สื่อนอกมองไทยว่างงาน 2% แค่ภาพลวง ของจริงยิ่งกว่านี้! ชี้ตัวเลขมายาขวางรัฐแก้เศรษฐกิจ
https://www.sanook.com/news/8428706/
สำนักข่าวนิกเกอิ จากญี่ปุ่น เผยแพร่บทความฉบับหนึ่งเมื่อวันอังคาร (17 ส.ค.) ว่า การระบาดของโรคโควิด-19 กำลังเปิดเผยว่าอัตราการว่างงานของไทยอาจสูงกว่า 2% ที่ภาครัฐมีข้อมูล และตัวเลขที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะยิ่งทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ยุ่งยากไปอีก
บทความนี้ระบุว่าตัวเลขว่างงานที่ภาครัฐของไทยมีอยู่นั้น ไม่ได้รวมคนที่ทำงานนอกระบบหรือคนกลุ่มอื่นที่ตกหล่นไปด้วย ทำให้เมื่อมีการเลิกจ้าง โดยเฉพาะเมื่อมีการสั่งปิดกิจการเพื่อควบคุมโรคโควิด-19 คนจำนวนมากจึงไม่มีการนับเข้าไปในตัวเลขอัตราว่างงาน และแม้ว่าสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จะเผยว่าช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 อัตราการว่างงานของไทยย่ำแย่ที่สุดในรอบ 12 ปี แต่ตัวเลขก็อยู่ที่ 1.96% เท่านั้น
นอกจากนี้ นิกเกอิระบุอีกว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหนึ่งเผยว่า มีคนย้ายออกจากเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวไปยังภูมิลำเนาของตัวเองระหว่างเดือน ธ.ค. 2562 ถึงเดือน เม.ย. 2564 ถึง 1.6 ล้านคน
นิกเกอิ อ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของนาย
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่าตัวเลขการว่างงานที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงนี้ทำให้ไทยตอบสนองต่อปัญหาเกี่ยวกับแรงงานไม่ถูกต้องไปด้วย อย่างเช่น การเยียวยาโควิดที่ไม่ครอบคลุม การขาดการปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงาน หรือการขาดการปฏิรูปการศึกษา จึงผลิตแรงงานออกมาได้ไม่ตรงกับความต้องการของโลกในยุคดิจิทัล
หากคนว่างงานมากขึ้น แต่ภาครัฐยังไร้ตัวเลขที่สะท้อนข้อมูลจริง และไม่เร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นิกเกอิมองว่า ผู้คนที่นอกจากกลุ่มเยาวชนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ผู้คนในอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลมากขึ้น
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :
Nikkei
ภาพ :
Mladen ANTONOV / AFP
เอกชนรุมจีบ ‘รพ.ธรรมศาสตร์ฯ’ นำเข้าวัคซีน ‘โนวาแวกซ์-จอห์นสันฯ’
https://www.thansettakij.com/general-news/492288
รพ.ธรรมศาสตร์ฯ เนื้อหอม เอกชนรุมจีบ นำเข้าวัคซีน “โนวาแวกซ์- จอห์นสันฯ" ยันไม่ซ้ำรอยรัฐบาล หวังใช้เป็นบูสเตอร์โดสทำให้คนไทยมีภูมิต้านทานมากที่สุด ด้าน “โมเดอร์นา” ยื่นเพิ่มเติม อย. เพื่อฉีดในกลุ่มผู้มีอายุ 12-17 ปี
รศ.นพ.
พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยกับ “
ฐานเศรษฐกิจ” ว่า โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีนโยบายที่ชัดเจนในการนำเข้าวัคซีนว่า ต้องเป็นวัคซีนที่ไม่ซ้ำกับวัคซีนที่ภาครัฐ หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งดำเนินการแล้ว และต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการรับรองแล้ว ฉีดแล้วสามารถเดินทางต่างประเทศได้
โดยวัคซีนที่สนใจและมองว่ามีประสิทธิภาพคือ โนวาแวกซ์ นอกจากนี้ยังมี จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (J&J) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากอย. แล้วและยังไม่มีผู้นำเข้า ส่วนวัคซีนอื่นๆ ก็มีความเป็นไปได้ เช่น ไฟเซอร์ หากเป็นเจนเนอเรชั่น 2 ที่ขณะนี้ยังไม่มีในประเทศไทย แต่มีข่าวว่าอยู่ระหว่างการศึกษาในห้องแล็บ ยังไม่มีในรูปแบบเชิงพาณิชย์ ส่วนโมเดอร์นา เจนเนอเรชั่น 2 เริ่มมีการเปิดให้แสดงความจำนงจองวัคซีนแล้ว ก็จะไม่นำเข้ามา
หลังจากที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกประกาศใช้ข้อบังคับในการนำเข้ายา วัคซีน และเวชภัณฑ์เพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่ามีหน่วยงาน องค์กร ตลอดจนเอกชน จำนวนมากติดต่อเข้ามาเพื่อขอสนับสนุนและผลักดันในการนำเข้าวัคซีน ซึ่งโรงพยาบาลยินดีและพร้อมเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามานำเสนอ แต่ต้องดำเนินการตามนโยบายของโรงพยาบาล
“เป้าหมายของโรงพยาบาลคือการนำวัคซีนมาฉีดให้กับคนไทยเพื่อให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานให้ได้มากที่สุด เราเองก็อยากได้วัคซีนให้เร็วที่สุด แต่ต้องเข้าใจว่า เมื่อมาออกตัวตอนนี้ ก็มีคิวจอง จากทุกประเทศรวมถึงรัฐบาลไทยเอง ซึ่งถ้ายังไม่ได้รับการยืนยันที่ชัดเจนว่า เป็นวัคซีนอะไร ได้รับเมื่อไร เราก็ยังไม่กล้าประกาศ ซึ่งถ้ามีทางลัดทำให้ได้รับวัคซีนเร็วที่สุด เราก็ยินดี หากได้รับภายในปีนี้ ยิ่งเร็วก็ยิ่งดีต่อคนไทยทุกคน”
อย่างไรก็ดี หลังจากที่สภามหาวิทยาลัย ออกประกาศดังกล่าวแล้ว การดำเนินการต่อไปจะต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค.2564 เป็นต้นไป ซึ่งประกาศดังกล่าวจะช่วยปลดล็อกในเรื่องของยาและวัคซีนที่ตอนนี้มีปัญหาในการจัดหาจัดซื้อ เพื่อมาช่วยผู้ป่วย
เนื่องจากอาจจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก รวมถึงเวชภัณฑ์ โดยสภามหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้อธิการบดีเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงในการจัดหาจัดซื้อและดำเนินการต่างๆ
สำหรับความคืบหน้าในการนำเข้าวัคซีนทางเลือกโมเดอร์นา ของโรงพยาบาลเอกชนที่ดำเนินการสั่งซื้อไปแล้วจำนวน 3.9 ล้านโดสนั้น เบื้องต้นจะนำเข้ามาจำนวน 1.6 ล้านโดส ภายในไตรมาส 4 หรือคิดเป็น 40% ส่วนอีก 60% ที่เหลือ หรือราว 2.3 ล้านโดส จะนำเข้ามาในไตรมาส 1 ปี 2565
ส่วนล็อตเพิ่มเติม จะทยอยเข้ามาในไตรมาส 1 และ 2 ปี 2565 อีก 5 ล้านโดส เมื่อรวมกับของสภากาชาดไทยที่สั่งซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรมจะทำให้มีวัคซีนทางเลือกโมเดอร์นารวมทั้งหมดราว 10 ล้านโดส
ขณะเดียวกันพบว่า ผู้นำเข้าวัคซีนโมเดอร์นา ได้ยื่นหนังสือเพิ่มเติม ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่ออนุมัติการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 12-17 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของอย. คาดว่าจะรู้ผลในเร็วๆนี้ ซึ่งจะทำให้เป็นวัคซีน mRNA ตัวที่ 2 (ต่อจากไฟเซอร์) ที่สามารถฉีดให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนได้
