💛มาลาริน/ข่าวดี ! บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ส่งมอบวัคซีน 61 ล้านโดสให้ไทยภายในธ.ค.64 พร้อมวางแผนรับมือไวรัสกลายพันธุ์

เพี้ยนแคปเจอร์ข่าวดี ! บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ส่งมอบวัคซีน 61 ล้านโดสให้ไทยภายในธ.ค.64 พร้อมวางแผนรับมือไวรัสกลายพันธุ์



วันที่ 23 ส.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ประชุมทางไกลร่วมกับนายปาสคาล โซริออต (Mr.Pascal Claude Roland Soriot) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด โดยหารือกรอบความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการป้องกันโควิด-19 ในภาวะที่มีแพร่ระบาดจากไวรัสกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันจะเร่งส่งมอบวัคซีน ที่เหลือให้ครบ 61 ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคม 2564 นี้อย่างแน่นอน ซึ่งจะช่วยให้จำนวนยอดการจัดหาวัคซีนทุกประเภทในสิ้นปีนี้รวมกันเกินกว่า 120 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรกว่า 60 ล้านคน ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่ตั้งเป้าจะจัดหาวัคซีน 100 ล้านโดส สำหรับประชากร 50 ล้านคน ถือเป็นข่าวดีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่เร็วขึ้น ลดภาระระบบสาธารณสุขไทย ช่วยให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตปกติและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เร็วขึ้นอีกด้วย

นายอนุชา ยังเปิดเผยว่า นายกฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ยังได้หารือการเตรียมป้องกันโควิด-19 ในปีหน้า ที่อาจมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า อยู่ระหว่างการพัฒนาวัคชีนโควิด-19 สูตรใหม่เพิ่มประสิทธิภาพ ให้สามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น โดยไทยยังมีสิทธิ์เลือกวัคชีนสูตรใหม่นี้ เพื่อรับมือวิวัฒนาการของไวรัสได้ดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังมีแผนสั่งซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่มอีก 60 ล้านโดสสำหรับปี 2565 ซึ่งคาดว่าข้อตกลงดังกล่าวจะสรุปได้ภายในเดือนกันยายน 2564 นี้

วันที่ 23 ส.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ประชุมทางไกลร่วมกับนายปาสคาล โซริออต (Mr.Pascal Claude Roland Soriot) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด โดยหารือกรอบความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการป้องกันโควิด-19 ในภาวะที่มีแพร่ระบาดจากไวรัสกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันจะเร่งส่งมอบวัคซีน ที่เหลือให้ครบ 61 ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคม 2564 นี้อย่างแน่นอน ซึ่งจะช่วยให้จำนวนยอดการจัดหาวัคซีนทุกประเภทในสิ้นปีนี้รวมกันเกินกว่า 120 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรกว่า 60 ล้านคน ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่ตั้งเป้าจะจัดหาวัคซีน 100 ล้านโดส สำหรับประชากร 50 ล้านคน ถือเป็นข่าวดีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่เร็วขึ้น ลดภาระระบบสาธารณสุขไทย ช่วยให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตปกติและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เร็วขึ้นอีกด้วย

นายอนุชา ยังเปิดเผยว่า นายกฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ยังได้หารือการเตรียมป้องกันโควิด-19 ในปีหน้า ที่อาจมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า อยู่ระหว่างการพัฒนาวัคชีนโควิด-19 สูตรใหม่เพิ่มประสิทธิภาพ ให้สามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น โดยไทยยังมีสิทธิ์เลือกวัคชีนสูตรใหม่นี้ เพื่อรับมือวิวัฒนาการของไวรัสได้ดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังมีแผนสั่งซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่มอีก 60 ล้านโดสสำหรับปี 2565 ซึ่งคาดว่าข้อตกลงดังกล่าวจะสรุปได้ภายในเดือนกันยายน 2564 นี้

https://siamrath.co.th/n/274028

วัคซีนต้องมา วัคซีนต้องมา  สัญญากันแล้วเพี้ยนลุย
  
 
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 20
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 (ผ่านระบบ Video Conference) ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 23 สิงหาคม 2564

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ติดตามชม "แจงให้เคลียร์กับทีมโฆษกรัฐบาล" ประจำวันที่ 23 ส.ค. 64

- ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลง
- มาตรการเยียวยานักเรียน นักศึกษา
- การเก็บภาษี e-Service
- ประเด็นการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์
- ความคืบหน้าการนำสายไฟฟ้าลงดิน
- ผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1241940546271749 (มีคลิป)


