"If you want to go fast, go alone.
If you want to go far, go together." -ภาษิตแอฟริกัน
The Lost Boys of Sudan หมายถึงกลุ่มเด็กมากกว่า 20,000 คน ที่ต้องพลัดถิ่นหรือกำพร้าในช่วงสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง (1987–2005) มีผู้เสียชีวิต 2 ล้านคน เกิดจากความขัดแย้งในหมู่ชาวเหนือที่นับถือศาสนาอิสลาม กับชาวคริสต์และศาสนาพื้นเมืองในภาคใต้ หลังจากซูดานได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2499
ในช่วงสงคราม เด็กหลายคนกำพร้าหรือพลัดพรากจากครอบครัวเนื่องจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในภาคใต้ เด็กบางคนสามารถหนีจากการถูกจับหรือฆ่า ไปซ่อนตัวในทุ่งป่าไม้แอฟริกา เด็กชายที่ถูกจับบางคนถูกใช้เป็นทหารในกองทัพกบฏก่อการร้าย เด็กหญิงถูกข่มขืนและฆ่า ทำให้พวกเขาเริ่มรวมตัวกันเพื่อพยายามหนีออกนอกประเทศทางตอนใต้ของซูดาน พรมแดนติดกับประเทศเอธิโอเปียและเคนยา ค่ายผู้ลี้ภัยที่ใกล้ที่สุดอาจอยู่ห่างออกไปหลายพันไมล์ การเดินเท้ามีตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ถึงสองปีขึ้นไป โดยไม่มีสิ่งของใดๆ ติดตัว อาศัยอาหารจากหมู่บ้านที่พวกเขาเดินผ่าน การเดินทางส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลชุมชน กลุ่มเด็กมักถูกจัดระเบียบและนำโดยเด็กชายคนโตในกลุ่ม ซึ่งบางครั้งอาจอายุเพียงสิบหรือสิบสองปี
--------------------------
ผมเปิดดูหนังเรื่องนี้จากการสุ่มโดยไม่รู้ข้อมูลใดในหัว ชื่อเรื่องทำให้ผมคิดไปเองว่าเป็นหนังโรแมนติคคอมมาดี้ด้วยซ้ำ แต่พอฉากเปิดเรื่องขึ้นในประเทศซูดาน ทำให้ผมรู้ว่าคืนนี้คงได้ดูเรื่องหนักก่อนนอนเป็นแน่ และเมื่อหนังจบลง นี่คือประสบการณ์ดูหนังโดยไม่รู้เรื่องราวใดที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต
หนังเรื่องนี้แบ่งออกเป็นสามองค์
องค์แรกพาเราไปดูวิถีชีวิตของชาวซูดานในพื้นที่ห่างไกล ไปจนการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการเดินทางเอาตัวรอดของ "เด็กหลง" กลุ่มหนึ่งที่เป็นตัวแทนเรื่องราวสะท้อนความเป็นไปและความโหดร้ายของชีวิตผู้คน ความผูกพันของเหล่าเด็กน้อยที่มีเพียงพี่น้องที่เหลืออยู่ จนไปถึงค่ายผู้ลี้ภัยในเคนยา