ทั้งนี้ โมเดอร์นา อิงก์ ได้ยื่นขออนุมัติต่อหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านสุขภาพของยุโรปและแคนาดา เพื่อขออนุมัติการใช้วัคซีนเพื่อเติมในวัยรุ่นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากที่พบว่าได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 1 โดสมีประสิทธิผลจาการทดลอง 96% โดยไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น ก็มีการยื่นขออนุมัติเช่นเดียวกันในเดือนกรกฎาคมด้วย
‘สหรัฐ’ โต้เฟคนิวส์ 'กรุงเทพฯ' เป็น ‘แล็บเชื้อโรค' ใหญ่สุดในโลก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/955383
ผอ.สถาบัน AFRIMS ออกโรงโต้รายงานชี้ "ห้องทดลองเชื้อโรค" ใหญ่ที่สุดในโลก ซ่อนอยู่ในกรุงเทพฯ ท่ามกลางความสงสัย สหรัฐ - ไทย กำลังร่วมมือวิจัยวัคซีนสู้โควิด
ตามที่มีการพูดถึงในโซเชียลมีเดียว่า สหรัฐพยายามกล่าวโทษสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาจากห้องปฏิบัติการทดลองในเมืองอู่ฮั่น
ขณะที่จีน และองค์การอนามัยโลก (WHO) สงสัยเชื้อโรครั่วไหลจากรัฐแมรี่แลนด์ และชี้ว่า ห้องแล็บเชื้อโรคใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ที่กรุงเทพฯ
'
พันโท แบรนดอน แมคคาร์เตอร์' รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารสหรัฐ ออกแถลงการณ์ว่า กวา่ 60 ปีที่ผ่านมา กองทัพบกสหรัฐอเมริกาและกองทัพบกไทย ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) ในการต่อสู้กับโรคเขตร้อนต่างๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการเผยแพร่เอกสารเท็จและบิดเบือนข้อมูลเพื่อทำลายชื่อเสียงของสถาบัน และกล่าวหานักวิทยาศาสตร์ชาวไทยและสหรัฐหลายร้อยคนที่ปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพและอุทิศตนในสถานบันแห่งนี้ ขอชี้แจงว่า สถาบัน AFRIMS เป็นสัญลักษณ์ความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลและมีความสำคัญอย่างยิ่งระหว่างสหรัฐ และไทย ซึ่งการดำเนินงานที่นี้ ได้ช่วยชีวิตหลายร้อยล้านชีวิต ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
การทำงานร่วมกันแบบทวิภาคีในสถาบัน AFRIMS ไม่เพียงแต่ยกระดับเป้าหมายด้านสุขภาพของไทย และสหรัฐ เท่านั้น แต่ยังช่วยผลักดันเป้าหมายดังกล่าวในทั่วโลกด้วยความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ในภูมิภาค
สำคัญที่สุดคือ อาคาร สถานที่ตั้ง ห้องปฏิบัติการของเรามีมาตรฐานความปลอดภัยสูง และการวิจัยที่สถาบัน AFRIMS ล้วนมุ่งเน้นการต่อสู้กับโรคประจำถิ่นในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา ไข้ซิกา ไข้สมองอักเสบเจอี และเชื้อเอชไอวี
ส่วนความร่วมมือที่เป็นงานวิจัยร่วมกัน ได้ช่วยให้เราพัฒนาวัคซีนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงการวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งได้รักษาชีวิตของคนหลายล้านคนทั่วโลก และเราจะยังคงดำเนินภารกิจดังกล่าวต่อไป ตัวอย่างเช่น เรากำลังสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มว่า มีความปลอดภัย และมีประสิทธิผลต่อการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ภายในประเทศต่อไป
ความร่วมมือนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า สหรัฐมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดเคียงข้างประเทศไทยจนกว่าจะเอาชนะโรคระบาดใหญ่นี้ได้
ตลอดระยะเวลาการดำเนินการของเรา สถาบัน AFRIMS เป็นศูนย์ความร่วมมือหลักของ WHO และภายใต้กลไกดังกล่าว
กองทัพบกของไทยและกองทัพบกสหรัฐ ได้ตอบโต้การระบาดของโรคต่างๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียน การสนับสนุนของสถาบัน AFRIMS ช่วยสร้างความมั่นใจว่า ไทยจะยังคงเป็นผู้นำในด้านสาธารณสุข และการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน
ทุกสิ่งที่ทางสถาบันได้ดำเนินการนั้น อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายไทย และสหรัฐ เพื่อรักษามาตรฐานสูงสุดของห้องปฏิบัติการ ทำให้สถาบัน AFRIMS เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในโลก สถาบันมีหน่วยงานดูแลห้องปฏิบัติการที่ทำงาน
