รบกวนช่วยประเมินการวางแผนการเงินหน่อยค่ะ

- อายุ 20 ปลายๆ เงินเดือน 3 หมื่นกว่าๆ 
- ที่บ้านมีหนี้หลักหลายล้านที่อยากให้เราช่วยจ่าย:
            - คุณแม่พึ่งขายบ้านและที่ดินจ่ายหนี้นอกระบบไปแค่ส่วนนึง จึงอาศัยบ้านพักพนักงานแต่อีกไม่กี่ปีก็จะเกษียน ซึ่งเงินที่เหลือจากจ่ายหนี้ไม่น่าพอสำหรับชีวิตหลังเกษียน รวมถึงซื้อที่ดิน บ้าน และรถใหม่
            - คุณแม่ขับรถที่เก่ามากประมาณ 20 ปีแล้วมันดูไม่ปลอดภัยสุดๆ และอยากให้เราซื้อรถมือหนึ่งให้เท่านั้น

- ตอนนี้คิดว่าจะกลับไปหางานประจำทำต่อแล้วพอทำครบปีจะกู้ดังนี้ โดยอีกสองปีคิดว่าจะไปเรียนต่อต่างประเทศค่ะ
          - กู้ผ่อนรถมือหนึ่ง ผ่อน 0% ราคา 6 แสน แต่ความพร้อมความปลอดภัยเครื่องในชัวร์ๆกว่า หรือผ่อนรถมือสองอายุ 2-3 ปีก่อนแต่ราคาถูกลงดีคะ?
          - กู้ซื้อที่ดินและบ้านที่ต่างจังหวัดให้แม่ ล้านต้นๆ หรือกู้ซื้อคอนโดปล่อยเช่าแทนดีคะ
          - ซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพแบบไหนไว้ดีคะ แบบออมทรัพย์, unit link, แบบธรรมดา?
          - ตอนทำงานอยู่ เรียนโทไปเลยมั้ย
          - ควรเตรียมตัวอะไรไว้ก่อนลาออกอีกมั้ยคะ

- คือวางแผนว่าถ้าทำงานครบสองปีแล้วจะไปเรียนต่อต่างประเทศค่ะ ใกล้ๆ ที่ค่าเรียนหลักแสนต้นๆ ที่ทำงานพาร์ทไทม์ได้ แต่ที่แน่ๆ คือถ้ากู้ก็ต้องมีหนี้บ้านและรถติดตัว เดือนละเกือบ 2 หมื่นบาท แต่มีเก็บเงินกันไว้อยู่ประมาณ 5 แสนค่ะ ไม่รู้ว่าคิดถูกมั้ยที่เป็นหนี้ขนาดนี้ไว้

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
จากข้อมูลที่มี คือน้องมีความต้องการ 2 ส่วน
1.คือต้องการดูแลคุณแม่ ทั้งในส่วนของบ้านและรถยนต์ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ในช่วงวัยหลังวัยเกษียณ
2. ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการไปทำงานต่างประเทศแบบเรียนภาษาไปทำงานไป

ในขณะที่ ณ ปัจจุบันมีรายได้จากแหล่งเดียวคืองานประจำที่ต้องการกลับมาทำในอนาคตอันใกล้

ความเห็นของพี่นะคะ

1.พี่มีความเห็นว่าควรบอกแม่ให้ทราบถึงแผนชีวิตของน้องก่อนคะ ว่าเรามีแผนจะไปทำงานต่างประเทศ เพราะ ณ เวลานี้ที่แม่ยังไม่เกษียณ อะไรที่พอจะลดค่าใช้จ่ายได้ และอะไรที่ไม่จำเป็นก็ควรต้องบริหารจัดการให้ลดลง เพราะเราต้องใช้เงินก้อนในการดำเนินการเพื่อเดินทางต่างประเทศ และที่สำคัญเรื่องการระบาดของเชื้อไวรัสโควิค 19 ก็ทำให้ขอวีซ่าเพื่อการไปเรียนภาษาต่างประเทศและทำงานไปด้วยนั้น ไม่ง่ายอย่างที่เป็นมาคะ อนาคตเรื่องนี้ต้องรอดูภาวะเป็นรอบๆไปคะ

