JJNY : เผยทำไมATKต้องผ่านมาตรฐานWHO│คาดติดโควิดมากกว่ารายงาน│คนไทยตปท.บริจาค20ล.ซื้อวัคซีน│อดีตนักวิจัยจี้ร้านสะดวกซื้อ

ชมรมแพทย์ชนบท เผยเหตุผลทำไม ATK ต้องผ่านมาตรฐาน WHO ชี้ 3 ระดับทดสอบคุณภาพ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2898871
 
 
ชมรมแพทย์ชนบท เผยเหตุผลทำไม ATK ต้องผ่านมาตรฐาน WHO ชี้ 3 ระดับทดสอบคุณภาพ
 
เฟซบุ๊กแฟนเพจ ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ระบุถึง 3 ระดับการทดสอบคุณภาพของชุดตรวจโควิด ATK และเหตุผลทำไม ATK ที่จะนำเข้ามาต้องผ่านมาตรฐานองค์การอนามัยโลก โดยข้อความระบุว่า
 
ข้อความว่า 
 
ความเข้าใจพื้นฐานเรื่อง ATK ตอนที่ 3 ระดับการทดสอบคุณภาพ เพื่อรับรองมาตรฐาน ATK
   
ATK เพื่อตรวจหาเชื้อโควิดกับความแม่นยำมีความสำคัญมาก ดังนั้นการขอรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ จึงมีหลายระดับ
ระดับการทดสอบคุณภาพดูความสามารถในการวินิจฉัยและความแม่นยำของ ATK ทำได้ 3 ระดับคือ
  
1. Laboratory scale หรือ การทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทำได้ง่ายในห้องแล็ป โดยนำสารละลายที่มีเชื้อโควิดและไม่มีเชื้อโควิด มาหยดใส่แผ่น ATK แล้วดูความแม่นยำ การทดสอบเช่นนี้ ข้อดีคือทำง่าย เร็ว และสะดวก ข้อเสียคือ ในห้อง lab มีการควบคุมตัวแปรที่ดีเยี่ยม เช่นแสง ความร้อน ความชื้น ความแม่นยำของเจ้าหน้าที่ lab ในการหยดสาร เป็นต้น ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของโลกนอกห้องแล็ป การขอรับรองจาก อย.ก็ใช้วิธีวิทยาเช่นนี้ ถือเป็นการรับรองในระดับเบื้องต้น
 
2. Clinical scale หรือ การทดสอบทางคลินิก ทำได้ยากขึ้น โดยนำไปทดสอบจริงในโรงพยาบาลหรือหอผู้ป่วย ให้มีการ swab จริงในโรงพยาบาลแล้วนำผลมาเทียบกับ RT-PCR การทำเช่นนี้ก็จะสามารถทดสอบคุณภาพของชุดตรวจได้สมจริงมากขึ้น ต้องใช้เวลาวิจัยและออกรายงานนานขึ้น ปกติการนำชุดตรวจต่างๆเข้ามาใช้ในคณะแพทย์ ทางคณะแพทย์มักจะใช้การทดสอบแบบ clinical scale ก่อนตัดสินใจจัดซื้อ ถือเป็นการรับรองในระดับสูง
 
3. Field test scale หรือ การทดสอบภาคสนาม คือนำไปศึกษาในการลงจริงในชุมชนหรือนอกโรงพยาบาล ซึ่งปกติจะไม่ค่อยมีใครศึกษา การทดสอบภาคสนามนี้ถือว่าหินที่สุดแต่ก็แม่นยำและสำคัญที่สุด เพราะการทำสอบภาคสนามนั้น มีปัจจัยความชื้น ความร้อน แสงสว่าง ฝนตกแดดออก การเก็บรักษา ที่มีผลต่อการแสดงผลของตัวแถบตรวจด้วย การวิจัยภาคสนาม 33,000 ตัวอย่างของปากีสถานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Virology Journal ที่ระบุว่า LEPU มีความไม่แม่นยำในภาคสนาม หรือ การเก็บข้อมูลของปฏิบัติการแพทย์ชนบทบุกกรุงกว่า 200,000 ตัวอย่าง ที่พบว่า ATK มาตรฐาน WHO มีความแม่นยำจริงเมื่อเทียบผลกับ RT-PCR นั้น คือตัวอย่างการทดสอบระดับสูงสุด
  
สำหรับองค์การอนามัยโลก บริษัทใดที่ต้องการขอให้เขาบรรจุชื่อสินค้าใน EUL หรือ Emergency Use Listing ต้องมีงานวิจัยที่ผ่านการทดสอบทั้ง 3 scale แล้วส่งมาให้เขาพิจารณา จึงจะได้รับการบรรจุในรายชื่อ EUL ที่เป็นการประกาศรับรองจากองค์การอนามัยโลก
 
ดังนั้นหากผ่านมาตรฐานองค์การอนามัยโลก เราจึงมั่นใจได้ว่า ATK ยี่ห้อนั้น มีความแม่นยำทั้งในทางคลินิกและการตรวจภาคสนามรวมทั้งการตรวจที่บ้านด้วย
 
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4940322982661486&id=142436575783508
 

 
'แพทย์ชนบท' คาดไทยติดโควิดมากกว่าตัวเลขรายงาน ย้ำ! ATK ตัวช่วยสำคัญ
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2898956
 
‘แพทย์ชนบท’ คาดไทยติดโควิดมากกว่าตัวเลขรายงาน ย้ำ! ATK ตัวช่วยสำคัญ
 
วันที่ 22 สิงหาคม ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กถึงประเด็น “โควิดว่าด้วยเรื่องตัวเลข” โดยระบุว่า
 
