ความเชื่อผิดๆ เรื่องการ “หักดิบ” และเหตุผลที่ว่า ทำไมนี่จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด และอาจอันตรายกว่าที่คิด
เมื่อคุณเดินมาถึงจุดที่กำลังต้องการแตกหักและเลิกลากับการเสพติดของตัวเอง ด้วยความเชื่อผิดๆ บางอย่างอาจทำให้คุณเลือกวิธีการ “หักดิบ” ด้วยตัวเอง ซึ่งความจริงแล้วอาจอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด
เมื่อคุณเดินมาถึงจุดที่ตระหนักแล้วว่า การเสพติดของคุณไม่ใช่เพียงแค่ความผิดพลาดชั่วครั้งชั่วคราวอีกต่อไป แต่เป็นการ “เสพติด” เต็มรูปแบบ ซึ่งกำลังส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคุณ และมีผลกระทบต่อครอบครัวและคนที่คุณรักและรักคุณ พวกเขาต่างก็กำลังขอร้องให้คุณหยุดการเสพติด ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตามที คุณจึงเริ่มพิจารณาที่จะหยุดการเสพติดของตัวเองอย่างจริงจังเสียที
การตระหนักรู้นี้เป็นย่างก้าวสำคัญสู่เส้นทางหยุดการเสพติด แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีหยุดการเสพติดของตัวเอง สิ่งสำคัญก็คือ การรับรู้ถึงความเสี่ยงของการหยุดการเสพติดด้วยตัวเอง หรือการ “หักดิบ” ซึ่งอันตรายกว่าที่คุณคิด และนี่เป็นเหตุผลที่คุณควรพิจารณาในการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ในการยุติการเสพติดของตัวเองอย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ
ทำไมบางคนถึงเลือกการ “หักดิบ”
การเลือกหยุดการเสพติดด้วยตนเองมีปัจจัยหลายประการที่ซ่อนอยู่ การทำความเข้าใจในเหตุผลที่คนเราเลือกเอาชนะการเสพติดของตัวเองด้วยการ “หักดิบ” จะช่วยให้สำรวจทางเลือกนี้อย่างมีสติ และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมว่า นี่เป็นวิธีการที่ถูกต้องสำหรับคุณหรือไม่
ความเชื่อว่าจิตใจที่เข้มแข็งคือสิ่งเดียวที่จำเป็นในการเอาชนะการเสพติด
หนึ่งในความเชื่อผิดๆ ที่เป็นอันตรายมาเกี่ยวกับการเสพติดก็คือ การเสพติดมาจากจิตใจที่อ่อนแอ ขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือไม่มีความมุ่งมั่น ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อว่า สำหรับคนที่ต้องการเอาชนะการเสพติด สิ่งเดียวที่ต้องการก็คือ การมุ่งมั่นที่จะหยุดการเสพติด แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเอาชนะการเสพติดไม่ได้เป็นอะไรที่ง่ายดายขนาดนั้น
การเสพติดไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม เป็นการครอบงำคนเราทั้งทางจิตใจและร่างกาย เพราะสารเสพติดได้เปลี่ยนสารเคมีในสมองของเรา ให้พึ่งพิงสารเสพติดทั้งหลาย และทำให้ร่างกายหันมาพึ่งพิงกับสารเคมีเหล่านั้น ในกระบวนการหยุดการใช้สารเสพติด จึงทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายทางร่างกายได้อย่างรุนแรง จึงเป็นเหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญอย่าง ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์จากกรมสุขภาพจิต ชี้ว่าไม่ควรใช้การหักดิบในการหยุดการใช้สารเสพติด ตัวอย่างเช่น การเลิกเหล้าด้วยการหยุดดื่มสุราอย่างกะทันหัน สามารถทำให้เกิดอาการถอนพิษสุรา ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และแนะนำให้ปรึกษากับแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อวางแผนหยุดการเสพติดอย่างเหมาะสม
ต้องการเก็บการเสพติดเป็นความลับ
