ดาโต๊ะ มูห์ยิดดิน ยัสซิน ลาออกจากตำแหน่งไปในวันนี้หลังจากการกดดันจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะทั้งจากอันวาร์ อิบราฮีม หรือแม้แต่นาจิบ ราซะก์
รวมไปถึงสำนักพระราชวังที่ได้ออกมาตำหนิความผิดพลาดของรัฐบาล และสุดท้าย มูห์ยิดดินเลือกออกไปเพื่อแสดงความรับผิดชอบจากสิ่งที่เกิดขึ้น
แม้สิ่งที่มูห์ยิดดิน ยัสซิน ทำ จะทำให้หลายๆ ฝ่าย (รวมถึงคนบางกลุ่มในประเทศเพื่อนบ้าน) ออกมาชื่นชมว่ามีความรับผิดชอบหลังจากเกิดวิกฤติขึ้น
แต่แท้จริงแล้ว อาจจะมีอะไรมากกว่านั้น มากกว่าแค่เรื่องการจัดการโรคระบาดที่มีความผิดพลาด ซึ่งเขาได้ทำหน้าที่ควบคุบสถานการณ์อยู่ 1 ปีกว่าๆ
ใช่แล้ว เราจะเท้าความไปถึงช่วงที่มหาธีร์ โมฮาหมัด ลาออกใหม่ๆ เนื่องจากถูกกดดันจากพรรคร่วมรัฐบาลในเวลานั้น โดยเฉพาะจากอันวาร์ อิบราฮีม
มหาธีร์เคยให้คำมั่นว่าจะให้อันวาร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อครบ 2 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป มหาธีร์กลับแสดงท่าทีว่าไม่ต้องการให้อันวาร์เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ผลของวิกฤตทางการเมืองในตอนนั้น ทำให้มหาธีร์ต้องหลุดจากพรรคที่ตัวเองก่อตั้งมาเช่นกัน ก่อนที่จะเป็นมูห์ยิดดินที่มา Take Over พรรคแทน
ขณะที่ลูกชายของเขา มุกริซ ก็ถูกอัปเปหิออกจากทั้งพรรคและตำแหน่งมุขมนตรีของรัฐเกดะห์ และส่งไม้ต่อให้พรรค PAS เข้ามาบริหารรัฐเกดะห์ต่อ
สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตก็คือ กลุ่ม PH ของอันวาร์ มีบทบาทไม่ใช่น้อยในการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อนโยบายของมูห์ยิดดินในช่วงเวลาที่ผ่านมา
และการแสดงท่าทีต่างๆ รวมไปถึงการสนับสนุนสำนักพระราชวัง เมื่อมองดูเสียงในเดวัน ระก์ยัต (เทียบได้กับสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาล่างของไทย)
ตอนนี้ พรรคฝ่ายค้านถือเสียงสูงกว่า มีโอกาสสูงที่อันวาร์ อิบราฮีม อาจจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเพราะมีเสียงข้างมากในตอนนี้อยู่ถึง 120 เสียง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ดราม่าการเมืองอาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งหากอันวาร์ อิบราฮีม เป็นนายกรัฐมนตรี และแน่นอน อาจจะมาจากมหาธีร์เอง
ภาพลักษณ์ของอันวาร์ในสายตากลุ่มเชื้อชาตินิยมอย่างพรรค Bersatu, Umno หรือแม้แต่ Pejuang ของมหาธีร์ ไม่ต่างกับคนขายชาติสักเท่าไรนัก
อันวาร์ นอกจากจะคบหากับบรรดานักการเมืองเชื้อสายจีนและอินเดีย เขายังมีสายสัมพันธ์กับกลุ่ม NGO และนักสิทธิทั้งในและนอกประเทศอีกมาก
หลายๆ เรื่องทั้งเรื่องส่วนตัวของเขา เรื่องความคิดของเขา ทำให้นักการเมืองสายเชื้อชาตินิยม โดยเฉพาะมหาธีร์ ไม่เคยวางใจและไว้ใจเขาเลยสักนิด
มีหลายคนคิดว่า มหาธีร์ ไม่อยากให้อันวาร์เป็นนายกฯ เพราะกลัวจะถูกเช็คบิลที่เคยยัดข้อหาให้เขา แม้เหตุผลอาจจะเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลหลัก
หนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้มหาธีร์ไม่ไว้ใจอันวาร์ก็คือ อันวาร์ อาจจะทำให้มาเลเซียที่ใกล้จะอยู่มาถึง 65 ปี เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงจากที่เคยเป็นอยู่
เพียงแต่ในช่วงปี 2018-2020 ซึ่งอันวาร์เป็นพันธมิตรของรัฐบาลอยู่นั้น มหาธีร์อยู่ในฐานะนายกรัฐมนตรี และอยู่ในฐานะผู้ควบคุมนโยบายรัฐทั้งหมด
ทำให้อันวาร์และพรรคร่วมรัฐบาล ยังทำอะไรตามใจไม่ได้มาก ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องกดดันมหาธีร์จนเขาต้องลาออกจากตำแหน่ง
ความจริงแล้ว สาเหตุที่พรรคของทั้งคู่ต้องมาเป็นพันธมิตรกัน ก็เพื่อจะโค่นล้มนาจิบ ราซะก์ เท่านั้น ซึ่งหลังจากการเลือกตั้งผ่านไป ทุกอย่างก็ได้จบลง
ณ เวลานี้ ฝ่ายค้านกลับมามีที่นั่งในสภาสูงถึง 120 ต่อ 100 (หรืออาจจะแค่ 50 ในตอนนี้) ต่อไปจะเสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายค้านเอง
หากเป็นมหาธีร์ มันก็คงจะดูแปลกๆ กว่าเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เพราะเสียงในสภาของพรรค Pejuang น้อยมาก แค่ 4 ที่นั่งเท่านั้นจาก 120 เสียงในสภา
แต่ถึงกระนั้น หากมหาธีร์เป็นนายกฯ ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ก็อาจจะสงบลงได้บ้าง แม้บางครั้งอาจจะต้องเป็นมิตรบ้าง หรือศัตรูบ้าง
แต่หากอันวาร์ได้เป็นนายกฯ มั่นใจได้เลยว่า หนึ่งในคนที่ค้านสุดตัว ไม่เพียงแค่นาจิบหรือคนของพรรค Umno แต่อาจจะเป็นตัวมหาธีร์ด้วยเช่นกัน
ถึงวันนั้น หากทั้ง Umno, Bersatu และ Pejuang จับมือกันเป็นฝ่ายค้าน คงจะเป็นเรื่องที่แปลก แต่ไม่ถึงกับน่าตกใจ เพราะอุดมการณ์คล้ายกันอยู่แล้ว
เผือกร้อนที่มูห์ยิดดินทิ้งไว้
รวมไปถึงสำนักพระราชวังที่ได้ออกมาตำหนิความผิดพลาดของรัฐบาล และสุดท้าย มูห์ยิดดินเลือกออกไปเพื่อแสดงความรับผิดชอบจากสิ่งที่เกิดขึ้น
แม้สิ่งที่มูห์ยิดดิน ยัสซิน ทำ จะทำให้หลายๆ ฝ่าย (รวมถึงคนบางกลุ่มในประเทศเพื่อนบ้าน) ออกมาชื่นชมว่ามีความรับผิดชอบหลังจากเกิดวิกฤติขึ้น
แต่แท้จริงแล้ว อาจจะมีอะไรมากกว่านั้น มากกว่าแค่เรื่องการจัดการโรคระบาดที่มีความผิดพลาด ซึ่งเขาได้ทำหน้าที่ควบคุบสถานการณ์อยู่ 1 ปีกว่าๆ
ใช่แล้ว เราจะเท้าความไปถึงช่วงที่มหาธีร์ โมฮาหมัด ลาออกใหม่ๆ เนื่องจากถูกกดดันจากพรรคร่วมรัฐบาลในเวลานั้น โดยเฉพาะจากอันวาร์ อิบราฮีม
มหาธีร์เคยให้คำมั่นว่าจะให้อันวาร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อครบ 2 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป มหาธีร์กลับแสดงท่าทีว่าไม่ต้องการให้อันวาร์เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ผลของวิกฤตทางการเมืองในตอนนั้น ทำให้มหาธีร์ต้องหลุดจากพรรคที่ตัวเองก่อตั้งมาเช่นกัน ก่อนที่จะเป็นมูห์ยิดดินที่มา Take Over พรรคแทน
ขณะที่ลูกชายของเขา มุกริซ ก็ถูกอัปเปหิออกจากทั้งพรรคและตำแหน่งมุขมนตรีของรัฐเกดะห์ และส่งไม้ต่อให้พรรค PAS เข้ามาบริหารรัฐเกดะห์ต่อ
สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตก็คือ กลุ่ม PH ของอันวาร์ มีบทบาทไม่ใช่น้อยในการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อนโยบายของมูห์ยิดดินในช่วงเวลาที่ผ่านมา
