เอาล่ะครับ ตอนนี้ผมจะมาลองวิเคราะห์ให้ฟังในมุมมองของผมเอง หลังจากที่ผมคิดทบทวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนมานาน ผมว่าเรื่องแบบนี้มันมีเหตุผลนะแต่มันใกล้ตัวเกินไปจนเราไม่ทันสังเกต จริงๆเราเตะบอลเก่งนะครับ ไม่ใช่ไม่เก่ง แต่ส่วนมากเป็นโต๊ะเล็กเสียมากกว่า บ่อยครั้งเรามักจะเห็นนักฟุตซอลเก่งๆย้ายไปเล่นสนามใหญ่ แต่เราไม่เคยเห็นนักบอลสนามใหญ่ย้ายมาเล่นสนามเล็กเลย ลองนึกถึงตอนวัยเด็กสิ พอเราเลิกเรียนมัธยม ถ้าไม่โดดยาง เล่นตะกร้อ ก็จะเล่นเตะบอลกันในสนามเล็กๆหรือใต้อาคารร่มนี่แหละ (ทั้งคนที่ชอบเล่นบอลหรือไม่เล่นบอลก็จะไปกระจุกรวมกัน) คือเล่นอะไรก็ได้ในร่มน่ะ น้อยมากที่เราจะเล่นกันกลางแจ้ง ไม่ต้องพูดถึงการเตะบอลสนามใหญ่ สาเหตุเพราะ
อากาศร้อนจัดมาก แดดแยงตา เหงื่อออกง่าย นอกจากไม่สนุกแล้วยังพาลหงุดหงิด จึงไม่รู้สึกว่าจะต้องออกไปวิ่งกลางแดดให้เหนื่อยกว่าเดิม นอกจากจะมีกีฬาสีในรร.ที่นานๆทีครูจะจัดขึ้นมาให้เราได้เตะสัก 1-2 ครั้งต่อปี ทีนี้ล่ะคุณเห็นมั้ยว่าขนาดแค่เตะสนามใหญ่ ค่าเฉลี่ยหรือชั่วโมงบินในการเตะบอลของเด็กไทยยังน้อยมากๆเลย(ถ้ามีการเก็บสถิติจะเห็นได้ชัดเจนขึ้น) ไม่ต้องพูดถึงระดับมืออาชีพ คำถามตามมาคือหลายคนจึงสงสัยว่าเหตุใดเราถึงยังไม่เก่งบอลสักที ทั้งๆที่โต๊ะเล็กก็อยู่ในระดับต้นๆของโลกมาโดยตลอด หรือกีฬาบางชนิดที่คนไทยไม่นิยมเลย เช่น ฮอคกี้ ก็ยังเคยไประดับโลกมาแล้ว ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับกีฬายอดนิยมอย่างฟุตบอล
https://iceagealive.com/%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%81/
ผมไม่ได้ศึกษาวิจัยอะไร แต่ลองไปขุดๆมาดู จากข้อมูลร.ร.ทั้งหมดในประเทศไทยจำนวนกว่า 46,000 แห่งทั่วประเทศ
https://www.techtalkthai.com/data-go-th-released-thai-schools-open-government-data/
ซึ่งเชื่อมากกว่า 90% ไม่ได้มาตรฐานแล้ว วันปกติแดดแรงจนร้อนจัด คงไม่มีใครอยากจะไปเดินเล่นแน่นอน กลางวันแสกๆสนามส่วนใหญ่ก็จะปล่อยว่างๆไว้อย่างนั้น
สมมติหากผมขอยึดModelความสำเร็จของฟุตซอลเป็นหลัก โดยผมจะขอตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่า,
ร
ะบบที่จะคัดกรองนักบอลเก่งๆได้นั้น รากฐานต้องเริ่มต้นมาจากสนามใหญ่ในโรงเรียนก่อน
ฉะนั้น เท่ากับทุกโรงเรียนจะต้องมีสนามใหญ่ที่อยู่ในที่ร่ม อากาศเย็นสบาย หรืออย่างน้อยต้องมีโดม,หลังคา,เต้นหรืออุปกรณ์บางอย่างครอบคลุม ซึ่งหากตัดchoiceในเรื่องคุณภาพของสนามแต่ละแห่ง เช่น หญ้าไม่ได้มาตรฐานแล้วล่ะก็ เราจะมีสนามฟุตบอลที่เด็กๆสามารถมาประลองฝีเท้าได้ตลอดเวลา 24 ชม.ถึง 46,000 แห่งเลยทีเดียว มากกว่าสนามในลีกรองอย่าง t1,t2, รวมกันเสียอีก ไม่ต้องกลัวอากาศร้อนจนเกินไป ทีนี้เราอาจจะได้เห็นคนส่วนใหญ่แห่กันไปเล่นสนามใหญ่แทนที่สนามเล็กๆอย่างฟุตซอลทันที ระบบนี้จะผลิตนักบอลขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ(แน่นอนว่านี่เป็นเพียงทฤษฎี เรื่องจริงอาจไม่ต้องใช้สนามมากถึงขนาดนี้)