บางคนพยายามปกปิดและซ่อนการเสพติดของตัวเองเอาไว้จากทุกคนรอบตัว ซึ่งที่พวกเขาทำเช่นนี้ ก็ด้วยความรู้สึกละอายต่อการเสพติดของตัวเอง หรือเพราะกลัวผลที่จะตามมาในการเผยความลับแก่คนอื่น เช่น อาจสูญเสียหน้าที่การงาน หรือความเคารพจากคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง ดังนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ แต่อยากมีชีวิตที่ปลอดการเสพติด การหยุดการใช้ยาด้วยตัวเองอาจดูเหมือนจะเป็นทางเลือกเพียงอย่างเดียว
แต่โชคไม่ดีที่การเก็บเป็นความลับ กลับยิ่งทำให้การเสพติดรุนแรงขึ้น เพราะขั้นตอนสำคัญในการเอาชนะการเสพติดก็คือ การเริ่มต้นพูดกับใครสักคนหนึ่ง ถึงสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ เพื่อแยกแยะถึงเหตุผลที่แท้จริงในการเสพติด จึงจะหยุดการเสพติดได้อย่างแท้จริง และการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการเลิกเสพติด เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ที่คุณจะได้พูดคุยถึงปัญหาที่แท้จริงของการเสพติดและกระบวนการก้าวผ่านขั้นตอนการถอนพิษของการเสพติดได้อย่างปลอดภัย และข้อมูลทุกอย่างของคุณจะถูกเก็บเป็นความลับ
เคยเข้าสถานบำบัดยาเสพติดมาก่อน แต่ก็กลับมาเสพติดอีก
หากคุณเคยผ่านกระบวนการบำบัดมาแล้ว แต่ก็กลับมาใช้สิ่งเสพติดอีก เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกผิดหวัง และตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาที่ผ่านมาในอดีต อย่างไรก็ตาม การเสพติดเป็นโรคอันซับซ้อน และการกลับมาติดอีกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ สำหรับการก้าวผ่านกระบวนเลิกเสพนั้น จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพคอยดูแลและแนะนำ รวมไปถึงช่วยแก้ปัญหาการเสพติดที่ลึกลงไปถึงต้นตอ ที่อาจมี “โรคร่วม” อื่นๆ อยู่ด้วย คุณจะได้เรียนรู้เครื่องมือในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ของชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฟื้นฟูตนเองจากการเสพติดซึ่งเป็นวิธีการระยะยาวที่สามารถช่วยให้คุณปลอดจากการเสพติดได้ตลอดไป
อันตรายของการถอนพิษสิ่งเสพติด
เมื่อร่างกายของคุณเสพติดบางสิ่งบางอย่างเป็นจำนวนมากในเวลานาน การขจัดสารเสพติดออกจากร่างกายมักทำให้เกิดอาการของ “การถอนยา” หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “อาการลงแดง” ซึ่งมีทั้งอาการทางจิตใจและร่างกาย ที่สามารถทำให้รู้สึกไม่สบายได้เป็นอย่างมาก ในกรณีที่รุนแรง ก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ การก้าวผ่านกระบวนการนี้กับมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในการถอนพิษสิ่งเสพติด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก
สารเสพติดที่ต่างกันทำให้เกิดอาการของการถอนยาต่างกัน การศึกษาล่วงหน้าว่าอาการเหล่านี้มีอะไรบ้าง จะเป็นประโยชน์ในรับมือกับอาการต่างๆ ในขั้นตอนแรกของการเลิกการเสพติด
การถอนพิษสุรา
การถอนพิษสุรา เป็นกระบวนการชำระล้างแอลกอฮอล์ตามธรรมชาติของร่างกาย เริ่มต้นราว 6-12 ชั่วโมงหลังการดื่มครั้งสุดท้าย และมีอาการเบื้องต้น ยกตัวอย่างเช่น
ตัวสั่นเทา
เหงื่อออก
ปวดศีรษะ
คลื่นไส้
อาเจียน
วิตกกังวล
นอนไม่หลับ
