“ลาว” ยันไม่จริงฉีดวัคซีนให้คนไทยเก็บเห็ด แนะตรวจสอบให้ดีก่อนเผยแพร่ข่าว
เผยแพร่: 4 ส.ค. 2564 00:30 ปรับปรุง: 4 ส.ค. 2564 00:30 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว ปฏิเสธข่าวฉีดวัคซีนให้ 7 คนไทยเก็บเห็ด ยันไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด แนะตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนเผยแพร่
วันนี้ (3 ส.ค. 2564) จากกรณีที่สื่อไทยรายงานว่า 7 คนไทย ออกหาเห็ดแล้วหลงข้ามไปยังดินแดนลาว ได้ถูกจับและกักตัว 14 วัน พร้อมกับได้รับการฉีดวัคซีน mRNA นั้น
ล่าสุด สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว เผยแพร่ข่าวกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางเข้ามาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แขวงจำปาสัก โดยตามข้อมูลที่สังคมออนไลน์และบางสำนักข่าวได้มีการรายงานว่า มี 7 คนไทย อยู่อุบลราชธานี ถูกนำไปกักตัวตามมาตรการป้องกันและสกัดการระบาดโควิด-19 ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเจรจากับฝ่ายไทยเพื่อส่งกลับประเทศ
ส่วนข่าวที่หลายสื่อหลายสำนักของไทย ที่ระบุว่า พลเมืองไทยได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งข่าวนี้ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด ขอให้ได้รับทราบตามนี้ด้วย
ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า การบริโภคสื่อสังคมออนไลน์ปัจจุบันนี้ ขอให้ตรวจสอบที่มาของข่าวสารอย่างชัดเจนก่อนจะกดเผยแพร่ออกไป
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000076093
ทำไมสื่อไทยเฟคบ่อยจังคะ...
💚มาลาริน/สื่อไทยทำไมต้องปั่นข่าวเฟค.."ลาว” ยันไม่จริงฉีดวัคซีนให้คนไทยเก็บเห็ด แนะตรวจสอบให้ดีก่อนเผยแพร่ข่าว
เผยแพร่: 4 ส.ค. 2564 00:30 ปรับปรุง: 4 ส.ค. 2564 00:30 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว ปฏิเสธข่าวฉีดวัคซีนให้ 7 คนไทยเก็บเห็ด ยันไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด แนะตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนเผยแพร่
วันนี้ (3 ส.ค. 2564) จากกรณีที่สื่อไทยรายงานว่า 7 คนไทย ออกหาเห็ดแล้วหลงข้ามไปยังดินแดนลาว ได้ถูกจับและกักตัว 14 วัน พร้อมกับได้รับการฉีดวัคซีน mRNA นั้น
ล่าสุด สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว เผยแพร่ข่าวกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางเข้ามาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แขวงจำปาสัก โดยตามข้อมูลที่สังคมออนไลน์และบางสำนักข่าวได้มีการรายงานว่า มี 7 คนไทย อยู่อุบลราชธานี ถูกนำไปกักตัวตามมาตรการป้องกันและสกัดการระบาดโควิด-19 ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเจรจากับฝ่ายไทยเพื่อส่งกลับประเทศ
ส่วนข่าวที่หลายสื่อหลายสำนักของไทย ที่ระบุว่า พลเมืองไทยได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งข่าวนี้ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด ขอให้ได้รับทราบตามนี้ด้วย
ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า การบริโภคสื่อสังคมออนไลน์ปัจจุบันนี้ ขอให้ตรวจสอบที่มาของข่าวสารอย่างชัดเจนก่อนจะกดเผยแพร่ออกไป
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000076093
ทำไมสื่อไทยเฟคบ่อยจังคะ...