2.พี่ไม่แน่ใจว่าเรื่องบ้านที่ต่างจังหวัดนะ แม่จะทำใจไปอยู่ได้หรือไม่นะ เพราะคนที่มีอายุมาก การปรับตัวใหม่ค่อนข้างเป็นเรื่องยากพอควรคะ แต่ถ้าไปอยู่กับลูกหลานก็ว่าไปอย่าง อันนี้ก็แล้วแต่ทางน้องจะคุยกับพี่น้องคนอื่นๆ ว่าเขาจะว่าอย่างไรนะ

มาลองดูเรื่องตัวเลขกันนิดหนึ่งนะคะ

-1. สมมติ น้องได้เงินเดือน 40,000บาท ทางธนาคารจะให้กู้ยืมได้สูงสุดไม่เกิน 50% ของรายได้คะ คร่าวๆ ก็ 20,000บาท ตามที่น้องเขียนไว้
รายได้ 480,000บาทต่อปี อัตราดอกเบี้ย 7.72% ผ่อน 20ปี วงเงินกู้สูงสุดไม่ 1.800ลบ. ผ่อนเดือน 14,000บาท (ธนาคารส่วนใหญ่กำหนดอายุงานของผู้กู้เริ่มต้น 1ปีคะ แต่ก็มีบางแห่งที่กำหนดต่ำกว่านั้น) ซึ่งหมายว่าในช่วงการเริ่มทำงานนั้น น้องจะยังไม่สามารถกู้บ้านได้

-2. สำหรับการกู้สินเชื่อรถยนต์นั้น ใช้อายุงาน 6เดือน ผ่อนรถได้เดือนละ 6,000 บาท ราคารถอยู่ที่ราว 550,000 ระยะเวลาผ่อน 84 งวด เงินดาวน์ 30%คะ

-3. ช่วง 6 เดือนแรก หากเก็บเงินเดือนละ 20,000บาท จะได้เงินมา 120,000บาท เอาไปจ่ายค่าดาวน์รถ 30%ของ 500,000 = 150,000 บาท  (ส่วนขาด = 120,000 – 150,000 = -30,000 บาท)

-4. หลังจากนั้นจะเก็บเงินได้ที่ 14,000บาทต่อเดือน อีก 6 เดือน = 84,000บาท เพื่อกู้ซื้อบ้านซึ่ง ต้องใช้เงินดาวน์อย่างน้อย 20% ของราคาบ้าน 1,800,000 = 360,000 บาท (ส่วนขาด 84,000 – 360,000     = - 276,000บาท )

   สรุปจะต้องกวักเงินเดิมที่มีอยู่ 30,000+276,000 = 306,000บาท เหลือเงินก้อน 194,000 บาท  ต้องเก็บไว้เพื่อสำรองเพื่อจ่ายหนี้กรณีน้องไปทำงานต่างประเทศล่วงหน้าไว้สัก 3 เดือนจนกว่าจะเข้าที่เข้าท่า  (20,000 *3 = 90,000 บาท ) คงเหลือเงินเพื่อใช้ดำเนินการไปทำงานต่างประเทศ 100,000 บาทคะ (ไม่แน่ใจว่าพอไหมนะ)

สำหรับการทำประกันชีวิตนั้นในช่วงแรก พี่แนะนำให้ทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เน้นกรณีเสียชีวิตที่มีทุนประกันสูงๆ ให้ครอบคลุมภาระหนี้บ้านและรถยนต์ 1,800,000 + 500,000บาท = ทุนประกันชีวิต 2,300,000บาท โดยจ่ายเบี้ยเป็นรายเดือนคะไปก่อน อนาคตหากมีเงินเหลือจะค่อยดูเรื่องค่ารักษาพยาบาล โรคร้ายแรงและแบบประกันเพื่อการลงทุนเป็นลำดับๆไปคะ หรือจะเริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจแต่ต้องให้เวลาในการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ

ลองนำไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ พี่วิเคราะห์ให้ตามความต้องการของน้องคะ หวังว่าจะมีประโยชน์คะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่