บางคนอาจเกิดภาพหลอนได้ในช่วงเวลาราว 12-24 ชั่วโมงหลังดื่มครั้งสุดท้าย ซึ่งอาจได้แก่ อาการหูแว่ว การเห็นหรือรู้สึกอะไรที่ไม่ใช่เรื่องจริง ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้การถอนพิษสุราอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรงที่เรียกว่า Delirium Tremens (DTs) หรืออาการทางจิตที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในผู้ที่อายุมาก ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือคนที่มีการทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งอาการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 24-72 ชั่วโมงหลังการดื่มครั้งสุดท้าย โดยอาการที่พบได้แก่
ประสาทหลอนขั้นรุนแรง
อาการสั่นอย่างรุนแรง
อาการชัก
มีไข้ต่ำๆ
ใจสั่น ใจเต้นเร็ว หรือแรงกว่าปกติ
เหงื่อออกหนักมาก
ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
อาการสับสนและวิตกกังวลอย่างรุนแรง
กลุ่มอาการ DTs เป็นภาวะทางการแพทย์ที่รุนแรง ที่ต้องการการดูแลและช่วยเหลือทางการแพทย์ตลอดเวลา การอยู่ภายใต้การดูแลของมืออาชีพ จะช่วยให้แน่ใจว่าคุณปลอดภัยและสบายดีเท่าที่เป็นไปได้ในช่วงขั้นตอนของการถอนพิษนี้
การถอนพิษยาเมทแอมแฟตามีน
การถอนพิษจากสารกระตุ้นอย่างเช่น ยาไอซ์ ยาบ้า และยาอี สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่ออารมณ์และอาการทางกาย โดยอาการเหล่านี้อาจเริ่มช่วงเวลาใดก็ได้ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ไปจนถึง 2-3 วันหลังการใช้ครั้งสุดท้าย ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้คือ
กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
ปวดเมื่อยร่างกาย
หัวใจเต้นกระตุก
ฝันร้ายที่เหมือนจริงอย่างมาก
อ่อนเพลีย
นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
อยากกินอาหารเพิ่มขึ้น
ซึมเศร้า
อาการถอนพิษเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดก็ได้ตั้งแต่ 2-3 วันไปจนถึง 3 สัปดาห์ ความรู้สึกปนๆ กันของความรู้สึกที่ไม่ดีพร้อมกับอาการซึมเศร้าที่จู่โจมเข้ามา เพิ่มความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายได้
การถอนพิษสารโอปิออยด์
สารโอปิออยด์ (Opioids) ได้แก่ยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดต่างๆ ที่แพทย์เป็นผู้สั่ง รวมถึงยาเสพติดผิดกฏหมาย เช่น ฝิ่นหรือเฮโรอีน ถึงแม้แพทย์จะสั่งให้ใช้ยาเหล่านี้สำหรับหลายอาการ ยาแก้ปวดอย่างเช่น ทรามาดอล (Tramadol) หรือยาแก้ไอเช่น โคเดอีน (Codeine) มีแนวโน้มที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมไปถึงทำให้เกิดการเสพติดด้วย โดยการถอนพิษยาเหล่านี้อย่างกะทันหัน สามารถทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้แก่
วิตกกังวล
คลื่นไส้
อาเจียน
เหงื่อออกมาก
นอนไม่หลับ
ปวดเมื่อยร่างกาย
น้ำมูกไหล
ร้อนสลับหนาว
ท้องร่วง
อาการเหมือนเป็นหวัด
อาการถอนพิษยาเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง การดูแลทางการแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการถอนพิษยาในกลุ่มนี้ นอกจากนี้หากผู้เสพติดไม่สามารถทนกับอาการถอนพิษยาเหล่านี้ได้ ก็อาจกลับไปใช้ยาอีก และอาจเสี่ยงที่จะใช้ยาเกินขนาดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การถอนพิษโคเคน
การถอนพิษจากโคเคนโดยทั่วไปมักไม่มีอาการทางร่างกายมากนัก แต่จะมีผลอย่างมากต่อจิตใจ โดยอาการเหล่านี้ได้แก่
วิตกกังวล
ฝันร้าย
กระสับกระส่ายและหงุดหงิด
ซึมเศร้า
อ่อนเพลีย
