พวกเราไปฟังผลสอบจบ ปวช. ช่างยนต์ ปี 3 อย่างหวัง " จบแน่ " ซึ่งประกาศผลสายๆวันนั้นพวกเราก็จบยกชั้นกันทั้ง 44 คน เฮ้ ! ท่านอาจารย์ หน.ทะเบียน ( อ.ปัญชรี แม่พระของนักเรียนรุ่นเรา ) เรียก ชื่อนักเรียนช่างยนต์ที่เพิ่งประกาศผล จบหมาดๆ รวม 9 นาย เข้าพบทันที ผมก็ติดไปกะเขาด้วย อาจารย์แจ้งเราผู้มีชื่อทั้ง 9 ว่า ท่านส่งรายชื่อเราให้กับบริษัทมิตซูบิชิเฮฟวี่อินดัสทรี ที่เข้ามาขอให้ทางโรงเรียนคัดนักเรียน สายช่างยนต์ที่ทางโรงเรียนรับรองความประพฤติดี รวม 9 นาย เพื่อให้ทุนไปเรียนต่อ ระดับอนุปริญญา ( AA ) สาขา Tire Manufacturing รวมฝึกงานหลังเรียนจบหลักสูตร หากไม่มีผู้ใดขัดข้อง ก็ให้ไป พบเจ้าหน้าที่ของบริษัท พร้อมเอกสารหลักฐานที่ทางโรงเรียนออกให้พวกเราทุกนาย สมัยนั้น สนญ.บริษัทฯ อยู่หลังไปรษณีย์กลาง ด้านขวามือ โอ่โถงทำให้พวกเราตื่นตาด้วยที่วัยเพิ่ง 16-18 กันเอง เขาจัดให้เรารอเข้าพบ เบอร์ 1 คือ Mr. Fujito ที่มาจากญี่ปุ่นเพื่อสัมภาษณ์พวกเรารายตัวโดยตรง (เบอร์ 2 Mr.Tanaka เป็นผู้รับการรายงานตัวเบื้องต้นตามเวลาที่นัดเรา และได้ทำความเข้าใจคร่าวๆว่า บริษัทฯรู้ประวัติกับผลการเรียน ผลการสอบ ทั้ง 2 ปีสุดท้าย ของพวกเราทุกคนล่วงหน้าแล้วซึ่งเป็นที่พอใจ จึงมีแต่การสัมภาษณ์รายตัวเท่านั้น) เบอร์ 1 ท่านสัมภาษณ์เราแบบ ผู้ใหญ่ใจดีถามความเป็นอยู่ทั่วๆไปทางบ้าน ของแต่ละคนเท่านั้น ไม่มีสาระเกี่ยวกับความรู้ หรือวิทยาศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษ ที่พวกเราปอดกระเส่ากันอยู่เลย สุดท้ายเบอร์หนึ่งขอคุยพร้อมกันทั้งหมด ท่านสรุปถามว่า ถ้าจะให้พวกเราเดินทางเดือนมิถุนายน (1967) เลยจะได้ไหม ถ้าไม่ขัดข้อง บริษัทฯ จะจัดการเอกสารเตรียมการเดินทาง ให้ทุกอย่าง โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
ราวกลางเดือนมิถุนายน 1967 เรา 9 นาย พร้อมด้วยครอบครัว (สมัยนั้นไปนอกเนี่ย ยากมาก โก้มาก ใครได้ไปนอกคนนึงเนี่ย พ่อ แม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ ไปส่งกันล้นห้องโถงพักผู้โดยสาร คนไหนที่ญาติไปส่งแยะก็ คอตกเลย เพราะคล้องพวงมาลัยใส่คอกันจนแทบมองไม่เห็นหน้า) สนามบินดอนเมืองตอนนั้น เป็นอาคารเตี้ยโล่ง ไม่มีร้านรวงขายของเกะกะเหมือนปัจจุบัน เรือบินก็มีเข้า-ออก ไม่กี่สายการบิน เจ้าจำปียังอยู่กับ SAS และ เดินอากาศไทย/บดท. ยังบินในประเทศอยู่ ก็ใช้อาคารผู้โดยสารเตี้ยๆเดียวกันน่ะแหละ......
ร่ำลากันตามธรรมเนียมโบราณ ก่อนเดินไปขึ้นบรรไดเรือบินเอาเอง ไม่มากพิธีเช่นปัจจุบัน ที่ต้องผ่านเอ๊กซเรย์ ต้องเดินทางเลื่อน ต้องเข้างวง ฯลฯ ก่อนนี้ออกอาคารก็เดินขึ้นหัวกะไดเรือบินไปเลย..ง่ายสดวก
โห ได้นั่ง แจแปนแอร์ไลน์ เลยเชียวนะ โก้พิลึก ขึ้นเรือบินสมัยก่อน ต้องใส่สูทตามสมัยนิยมของยุคนั้น แถมเราเป็นนักเรียนยังต้องเรียบร้อยหนักเข้าไปอีก คือ ใส่สูทขณะนั่งเรือบินไปอีก 4 ชั่วโมง ปัจจุบันนึกภาพเก่าแล้วยังขันตัวเองและทุกคนไม่หาย มันเฉิ่มดีจังอ่ะ นาริตะยังไม่สร้าง ตอนนั้นเรือบินลงที่ สนามบินฮาเนดะ ญี่ปุ่นก็ญี่ปุ่นเหอะ ลงเรือบินก็เดินจากลานจอดไปห้องผู้โดยสารขาเข้าเอง ว๊าวสัมผัสแรก มิถุนายน ฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นมั๊ง หนาวน่าดูระหว่างเดินในลานจอดเรือบืน " อิราชัยมะเซ่ง " มาละไงคำกล่าวต้อนรับภาษาญี่ปุ่น ที่ต้องเริ่มจำไว้ ทุกจุดที่เข้าไปก็จะ อิราชัยมะเซ่ง กันทั้งชายและหญิง รถบัสพาเราเข้า โตเกียว น่าจะชั่วโมงกว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯและสถาบันนักเรียนทุน Technical Scholarship ของทางโตเกียว มาต้อนรับ นำพวกเราเข้าพักชั่วคราวที่หอพักของสถาบันใน โตเกียว เป็นการชั่วคราว 1 คืน เพื่อปฐมนิเทศน์ที่ทางสถาบันเตรียมการต้อนรับในวันรุ่งขึ้น
จบตอนนี้ก่อนได้ไหม เอาเป็นว่า ได้รับทุนเขาไปจนถึง ญี่ปุ่นละ ตอนหน้าคงได้เล่าว่า ไปไงมาไง ถึงได้ทุนรวมจากหลายสถาบัน มาเป็นทีมถึง 26 นาย เอ๊ะ มาจากไหนกันหว่า นึกว่ามีแต่ช่างยนต์ จากไฟฟ้าก็มี อิเล็กทรอนิกส์ก็มา กลโรงงานก็มา เคมีก็มีอีก อ๊ะศิษย์เก่าศุลกากรก็มาด้วย เอ๊ะมันยังไง มากันทำไม เยอะแยะ......เอาไว้ติดตามกันไป( ถ้าไม่เบื่อ เรื่องเก่าๆ ) see ya...
