"ค่าเลือกอันดับคณะมหาวิทยาลัย 10 อันดับ อู้ย 900 บาทไม่แพงเลย ถูกมาก"
"ถ้าเปิดโอกาสลงมานะ ให้สมัครฟรี ยังไงก็ไม่ได้ เพราะมีคนมีคุณภาพสมัครมากพอให้เค้าคัดเลือกได้"
"การเรียนอุดมศึกษาไม่ใช่ภาคบังคับ มันเป็นภาคที่คนที่มีความพร้อมจะได้เข้าสู่ระบบ"
นี่คือคำพูดตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงเมื่อเช้านี้ของ ดร. พีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และผู้จัดการระบบ TCAS ที่เด็กมัธยมรุ่นหลังๆ ต้องใช้เพื่อสมัครสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ผมเองก็เพิ่งรู้หลังผ่านมาสิบกว่าปี (อย่าเพิ่งแซว) ตั้งแต่สอบเข้ามหาวิทยาลัยว่าทุกวันนี้น้องๆ นอกจากต้องเสียค่าสมัครสอบวิชาละ 100 - 140 บาท แล้ว ยังต้องเสียค่าเลือกอันดับอีกสูงสุดถึง 900 บาท ยังไม่รวมค่าเดินทางไปสอบ ฯลฯ
มีวิธีการอีกเป็นล้านแปดของการบอกว่าทาง ทปอ. มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดสอบ การดูแลระบบการคัดเลือก จึงทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ (และที่จริงแล้ว ทปอ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคิดหาวิธีช่วยเด็กๆ ด้วยการ subsidize ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยซ้ำ)
ไม่ใช่การที่คุณจะใช้คำพูดและท่าทีที่แปลความได้ว่า 'ไม่พร้อมเหรอ จนเหรอ เรื่องของ มหาลัยมีไว้ให้คนที่รวยและฐานะพร้อมเท่านั้น'
ถึงแม้ในระดับอุดมศึกษาจะเป็นการที่เด็กๆ เลือกได้ว่าจะไปต่อหรือไม่ แต่ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่าในสภาพสังคมทุกวันนี้ สำหรับครอบครัวที่ยากจน การที่คนในครอบครัวได้เข้าไปเรียนในระดับอุดมศึกษา จบชั้นปริญญาตรี มันคือหนึ่งในใบเบิกทางให้เค้าได้ออกจากกับดักความยากจนที่ระบบสังคมห่วยๆ นี้สร้างเพื่อขังพวกเค้าไว้
และก่อนที่คุณจะบอกว่าระดับมหาวิทยาลัยเป็นทางเลือกของคนที่พร้อม ช่วยคุยกับคนในวงการศึกษาในวงสังคมใกล้เคียงกับคุณก่อนว่าแม้แต่ระบบการศึกษาภาคบังคับ ก็มีเด็กกว่าล้านคนที่ต้องออกจากระบบการศึกษาเพราะความยากจน
*ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) บอกว่ามีเด็กถึง 1.17 ล้านคนที่เป็นเด็กกลุ่มยากจนพิเศษ มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพียง 1,077 บาทต่อคนต่อเดือน
หรือถ้าคุณจะทำงานการศึกษา ออกแบบระบบให้เด็กๆ โดยไม่คุยกับคนที่ทำงานด้านนี้ หรือไม่แม้แต่จะอยากก้าวเท้าออกนอกบ้านรับรู้ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศ ก็อยากลองรบกวนช่วยเปิดโทรทัศน์ดูรายการที่มีเด็กมัธยมมาตอบคำถามวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ยากๆ กลายเป็นเอนเตอร์เทนเมนต์ให้คนดู เพื่อชิงสิ่งที่เรียกว่า 'ค่าเทอม' ดูสักหน่อย
ไม่ใช่เด็กยากจนทุกคนจะไม่มีศักยภาพ
ไม่ใช่เด็กยากจนทุกคนไม่เคยฝันถึงการศึกษา ฝันถึงการได้เข้ามหาวิทยาลัย
คุณในฐานะคนออกแบบระบบ ไม่ได้มีหน้าที่ตัดสิน กีดกันเด็กออกไป หรือบอกว่า เฮ้ย ไม่แพง เฮ้ย ไม่พร้อมก็อย่ามาสมัคร เพียงเพราะคุณไม่รู้ หรือรู้แต่ไม่คิดจะแคร์ ว่าพวกเขามีตัวตน
ออกมาเผชิญโลกข้างนอกห้องประชุมของพวกอธิการใส่สูทผูกไทบ้างก็ดีครับ
ด้วยความไม่เคารพ
ลิงคก์ที่มา MOBtheppitak