ย้อนกลับมาอีกที ใช่ครับ! คุณเข้าใจถูกแล้ว เหตุผลที่เราไม่เก่งเรื่องฟุตบอลสักทีก็เพราะอากาศร้อนจัดนี่แหละ ที่ทำให้เราเล่นสนามใหญ่ไม่ได้! เรื่องเล็กน้อยขี้ปะติ๋วนี้เองแต่ปัญหาใหญ่นัก ยิ่งเราออกไปวิ่งเล่น เหงื่อแตกเข้าไปใหญ่ โอ้ยๆ ร้อน_บหาย ไม่ต้องพูดถึงว่าจะให้ไปวิ่งครบ 90 นาทีหรอก กีฬาอื่นๆที่เรากวาดกินเรียบเพราะมันฝึกกันในร่ม อากาศเย็นสบาย หลายคนคงรู้หรือแม้แต่ตัวผมเองเพราะโรงเรียนผมอยู่เเถวภาคใต้(ซึ่งขออุบไว้ก่อนไม่บอกใคร) เวลาเตะบอลพักเที่ยงจะไม่ใครไปนั่งตากร้อนกลางแดดเลยสักคน ส่วนมากจะหลบร้อนใต้ร่มไม้หรือไม่ก็มานั่งหลบอยู่หลังโกล คุยโน่นคุยนี่ตามประสาวัยรุ่นไป วงจรชีวิตแบบนี้วนไปเรื่อยๆตั้งแต่ม.1-ม.6 หลักฐานที่พิสูจน์ทฤษฎีของผมได้อีกอย่างคือลีกอาชีพปัจจุบันก็ยังต้องปรับเวลาในการเเข่งขันให้น้อยกว่าบ่าย 3 ลงมา เพราะเห็นว่าอากาศร้อนเกินไป นักบอลไม่มีกะจิตกะใจจะเเข่ง ดังนั้นเอง ต่อให้นักบอลยุโรปมาเเข่งขันในอากาศบ้านเรา ก็คงจะเเสดงฝีเท้าได้ไม่เต็มที่เหมือนที่เขาแข่งในสภาพอากาศของตัวเอง บางคนอาจเเย้งว่าเเล้วประเทศแถวบราซิลล่ะ? จริงๆแล้วบราซิลเป็นเมืองร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดจะอยู่ที่ 23-30 องศาเท่านั้น ต่างจากไทยที่อุณหภูมิจะอยู่ที่ 19-38 องศา (หรือร้อนอบอ้าวสุดๆก็จะสูงถึง 40 องศา)
https://travel.mthai.com/uncategorized/85540.html หรือแม้แต่ในตะวันออกกลางอย่างอิหร่าน ทางตอนเหนือบางฤดูกาลยังมีหิมะตก จึงไม่ถือว่าร้อนจัดเสียทีเดียว จะมีแต่ประเทศที่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรนี่แหละที่ร้อนจัด เช่น ประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลางอย่างฮอนดูรัส ปานามาก็ไม่ได้เทพฟุตบอลมากนัก ยกเว้นประเทศในแอฟริกาที่มีรูปร่างแข็งแกร่งจึงพอชดเชยในจุดด้อยตรงนี้ได้
*สรุปว่าสาเหตุที่เเท้จริงที่เราไม่เก่งบอลเสียที ปัญหาหลักมิใช่อยู่ที่ทักษะ ตรงกันข้าม นักบอลไทยมีทักษะฝีเท้าค่อนข้างดี แต่เพราะธรรมชาติอากาศบ้านเรามันร้อนจัด ไม่เอื้อต่อการเตะสนามใหญ่ บรรยากาศสำคัญมากๆ เมื่อความถี่ในการเล่นลดลง จะส่งผลกระทบต่อประสบการณ์หรือชั่วโมงบินของเด็กในเวทีสนามใหญ่ ทักษะพื้นฐานในสนามใหญ่จึงหายไปโดยอัตโนมัติ อีกทั้ง ยังต้องใช้เเรงวิ่งมากกว่าปกติจึงเหนื่อยมาก ตรงกันข้ามกับประเทศที่มีอากาศหนาว การออกมาวิ่งข้างนอกจะรู้สึกสบาย ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานไปในตัวและด้วยสภาพร่างกายของฝรั่งที่มีความหนาใหญ่เเล้ว ก็ยิ่งเข้าทาง ต่างจากนักบอลไทยที่มีรูปร่างเล็ก ธรรมชาติเอื้อให้เกิดการกักเก็บพลังงาน(Save Energy) มากกว่า แรงกระตุ้นให้อยากเตะในสนามใหญ่จึงลดน้อยลงไปอีก
