พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ หากผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ได้รับการคุ้มครองจากพระปริตรต่าง ๆ เสมือนอยู่ท่ามกลางวงล้อมแห่งพระบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธชินเจ้า พระธรรมเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย หากมีเงื่อนไขสักเล็กน้อยคือ เราท่านทั้งหลายต้องชำระร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยการถือศีล ๕ เป็นนิจ ชินบัญชรคาถาจึงจะสำเร็จฤทธิ์ได้ตามประสงค์ หากผิดในศีล ผิดในธรรม สวดบ่นเป็นร้อยหนพันหน ก็ได้เพียงแค่เร่งบุญเก่ามาใช้เท่านั้น ไม่สามารถได้อานิสงส์ใหม่แต่อย่างใดครับ
สามารถรับชมรับฟังบทสวด พร้อมคำแปลสำหรับสวดตามได้ที่ลิงค์
ส่วนตัวผมจะไม่สวดบท ปุตตะกาโมฯ นะครับ เพราะเป็นบทที่ต่อเติมงอกเงยขึ้นในยุคหลังที่คนพร่ำสวดกันแล้ว (สมัยก่อนไม่เคยกล่าวถึง) และเมื่อสืบค้น ไม่ใช่บทประจำตัวขรัวโตแต่อย่างใด มีผู้เขียนอุปโลกน์ขึ้นมา และให้เป็นบทรำลึกถึงขรัวโต ซึ่งในความหมายอันแท้จริง ก็ไม่ได้ไปในทิศทางนั้น เช่น ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง แปลว่า ผู้อยากได้บุตรพึงได้บุตร ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง แปลว่า ผู้อยากได้ทรัพย์พึงได้ทรัพย์ ด้วยพระคาถาที่ขรัวโตใช้เป็นประจำก็คือชินบัญชรคาถา เวลาภาวนาก็รำลึกถึงท่าน อานิสงส์ก็ยิ่งใหญ่แล้ว อยากให้โฟกัสไปที่บทสวดและคำแปลในชินบัญชร มากกว่านะครับ ถ้าจะเป็นการรวบรวมสติ นะโม 3 จบ ตั้งแล้วรำลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ก็เพียงพอครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------
บทสวดมนต์พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์)
๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ผู้องอาจในนรชน ทรงประทับเหนือชัยบัลลังก์อันกอปรด้วยบุญบารมี ทรงพิชิตพญามารพร้อมทั้งหมู่เสนา ทรงดื่มด่ำอมตรส คือ อริยะสัจ ๔ ประการ
๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ๒๘ พระองค์ มีพระตัณหังกรเป็นอาทิ จอมมุนีผู้นำสัตว์โลกให้พ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ขอทรงประดิษฐานอยู่เหนือกระหม่อมของข้าพเจ้า
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
ขอองค์พระพุทธรัตนะ ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมรัตนะ ประดิษฐานอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสังฆรัตนะ ผู้เป็นอากรแห่งคุณงามความดีทั้งปวง ประดิษฐานอยู่ที่อุระของข้าพเจ้า
(อากร แปลว่า บ่อเกิด, อุระ แปลว่า อก)
๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
พระอนุรุทธ์ประดิษฐานอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรประดิษฐานอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลานะประดิษฐานอยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะประดิษฐานอยู่เบื้องหลังของข้าพเจ้า
๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
พระอานนท์กับพระราหุลประดิษฐานอยู่ที่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะประดิษฐานอยู่ที่หูซ้าย
๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
พระโสภิตะ ผู้ถึงพร้อมด้วยสิริ เป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ดุจดวงอาทิตย์สาดแสง ประดิษฐานที่สุดส่วนผมเบื้องหลัง
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
พระกุมาระกัสสะปะเถรเจ้า ผู้แสวงบุญทรงคุณอันยิ่งใหญ่ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะ เป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวง ขอจงประดิษฐานที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์
๘. ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี ขอพระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฎเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผากของข้าพเจ้า
