JJNY : เสียชีวิต271 ติดเชื้อ14,653│‘มิว’ ระบาดเกือบทั่วสหรัฐ│หมอธีระวัฒน์เผยวัคซีนโควิดฉบับพิสดาร│ศก.ไทย ถดถอยหนักสุด

ยอดตายยังหนัก เสียชีวิตวันนี้ 271 ราย ป่วยลดลงต่อเนื่อง ติดเชื้อใหม่ 14,653 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2919866
  
 
เมื่อวันที่ 3 กันยายน ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด ประจำวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 รวม 14,653 ราย จำแนกเป็น
 
ติดเชื้อใหม่ 14,397 ราย
ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 256 ราย
ผู้ป่วยสะสม 1,220,277 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 18,262 ราย
หายป่วยสะสม 1,049,540 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 159,800 ราย
เสียชีวิต 271 ราย
 

 
‘มิว’ ระบาดเกือบทั่วสหรัฐแล้ว เฟาซีชี้ยังไม่ใช่ภัยคุกคามฉับพลัน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2919912

หลังองค์การอนามัยโลกออกมาประกาศให้ไวรัสกลายพันธุ์มิวเป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ต้องจับตาตัวใหม่ ล่าสุดมีการตรวจพบไวรัสดังกล่าวในเกือบทุกรัฐของสหรัฐอเมริกาแล้ว แม้ว่าจะนับจำนวนเฉลี่ยที่พบได้ไม่ถึง 1% ก็ตาม
 
จากข้อมูลของ Outbreak.info ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของสถาบันวิจัยคริปปส์ชี้ว่า พบไวรัสกลายพันธุ์มิวในเกือบทุกรัฐของสหรัฐเว้นแต่เพียง 3 รัฐ คือเนบราสกา เซาท์ดาโกตา และเวอร์มอนต์ แต่มีการแพร่ระบาดสูงในรัฐอะแลสกาคิดเป็นสัดส่วนถึงเกือบ 4% ของผู้ติดเชื้อจากตัวอย่างเกือบ 4,000 ราย
 
ขณะที่ใน 15 รัฐพบผู้ติดเชื้อราว 10 คนหรือน้อยกว่า และ 24 รัฐพบผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 11-50 ราย ใน 4 รัฐคือนิวยอร์ก นิวเจอร์ซี เท็กซัส และวอชิงตันพบเคสมากกว่า 100 ราย รัฐฟลอริดาพบระหว่าง 100-200 ราย และแคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่พบไวรัสกลายพันธุ์มิวมากที่สุดที่ 289 ราย
 
อย่างไรก็ดีนายแอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและที่ปรึกษาคนสำคัญของรัฐบาลสหรัฐกล่าวว่า ขณะนี้กำลังมีการจับตาดูไวรัสกลายพันธุ์มิว
อย่างใกล้ชิด แต่ยังเห็นว่า ไม่ถือเป็นภัยคุกคามฉับพลัน เพราะยังมีสัดส่วนการแพร่ระบาดน้อยเมื่อเทียบกับไวรัสกลายพันธุ์เดลต้ายังคงคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 99% ของการแพร่ระบาดในสหรัฐ
 

 
หมอธีระวัฒน์ เผย วัคซีนโควิดฉบับพิสดาร ซิโนแวค-ซิโนฟาร์ม เป็นทางผ่าน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6598987

หมอธีระวัฒน์ เผย วัคซีนโควิด ฉบับพิสดาร ชี้ ซิโนแวค-ซิโนฟาร์ม จะเป็นเพียงทางผ่าน-ขัดตาทัพ ฉีดโดด ๆ ไม่ได้ ซ้ำเป็นเข็มสามก็ไม่ดี
 
วันที่ 3 ก.ย.2564 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า 
 
“วัคซีนโควิดฉบับพิสดาร 
(เพราะของมีไม่พอ และของที่มีปัจจุบันด้อยลงเรื่อยๆ..) 
 