องค์สองคือช่วงเวลาแห่งการเดินทางสู่โลกใหม่ ของเหล่าเด็กหลง เป็นเพียงหนึ่งในผู้ลี้ภัยโชคดีไม่กี่กลุ่มที่ได้ย้ายมาเริ่มชีวิตใหม่ที่สหรัฐอเมริกาก่อนเกิดเหตุการณ์ 911 ทำให้โครงการลี้ภัยถูกระงับ เพราะซูดานเป็นหนึ่งในประเทศสนับสนุนเครือข่ายก่อการร้าย ในองค์นี้เป็นช่วงที่เปลี่ยนโทนของการเดินเรื่องจากเคร่งขรึมไปสู่การผ่อนคลาย จากความใสซื่อของการปรับตัวจากวิถีชีวิตกลางธรรมชาติมาสู่สังคมเมืองสมัยใหม่ จนคนดูอย่างเราต่างเอ็นดูเอาใจช่วยพวกเขา
องค์สุดท้ายคือบทสรุปของเรื่อง ที่กลายมาเป็นชื่อภาพยนตร์ ระหว่างดูไปผมก็เกิดคำถามว่าทำไมหนังเรื่องนี้ต้องชื่อ "การโกหกที่งดงาม" แทนที่จะใช้ชื่อ The Lost Boys ไปเสียเลย จนมาเข้าใจในบทสรุปของเรื่องนี่เอง ที่ทำให้ทุกอย่างจบลงได้อย่างสวยงาม ทั้งในความหมายของครอบครัว การเริ่มชีวิตใหม่ การโหยหาวิถีชีวิตในบ้านเกิด ผู้คนที่ยังมีมนุษยธรรม เป็นบทสรุปที่ยังพอเหลือความหวังให้หัวใจเราชุ่มชื้นขึ้นได้บ้าง บนโลกที่โหดร้ายใบนี้
----------------------------
Philippe Falardeau ผู้กำกับ เลือกจะให้โทนของเรื่องไปในทางของความหวังความอบอุ่น มากกว่าจะเน้นดราม่าเข้มข้น แต่ทุกครั้งที่เรายิ้มหัวเราะไปกับโอกาสการใช้ชีวิตในโลกใหม่ของตัวละคร กลับสะท้อนถึงชะตากรรมอันน่าหดหู่ในองค์แรก หรือในโลกความเป็นจริงของผู้ยังพยายามเอาตัวรอดในบ้านเกิดตัวละคร มันจึงเป็นความ "ขันขื่น" ทำได้แค่เพียงมีความสุขกับตัวละคร ทั้งที่เราต่างรู้ว่ายังมีเด็กหลงอีกจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสเช่นนี้
Reese Witherspoon เป็นดารามีชื่อเสียงที่สุดในเรื่อง รับบทเป็นตัวแทนของคนจากโลกใหม่ ที่ช่วยเหลือหางานให้กลุ่มผู้ลี้ภัยตามหน้าที่ แต่เมื่อเริ่มได้ศึกษาชะตากรรมของพวกเขา จึงกลายเป็นผู้ให้ชีวิตใหม่แก่กลุ่มเด็กเหล่านี้ด้วยความเต็มใจ
นักแสดงที่ทำให้หนังเรื่องนี้ทรงพลังที่สุดคือ ตัวละครหลักในเรื่องทั้งสี่คน ต่างเป็นเด็กหลงตัวจริงทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกคนสามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้หมดจด แม้ไม่ได้เป็นนักแสดงอาชีพ
ถึงหนังเรื่องนี้อาจไม่ได้สมบูรณ์แบบเช่นหลายเรื่อง แต่ก็ดีเกินพอที่จะทำให้เราคิดถึงชีวิตตนเอง และเพื่อนมนุษย์ในอีกมุมโลกที่ถูกลืม ภาพของเด็กน้อยไม่มีอะไรจะกินในองค์แรก กับภาพการต้องมาเป็นลูกจ้างทิ้งอาหารหมดอายุจากชั้นวางทั้งที่ยังกินได้ในองค์สอง ความรักและจริงใจระหว่างกันของครอบครัวร่วมทุกข์สุขไม่ว่าจะชีวิตจะต้องประสบพบเจออะไร ล้วนสะท้อนให้เรากลับมามองแผ่นดินที่ได้เกิดและอาศัยอยู่ว่า เราโชคดีเพียงใดแล้วที่ได้เกิดมายังแผ่นดินอุดมสมบูรณ์สงบร่มเย็นในธรรมแห่งนี้
ขอบคุณที่โลกนี้มีภาพยนตร์
8/10