อย่างแข็งขันเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ห้องปฏิบัติการ สิ่งส่งตรวจ พนักงาน และสาธารณชน มีความปลอดภัย และได้รับการรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา
สหรัฐตระหนักดีถึงบทบาทที่สำคัญของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งปลอดภัยและเคร่งครัด ดังที่นักวิทยาศาสตร์ชาวไทยและ อเมริกันร่วมมือกันที่สถาบัน AFRIMS ในการช่วยให้เราทุกคนปลอดภัย
JJNY : 5in1 สื่อนอกมองว่างงาน2%ภาพลวง│รุมจีบรพ.มธ.│สหรัฐโต้เฟคนิวส์│คาดนทท.ต่างชาติเหลือ1.5แสน│GDP Q2 อ่อนแอต่อเนื่อง
https://www.sanook.com/news/8428706/
สำนักข่าวนิกเกอิ จากญี่ปุ่น เผยแพร่บทความฉบับหนึ่งเมื่อวันอังคาร (17 ส.ค.) ว่า การระบาดของโรคโควิด-19 กำลังเปิดเผยว่าอัตราการว่างงานของไทยอาจสูงกว่า 2% ที่ภาครัฐมีข้อมูล และตัวเลขที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะยิ่งทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ยุ่งยากไปอีก
บทความนี้ระบุว่าตัวเลขว่างงานที่ภาครัฐของไทยมีอยู่นั้น ไม่ได้รวมคนที่ทำงานนอกระบบหรือคนกลุ่มอื่นที่ตกหล่นไปด้วย ทำให้เมื่อมีการเลิกจ้าง โดยเฉพาะเมื่อมีการสั่งปิดกิจการเพื่อควบคุมโรคโควิด-19 คนจำนวนมากจึงไม่มีการนับเข้าไปในตัวเลขอัตราว่างงาน และแม้ว่าสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จะเผยว่าช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 อัตราการว่างงานของไทยย่ำแย่ที่สุดในรอบ 12 ปี แต่ตัวเลขก็อยู่ที่ 1.96% เท่านั้น
นอกจากนี้ นิกเกอิระบุอีกว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหนึ่งเผยว่า มีคนย้ายออกจากเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวไปยังภูมิลำเนาของตัวเองระหว่างเดือน ธ.ค. 2562 ถึงเดือน เม.ย. 2564 ถึง 1.6 ล้านคน
นิกเกอิ อ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของนายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่าตัวเลขการว่างงานที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงนี้ทำให้ไทยตอบสนองต่อปัญหาเกี่ยวกับแรงงานไม่ถูกต้องไปด้วย อย่างเช่น การเยียวยาโควิดที่ไม่ครอบคลุม การขาดการปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงาน หรือการขาดการปฏิรูปการศึกษา จึงผลิตแรงงานออกมาได้ไม่ตรงกับความต้องการของโลกในยุคดิจิทัล
หากคนว่างงานมากขึ้น แต่ภาครัฐยังไร้ตัวเลขที่สะท้อนข้อมูลจริง และไม่เร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นิกเกอิมองว่า ผู้คนที่นอกจากกลุ่มเยาวชนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ผู้คนในอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลมากขึ้น
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : Nikkei
ภาพ : Mladen ANTONOV / AFP
เอกชนรุมจีบ ‘รพ.ธรรมศาสตร์ฯ’ นำเข้าวัคซีน ‘โนวาแวกซ์-จอห์นสันฯ’
https://www.thansettakij.com/general-news/492288
รพ.ธรรมศาสตร์ฯ เนื้อหอม เอกชนรุมจีบ นำเข้าวัคซีน “โนวาแวกซ์- จอห์นสันฯ" ยันไม่ซ้ำรอยรัฐบาล หวังใช้เป็นบูสเตอร์โดสทำให้คนไทยมีภูมิต้านทานมากที่สุด ด้าน “โมเดอร์นา” ยื่นเพิ่มเติม อย. เพื่อฉีดในกลุ่มผู้มีอายุ 12-17 ปี
รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีนโยบายที่ชัดเจนในการนำเข้าวัคซีนว่า ต้องเป็นวัคซีนที่ไม่ซ้ำกับวัคซีนที่ภาครัฐ หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งดำเนินการแล้ว และต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการรับรองแล้ว ฉีดแล้วสามารถเดินทางต่างประเทศได้
