โดยทั่วไป ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะนับการ ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ จากวันแรกของรอบเดือนสุดท้ายของผู้หญิง แม้ว่าขณะนั้น จะยังไม่มีการปฏิสนธิ หรือการตั้งครรภ์จริง แต่ทางการแพทย์ จะเริ่มนับจากวันนั้น เพื่อจะสามารถนับกำหนดการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน
การตั้งครรภ์สัปดาห์แรก
แม้ว่าการทดสอบการตั้งครรภ์เบื้องต้น จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพิจารณาว่า ตนเองนั้น ตั้งครรภ์จริงหรือไม่ แต่ในช่วงสัปดาห์แรกนั้น จะยังไม่สามารถทราบผลได้ในทันที แต่จะเริ่มตรวจได้ เมื่อพ้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายไป 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์
การตรวจสอบการตั้งครรภ์
สำหรับคนที่มีอาการ เมื่อรู้สึก หรือสงสัยว่าตนเองมีอาการที่ผิดปกติไปจากเดิม และสงสัยว่า ตนเองจะตั้งครรภ์หรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบด้วยการ ซื้อที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง มาเช็คเบื้องต้นได้ สามารถอ่านวิธีการตรวจครรภ์ได้จากบทความนี้ : ที่ตรวจครรภ์ ใช้ยังไง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ตรวจการตั้งครรภ์ได้เมื่อไหร่ หากผลการตรวจทดสอบออกมาเป็นเพียงขีดเดียว หรือเป็นลบ ให้ทำการทดสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หลังจากผ่านไปอีก 1 สัปดาห์ เพื่อความชัดเจน เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกาย ยังไม่มีการเปลี่ยนมากจนสามารถตรวจสอบได้ทันที
แต่หากตัวคุณแม่ใจร้อน อยากทราบว่าตนเองท้องหรือไม่ แต่ไม่สามารถตรวจได้จากที่ตรวจการตั้งครรภ์ที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปนั้น ก็สามารถตรวจได้จากผลเลือดที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาค่า HCG ในเลือด ซึ่งจะสามารถแสดงผลได้เร็วกว่าการตรวจปัสสาวะ และอัตราค่าตรวจนั้น อยู่ประมาณ 300 – 500 บาท ต่อครั้ง
คนที่ไม่มีอาการ
ในขณะที่บางรายที่ไม่มีอาการใด ๆ นั้น แต่อยากรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ดังนี้
1. วิธีนับวันไข่ตก : เทคนิคทำให้ท้องด้วย การนับวันไข่ตก
2. การตรวจสอบ ด้วยชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ อย่างต่อเนื่อง : ตรวจครรภ์เร็วสุดกี่วัน กี่วันจะรู้ว่าท้อง ท้องกี่สัปดาห์ถึงใช้ที่ตรวจครรภ์ได้
3. ประจำเดือนขาด : คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน ถึงจะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 1
1. มีเลือดซึมทางช่องคลอดเล็กน้อย
การที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่เป็นเลือดในลักษณะของประจำเดือน แต่เป็นเลือดที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ ที่ผนังมดลูก แต่หากมีเลือดออกมาเป็นจำนวนมาก โดยที่ผลตรวจออกมาว่าคุณตั้งครรภ์อยู่นั้น อาจจะมีความเป็นไปได้ที่คุณจะเกิดการแท้ง หรือท้ิงนอกมดลูก ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
2. เป็นตะคริวเล็กน้อย
คุณผู้หญิงอาจจะรู้สึกเป็นตะคริวเล็กน้อย แต่จะเป็นบ่อย หรือถี่ ในระยะนี้ เนื่องจากตัวอ่อน มีการเข้ายึดกับผนังมดลูก ซึ่งบริเวณที่จะรู้สึกเป็นตะคริวอยู่บ่อยครั้ง จะได้แก่ บริเวณหน้าท้อง หรือท้องน้อย อุ้งเชิงกราน และบริเวณหลังส่วนล่าง หรือบั้นเอว ซึ่งอาการนี้ จะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2 –3 วัน อาจจะทำให้มีอาการไข้อ่อน ๆ สำหรับบางคน
3. มีอาการคลื่นไส้ อาจจะอาเจียน หรือไม่อาเจียนก็ได้
ในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ อาจจะรู้สึกคลื่นไส้ ซึ่งอาการคลื่นไส้นั้น มาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และประสาทสัมผัสที่เริ่มรับรู้ได้ไวขึ้นกว่าเดิม ในกรณีของการคลื่นไส้นี้ อาจจะเป็นเพียงการพะอืดพะอม และอาจจะถึงขั้นอาเจียนในบางคนได้เช่นกัน
4. เต้านม และหัวนม มีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อประจำเดือนขาด อาการที่จะสังเกตได้ง่ายอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการเจ็บบริเวณหน้าอก หรือหัวนม คัดเต้านม มักจะรู้สึกได้เมื่อคุณใส่เสื้อชั้นใน แล้วเกิดความรู้สึกระคายเคือง ทั้ง ๆ ที่ปกติจะไม่รู้สึกแบบนั้น เส้นเลือดบริเวณเต้านม จะมีสีเข้ม และชัดเจนมากขึ้น แต่อาการเหล่านี้ จะเริ่มทุเลาลง หลังจากอายุครรภ์ครบ 3 เดือนค่ะ
5. มีไข้ต่ำ
ในระยะแรกที่ร่างกายมีการปรับเปลี่ยน จะทำให้เกิดอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว แบบอ่อน ๆ และมักจะเป็นช่วงเย็น ๆ หรือหัวค่ำ ถือว่าเป็นอาการปกติ ที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปค่ะ ดังนั้น ไม่ต้องเป็นกังวล เพียงแค่ ดื่มน้ำให้เยอะขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ แค่นี้อาการก็จะบรรเทาลงค่ะ ในที่นี้ รวมถึงอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น จะรู้สึกร้อน เหงื่อออกง่ายกว่าเดิม แม้ว่าตัวคุณแม่จะไม่ได้เป็นไข้ก็ตาม ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ
6. มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
อาการนี้จะเริ่มเกิดขึ้นง่าย และอาจจะต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสหลัง ๆ ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นของร่างกาย จะทำให้เกิดลมในท้องมากยิ่งขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ สิ่งที่จะช่วยให้อาการนี้ดีขึ้นได้ คือการเลือกดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้อง ให้ได้มาก เพื่อการปรับสมดุลของร่างกายคุณแม่นั่นเอง
7. การรับรู้รสชาดอาหารเปลี่ยนไป
คุณจะมีการรับรู้รสชาดอาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมาก จะมีเริ่มรับรู้รสขม หรือรสโลหะ มาก และไวยิ่งขึ้น จนส่งผลให้ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกเบื่ออาหาร จนเป็นสาเหตุให้เกิดการลดลงของน้ำหนักในช่วงแรก แต่หากคุณแม่ เริ่มทราบว่าตนเองตั้งครรภ์แล้วนั้น ต่อให้ไม่อยากอาหารอย่างไร สิ่งที่ควรทำคือ ขอข้อมูลเรื่องอาหารเสริม หรือวิตามิน ที่จำเป็น เพื่อจะสามารถบำรุงทั้งตัวคุณแม่เอง และเด็กในครรภ์ และควรฝืนตัวเอง ให้สามารถทานอาหารได้บ้าง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี
8. ตัวจะเริ่มมีอาการบวมขึ้นเล็กน้อย
แม้ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักมากนักในระยะแรก แต่จะสามารถเห็นอาการบวมของร่างกายได้ในระดับหนึ่ง หรือที่เราเรียกว่ามีน้ำมีนวล เราจะรู้สึกได้จากผิว ที่จะรู้สึกนุ่มขึ้น บางคนถึงกับเหมือนมีออร่าความขาวเกิดขึ้น ที่จริงคือเกิดจากอาการบวมของร่างกายค่ะ ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
9. ประจำเดือนขาด
ลักษณะของการขาดของประจำเดือนนั้น จะสามารถสังเกตได้ชัดเจน หากบุคคลนั้นมีประจำเดือนมาเป็นปกติในทุก ๆ เดือน เมื่อถึงกำหนดของประจำเดือนที่จะต้องมา และขาดหายไปประมาณ 7-10 วัน ก็ควรหาซื้อชุดตรวจครรภ์เบื้องต้นมาทดสอบ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาบ่งบอกว่า คุณนั้นกำลังตั้งครรภ์อยู่นั่นเอง
แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ประจำเดือนมา ขาด ๆ หาย ๆ อยู่เป็นปกติ ก็จะไม่สามารถสังเกตด้วยวิธีนี้ เพราะการที่ประจำเดือนมาแบบขาด ๆ หาย ๆ นั้น อาจจะเป็นผลจาก การใช้ยาคุมกำเนิด มีความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายขาดสารอาหาร หรือผลจากโรคประจำตัวนั่นเอง