'บิ๊กตู่'​ เผยข่าวดี​ "CEO​ Astra​Zeneca" ยืนยัน​ เร่งส่งวัคชีนให้คนไทย​ ครบ 61 ล้านโดส​ ภายในสิ้นปีนี้แน่นอน!! พร้อมเตรียมสั่งซื้อวัคชีนสูตรใหม่ปีหน้า​ รับมือไวรัสกลายพันธุ์

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประชุมทางไกลร่วมกับนายปาสคาล โซริออต (Mr.Pascal Claude Roland Soriot) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด หารือกรอบความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการป้องกันโควิด-19  ในภาวะที่มีแพร่ระบาดจากไวรัสกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว  

บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข  ยืนยันจะเร่งส่งมอบวัคซีน ที่เหลือให้ครบ 61 ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคม 2564 นี้อย่างแน่นอน และ จะช่วยให้จำนวนยอดการจัดหาวัคซีนทุกประเภทในสิ้นปีนี้รวมกันเกินกว่า 120 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรกว่า 60 ล้านคน ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่ตั้งเป้าจะจัดหาวัคซีน 100 ล้านโดส สำหรับประชากร 50 ล้านคน ถือเป็นข่าวดีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่เร็วขึ้น ช่วยให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตปกติและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เร็วขึ้นอีกด้วย

นายกรัฐมนตรีและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ยังได้หารือในการเตรียมป้องกันโควิด-19 ในปีหน้า ที่อาจมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น  

ซึ่งบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า อยู่ระหว่างการพัฒนาวัคชีนโควิด-19 สูตรใหม่เพิ่มประสิทธิภาพ ให้สามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น โดยไทยยังมีสิทธิ์เลือกวัคชีนสูตรใหม่นี้ เพื่อรับมือวิวัฒนาการของไวรัสได้ดีขึ้นด้วย  

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังมีแผนสั่งซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่มอีก 60 ล้านโดสสำหรับปี 2565 ซึ่งคาดว่าข้อตกลงดังกล่าวจะสรุปได้ภายในเดือน กันยายน 2564 นี้
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6699988286693301


คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ 4 ประเด็นควบคุมโควิด การเปิดประเทศอย่างปลอดภัยภายใต้มาตรการควบคุมโรคแนวใหม่

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2564  โดยวันนี้ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้หารือ 4 ประเด็นสำคัญในการควบคุมโรคโควิด-19 คือ

1. การเปิดประเทศอย่างปลอดภัยภายใต้มาตรการควบคุมโรคแนวใหม่ (Smart Control and Living with Covid-19) เตรียมเข้าสู่ระยะเปลี่ยนผ่านภาวะวิกฤต มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการระบาดของโรค ให้จำนวนผู้ป่วยหนักไม่เกินศักยภาพระบบสาธารณสุขรองรับได้ ใช้กลยุทธ์ ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยงเจ็บป่วยรุนแรง รวมถึงการพัฒนาวัคซีนใหม่อย่างครบวงจร

2. เห็นชอบหลักการมาตรการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and seal) สำหรับสถานประกอบกิจการ

3. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง เรื่อง การแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง เรื่อง การยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ....เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับพาหนะ จากต่างประเทศที่จะเข้ามาประเทศไทยทั้งในด่านบก เรือ และอากาศ

4. สนับสนุนให้มีผู้แทนของสมัชชาสุขภาพจังหวัดร่วมประชุมในคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อให้มีตัวแทนประชาชนในพื้นที่ร่วมรับรู้และร่วมดำเนินมาตรการควบคุมโรคภายในจังหวัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ยังได้รับทราบมติคณะกรรมการด้านวิชาการตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ที่เห็นชอบให้ผู้เดินทางที่ได้รับวัคซีน Sputnik V เข้าร่วมโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ได้
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6699318493426947


เงินเดือนนายกฯ และครม. ส่วนหนึ่ง จัดทำ “ถุงกำลังใจ” ส่งมอบให้ “กลุ่มเปราะบาง” กว่า 6,800 ราย ในพื้นที่กทม.และปริมณฑล รวมทั้งจะได้นำเงินไปช่วยเหลือด้านอื่นต่อไป