โดยวัคซีนที่สนใจและมองว่ามีประสิทธิภาพคือ โนวาแวกซ์ นอกจากนี้ยังมี จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (J&J) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากอย. แล้วและยังไม่มีผู้นำเข้า ส่วนวัคซีนอื่นๆ ก็มีความเป็นไปได้ เช่น ไฟเซอร์ หากเป็นเจนเนอเรชั่น 2 ที่ขณะนี้ยังไม่มีในประเทศไทย แต่มีข่าวว่าอยู่ระหว่างการศึกษาในห้องแล็บ ยังไม่มีในรูปแบบเชิงพาณิชย์ ส่วนโมเดอร์นา เจนเนอเรชั่น 2 เริ่มมีการเปิดให้แสดงความจำนงจองวัคซีนแล้ว ก็จะไม่นำเข้ามา
หลังจากที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกประกาศใช้ข้อบังคับในการนำเข้ายา วัคซีน และเวชภัณฑ์เพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่ามีหน่วยงาน องค์กร ตลอดจนเอกชน จำนวนมากติดต่อเข้ามาเพื่อขอสนับสนุนและผลักดันในการนำเข้าวัคซีน ซึ่งโรงพยาบาลยินดีและพร้อมเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามานำเสนอ แต่ต้องดำเนินการตามนโยบายของโรงพยาบาล
“เป้าหมายของโรงพยาบาลคือการนำวัคซีนมาฉีดให้กับคนไทยเพื่อให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานให้ได้มากที่สุด เราเองก็อยากได้วัคซีนให้เร็วที่สุด แต่ต้องเข้าใจว่า เมื่อมาออกตัวตอนนี้ ก็มีคิวจอง จากทุกประเทศรวมถึงรัฐบาลไทยเอง ซึ่งถ้ายังไม่ได้รับการยืนยันที่ชัดเจนว่า เป็นวัคซีนอะไร ได้รับเมื่อไร เราก็ยังไม่กล้าประกาศ ซึ่งถ้ามีทางลัดทำให้ได้รับวัคซีนเร็วที่สุด เราก็ยินดี หากได้รับภายในปีนี้ ยิ่งเร็วก็ยิ่งดีต่อคนไทยทุกคน”
อย่างไรก็ดี หลังจากที่สภามหาวิทยาลัย ออกประกาศดังกล่าวแล้ว การดำเนินการต่อไปจะต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค.2564 เป็นต้นไป ซึ่งประกาศดังกล่าวจะช่วยปลดล็อกในเรื่องของยาและวัคซีนที่ตอนนี้มีปัญหาในการจัดหาจัดซื้อ เพื่อมาช่วยผู้ป่วย
เนื่องจากอาจจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก รวมถึงเวชภัณฑ์ โดยสภามหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้อธิการบดีเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงในการจัดหาจัดซื้อและดำเนินการต่างๆ
สำหรับความคืบหน้าในการนำเข้าวัคซีนทางเลือกโมเดอร์นา ของโรงพยาบาลเอกชนที่ดำเนินการสั่งซื้อไปแล้วจำนวน 3.9 ล้านโดสนั้น เบื้องต้นจะนำเข้ามาจำนวน 1.6 ล้านโดส ภายในไตรมาส 4 หรือคิดเป็น 40% ส่วนอีก 60% ที่เหลือ หรือราว 2.3 ล้านโดส จะนำเข้ามาในไตรมาส 1 ปี 2565
ส่วนล็อตเพิ่มเติม จะทยอยเข้ามาในไตรมาส 1 และ 2 ปี 2565 อีก 5 ล้านโดส เมื่อรวมกับของสภากาชาดไทยที่สั่งซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรมจะทำให้มีวัคซีนทางเลือกโมเดอร์นารวมทั้งหมดราว 10 ล้านโดส
ขณะเดียวกันพบว่า ผู้นำเข้าวัคซีนโมเดอร์นา ได้ยื่นหนังสือเพิ่มเติม ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่ออนุมัติการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 12-17 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของอย. คาดว่าจะรู้ผลในเร็วๆนี้ ซึ่งจะทำให้เป็นวัคซีน mRNA ตัวที่ 2 (ต่อจากไฟเซอร์) ที่สามารถฉีดให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนได้
ทั้งนี้ โมเดอร์นา อิงก์ ได้ยื่นขออนุมัติต่อหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านสุขภาพของยุโรปและแคนาดา เพื่อขออนุมัติการใช้วัคซีนเพื่อเติมในวัยรุ่นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากที่พบว่าได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 1 โดสมีประสิทธิผลจาการทดลอง 96% โดยไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น ก็มีการยื่นขออนุมัติเช่นเดียวกันในเดือนกรกฎาคมด้วย
‘สหรัฐ’ โต้เฟคนิวส์ 'กรุงเทพฯ' เป็น ‘แล็บเชื้อโรค' ใหญ่สุดในโลก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/955383
ผอ.สถาบัน AFRIMS ออกโรงโต้รายงานชี้ "ห้องทดลองเชื้อโรค" ใหญ่ที่สุดในโลก ซ่อนอยู่ในกรุงเทพฯ ท่ามกลางความสงสัย สหรัฐ - ไทย กำลังร่วมมือวิจัยวัคซีนสู้โควิด