https://th.theasianparent.com/1-3-weeks-pregnancy-development
ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร และจำเป็นจะต้องเตรียมตัวอย่างไร
การตั้งครรภ์สัปดาห์แรก
แม้ว่าการทดสอบการตั้งครรภ์เบื้องต้น จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพิจารณาว่า ตนเองนั้น ตั้งครรภ์จริงหรือไม่ แต่ในช่วงสัปดาห์แรกนั้น จะยังไม่สามารถทราบผลได้ในทันที แต่จะเริ่มตรวจได้ เมื่อพ้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายไป 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์
การตรวจสอบการตั้งครรภ์
สำหรับคนที่มีอาการ เมื่อรู้สึก หรือสงสัยว่าตนเองมีอาการที่ผิดปกติไปจากเดิม และสงสัยว่า ตนเองจะตั้งครรภ์หรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบด้วยการ ซื้อที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง มาเช็คเบื้องต้นได้ สามารถอ่านวิธีการตรวจครรภ์ได้จากบทความนี้ : ที่ตรวจครรภ์ ใช้ยังไง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ตรวจการตั้งครรภ์ได้เมื่อไหร่ หากผลการตรวจทดสอบออกมาเป็นเพียงขีดเดียว หรือเป็นลบ ให้ทำการทดสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หลังจากผ่านไปอีก 1 สัปดาห์ เพื่อความชัดเจน เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกาย ยังไม่มีการเปลี่ยนมากจนสามารถตรวจสอบได้ทันที
แต่หากตัวคุณแม่ใจร้อน อยากทราบว่าตนเองท้องหรือไม่ แต่ไม่สามารถตรวจได้จากที่ตรวจการตั้งครรภ์ที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปนั้น ก็สามารถตรวจได้จากผลเลือดที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาค่า HCG ในเลือด ซึ่งจะสามารถแสดงผลได้เร็วกว่าการตรวจปัสสาวะ และอัตราค่าตรวจนั้น อยู่ประมาณ 300 – 500 บาท ต่อครั้ง
คนที่ไม่มีอาการ
ในขณะที่บางรายที่ไม่มีอาการใด ๆ นั้น แต่อยากรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ดังนี้
1. วิธีนับวันไข่ตก : เทคนิคทำให้ท้องด้วย การนับวันไข่ตก
2. การตรวจสอบ ด้วยชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ อย่างต่อเนื่อง : ตรวจครรภ์เร็วสุดกี่วัน กี่วันจะรู้ว่าท้อง ท้องกี่สัปดาห์ถึงใช้ที่ตรวจครรภ์ได้
3. ประจำเดือนขาด : คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน ถึงจะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 1
1. มีเลือดซึมทางช่องคลอดเล็กน้อย
การที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่เป็นเลือดในลักษณะของประจำเดือน แต่เป็นเลือดที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ ที่ผนังมดลูก แต่หากมีเลือดออกมาเป็นจำนวนมาก โดยที่ผลตรวจออกมาว่าคุณตั้งครรภ์อยู่นั้น อาจจะมีความเป็นไปได้ที่คุณจะเกิดการแท้ง หรือท้ิงนอกมดลูก ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
2. เป็นตะคริวเล็กน้อย
คุณผู้หญิงอาจจะรู้สึกเป็นตะคริวเล็กน้อย แต่จะเป็นบ่อย หรือถี่ ในระยะนี้ เนื่องจากตัวอ่อน มีการเข้ายึดกับผนังมดลูก ซึ่งบริเวณที่จะรู้สึกเป็นตะคริวอยู่บ่อยครั้ง จะได้แก่ บริเวณหน้าท้อง หรือท้องน้อย อุ้งเชิงกราน และบริเวณหลังส่วนล่าง หรือบั้นเอว ซึ่งอาการนี้ จะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2 –3 วัน อาจจะทำให้มีอาการไข้อ่อน ๆ สำหรับบางคน
3. มีอาการคลื่นไส้ อาจจะอาเจียน หรือไม่อาเจียนก็ได้
ในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ อาจจะรู้สึกคลื่นไส้ ซึ่งอาการคลื่นไส้นั้น มาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และประสาทสัมผัสที่เริ่มรับรู้ได้ไวขึ้นกว่าเดิม ในกรณีของการคลื่นไส้นี้ อาจจะเป็นเพียงการพะอืดพะอม และอาจจะถึงขั้นอาเจียนในบางคนได้เช่นกัน