ได้ทุนไปเรียนและฝึกงานที่ญี่ปุ่นเมื่อ 50 กว่าปีก่อน
ราวกลางเดือนมิถุนายน 1967 เรา 9 นาย พร้อมด้วยครอบครัว (สมัยนั้นไปนอกเนี่ย ยากมาก โก้มาก ใครได้ไปนอกคนนึงเนี่ย พ่อ แม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ ไปส่งกันล้นห้องโถงพักผู้โดยสาร คนไหนที่ญาติไปส่งแยะก็ คอตกเลย เพราะคล้องพวงมาลัยใส่คอกันจนแทบมองไม่เห็นหน้า) สนามบินดอนเมืองตอนนั้น เป็นอาคารเตี้ยโล่ง ไม่มีร้านรวงขายของเกะกะเหมือนปัจจุบัน เรือบินก็มีเข้า-ออก ไม่กี่สายการบิน เจ้าจำปียังอยู่กับ SAS และ เดินอากาศไทย/บดท. ยังบินในประเทศอยู่ ก็ใช้อาคารผู้โดยสารเตี้ยๆเดียวกันน่ะแหละ......
ร่ำลากันตามธรรมเนียมโบราณ ก่อนเดินไปขึ้นบรรไดเรือบินเอาเอง ไม่มากพิธีเช่นปัจจุบัน ที่ต้องผ่านเอ๊กซเรย์ ต้องเดินทางเลื่อน ต้องเข้างวง ฯลฯ ก่อนนี้ออกอาคารก็เดินขึ้นหัวกะไดเรือบินไปเลย..ง่ายสดวก
โห ได้นั่ง แจแปนแอร์ไลน์ เลยเชียวนะ โก้พิลึก ขึ้นเรือบินสมัยก่อน ต้องใส่สูทตามสมัยนิยมของยุคนั้น แถมเราเป็นนักเรียนยังต้องเรียบร้อยหนักเข้าไปอีก คือ ใส่สูทขณะนั่งเรือบินไปอีก 4 ชั่วโมง ปัจจุบันนึกภาพเก่าแล้วยังขันตัวเองและทุกคนไม่หาย มันเฉิ่มดีจังอ่ะ นาริตะยังไม่สร้าง ตอนนั้นเรือบินลงที่ สนามบินฮาเนดะ ญี่ปุ่นก็ญี่ปุ่นเหอะ ลงเรือบินก็เดินจากลานจอดไปห้องผู้โดยสารขาเข้าเอง ว๊าวสัมผัสแรก มิถุนายน ฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นมั๊ง หนาวน่าดูระหว่างเดินในลานจอดเรือบืน " อิราชัยมะเซ่ง " มาละไงคำกล่าวต้อนรับภาษาญี่ปุ่น ที่ต้องเริ่มจำไว้ ทุกจุดที่เข้าไปก็จะ อิราชัยมะเซ่ง กันทั้งชายและหญิง รถบัสพาเราเข้า โตเกียว น่าจะชั่วโมงกว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯและสถาบันนักเรียนทุน Technical Scholarship ของทางโตเกียว มาต้อนรับ นำพวกเราเข้าพักชั่วคราวที่หอพักของสถาบันใน โตเกียว เป็นการชั่วคราว 1 คืน เพื่อปฐมนิเทศน์ที่ทางสถาบันเตรียมการต้อนรับในวันรุ่งขึ้น
จบตอนนี้ก่อนได้ไหม เอาเป็นว่า ได้รับทุนเขาไปจนถึง ญี่ปุ่นละ ตอนหน้าคงได้เล่าว่า ไปไงมาไง ถึงได้ทุนรวมจากหลายสถาบัน มาเป็นทีมถึง 26 นาย เอ๊ะ มาจากไหนกันหว่า นึกว่ามีแต่ช่างยนต์ จากไฟฟ้าก็มี อิเล็กทรอนิกส์ก็มา กลโรงงานก็มา เคมีก็มีอีก อ๊ะศิษย์เก่าศุลกากรก็มาด้วย เอ๊ะมันยังไง มากันทำไม เยอะแยะ......เอาไว้ติดตามกันไป( ถ้าไม่เบื่อ เรื่องเก่าๆ ) see ya...