พวกที่ไปทำแบบทดสอบ ตามเว็บแล้วบอกว่าตัวเองซึมเศร้า เชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน

ครับ?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
"เชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน"
ดูเหมือนเป็นคำถามทั่วไป แต่จริง ๆ เป็นคำถามในการวัดและการทดสอบทางจิตวิทยาที่สำคัญมาก เวลาออกแบบหรือใช้แบบวัดอะไรสักอย่างนักจิตวิทยาต้องนึกถึงคำถามนี้ทุกครั้ง ถ้าประเมินแล้วผลที่ได้ไม่มีความน่าเชื่อถือแล้วมีประโยชน์อะไรที่จะประเมิน การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแบบวัดและการทดสอบเป็นเรื่องที่ยากพอควร มีแยกเป็นวิชา psychological testing and measurement สำหรับนักจิตวิทยาโดยเฉพาะเลย ถ้าวิเคราะห์จริงจังต้องออกแบบโมเดลโน่นนี่ เก็บข้อมูลมาคำนวณสถิติเพื่อพิสูจน์อีกเยอะ การออกแบบและการใช้แบบวัดทางจิตวิทยาจึงเป็นงานเฉพาะทางของนักจิตวิทยาโดยเฉพาะ จิตแพทย์หรืออาชีพอื่นไม่สามารถทำแทนได้ เพราะมันมีความเฉพาะทางและลึกอยู่

หากจะตอบคำถามของ จขกท. แบบง่าย ๆ เราแบ่งแบบประเมินอย่างคร่าว ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม
    1. แบบประเมินฉบับเร็ว (คำถามไม่เกิน 15 ข้อ) ข้อดีคือใช้เวลาน้อยในการประเมิน ข้อเสียคือมีความแม่นยำและความน่าเชื่อถือต่ำมาก มักใช้ในกรณีที่ไม่อยากให้ผู้ถูกประเมินเบื่อกับการประเมิน
    2. แบบประเมินจิตวิทยาทั่วไป (คำถามประมาณ 16 - 100 ข้อ) มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง ความคลาดเคลื่อนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทางสถิติ เหมาะกับใช้ในการวิจัยทางจิตวิทยาและการใช้งานทั่วไปทางจิตวิทยา ได้รับความนิยมมากในวงการจิตวิทยา
    3. แบบประเมินทางคลินิก (คำถามเกิน 100 ข้อขึ้นไป) มีความแม่นยำและความน่าเชื่อถือสูงที่สุด ถูกออกแบบให้เข้มงวดกว่าแบบประเมินจิตวิทยาทั่วไป มักนิยมใช้ในการประเมินทางคลินิก (ใช้ในโรงพยาบาล) แต่ข้อเสียคือมีจำนวนข้อเยอะมาก บางแบบประเมินมีจำนวนข้อ 500 ข้อ ใช้เวลาทำเป็นชั่วโมง ผู้ถูกประเมินจะเหนื่อยและล้าจากการประเมิน

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

แบบประเมินโรคซึมเศร้าที่เห็นตามอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่ 1 คือแบบประเมินฉบับเร็ว มีคำถามประมาณ 7 - 9 ข้อ มีการถามหลายคำถามในข้อเดียว บางทีใช้คำที่ตีความยาก หลายอย่างขัดกับหลักการออกแบบแบบประเมินทางจิตวิทยาที่ดี ถือว่ามีความน่าเชื่อถือต่ำมากเมื่อเทียบแบบวัดทางจิตวิทยาทั่วไป แบบประเมินโรคซึมเศร้าตามอินเทอร์เน็ตเอาไว้ใช้เพื่อคัดกรองขั้นต้น ถ้าคนไหนตอบแบบประเมินออนไลน์แล้วได้ผลว่ามีความเสี่ยงสูง ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยอีกที ไม่ได้หมายความว่ามีความเสี่ยงสูงแล้วจะเป็นโรคเสมอไป เพราะแบบประเมินมีความน่าเชื่อถือต่ำตั้งแต่แรกแล้ว "ความน่าเชื่อถือต่ำ" ในที่นี้หมายถึงความน่าเชื่อถือต่ำในการวัดทางจิตวิทยา แต่ถือว่ามีความน่าเชื่อถือพอควรเมื่อเทียบกับเกณฑ์วินิจฉัยโรค ดังนั้นคนทั่วไปสามารถเชื่อถือแบบประเมินพวกนี้ได้ ไม่ต้องเคร่งเหมือนนักจิตวิทยาก็ได้ค่ะ

หากคุณสนใจศึกษาการออกแบบแบบวัดและแบบประเมินทางจิตวิทยา เราแนะนำให้อ่านกระทู้ แบบประเมินทางจิตวิทยาสร้างยากแค่ไหน? คนทั่วไปสร้างเองได้ไหม? ที่เราเคยเขียนเอาไว้ (https://ppantip.com/topic/40291963) ในหัวข้อ 5. ความน่าเชื่อถือของผลจากเครื่องมือ ได้อธิบายเรื่อง reliability และ validity ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของผลการวัด เนื้อหาจะละเอียดกว่าที่เราตอบในกระทู้นี้เยอะเลยค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่