รู้สึกเฉื่อยชาเชื่องช้า
อาการเหล่านี้อาจกินเวลานานหลายเดือน และมักเกิดขึ้นร่วมกับอาการอยากเสพโคเคนอย่างรุนแรง ที่อาจทำให้กลับไปใช้ยาอีกครั้ง
ถอนพิษสารเสพติดอย่างปลอดภัย…ศูนย์บำบัด เดอะดอว์นช่วยคุณได้
ถอนพิษสารเสพติดอย่างปลอดภัยพร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแลด้านการถอนพิษยาเสพติดและสุรา ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น
หากคุณกำลังพิจารณาเลิกยาเสพติด ที่ได้ผลอย่างยั่งยืนและไม่เสี่ยงต่อตัวเอง ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น สามารถช่วยคุณให้ก้าวผ่านกระบวนการนี้ได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางสถานที่อันสวยงามน่าอยู่ริมแม่น้ำในจังหวัดเชียงใหม่ เรามีทีมแพทย์และพยาบาลที่มากประสบการณ์ด้านการถอนพิษสารเสพติดและสุราที่จะดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้เรามีทีมจิตแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบำบัดภาวะเสพติด ที่จะช่วยคุณจัดการกับต้นตอของปัญหาเสพติดที่คุณกำลังเผชิญอยู่
หลักสูตรบำบัดภาวะเสพติดที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา เน้นยุติการเสพติดที่ต้นตอ และฟื้นฟูสุขภาวะโดยรวมของผู้รับการบำบัด รวมไปถึงการเตรียมพร้อมให้ผู้รับการรักษามีเครื่องมือที่จะรับมือกับความท้าทายที่ต้องเผชิญในวันข้างหน้า เพื่อรับมือกับความต้องการที่จะใช้สารเสพติดได้อย่างยั่งยืน
หากคุณสนใจในการเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัด เดอะดอว์น เชียงใหม่ ติดต่อแผนกแรกรับของเราวันนี้ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนสู่การเข้ารับการบำบัด
หักดิบ เกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ใช่วิธีที่ควรทำ หักดิบเรื่องอื่น ก็ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมนัก
เมื่อคุณเดินมาถึงจุดที่กำลังต้องการแตกหักและเลิกลากับการเสพติดของตัวเอง ด้วยความเชื่อผิดๆ บางอย่างอาจทำให้คุณเลือกวิธีการ “หักดิบ” ด้วยตัวเอง ซึ่งความจริงแล้วอาจอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด
เมื่อคุณเดินมาถึงจุดที่ตระหนักแล้วว่า การเสพติดของคุณไม่ใช่เพียงแค่ความผิดพลาดชั่วครั้งชั่วคราวอีกต่อไป แต่เป็นการ “เสพติด” เต็มรูปแบบ ซึ่งกำลังส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคุณ และมีผลกระทบต่อครอบครัวและคนที่คุณรักและรักคุณ พวกเขาต่างก็กำลังขอร้องให้คุณหยุดการเสพติด ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตามที คุณจึงเริ่มพิจารณาที่จะหยุดการเสพติดของตัวเองอย่างจริงจังเสียที
การตระหนักรู้นี้เป็นย่างก้าวสำคัญสู่เส้นทางหยุดการเสพติด แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีหยุดการเสพติดของตัวเอง สิ่งสำคัญก็คือ การรับรู้ถึงความเสี่ยงของการหยุดการเสพติดด้วยตัวเอง หรือการ “หักดิบ” ซึ่งอันตรายกว่าที่คุณคิด และนี่เป็นเหตุผลที่คุณควรพิจารณาในการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ในการยุติการเสพติดของตัวเองอย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ
ทำไมบางคนถึงเลือกการ “หักดิบ”
การเลือกหยุดการเสพติดด้วยตนเองมีปัจจัยหลายประการที่ซ่อนอยู่ การทำความเข้าใจในเหตุผลที่คนเราเลือกเอาชนะการเสพติดของตัวเองด้วยการ “หักดิบ” จะช่วยให้สำรวจทางเลือกนี้อย่างมีสติ และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมว่า นี่เป็นวิธีการที่ถูกต้องสำหรับคุณหรือไม่