"ค่าเลือกอันดับคณะมหาวิทย 10 อันดับ อุ้ย 900 บาทไม่แพงเลย ถูกมาก"
"ถ้าเปิดโอกาสลงมานะ ให้สมัครฟรี ยังไงก็ไม่ได้ เพราะมีคนมีคุณภาพสมัครมากพอให้เค้าคัดเลือกได้"
"การเรียนอุดมศึกษาไม่ใช่ภาคบังคับ มันเป็นภาคที่คนที่มีความพร้อมจะได้เข้าสู่ระบบ"
นี่คือคำพูดตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงเมื่อเช้านี้ของ ดร. พีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และผู้จัดการระบบ TCAS ที่เด็กมัธยมรุ่นหลังๆ ต้องใช้เพื่อสมัครสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ผมเองก็เพิ่งรู้หลังผ่านมาสิบกว่าปี (อย่าเพิ่งแซว) ตั้งแต่สอบเข้ามหาวิทยาลัยว่าทุกวันนี้น้องๆ นอกจากต้องเสียค่าสมัครสอบวิชาละ 100 - 140 บาท แล้ว ยังต้องเสียค่าเลือกอันดับอีกสูงสุดถึง 900 บาท ยังไม่รวมค่าเดินทางไปสอบ ฯลฯ
มีวิธีการอีกเป็นล้านแปดของการบอกว่าทาง ทปอ. มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดสอบ การดูแลระบบการคัดเลือก จึงทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ (และที่จริงแล้ว ทปอ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคิดหาวิธีช่วยเด็กๆ ด้วยการ subsidize ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยซ้ำ)
ไม่ใช่การที่คุณจะใช้คำพูดและท่าทีที่แปลความได้ว่า 'ไม่พร้อมเหรอ จนเหรอ เรื่องของ มหาลัยมีไว้ให้คนที่รวยและฐานะพร้อมเท่านั้น'
ถึงแม้ในระดับอุดมศึกษาจะเป็นการที่เด็กๆ เลือกได้ว่าจะไปต่อหรือไม่ แต่ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่าในสภาพสังคมทุกวันนี้ สำหรับครอบครัวที่ยากจน การที่คนในครอบครัวได้เข้าไปเรียนในระดับอุดมศึกษา จบชั้นปริญญาตรี มันคือหนึ่งในใบเบิกทางให้เค้าได้ออกจากกับดักความยากจนที่ระบบสังคมห่วยๆ นี้สร้างเพื่อขังพวกเค้าไว้
และก่อนที่คุณจะบอกว่าระดับมหาวิทยาลัยเป็นทางเลือกของคนที่พร้อม ช่วยคุยกับคนในวงการศึกษาในวงสังคมใกล้เคียงกับคุณก่อนว่าแม้แต่ระบบการศึกษาภาคบังคับ ก็มีเด็กกว่าล้านคนที่ต้องออกจากระบบการศึกษาเพราะความยากจน
*ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) บอกว่ามีเด็กถึง 1.17 ล้านคนที่เป็นเด็กกลุ่มยากจนพิเศษ มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพียง 1,077 บาทต่อคนต่อเดือน
หรือถ้าคุณจะทำงานการศึกษา ออกแบบระบบให้เด็กๆ โดยไม่คุยกับคนที่ทำงานด้านนี้ หรือไม่แม้แต่จะอยากก้าวเท้าออกนอกบ้านรับรู้ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศ ก็อยากลองรบกวนช่วยเปิดโทรทัศน์ดูรายการที่มีเด็กมัธยมมาตอบคำถามวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ยากๆ กลายเป็นเอนเตอร์เทนเมนต์ให้คนดู เพื่อชิงสิ่งที่เรียกว่า 'ค่าเทอม' ดูสักหน่อย
ไม่ใช่เด็กยากจนทุกคนจะไม่มีศักยภาพ
ไม่ใช่เด็กยากจนทุกคนไม่เคยฝันถึงการศึกษา ฝันถึงการได้เข้ามหาวิทยาลัย
คุณในฐานะคนออกแบบระบบ ไม่ได้มีหน้าที่ตัดสิน กีดกันเด็กออกไป หรือบอกว่า เฮ้ย ไม่แพง เฮ้ย ไม่พร้อมก็อย่ามาสมัคร เพียงเพราะคุณไม่รู้ หรือรู้แต่ไม่คิดจะแคร์ ว่าพวกเขามีตัวตน
ออกมาเผชิญโลกข้างนอกห้องประชุมของพวกอธิการใส่สูทผูกไทบ้างก็ดีครับ
ด้วยความไม่เคารพ
ลิงคก์ที่มา MOBtheppitak