก็เป็นประตูด่านแรกที่สร้างความประทับใจแรกพบ
ชื่อเรื่องควรจะเป็นหน้าเป็นตาให้กับหนังสือสักนิด
บางคนที่สะสม อยากเห็นปกการ์ตูนสวย ๆ  ชื่อเพราะ เท่ เก๋ น่าจดจำ เหมือนกันนะครับ
(ป.ล. ถ้าตั้งไม่ได้ ลองติดต่อผมดู ผมสามารถตั้งให้สามชื่อ ให้เลือกเอาเลยครับ)

_______________________

ขอบคุณทุกคำตอบ แต่ผมว่า "ภาพหน้าปก ชื่อสั้น ๆ สำนวนรัดกุมตรงประเด็น" น่าจะบอกอะไรได้หลายอย่างแล้ว
เหมือนคำพูดที่ว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดได้เป็นพัน"
และวงการอื่น เช่นชื่อหนัง ภาพยนตร์ หรือละคร  ก็ไม่เห็นแทบจะเอาภาษาพูด
ประโยคข้อความยาว ๆ มาตั้งให้เยิ่นเย้อ ยืดยาด เป็นน้ำท่วมทุ่งแบบนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่