▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
อนุรักษ์พลังงาน
วิศวกรรมศาสตร์
พลังงานทดแทน
กระทรวงพลังงาน
เทคโนโลยี
แบตเตอรี่เชิงกลด้วย Carbon Fiber รอบใช้งาน 1 ล้านรอบ
ตั้งแต่กรอบมือถือ จนถึงเฟรมจักรยาน
ความฝันของหลายๆคนก็เป็นจริงขึ้นมาได้ด้วยการผลิตจากประเทศจีน
ในวันนี้ผมขอพูดถึงการนำ Carbon Fiber มาประยุกต์ใช้อีกทางที่หลายคนคงนึกไม่ถึง
นั่นก็คือการใช้ Carbon Fiber เป็นแหล่งเก็บพลังงาน หรือพูดง่ายๆก็คือ แบตเตอรี่นั่นเอง
เราทราบว่า Carbon Fiber มีค่าความเค้นและความเครียดสูง
ดังนั้นในทางกลแล้วเราสามารถนำ Carbon Fiber มาเก็บพลังงานในรูปพลังงานศักย์ได้
โดยความหนาแน่นพลังงานต่อปริมาตรจะเท่ากับ
U = 0.5*(Stress)(Strain)
จาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เราพบว่าค่า Stress มีค่า 4.9 Gpa Strain มีค่า 0.019
ดังนั้น
U = 0.5*(2.45*10^9)(0.0095)
= 11,637,500 Joules
หรือเท่ากับ
3.23263889 kilowatt hours/m3
Note: ค่าที่คำนวณจะใช้ Safety Factor 2 เท่า ดังนั้นค่า Stress, Strain จึงลดลง 2 เท่า
จาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เราทราบว่า Linear Density คือ 33 กรัม/เมตร และ Specific Density เป็น 1.8 g/cm3
แสดงว่าเส้น Carbon Fiber นึ้มีค่าพื้นที่ 33/1.8= 18.33 cm2
แบตเตอรี่ 1 m3 ต้องใช้ Carbon Fiber (10,000/18.33) = 545.553737043 ชิ้น
แต่จาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ราคา Carbon Fiber ราคา 454.47 บาทต่อเมตร
ดังนั้น 546 อันจะมีราคา 546x455 = 248,430 บาท
นั่นทำให้พลังงานต่อ kWh เป็น 76,913 บาท
จากรูปด้านบนเราพบว่า Carbon Fiber จะมีรอบใช้งานถึง 10,000,000 รอบที่ความเค้น 50% ดังนั้นค่าใช้จ่ายต่อรอบการใช้งานจึงเป็น
0.0076913บาทต่อรอบ
ขณะที่ Battery ในรถ Tesla มีรอบใช้งานราว 6000 รอบ ที่ราคา 142 USD
ราคาต่อรอบใช้งานจึงเป็น 142*30/6000 = 0.71 บาท
สุดท้ายนี้การผลิตแบตเตอรี่เชิงกลอาจต้องอาศัยการออกแบบเพิ่มเติมและการทักใย Carbon fiber จำเพาะ
การใช้งานจริงจึงต้องการการพัฒนาเพิ่ม
หวังว่าบทความนี้จะช่วยจุดประกาย และให้ไอเดียแก่นวัตกรรมไทยต่อไปนะครับ
ชอบบทความกดโหวต เพื่อเป็นกำลังใจครับ ขอบคุณครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้