ความเชื่อว่าจิตใจที่เข้มแข็งคือสิ่งเดียวที่จำเป็นในการเอาชนะการเสพติด
หนึ่งในความเชื่อผิดๆ ที่เป็นอันตรายมาเกี่ยวกับการเสพติดก็คือ การเสพติดมาจากจิตใจที่อ่อนแอ ขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือไม่มีความมุ่งมั่น ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อว่า สำหรับคนที่ต้องการเอาชนะการเสพติด สิ่งเดียวที่ต้องการก็คือ การมุ่งมั่นที่จะหยุดการเสพติด แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเอาชนะการเสพติดไม่ได้เป็นอะไรที่ง่ายดายขนาดนั้น
การเสพติดไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม เป็นการครอบงำคนเราทั้งทางจิตใจและร่างกาย เพราะสารเสพติดได้เปลี่ยนสารเคมีในสมองของเรา ให้พึ่งพิงสารเสพติดทั้งหลาย และทำให้ร่างกายหันมาพึ่งพิงกับสารเคมีเหล่านั้น ในกระบวนการหยุดการใช้สารเสพติด จึงทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายทางร่างกายได้อย่างรุนแรง จึงเป็นเหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญอย่าง ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์จากกรมสุขภาพจิต ชี้ว่าไม่ควรใช้การหักดิบในการหยุดการใช้สารเสพติด ตัวอย่างเช่น การเลิกเหล้าด้วยการหยุดดื่มสุราอย่างกะทันหัน สามารถทำให้เกิดอาการถอนพิษสุรา ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และแนะนำให้ปรึกษากับแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อวางแผนหยุดการเสพติดอย่างเหมาะสม
ต้องการเก็บการเสพติดเป็นความลับ
บางคนพยายามปกปิดและซ่อนการเสพติดของตัวเองเอาไว้จากทุกคนรอบตัว ซึ่งที่พวกเขาทำเช่นนี้ ก็ด้วยความรู้สึกละอายต่อการเสพติดของตัวเอง หรือเพราะกลัวผลที่จะตามมาในการเผยความลับแก่คนอื่น เช่น อาจสูญเสียหน้าที่การงาน หรือความเคารพจากคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง ดังนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ แต่อยากมีชีวิตที่ปลอดการเสพติด การหยุดการใช้ยาด้วยตัวเองอาจดูเหมือนจะเป็นทางเลือกเพียงอย่างเดียว
แต่โชคไม่ดีที่การเก็บเป็นความลับ กลับยิ่งทำให้การเสพติดรุนแรงขึ้น เพราะขั้นตอนสำคัญในการเอาชนะการเสพติดก็คือ การเริ่มต้นพูดกับใครสักคนหนึ่ง ถึงสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ เพื่อแยกแยะถึงเหตุผลที่แท้จริงในการเสพติด จึงจะหยุดการเสพติดได้อย่างแท้จริง และการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการเลิกเสพติด เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ที่คุณจะได้พูดคุยถึงปัญหาที่แท้จริงของการเสพติดและกระบวนการก้าวผ่านขั้นตอนการถอนพิษของการเสพติดได้อย่างปลอดภัย และข้อมูลทุกอย่างของคุณจะถูกเก็บเป็นความลับ
เคยเข้าสถานบำบัดยาเสพติดมาก่อน แต่ก็กลับมาเสพติดอีก