หัวใจของการทำความเข้าใจตัวเลขรายงานของ ศบค.นั้น มีประเด็นสำคัญที่ต้องดูร่วมกันอยู่ 2-3 ประเด็น
 
จำนวนผู้ป่วยใหม่ประจำวันนั้น มากน้อยขึ้นกับจำนวนการตรวจ rt-PCR ด้วย เช่นในวันนี้ 22 สิงหาคม 2564 พบผู้ป่วยใหม่ 19,014 ราย เราพบผู้ป่วยเฉลี่ยที่ราว 20,000 รายต่อวันมาตลอด แต่ตัวเลขนี้เป็นผลมาจาการตรวจ rt-PCR ของสัปดาห์นี้ที่เฉลี่ยตรวจได้วันละ 52,845 ราย ซึ่งหมายความว่ายังมีการตรวจ rt-PCR ที่มีจำนวนไม่มากนัก เพราะศักยภาพการตรวจนั้น ประเทศไทยทำได้ที่มากกว่า 100,000 รายต่อวัน
 
ในขณะที่การตรวจ ATK ประจำวันนั้นแม้มีรายงานเป็นผลบวก แต่ก็จะยังไม่นำมารวมในตัวเลขผู้ติดเชื้อ หากรายใดได้ทำ RT-PCR ซ้ำ รายนั้นหากเป็นบวก ก็จะถูกนับว่าเป็นผู้ป่วยใหม่ แต่หากไม่ได้ตรวจซ้ำ ก็จะหลุดไป
 
นี่คือเบื้องต้นว่าด้วยโควิดกับตัวเลข แท้จริงจำนวนผู้ป่วยใหม่มีมากกว่ามาก จะกี่เท่ายากที่จะเดา
 
และหากเรามี ATK ที่มีความแม่นยำ ทีมแพทย์เชื่อมั่นในผล ATK ที่ได้มา
 
เราก็จะสามารถเห็นตัวเลขที่แท้จริงจากการรายงานได้มากขึ้น
 
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4940800345947083&id=142436575783508
 

 
คนไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ ใจบุญบริจาค 20 ล้านบาท ซื้อวัคซีนโควิด-19 ฉีดให้ชาวปากช่องฟรี
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/154640

หลังจากมีข่าวว่ามีผู้ใจบุญเป็นคนไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ บริจาคเงินจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อซื้อวัคซีนให้ชาวปากช่องที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน โรคโควิด- 19
 
วันนี้ 22 ส.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย นายเกียรตินิยม ขัวญใจพุทธิศา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขนงพระ อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา  กล่าวว่า เป็นเรื่องจริงที่มีผู้ใจบุญบริจาคเงินเพื่อซื้อวัคซีนให้ชาวปากช่องได้ฉีด โดยผู้ใจบุญท่านนี้ เป็นคน ต. ขนงพระ อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา ซึ่งตอนนี้ พี่ชาย ญาติ พี่น้องก็ยังอาศัยอยู่ที่นี่ ซึ่งผู้ใจบุญได้สามีเป็นชาว ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นนักธุรกิจอยู่ในประเทศฝรั่งเศส

โดย ผู้ใจบุญได้มอบเงินจำนวน 20 ล้านบาท ให้กับ โรงพยาบาลมกุฏคีรีวันเขาใหญ่ (ปากช่องนานา) เพื่อดำเนินการจัดวัคซีน ฉีดให้กับประชาชนฟรี ซึ่งประกอบไปด้วย วัคซีนชิโนฟาร์ม จำนวน 10,000 โดส เป็นเงิน 8,000,000 บาท และวัคซีน mRNA จำนวน 4,000 โดส เป็นเงิน 6,800,000 บาท วัคซีนทั้ง 2 ชนิด รวมทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ 14,800,000 บาท
 
ส่วนจำนวนเงินที่เหลือ เตรียมไว้ซื้อวัคซีน mRNA เพิ่มเป็นเข็มกระตุ้น ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า โดยวัคซีนจำนวนดังกล่าว จะฉีดให้ประชาชนในพื้นที่ ต.ขนงพระ เป็นอันดับแรก ซึ่ง มี ทั้ง พระภิกษุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งผู้ใจบุญ เป็นห่วงชาวปากช่อง หลังเห็นข่าวว่าชาวปากช่อง ติดเชื้อโควิดกันเป็นจำนวนมาก
 
นอกจากมีวัคซีนที่ได้รับบริจาคแล้ว ทาง อบต. ขนงพระ ยังจัดงบประมาณ 15 ล้านบาท เพื่อซื้อวัคซีนฉีดให้ ผู้ที่อยู่ในตำบลขนงพระ ซึ่งมีทั้งชาวบ้าน แรงงานต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่มาประกอบธุรกิจในพื้นที่นี้ โดยการลงทะเบียนผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งขณะนี้ได้มีการเปิดรับลงทะเบียนแล้ว พร้อมเร่งสำรวจผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลย หากตำบลขนงพระ ปูพรมฉีดวัคซีนจนครบ 100% แล้ว จะกระจายวัคซีนไปสู่พื้นที่ ตำบลข้างเคียงจนกว่าวัคซีนจะหมด
 
โดยชาวบ้านหลายคนต่างดีใจที่มีผู้ใจบุญบริจาคเงินซื้อวัคซีนมาให้ชาวบ้านได้ฉีด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่