และการแสดงท่าทีต่างๆ รวมไปถึงการสนับสนุนสำนักพระราชวัง เมื่อมองดูเสียงในเดวัน ระก์ยัต (เทียบได้กับสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาล่างของไทย)
ตอนนี้ พรรคฝ่ายค้านถือเสียงสูงกว่า มีโอกาสสูงที่อันวาร์ อิบราฮีม อาจจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเพราะมีเสียงข้างมากในตอนนี้อยู่ถึง 120 เสียง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ดราม่าการเมืองอาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งหากอันวาร์ อิบราฮีม เป็นนายกรัฐมนตรี และแน่นอน อาจจะมาจากมหาธีร์เอง
ภาพลักษณ์ของอันวาร์ในสายตากลุ่มเชื้อชาตินิยมอย่างพรรค Bersatu, Umno หรือแม้แต่ Pejuang ของมหาธีร์ ไม่ต่างกับคนขายชาติสักเท่าไรนัก
อันวาร์ นอกจากจะคบหากับบรรดานักการเมืองเชื้อสายจีนและอินเดีย เขายังมีสายสัมพันธ์กับกลุ่ม NGO และนักสิทธิทั้งในและนอกประเทศอีกมาก
หลายๆ เรื่องทั้งเรื่องส่วนตัวของเขา เรื่องความคิดของเขา ทำให้นักการเมืองสายเชื้อชาตินิยม โดยเฉพาะมหาธีร์ ไม่เคยวางใจและไว้ใจเขาเลยสักนิด
มีหลายคนคิดว่า มหาธีร์ ไม่อยากให้อันวาร์เป็นนายกฯ เพราะกลัวจะถูกเช็คบิลที่เคยยัดข้อหาให้เขา แม้เหตุผลอาจจะเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลหลัก
หนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้มหาธีร์ไม่ไว้ใจอันวาร์ก็คือ อันวาร์ อาจจะทำให้มาเลเซียที่ใกล้จะอยู่มาถึง 65 ปี เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงจากที่เคยเป็นอยู่
เพียงแต่ในช่วงปี 2018-2020 ซึ่งอันวาร์เป็นพันธมิตรของรัฐบาลอยู่นั้น มหาธีร์อยู่ในฐานะนายกรัฐมนตรี และอยู่ในฐานะผู้ควบคุมนโยบายรัฐทั้งหมด
ทำให้อันวาร์และพรรคร่วมรัฐบาล ยังทำอะไรตามใจไม่ได้มาก ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องกดดันมหาธีร์จนเขาต้องลาออกจากตำแหน่ง
ความจริงแล้ว สาเหตุที่พรรคของทั้งคู่ต้องมาเป็นพันธมิตรกัน ก็เพื่อจะโค่นล้มนาจิบ ราซะก์ เท่านั้น ซึ่งหลังจากการเลือกตั้งผ่านไป ทุกอย่างก็ได้จบลง
ณ เวลานี้ ฝ่ายค้านกลับมามีที่นั่งในสภาสูงถึง 120 ต่อ 100 (หรืออาจจะแค่ 50 ในตอนนี้) ต่อไปจะเสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายค้านเอง
หากเป็นมหาธีร์ มันก็คงจะดูแปลกๆ กว่าเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เพราะเสียงในสภาของพรรค Pejuang น้อยมาก แค่ 4 ที่นั่งเท่านั้นจาก 120 เสียงในสภา
แต่ถึงกระนั้น หากมหาธีร์เป็นนายกฯ ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ก็อาจจะสงบลงได้บ้าง แม้บางครั้งอาจจะต้องเป็นมิตรบ้าง หรือศัตรูบ้าง
แต่หากอันวาร์ได้เป็นนายกฯ มั่นใจได้เลยว่า หนึ่งในคนที่ค้านสุดตัว ไม่เพียงแค่นาจิบหรือคนของพรรค Umno แต่อาจจะเป็นตัวมหาธีร์ด้วยเช่นกัน
ถึงวันนั้น หากทั้ง Umno, Bersatu และ Pejuang จับมือกันเป็นฝ่ายค้าน คงจะเป็นเรื่องที่แปลก แต่ไม่ถึงกับน่าตกใจ เพราะอุดมการณ์คล้ายกันอยู่แล้ว