หากคุณเคยผ่านกระบวนการบำบัดมาแล้ว แต่ก็กลับมาใช้สิ่งเสพติดอีก เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกผิดหวัง และตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาที่ผ่านมาในอดีต อย่างไรก็ตาม การเสพติดเป็นโรคอันซับซ้อน และการกลับมาติดอีกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ สำหรับการก้าวผ่านกระบวนเลิกเสพนั้น จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพคอยดูแลและแนะนำ รวมไปถึงช่วยแก้ปัญหาการเสพติดที่ลึกลงไปถึงต้นตอ ที่อาจมี “โรคร่วม” อื่นๆ อยู่ด้วย คุณจะได้เรียนรู้เครื่องมือในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ของชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฟื้นฟูตนเองจากการเสพติดซึ่งเป็นวิธีการระยะยาวที่สามารถช่วยให้คุณปลอดจากการเสพติดได้ตลอดไป
อันตรายของการถอนพิษสิ่งเสพติด
เมื่อร่างกายของคุณเสพติดบางสิ่งบางอย่างเป็นจำนวนมากในเวลานาน การขจัดสารเสพติดออกจากร่างกายมักทำให้เกิดอาการของ “การถอนยา” หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “อาการลงแดง” ซึ่งมีทั้งอาการทางจิตใจและร่างกาย ที่สามารถทำให้รู้สึกไม่สบายได้เป็นอย่างมาก ในกรณีที่รุนแรง ก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ การก้าวผ่านกระบวนการนี้กับมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในการถอนพิษสิ่งเสพติด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก
สารเสพติดที่ต่างกันทำให้เกิดอาการของการถอนยาต่างกัน การศึกษาล่วงหน้าว่าอาการเหล่านี้มีอะไรบ้าง จะเป็นประโยชน์ในรับมือกับอาการต่างๆ ในขั้นตอนแรกของการเลิกการเสพติด
การถอนพิษสุรา
การถอนพิษสุรา เป็นกระบวนการชำระล้างแอลกอฮอล์ตามธรรมชาติของร่างกาย เริ่มต้นราว 6-12 ชั่วโมงหลังการดื่มครั้งสุดท้าย และมีอาการเบื้องต้น ยกตัวอย่างเช่น
ตัวสั่นเทา
เหงื่อออก
ปวดศีรษะ
คลื่นไส้
อาเจียน
วิตกกังวล
นอนไม่หลับ
บางคนอาจเกิดภาพหลอนได้ในช่วงเวลาราว 12-24 ชั่วโมงหลังดื่มครั้งสุดท้าย ซึ่งอาจได้แก่ อาการหูแว่ว การเห็นหรือรู้สึกอะไรที่ไม่ใช่เรื่องจริง ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้การถอนพิษสุราอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรงที่เรียกว่า Delirium Tremens (DTs) หรืออาการทางจิตที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในผู้ที่อายุมาก ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือคนที่มีการทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งอาการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 24-72 ชั่วโมงหลังการดื่มครั้งสุดท้าย โดยอาการที่พบได้แก่
ประสาทหลอนขั้นรุนแรง
อาการสั่นอย่างรุนแรง
อาการชัก
มีไข้ต่ำๆ
ใจสั่น ใจเต้นเร็ว หรือแรงกว่าปกติ
เหงื่อออกหนักมาก
ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
อาการสับสนและวิตกกังวลอย่างรุนแรง
กลุ่มอาการ DTs เป็นภาวะทางการแพทย์ที่รุนแรง ที่ต้องการการดูแลและช่วยเหลือทางการแพทย์ตลอดเวลา การอยู่ภายใต้การดูแลของมืออาชีพ จะช่วยให้แน่ใจว่าคุณปลอดภัยและสบายดีเท่าที่เป็นไปได้ในช่วงขั้นตอนของการถอนพิษนี้
การถอนพิษยาเมทแอมแฟตามีน
การถอนพิษจากสารกระตุ้นอย่างเช่น ยาไอซ์ ยาบ้า และยาอี สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่ออารมณ์และอาการทางกาย โดยอาการเหล่านี้อาจเริ่มช่วงเวลาใดก็ได้ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ไปจนถึง 2-3 วันหลังการใช้ครั้งสุดท้าย ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้คือ
กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
ปวดเมื่อยร่างกาย
หัวใจเต้นกระตุก
ฝันร้ายที่เหมือนจริงอย่างมาก
อ่อนเพลีย
นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
อยากกินอาหารเพิ่มขึ้น
ซึมเศร้า
อาการถอนพิษเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดก็ได้ตั้งแต่ 2-3 วันไปจนถึง 3 สัปดาห์ ความรู้สึกปนๆ กันของความรู้สึกที่ไม่ดีพร้อมกับอาการซึมเศร้าที่จู่โจมเข้ามา เพิ่มความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายได้
การถอนพิษสารโอปิออยด์
สารโอปิออยด์ (Opioids) ได้แก่ยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดต่างๆ ที่แพทย์เป็นผู้สั่ง รวมถึงยาเสพติดผิดกฏหมาย เช่น ฝิ่นหรือเฮโรอีน ถึงแม้แพทย์จะสั่งให้ใช้ยาเหล่านี้สำหรับหลายอาการ ยาแก้ปวดอย่างเช่น ทรามาดอล (Tramadol) หรือยาแก้ไอเช่น โคเดอีน (Codeine) มีแนวโน้มที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมไปถึงทำให้เกิดการเสพติดด้วย โดยการถอนพิษยาเหล่านี้อย่างกะทันหัน สามารถทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้แก่
วิตกกังวล
คลื่นไส้
อาเจียน
เหงื่อออกมาก
นอนไม่หลับ
ปวดเมื่อยร่างกาย
น้ำมูกไหล
ร้อนสลับหนาว
ท้องร่วง
อาการเหมือนเป็นหวัด
อาการถอนพิษยาเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง การดูแลทางการแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการถอนพิษยาในกลุ่มนี้ นอกจากนี้หากผู้เสพติดไม่สามารถทนกับอาการถอนพิษยาเหล่านี้ได้ ก็อาจกลับไปใช้ยาอีก และอาจเสี่ยงที่จะใช้ยาเกินขนาดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การถอนพิษโคเคน
การถอนพิษจากโคเคนโดยทั่วไปมักไม่มีอาการทางร่างกายมากนัก แต่จะมีผลอย่างมากต่อจิตใจ โดยอาการเหล่านี้ได้แก่
วิตกกังวล
ฝันร้าย
กระสับกระส่ายและหงุดหงิด
ซึมเศร้า
อ่อนเพลีย
รู้สึกเฉื่อยชาเชื่องช้า
อาการเหล่านี้อาจกินเวลานานหลายเดือน และมักเกิดขึ้นร่วมกับอาการอยากเสพโคเคนอย่างรุนแรง ที่อาจทำให้กลับไปใช้ยาอีกครั้ง
ถอนพิษสารเสพติดอย่างปลอดภัย…ศูนย์บำบัด เดอะดอว์นช่วยคุณได้
ถอนพิษสารเสพติดอย่างปลอดภัยพร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแลด้านการถอนพิษยาเสพติดและสุรา ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น
หากคุณกำลังพิจารณาเลิกยาเสพติด ที่ได้ผลอย่างยั่งยืนและไม่เสี่ยงต่อตัวเอง ศูนย์บำบัดยาเสพติด เดอะดอว์น สามารถช่วยคุณให้ก้าวผ่านกระบวนการนี้ได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางสถานที่อันสวยงามน่าอยู่ริมแม่น้ำในจังหวัดเชียงใหม่ เรามีทีมแพทย์และพยาบาลที่มากประสบการณ์ด้านการถอนพิษสารเสพติดและสุราที่จะดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้เรามีทีมจิตแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบำบัดภาวะเสพติด ที่จะช่วยคุณจัดการกับต้นตอของปัญหาเสพติดที่คุณกำลังเผชิญอยู่
หลักสูตรบำบัดภาวะเสพติดที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา เน้นยุติการเสพติดที่ต้นตอ และฟื้นฟูสุขภาวะโดยรวมของผู้รับการบำบัด รวมไปถึงการเตรียมพร้อมให้ผู้รับการรักษามีเครื่องมือที่จะรับมือกับความท้าทายที่ต้องเผชิญในวันข้างหน้า เพื่อรับมือกับความต้องการที่จะใช้สารเสพติดได้อย่างยั่งยืน
หากคุณสนใจในการเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัด เดอะดอว์น เชียงใหม่ ติดต่อแผนกแรกรับของเราวันนี้ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนสู่การเข้ารับการบำบัด