(กระแจะ แปลว่า ผงเครื่องหอมประสมแบบโบราณสำหรับทา หรือเจิม มีแก่นไม้หอม ชะมดเชียงหญ้าฝรั่น ไม้จันทน์)
๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
พระอสีติมหาเถระ 80 พระองค์ที่เหลือ เป็นพุทธะสาวกของพระผู้ทรงชัย เสมือนโอรสแห่งพระชินเจ้า ล้วนรุ่งเรืองด้วยเดชแห่งศีล ขอจงมาสถิตอยู่ดี ณ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
พระรัตนปริตรสถิตอยู่เบื้องหน้า พระเมตตปริตรสถิตอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรสถิตอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะปริตรสถิตอยู่เบื้องหลัง
(ปริตร แปลว่า ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน)
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยปริตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ พระปริตรที่เหลือสถิตมั่นเป็นกำแพงล้อมรอบ
๑๒. ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
พระชินเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณอันประเสริฐนานัปการ ดุจประดับอาภรณ์สัตตะปราการห้อมล้อมทั้ง ๗ ชั้น
๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
เมื่อข้าพเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรมล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธะ ด้วยศีลอันบริสุทธิ์ อันมั่นคงเป็นนิตย์ ขออุปัทวะทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่ลม และน้ำดีเป็นต้น จงพินาศดับสูญไปอย่าได้เหลือ
๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะ
(อ่านว่า ฮี) ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลรักษาข้าพเจ้า ผู้อยู่ท่ามกลางแห่งพระบัญชร ดุจวงเขตกว้างใหญ่ดั่งพื้นแผ่นดิน ทุกเมื่อเทอญ
๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติฯ
ด้วยอานุภาพแห่งพระชินเจ้า จึงชนะเหตุอุปัทวะทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม จึงชนะศัตรูทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ จึงชนะอันตรายทั้งปวง ข้าพเจ้าผู้ได้รับการอภิบาลด้วยอานุภาพแห่งพระสัทธรรม ขอประพฤติตนด้วยศีลธรรมอันดีอยู่ในพระชินบัญชรฉะนี้แล.
(ชนะเหตุอุปัทวะ คือ ชนะความอุบาทว์, ชนะความเสนียด
ทั้งหลาย)
ชินบัญชรคาถา (แปล) ฉบับถูกต้องสมบูรณ์ จากการสืบค้น แกะคำ และวิเคราะห์เรียบเรียง
สามารถรับชมรับฟังบทสวด พร้อมคำแปลสำหรับสวดตามได้ที่ลิงค์
ส่วนตัวผมจะไม่สวดบท ปุตตะกาโมฯ นะครับ เพราะเป็นบทที่ต่อเติมงอกเงยขึ้นในยุคหลังที่คนพร่ำสวดกันแล้ว (สมัยก่อนไม่เคยกล่าวถึง) และเมื่อสืบค้น ไม่ใช่บทประจำตัวขรัวโตแต่อย่างใด มีผู้เขียนอุปโลกน์ขึ้นมา และให้เป็นบทรำลึกถึงขรัวโต ซึ่งในความหมายอันแท้จริง ก็ไม่ได้ไปในทิศทางนั้น เช่น ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง แปลว่า ผู้อยากได้บุตรพึงได้บุตร ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง แปลว่า ผู้อยากได้ทรัพย์พึงได้ทรัพย์ ด้วยพระคาถาที่ขรัวโตใช้เป็นประจำก็คือชินบัญชรคาถา เวลาภาวนาก็รำลึกถึงท่าน อานิสงส์ก็ยิ่งใหญ่แล้ว อยากให้โฟกัสไปที่บทสวดและคำแปลในชินบัญชร มากกว่านะครับ ถ้าจะเป็นการรวบรวมสติ นะโม 3 จบ ตั้งแล้วรำลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ก็เพียงพอครับ
บทสวดมนต์พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์)
๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ผู้องอาจในนรชน ทรงประทับเหนือชัยบัลลังก์อันกอปรด้วยบุญบารมี ทรงพิชิตพญามารพร้อมทั้งหมู่เสนา ทรงดื่มด่ำอมตรส คือ อริยะสัจ ๔ ประการ
๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ๒๘ พระองค์ มีพระตัณหังกรเป็นอาทิ จอมมุนีผู้นำสัตว์โลกให้พ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ขอทรงประดิษฐานอยู่เหนือกระหม่อมของข้าพเจ้า
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
