£££ โรงเรียนเอกชนหลายที่เริ่มมีปัญหานะครับ

“วันนี้โรงเรียนเอกชนจำนวนมากไม่สามารถจ่ายเงินเดือนครูได้ ที่ผ่านมาวงการศึกษาเอกชนเข้ามาช่วยปิดช่องว่างคุณภาพการศึกษาของประเทศนี้ อย่าพยายามผลักให้เอกชนเป็นของเอกชน การจัดการศึกษาเป็นบริการสาธารณะ ปกติเป็นหน้าที่ของรัฐ เพียงแต่วันนี้ภาคเอกชนเข้ามาช่วย เมื่อเกิดวิกฤตมันต้องอุ้มกันด้วย”
.
นี่คือมุมมองของ ‘อรรถพล ตรึกตรอง’ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ซึ่งรับเสียงสะท้อนจากผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน หลังการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้ปกครองจำนวนมากค้างจ่ายค่าบำรุงการศึกษา จนมีแนวโน้มต้องเลิกกิจการ
.
.
เขาบอกกับ The Active ว่า การมีอยู่ของโรงเรียนเอกชน นับเป็นทางเลือกการเข้าถึงรูปแบบการศึกษาตามความพอใจ เมื่อภาพรวมการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลไทย ไม่สามารถจัดการศึกษาให้สังคมพึงพอใจได้ทั้งหมด การอนุญาตให้มีโรงเรียนเอกชนจึงเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาที่แข่งขันกันในเชิงธุรกิจด้วยเรื่องคุณภาพ อีกด้านหนึ่ง คือช่วยให้ผู้เรียนในบางพื้นที่ได้เข้าถึงการศึกษาแบบไม่ต้องเดินทางไกล
.
ข้อมูล ณ วันที่ 10 ส.ค. 2564 ประเทศไทยมีโรงเรียนเอกชนในระบบ 3,986 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนสามัญศึกษา 3,760 แห่ง โรงเรียนนานาชาติ 226 แห่ง รวมนักเรียน 63,275 คน หากแบ่งตามขนาดโรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 2,065 แห่ง ขนาดกลาง 820 แห่ง ขนาดใหญ่ 773 แห่ง และขนาดใหญ่พิเศษ 328 แห่ง
.
ด้านการบริหารจัดการ แบ่งเป็น “โรงเรียนที่รับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนจากรัฐบาล” 100% , 85% , 70% และ “ไม่รับเงินอุดหนุน” คือ ประเภทโรงเรียนนานาชาติ และโรงเรียนสามัญศึกษาที่สามารถบริหารจัดการตนเองได้ด้วยเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาจากผู้ปกครอง ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2564 มีโรงเรียนที่ไม่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล 225 แห่ง
.
ส่วนโรงเรียนที่รับเงินอุดหนุน 100% คือ โรงเรียนเอกชนการกุศล โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาหรือมูลนิธิ มีทั้งหมด 633 แห่ง ขณะที่โรงเรียนประเภทรับเงินอุดหนุน 70-85% มีอยู่ 2,925 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขณะนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากผู้ปกครองเพิ่มเติมในสัดส่วน 15-30%
.
ถ้าผู้ปกครองค้างจ่าย นั่นหมายถึง “ผลกระทบต่อเงินเดือนครู”
.
.
‘เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน’ บอกว่า ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 10 ส.ค. 2564 มีโรงเรียนเอกชนขอเลิกกิจการไปแล้ว 25 แห่ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 18 แห่ง, ขนาดกลาง 2 แห่ง, ขนาดใหญ่ 1 แห่ง, โรงเรียนนานาชาติขนาดเล็ก 1 แห่ง และโรงเรียนที่ไม่มีนักเรียน 3 แห่ง
.
ขณะที่ปีการศึกษา 2563 หลังการระบาดโควิด-19 มีโรงเรียนเอกชนขอเลิกกิจการในจำนวนใกล้เคียงกัน และคาดการณ์ว่าหลังจบปีการศึกษา 2564 จะมีโรงเรียนเอกชนขอเลิกกิจการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าเท่าตัว โดยจะชัดเจนขึ้น หลังจบภาคเรียนที่ 1 ช่วงตุลาคมนี้
.
ในฐานะคนกลางที่ต้องดูแลผู้เรียนและผู้ปกครอง ซึ่งได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเรียนรู้ แต่อีกด้านก็ต้องดูแลโรงเรียนให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ เขาได้พยายามหาทางออกให้โรงเรียนเอกชนยังอยู่รอด ด้วยการผลักดันมาตรการยกเว้นภาษี, ปลดล็อกหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู, จัดตั้งกองทุนหมุนเวียน และสินเชื่อเพื่อการศึกษา
.
แต่มาตรการทั้งหมดที่กล่าวมา ยังไม่สามารถผลักดันให้มีผลปฏิบัติในทางนโยบาย เพราะต้องอาศัยการตัดสินใจในระดับรัฐบาล
.
.
  อ่านต่อ https://theactive.net/news/20210816-5/ 
.
.
#โรงเรียนเอกชน #การศึกษา #เลิกกิจการ #ครูตกงาน #โควิด19 #COVID19 #LEARNING #TheActive

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่