ดังนั้น หากเราต้องการยกระดับฝีเท้านักเตะในเบื้องต้น เราต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการเตะบอลสนามใหญ่ให้มากที่สุดก่อน โจทย์คือ
ทำอย่างไรที่จะลดสภาพอากาศอันร้อนจัดในสนามใหญ่บ้านเราให้ได้เหมือนกับกีฬาในร่ม ดังนั้น สนามกีฬามีมาตรฐานอย่างเดียวไม่พอ บรรยากาศต้องร่มรื่นเย็นสบายชวนให้คนทั่วไปเข้ามาเล่นได้ตลอดเวลาอีกด้วย หรืออย่างน้อยก็ไม่ควรให้อากาศร้อนจัดเกินไปจนเรารู้สึกเสียสมาธิในการเล่น ถ้าสมาคมฯแก้ปัญหาตรงนี้ได้สำเร็จ เชื่อว่าฟุตบอลไทยจะพัฒนามากขึ้นหลายเท่าเเน่นอน
ในที่สุด ผมก็ค้นพบความจริงว่าเหตุใดนักบอลไทยเราถึงไม่เก่งสักที
https://iceagealive.com/%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%81/
ผมไม่ได้ศึกษาวิจัยอะไร แต่ลองไปขุดๆมาดู จากข้อมูลร.ร.ทั้งหมดในประเทศไทยจำนวนกว่า 46,000 แห่งทั่วประเทศ https://www.techtalkthai.com/data-go-th-released-thai-schools-open-government-data/
ซึ่งเชื่อมากกว่า 90% ไม่ได้มาตรฐานแล้ว วันปกติแดดแรงจนร้อนจัด คงไม่มีใครอยากจะไปเดินเล่นแน่นอน กลางวันแสกๆสนามส่วนใหญ่ก็จะปล่อยว่างๆไว้อย่างนั้น
สมมติหากผมขอยึดModelความสำเร็จของฟุตซอลเป็นหลัก โดยผมจะขอตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่า,
ระบบที่จะคัดกรองนักบอลเก่งๆได้นั้น รากฐานต้องเริ่มต้นมาจากสนามใหญ่ในโรงเรียนก่อน
ฉะนั้น เท่ากับทุกโรงเรียนจะต้องมีสนามใหญ่ที่อยู่ในที่ร่ม อากาศเย็นสบาย หรืออย่างน้อยต้องมีโดม,หลังคา,เต้นหรืออุปกรณ์บางอย่างครอบคลุม ซึ่งหากตัดchoiceในเรื่องคุณภาพของสนามแต่ละแห่ง เช่น หญ้าไม่ได้มาตรฐานแล้วล่ะก็ เราจะมีสนามฟุตบอลที่เด็กๆสามารถมาประลองฝีเท้าได้ตลอดเวลา 24 ชม.ถึง 46,000 แห่งเลยทีเดียว มากกว่าสนามในลีกรองอย่าง t1,t2, รวมกันเสียอีก ไม่ต้องกลัวอากาศร้อนจนเกินไป ทีนี้เราอาจจะได้เห็นคนส่วนใหญ่แห่กันไปเล่นสนามใหญ่แทนที่สนามเล็กๆอย่างฟุตซอลทันที ระบบนี้จะผลิตนักบอลขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ(แน่นอนว่านี่เป็นเพียงทฤษฎี เรื่องจริงอาจไม่ต้องใช้สนามมากถึงขนาดนี้)
ย้อนกลับมาอีกที ใช่ครับ! คุณเข้าใจถูกแล้ว เหตุผลที่เราไม่เก่งเรื่องฟุตบอลสักทีก็เพราะอากาศร้อนจัดนี่แหละ ที่ทำให้เราเล่นสนามใหญ่ไม่ได้! เรื่องเล็กน้อยขี้ปะติ๋วนี้เองแต่ปัญหาใหญ่นัก ยิ่งเราออกไปวิ่งเล่น เหงื่อแตกเข้าไปใหญ่ โอ้ยๆ ร้อน_บหาย ไม่ต้องพูดถึงว่าจะให้ไปวิ่งครบ 90 นาทีหรอก กีฬาอื่นๆที่เรากวาดกินเรียบเพราะมันฝึกกันในร่ม อากาศเย็นสบาย หลายคนคงรู้หรือแม้แต่ตัวผมเองเพราะโรงเรียนผมอยู่เเถวภาคใต้(ซึ่งขออุบไว้ก่อนไม่บอกใคร) เวลาเตะบอลพักเที่ยงจะไม่ใครไปนั่งตากร้อนกลางแดดเลยสักคน