หมอดื้อ วัคซีนซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ต่อจากนี้จะเป็นเพียง “ทางผ่าน” หรือ “ขัดตาทัพ” เท่านั้น แต่แม้มีวัคซีนอื่นๆเข้ามาพอ และค่อยๆเลิกทางผ่านนี้ แต่ตัวอื่นๆก็จะกลายเป็นทางผ่านในอนาคตอันใกล้ ถ้าการระบาดคุมไม่ได้และมีการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ
 
1-ธรรมชาติของแต่ละยี่ห้อ ซิโนแวค ภูมิคุ้มกันขึ้นช้าตกเร็ว ยี่ห้ออื่น AZ หรือ mRNA ขึ้นเร็วตกช้ากว่า
 
2-ซิโนแวคต้อง 2 เข็ม จะเริ่มเห็นภูมิคุ้มกันที่หนึ่งเดือนหลังเข็มสอง ยี่ห้ออื่นจะเริ่มเห็น ตั้งแต่สองอาทิตย์หลังเข็มหนึ่ง และเต็มที่ตั้งแต่สองอาทิตย์หลังเข็มสอง
 
3-แต่แล้วซิโนแวค ซิโนฟาร์ม สู้สายพันธุ์อื่นนอกจากสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ไม่ดี เริ่มตั้งแต่สายอังกฤษ อัลฟ่า และจนถึงเดลต้า จะมีข้อจำกัดมากขึ้น ทั้งการป้องกันการติดเชื้อ แม้ว่าระดับภูมิยังสูง เช่นความสามารถในการยับยั้งไวรัสเกิน 68% ก็ตาม โดยเฉพาะ ถ้ายิ่งลดลงไปอีก การป้องกันอาการหนักและเสียชีวิตจะด้อยลงช้ดเจน
 
4-ทั้งนี้ วัคซีนอื่น แอสตร้า และ mRNA ขึ้นอยู่กับระดับภูมิเช่นกัน โดยถ้ายังสูงอยู่ ยัง “พอยัน” เดลต้าได้ แต่ก็ไม่ดีเท่าอัลฟ่า และเมื่อภูมิลดลงก็กระตุ้นด้วยยี่ห้อเดิม ยกเว้นแอสตร้า 2 เข็ม ถ้ากระตุ้นด้วย mRNA น่าจะได้มูลค่าเพิ่มดีกว่า
 
5-ทำให้ต้องมีการควบรวมหลายยี่ห้อเข้าด้วยกันกับ ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ทั้งนี้เพื่อต้องให้ได้กำไรสองต่อ กำไรต่อที่หนึ่งก็คือ ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ตกไปแล้วสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทันการณ์ กำไรต่อที่สองก็คือทำให้ภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นนั้นสามารถต่อต้านกับเดลต้าหรือสายพันธุ์อื่นได้แต่ต้องติดตามว่าอยู่ได้นานเพียงใด?
 
6-ข้อมูลในประเทศไทยชิโนแว็กสองเข็ม ตามด้วย แอสตร้า ไม่ว่าฉีด “เข้ากล้าม” หรือฉีด “เข้าชั้นผิวหนัง” จะได้ตรงตามเป้าหมายในข้อห้า
 
7-วัคซีนซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ต่อจากนี้จะเป็นเพียง “ทางผ่าน” ให้วัคซีนอื่นๆเข้ามาควบ ทำให้มีกำไรเพิ่มและป้องกันโรคเท่านั้น จะเป็นตัวโดดๆ ไม่ได้ และจะซ้ำเป็นเข็มสามก็ไม่ดี ข้อสำคัญ ทางผ่านนี้ต้องฉีดเต็มสองเข็มก่อน ฉีดด้วยเข็มเดียวและต่ออย่างอื่นไม่ได้กำไรเท่าไหร่
 
8-ตราบใดที่โควิดยังเก่งกาจสามารถกลายพันธุ์ได้เก่งมากเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง แม้ชื่อพันธุ์เดิมยังมีสายย่อยๆ การกดดันโควิดต้องเข้ม
 
9-การกดดันที่สำคัญคือการ “คัดกรอง” ว่าติดหรือไม่ด้วยการตรวจที่เข้าถึงได้ทุกคนและแยกตัวทันทีเพื่อไม่ให้มีการระบาดต่อเนื่องและ “หน่วง” การระบาดได้เป็นพักๆ ร่วมกับวินัย และทำให้จำนวนผู้ป่วยอาการหนักชะลอตัวทำให้รักษาได้เร็วที่สุด และกดหัวให้ไวรัสนิ่งที่สุด
 
10-วัคซีนภาคพิสดารต้องครอบจักรวาลเล็งทั้งสายพันธุ์ที่มีปัจจุบันและอนาคต

https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/4833624160004433
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่