The Good Lie (2014): แผ่นดินของเรา
If you want to go far, go together." -ภาษิตแอฟริกัน
The Lost Boys of Sudan หมายถึงกลุ่มเด็กมากกว่า 20,000 คน ที่ต้องพลัดถิ่นหรือกำพร้าในช่วงสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง (1987–2005) มีผู้เสียชีวิต 2 ล้านคน เกิดจากความขัดแย้งในหมู่ชาวเหนือที่นับถือศาสนาอิสลาม กับชาวคริสต์และศาสนาพื้นเมืองในภาคใต้ หลังจากซูดานได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2499
ในช่วงสงคราม เด็กหลายคนกำพร้าหรือพลัดพรากจากครอบครัวเนื่องจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในภาคใต้ เด็กบางคนสามารถหนีจากการถูกจับหรือฆ่า ไปซ่อนตัวในทุ่งป่าไม้แอฟริกา เด็กชายที่ถูกจับบางคนถูกใช้เป็นทหารในกองทัพกบฏก่อการร้าย เด็กหญิงถูกข่มขืนและฆ่า ทำให้พวกเขาเริ่มรวมตัวกันเพื่อพยายามหนีออกนอกประเทศทางตอนใต้ของซูดาน พรมแดนติดกับประเทศเอธิโอเปียและเคนยา ค่ายผู้ลี้ภัยที่ใกล้ที่สุดอาจอยู่ห่างออกไปหลายพันไมล์ การเดินเท้ามีตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ถึงสองปีขึ้นไป โดยไม่มีสิ่งของใดๆ ติดตัว อาศัยอาหารจากหมู่บ้านที่พวกเขาเดินผ่าน การเดินทางส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลชุมชน กลุ่มเด็กมักถูกจัดระเบียบและนำโดยเด็กชายคนโตในกลุ่ม ซึ่งบางครั้งอาจอายุเพียงสิบหรือสิบสองปี
--------------------------
ผมเปิดดูหนังเรื่องนี้จากการสุ่มโดยไม่รู้ข้อมูลใดในหัว ชื่อเรื่องทำให้ผมคิดไปเองว่าเป็นหนังโรแมนติคคอมมาดี้ด้วยซ้ำ แต่พอฉากเปิดเรื่องขึ้นในประเทศซูดาน ทำให้ผมรู้ว่าคืนนี้คงได้ดูเรื่องหนักก่อนนอนเป็นแน่ และเมื่อหนังจบลง นี่คือประสบการณ์ดูหนังโดยไม่รู้เรื่องราวใดที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต
หนังเรื่องนี้แบ่งออกเป็นสามองค์
องค์แรกพาเราไปดูวิถีชีวิตของชาวซูดานในพื้นที่ห่างไกล ไปจนการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการเดินทางเอาตัวรอดของ "เด็กหลง" กลุ่มหนึ่งที่เป็นตัวแทนเรื่องราวสะท้อนความเป็นไปและความโหดร้ายของชีวิตผู้คน ความผูกพันของเหล่าเด็กน้อยที่มีเพียงพี่น้องที่เหลืออยู่ จนไปถึงค่ายผู้ลี้ภัยในเคนยา