การส่งมอบ “ถุงกำลังใจ” แก่กลุ่มเปราะบาง ซึ่งได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้จัดทำ “ถุงกำลังใจ” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยวิกฤตโควิด-19 นอกเหนือจากมาตรการต่างๆของภาครัฐที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำเงินเดือนของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ร่วมบริจาค รวมถึงทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำเงินเดือนที่บริจาคเข้าบัญชี “สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” มาดำเนินการจัดทำ “ถุงกำลังใจ” เพื่อส่งมอบให้แก่กลุ่มเปราะบางดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีภาคเอกชนและประชาชนได้บริจาคเพิ่มเติม เพื่อแสดงน้ำใจร่วมกับภาครัฐและนายกรัฐมนตรี ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยวิกฤตโควิด-19 ด้วย

“ถุงกำลังใจ” บรรจุเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต อาทิ ข้าวสาร อาหารแห้ง แอลกอฮอล์เจล หน้ากากอนามัย และยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร มอบให้แก่กลุ่มเปราะบาง ซึ่งได้ดำเนินการแจกจ่ายแล้วใน 50 เขตพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 4 - 19 สิงหาคม 2564 รวมเป็นจำนวน 5,000 ราย แบ่งเป็นการส่งมอบจากการลงพื้นที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ปลัดกระทรวง พม. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และอาสาสมัคร ใน 26 เขต จำนวน 2,800 ราย และส่งผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทยไปยัง 24 เขต จำนวน 2,200 ราย และจะแจกจ่ายเพิ่มเติมอีก 1,800 ราย เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายทั้งหมดประมาณ 6,800 ราย ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และจะพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือด้านอื่นๆต่อไป

ปัจจุบัน บัญชี “สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” บริหารโดยคณะกรรมการ ฯ พิจารณาจัดสรรเงินเพื่อนำไปช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเปราะบาง และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ

การช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 เป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่มีความห่วงใยและต้องการส่งกำลังใจให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางในช่วงเวลาวิกฤตขณะนี้
https://web.facebook.com/anucha.b.dp/posts/4251667114912073


ครม. รับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2564 และแนวโน้วปี 2564 คาด GDP ขยายตัวร้อยละ 0.7 - 1.2 ขณะที่มูลค่าการส่งออกไตรมาส 2/2564 อยู่ที่ 67,761 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดตั้งแต่มีจัดเก็บข้อมูล

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2564 ขยายตัวร้อยละ 7 ขณะที่แนวโน้มทั้งปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7 - 1.2  อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 นี้  จะกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายลงทุน และมาตรการเศรษฐกิจของภาครัฐ  รายได้ภาคเกษตรที่มีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและฐานการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ   ทั้งนี้ รายละเอียดสำคัญ ดังนี้

1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2564 ได้แก่ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2/2564 กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.6 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 1.1 การลงทุนเอกชนในไตรมาส 2/2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2  ขณะที่การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6  การส่งออก มีมูลค่า 67,761 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดเท่าที่มีการจัดเก็บข้อมูล ขยายตัวร้อยละ 36.2 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกพิ่มขึ้น อาทิ รถยนต์นั่ง (89.1 %)  รถกระบะ (190.5 %)  เป็นต้น การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 58,048 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8 ในครึ่งปีแรกมีมูลค่า  131,765  ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 2.0  อย่างไรก็ตาม สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร ขยายตัวจากฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.2  โดยในไตรมาสนี้มีรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.035 ล้านล้านบาท  ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยในไตรมาส 2/2564 มีจำนวน 20,275 คน  

2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ไทยมีอัตราการว่างงานในไตรมาส 2/264 อยู่ที่ร้อยละ 1.9  ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ร้อยละ 2.0  อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4  ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ  เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 2.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ  และหนี้สาธารณะมีมูลค่าทั้งสิ้น 8,825,097.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.1 ของ GDP

3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564  คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7 - 1.2 ปรับลดลงจากการประมาณการในครั้งก่อนร้อยละ 1.5 - 2.5   จากข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง คือ การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนสูง  ข้อจำกัดฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจท่ามกลางการว่างงานที่ยังสูง  ความเสี่ยงของการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมจากการระบาดในพื้นที่การผลิต รวมทั้งข้อจำกัดห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก
  
สภาพัฒน์การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังได้เสนอ 7 ประเด็นบริหารเศรษฐกิจในปี 2564  ได้แก่
1. การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ลดการแพร่เชื้อเร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง
2. การช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบในช่วงการระบาดของโรคยังรุนแรงและมีใช้มาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวด  
3. การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลง
4. การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า
5. การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ  
6. การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน
7. การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
https://web.facebook.com/anucha.b.dp/posts/4255112557900862
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่