ตามที่มีการพูดถึงในโซเชียลมีเดียว่า สหรัฐพยายามกล่าวโทษสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาจากห้องปฏิบัติการทดลองในเมืองอู่ฮั่น
ขณะที่จีน และองค์การอนามัยโลก (WHO) สงสัยเชื้อโรครั่วไหลจากรัฐแมรี่แลนด์ และชี้ว่า ห้องแล็บเชื้อโรคใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ที่กรุงเทพฯ
'พันโท แบรนดอน แมคคาร์เตอร์' รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารสหรัฐ ออกแถลงการณ์ว่า กวา่ 60 ปีที่ผ่านมา กองทัพบกสหรัฐอเมริกาและกองทัพบกไทย ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) ในการต่อสู้กับโรคเขตร้อนต่างๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการเผยแพร่เอกสารเท็จและบิดเบือนข้อมูลเพื่อทำลายชื่อเสียงของสถาบัน และกล่าวหานักวิทยาศาสตร์ชาวไทยและสหรัฐหลายร้อยคนที่ปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพและอุทิศตนในสถานบันแห่งนี้ ขอชี้แจงว่า สถาบัน AFRIMS เป็นสัญลักษณ์ความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลและมีความสำคัญอย่างยิ่งระหว่างสหรัฐ และไทย ซึ่งการดำเนินงานที่นี้ ได้ช่วยชีวิตหลายร้อยล้านชีวิต ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
การทำงานร่วมกันแบบทวิภาคีในสถาบัน AFRIMS ไม่เพียงแต่ยกระดับเป้าหมายด้านสุขภาพของไทย และสหรัฐ เท่านั้น แต่ยังช่วยผลักดันเป้าหมายดังกล่าวในทั่วโลกด้วยความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ในภูมิภาค
สำคัญที่สุดคือ อาคาร สถานที่ตั้ง ห้องปฏิบัติการของเรามีมาตรฐานความปลอดภัยสูง และการวิจัยที่สถาบัน AFRIMS ล้วนมุ่งเน้นการต่อสู้กับโรคประจำถิ่นในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา ไข้ซิกา ไข้สมองอักเสบเจอี และเชื้อเอชไอวี
ส่วนความร่วมมือที่เป็นงานวิจัยร่วมกัน ได้ช่วยให้เราพัฒนาวัคซีนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงการวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งได้รักษาชีวิตของคนหลายล้านคนทั่วโลก และเราจะยังคงดำเนินภารกิจดังกล่าวต่อไป ตัวอย่างเช่น เรากำลังสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มว่า มีความปลอดภัย และมีประสิทธิผลต่อการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ภายในประเทศต่อไป
ความร่วมมือนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า สหรัฐมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดเคียงข้างประเทศไทยจนกว่าจะเอาชนะโรคระบาดใหญ่นี้ได้
ตลอดระยะเวลาการดำเนินการของเรา สถาบัน AFRIMS เป็นศูนย์ความร่วมมือหลักของ WHO และภายใต้กลไกดังกล่าว
กองทัพบกของไทยและกองทัพบกสหรัฐ ได้ตอบโต้การระบาดของโรคต่างๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียน การสนับสนุนของสถาบัน AFRIMS ช่วยสร้างความมั่นใจว่า ไทยจะยังคงเป็นผู้นำในด้านสาธารณสุข และการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน
ทุกสิ่งที่ทางสถาบันได้ดำเนินการนั้น อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายไทย และสหรัฐ เพื่อรักษามาตรฐานสูงสุดของห้องปฏิบัติการ ทำให้สถาบัน AFRIMS เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในโลก สถาบันมีหน่วยงานดูแลห้องปฏิบัติการที่ทำงาน
อย่างแข็งขันเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ห้องปฏิบัติการ สิ่งส่งตรวจ พนักงาน และสาธารณชน มีความปลอดภัย และได้รับการรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา
สหรัฐตระหนักดีถึงบทบาทที่สำคัญของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งปลอดภัยและเคร่งครัด ดังที่นักวิทยาศาสตร์ชาวไทยและ อเมริกันร่วมมือกันที่สถาบัน AFRIMS ในการช่วยให้เราทุกคนปลอดภัย