องค์สองคือช่วงเวลาแห่งการเดินทางสู่โลกใหม่ ของเหล่าเด็กหลง เป็นเพียงหนึ่งในผู้ลี้ภัยโชคดีไม่กี่กลุ่มที่ได้ย้ายมาเริ่มชีวิตใหม่ที่สหรัฐอเมริกาก่อนเกิดเหตุการณ์ 911 ทำให้โครงการลี้ภัยถูกระงับ เพราะซูดานเป็นหนึ่งในประเทศสนับสนุนเครือข่ายก่อการร้าย ในองค์นี้เป็นช่วงที่เปลี่ยนโทนของการเดินเรื่องจากเคร่งขรึมไปสู่การผ่อนคลาย จากความใสซื่อของการปรับตัวจากวิถีชีวิตกลางธรรมชาติมาสู่สังคมเมืองสมัยใหม่ จนคนดูอย่างเราต่างเอ็นดูเอาใจช่วยพวกเขา
องค์สุดท้ายคือบทสรุปของเรื่อง ที่กลายมาเป็นชื่อภาพยนตร์ ระหว่างดูไปผมก็เกิดคำถามว่าทำไมหนังเรื่องนี้ต้องชื่อ "การโกหกที่งดงาม" แทนที่จะใช้ชื่อ The Lost Boys ไปเสียเลย จนมาเข้าใจในบทสรุปของเรื่องนี่เอง ที่ทำให้ทุกอย่างจบลงได้อย่างสวยงาม ทั้งในความหมายของครอบครัว การเริ่มชีวิตใหม่ การโหยหาวิถีชีวิตในบ้านเกิด ผู้คนที่ยังมีมนุษยธรรม เป็นบทสรุปที่ยังพอเหลือความหวังให้หัวใจเราชุ่มชื้นขึ้นได้บ้าง บนโลกที่โหดร้ายใบนี้
----------------------------
Philippe Falardeau ผู้กำกับ เลือกจะให้โทนของเรื่องไปในทางของความหวังความอบอุ่น มากกว่าจะเน้นดราม่าเข้มข้น แต่ทุกครั้งที่เรายิ้มหัวเราะไปกับโอกาสการใช้ชีวิตในโลกใหม่ของตัวละคร กลับสะท้อนถึงชะตากรรมอันน่าหดหู่ในองค์แรก หรือในโลกความเป็นจริงของผู้ยังพยายามเอาตัวรอดในบ้านเกิดตัวละคร มันจึงเป็นความ "ขันขื่น" ทำได้แค่เพียงมีความสุขกับตัวละคร ทั้งที่เราต่างรู้ว่ายังมีเด็กหลงอีกจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสเช่นนี้
Reese Witherspoon เป็นดารามีชื่อเสียงที่สุดในเรื่อง รับบทเป็นตัวแทนของคนจากโลกใหม่ ที่ช่วยเหลือหางานให้กลุ่มผู้ลี้ภัยตามหน้าที่ แต่เมื่อเริ่มได้ศึกษาชะตากรรมของพวกเขา จึงกลายเป็นผู้ให้ชีวิตใหม่แก่กลุ่มเด็กเหล่านี้ด้วยความเต็มใจ
นักแสดงที่ทำให้หนังเรื่องนี้ทรงพลังที่สุดคือ ตัวละครหลักในเรื่องทั้งสี่คน ต่างเป็นเด็กหลงตัวจริงทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกคนสามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้หมดจด แม้ไม่ได้เป็นนักแสดงอาชีพ
ถึงหนังเรื่องนี้อาจไม่ได้สมบูรณ์แบบเช่นหลายเรื่อง แต่ก็ดีเกินพอที่จะทำให้เราคิดถึงชีวิตตนเอง และเพื่อนมนุษย์ในอีกมุมโลกที่ถูกลืม ภาพของเด็กน้อยไม่มีอะไรจะกินในองค์แรก กับภาพการต้องมาเป็นลูกจ้างทิ้งอาหารหมดอายุจากชั้นวางทั้งที่ยังกินได้ในองค์สอง ความรักและจริงใจระหว่างกันของครอบครัวร่วมทุกข์สุขไม่ว่าจะชีวิตจะต้องประสบพบเจออะไร ล้วนสะท้อนให้เรากลับมามองแผ่นดินที่ได้เกิดและอาศัยอยู่ว่า เราโชคดีเพียงใดแล้วที่ได้เกิดมายังแผ่นดินอุดมสมบูรณ์สงบร่มเย็นในธรรมแห่งนี้
ขอบคุณที่โลกนี้มีภาพยนตร์
8/10