ขอองค์พระพุทธรัตนะ ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมรัตนะ ประดิษฐานอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสังฆรัตนะ ผู้เป็นอากรแห่งคุณงามความดีทั้งปวง ประดิษฐานอยู่ที่อุระของข้าพเจ้า
(อากร แปลว่า บ่อเกิด, อุระ แปลว่า อก)
๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
พระอนุรุทธ์ประดิษฐานอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรประดิษฐานอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลานะประดิษฐานอยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะประดิษฐานอยู่เบื้องหลังของข้าพเจ้า
๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
พระอานนท์กับพระราหุลประดิษฐานอยู่ที่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะประดิษฐานอยู่ที่หูซ้าย
๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
พระโสภิตะ ผู้ถึงพร้อมด้วยสิริ เป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ดุจดวงอาทิตย์สาดแสง ประดิษฐานที่สุดส่วนผมเบื้องหลัง
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
พระกุมาระกัสสะปะเถรเจ้า ผู้แสวงบุญทรงคุณอันยิ่งใหญ่ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะ เป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวง ขอจงประดิษฐานที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์
๘. ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี ขอพระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฎเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผากของข้าพเจ้า
(กระแจะ แปลว่า ผงเครื่องหอมประสมแบบโบราณสำหรับทา หรือเจิม มีแก่นไม้หอม ชะมดเชียงหญ้าฝรั่น ไม้จันทน์)
๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
พระอสีติมหาเถระ 80 พระองค์ที่เหลือ เป็นพุทธะสาวกของพระผู้ทรงชัย เสมือนโอรสแห่งพระชินเจ้า ล้วนรุ่งเรืองด้วยเดชแห่งศีล ขอจงมาสถิตอยู่ดี ณ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
พระรัตนปริตรสถิตอยู่เบื้องหน้า พระเมตตปริตรสถิตอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรสถิตอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะปริตรสถิตอยู่เบื้องหลัง
(ปริตร แปลว่า ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน)
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยปริตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ พระปริตรที่เหลือสถิตมั่นเป็นกำแพงล้อมรอบ
๑๒. ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
พระชินเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณอันประเสริฐนานัปการ ดุจประดับอาภรณ์สัตตะปราการห้อมล้อมทั้ง ๗ ชั้น
๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
เมื่อข้าพเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรมล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธะ ด้วยศีลอันบริสุทธิ์ อันมั่นคงเป็นนิตย์ ขออุปัทวะทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่ลม และน้ำดีเป็นต้น จงพินาศดับสูญไปอย่าได้เหลือ
๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะ (อ่านว่า ฮี) ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลรักษาข้าพเจ้า ผู้อยู่ท่ามกลางแห่งพระบัญชร ดุจวงเขตกว้างใหญ่ดั่งพื้นแผ่นดิน ทุกเมื่อเทอญ
๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติฯ
ด้วยอานุภาพแห่งพระชินเจ้า จึงชนะเหตุอุปัทวะทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม จึงชนะศัตรูทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ จึงชนะอันตรายทั้งปวง ข้าพเจ้าผู้ได้รับการอภิบาลด้วยอานุภาพแห่งพระสัทธรรม ขอประพฤติตนด้วยศีลธรรมอันดีอยู่ในพระชินบัญชรฉะนี้แล.
(ชนะเหตุอุปัทวะ คือ ชนะความอุบาทว์, ชนะความเสนียด ทั้งหลาย)