4. เต้านม และหัวนม มีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อประจำเดือนขาด อาการที่จะสังเกตได้ง่ายอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการเจ็บบริเวณหน้าอก หรือหัวนม คัดเต้านม มักจะรู้สึกได้เมื่อคุณใส่เสื้อชั้นใน แล้วเกิดความรู้สึกระคายเคือง ทั้ง ๆ ที่ปกติจะไม่รู้สึกแบบนั้น เส้นเลือดบริเวณเต้านม จะมีสีเข้ม และชัดเจนมากขึ้น แต่อาการเหล่านี้ จะเริ่มทุเลาลง หลังจากอายุครรภ์ครบ 3 เดือนค่ะ
5. มีไข้ต่ำ
ในระยะแรกที่ร่างกายมีการปรับเปลี่ยน จะทำให้เกิดอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว แบบอ่อน ๆ และมักจะเป็นช่วงเย็น ๆ หรือหัวค่ำ ถือว่าเป็นอาการปกติ ที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปค่ะ ดังนั้น ไม่ต้องเป็นกังวล เพียงแค่ ดื่มน้ำให้เยอะขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ แค่นี้อาการก็จะบรรเทาลงค่ะ ในที่นี้ รวมถึงอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น จะรู้สึกร้อน เหงื่อออกง่ายกว่าเดิม แม้ว่าตัวคุณแม่จะไม่ได้เป็นไข้ก็ตาม ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ
6. มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
อาการนี้จะเริ่มเกิดขึ้นง่าย และอาจจะต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสหลัง ๆ ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นของร่างกาย จะทำให้เกิดลมในท้องมากยิ่งขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ สิ่งที่จะช่วยให้อาการนี้ดีขึ้นได้ คือการเลือกดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้อง ให้ได้มาก เพื่อการปรับสมดุลของร่างกายคุณแม่นั่นเอง
7. การรับรู้รสชาดอาหารเปลี่ยนไป
คุณจะมีการรับรู้รสชาดอาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมาก จะมีเริ่มรับรู้รสขม หรือรสโลหะ มาก และไวยิ่งขึ้น จนส่งผลให้ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกเบื่ออาหาร จนเป็นสาเหตุให้เกิดการลดลงของน้ำหนักในช่วงแรก แต่หากคุณแม่ เริ่มทราบว่าตนเองตั้งครรภ์แล้วนั้น ต่อให้ไม่อยากอาหารอย่างไร สิ่งที่ควรทำคือ ขอข้อมูลเรื่องอาหารเสริม หรือวิตามิน ที่จำเป็น เพื่อจะสามารถบำรุงทั้งตัวคุณแม่เอง และเด็กในครรภ์ และควรฝืนตัวเอง ให้สามารถทานอาหารได้บ้าง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี
8. ตัวจะเริ่มมีอาการบวมขึ้นเล็กน้อย
แม้ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักมากนักในระยะแรก แต่จะสามารถเห็นอาการบวมของร่างกายได้ในระดับหนึ่ง หรือที่เราเรียกว่ามีน้ำมีนวล เราจะรู้สึกได้จากผิว ที่จะรู้สึกนุ่มขึ้น บางคนถึงกับเหมือนมีออร่าความขาวเกิดขึ้น ที่จริงคือเกิดจากอาการบวมของร่างกายค่ะ ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
9. ประจำเดือนขาด
ลักษณะของการขาดของประจำเดือนนั้น จะสามารถสังเกตได้ชัดเจน หากบุคคลนั้นมีประจำเดือนมาเป็นปกติในทุก ๆ เดือน เมื่อถึงกำหนดของประจำเดือนที่จะต้องมา และขาดหายไปประมาณ 7-10 วัน ก็ควรหาซื้อชุดตรวจครรภ์เบื้องต้นมาทดสอบ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาบ่งบอกว่า คุณนั้นกำลังตั้งครรภ์อยู่นั่นเอง
แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ประจำเดือนมา ขาด ๆ หาย ๆ อยู่เป็นปกติ ก็จะไม่สามารถสังเกตด้วยวิธีนี้ เพราะการที่ประจำเดือนมาแบบขาด ๆ หาย ๆ นั้น อาจจะเป็นผลจาก การใช้ยาคุมกำเนิด มีความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายขาดสารอาหาร หรือผลจากโรคประจำตัวนั่นเอง
https://th.theasianparent.com/1-3-weeks-pregnancy-development