ส่วนมากจะหลบร้อนใต้ร่มไม้หรือไม่ก็มานั่งหลบอยู่หลังโกล คุยโน่นคุยนี่ตามประสาวัยรุ่นไป วงจรชีวิตแบบนี้วนไปเรื่อยๆตั้งแต่ม.1-ม.6 หลักฐานที่พิสูจน์ทฤษฎีของผมได้อีกอย่างคือลีกอาชีพปัจจุบันก็ยังต้องปรับเวลาในการเเข่งขันให้น้อยกว่าบ่าย 3 ลงมา เพราะเห็นว่าอากาศร้อนเกินไป นักบอลไม่มีกะจิตกะใจจะเเข่ง ดังนั้นเอง ต่อให้นักบอลยุโรปมาเเข่งขันในอากาศบ้านเรา ก็คงจะเเสดงฝีเท้าได้ไม่เต็มที่เหมือนที่เขาแข่งในสภาพอากาศของตัวเอง บางคนอาจเเย้งว่าเเล้วประเทศแถวบราซิลล่ะ? จริงๆแล้วบราซิลเป็นเมืองร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดจะอยู่ที่ 23-30 องศาเท่านั้น ต่างจากไทยที่อุณหภูมิจะอยู่ที่ 19-38 องศา (หรือร้อนอบอ้าวสุดๆก็จะสูงถึง 40 องศา)
https://travel.mthai.com/uncategorized/85540.html หรือแม้แต่ในตะวันออกกลางอย่างอิหร่าน ทางตอนเหนือบางฤดูกาลยังมีหิมะตก จึงไม่ถือว่าร้อนจัดเสียทีเดียว จะมีแต่ประเทศที่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรนี่แหละที่ร้อนจัด เช่น ประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลางอย่างฮอนดูรัส ปานามาก็ไม่ได้เทพฟุตบอลมากนัก ยกเว้นประเทศในแอฟริกาที่มีรูปร่างแข็งแกร่งจึงพอชดเชยในจุดด้อยตรงนี้ได้
*สรุปว่าสาเหตุที่เเท้จริงที่เราไม่เก่งบอลเสียที ปัญหาหลักมิใช่อยู่ที่ทักษะ ตรงกันข้าม นักบอลไทยมีทักษะฝีเท้าค่อนข้างดี แต่เพราะธรรมชาติอากาศบ้านเรามันร้อนจัด ไม่เอื้อต่อการเตะสนามใหญ่ บรรยากาศสำคัญมากๆ เมื่อความถี่ในการเล่นลดลง จะส่งผลกระทบต่อประสบการณ์หรือชั่วโมงบินของเด็กในเวทีสนามใหญ่ ทักษะพื้นฐานในสนามใหญ่จึงหายไปโดยอัตโนมัติ อีกทั้ง ยังต้องใช้เเรงวิ่งมากกว่าปกติจึงเหนื่อยมาก ตรงกันข้ามกับประเทศที่มีอากาศหนาว การออกมาวิ่งข้างนอกจะรู้สึกสบาย ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานไปในตัวและด้วยสภาพร่างกายของฝรั่งที่มีความหนาใหญ่เเล้ว ก็ยิ่งเข้าทาง ต่างจากนักบอลไทยที่มีรูปร่างเล็ก ธรรมชาติเอื้อให้เกิดการกักเก็บพลังงาน(Save Energy) มากกว่า แรงกระตุ้นให้อยากเตะในสนามใหญ่จึงลดน้อยลงไปอีก
ดังนั้น หากเราต้องการยกระดับฝีเท้านักเตะในเบื้องต้น เราต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการเตะบอลสนามใหญ่ให้มากที่สุดก่อน โจทย์คือทำอย่างไรที่จะลดสภาพอากาศอันร้อนจัดในสนามใหญ่บ้านเราให้ได้เหมือนกับกีฬาในร่ม ดังนั้น สนามกีฬามีมาตรฐานอย่างเดียวไม่พอ บรรยากาศต้องร่มรื่นเย็นสบายชวนให้คนทั่วไปเข้ามาเล่นได้ตลอดเวลาอีกด้วย หรืออย่างน้อยก็ไม่ควรให้อากาศร้อนจัดเกินไปจนเรารู้สึกเสียสมาธิในการเล่น ถ้าสมาคมฯแก้ปัญหาตรงนี้ได้สำเร็จ เชื่อว่าฟุตบอลไทยจะพัฒนามากขึ้นหลายเท่าเเน่นอน