JJNY : เปิดข้อมูลประเทศที่ใช้ 'วัคซีนเชื้อตาย'│รพ.มธ.ย้ำสัปดาห์นี้ยอดไม่ลด แพ้ราบคาบ│วาววาโพสต์สุดสลด│อนุสรณ์แนะตุนเงิน

เปิดข้อมูล ประเทศที่ใช้ 'วัคซีนเชื้อตาย' พบผู้เสียชีวิต มากกว่าประเทศที่ใช้ mRNA 
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6528649
 
 
“สฤณี อาชวานันทกุล” นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ เผยข้อมูลสำคัญ ประเทศที่ใช้ ‘วัคซีนเชื้อตาย’ ป่วยโควิดเสียชีวิต มากกว่าประเทศที่ใช้ mRNA
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียน นักแปลชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก “Sarinee Achavanuntakul – สฤณี อาชวานันทกุล” โดยเป็นข้อมูลประเทศที่ประชากรได้วัคซีนครบสองเข็มเกิน 20% และใช้วัคซีนชนิด mRNA เป็นหลัก ไม่มีประเทศไหนที่มีอัตราการตายเฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง สูงกว่า 1 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน ในขณะที่ประเทศ ชิลี หมู่เกาะซีเชลส์ อุรุกวัย และ มองโกเลีย ที่มีประชากรได้รับวัคซีนครบสองเข็มมากกว่า 50% และใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายเป็นหลัก พบว่ามีอัตราการตายสูงกว่าประเทศที่ใช้ mRNA เป็นหลักค่อนข้างมาก โดยมีรายละเอียดทั้งหมดนี้
  
วัคซีนไฟเซอร์บริจาค 1.5 ล้านโดสจากอเมริกามีความสำคัญมาก เนื่องจากประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ทุกครั้งที่บุคลากรด่านหน้าหนึ่งคนป่วย นั่นหมายถึงผู้ป่วยนับสิบคนนับร้อยคนที่จะขาดการดูแล
 
ทำไมต้องฉีด mRNA ให้บุคลากรด่านหน้าก่อน? วันนี้เรารู้แล้วว่า วัคซีนชนิด mRNA มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรับมือกับโควิด-19 เมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดอื่นๆ และวันนี้ “ประสิทธิภาพวัคซีน” ก็มีความสำคัญมากกว่าปี 2563 ปีแรกที่โควิด-19 ระบาด เพราะวันนี้เรามีวัคซีนหลากหลายยี่ห้อแล้ว ทุกประเทศกำลังมุ่งหน้า “เปิดประเทศ” สร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่” เพื่อ “อยู่กับโรค” ให้ได้ ไม่ได้คาดหวังแค่วัคซีนที่จะช่วยประคับประคองสถานการณ์เท่านั้น
 
ประสบการณ์จากทั่วโลกบอกเราว่าอะไร? ผู้เขียนนำข้อมูลจากเว็บไซต์ Our World in Data สองตัว ณ วันที่ 19 ก.ค. 64 คือ อัตราการตายจากโควิด-19 เฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง มาพล็อตเทียบกับสัดส่วนประชากรในประเทศที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้ว นับเฉพาะประเทศที่อัตราส่วนนี้เกินร้อยละ 20 (ดังนั้นจึงไม่แสดงประเทศที่มีสัดส่วนประชากรฉีดครบน้อยกว่านั้น เช่น ไทย ) โดยจำแนกประเทศต่างๆ ตามลักษณะของวัคซีนที่ใช้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
 
1) ใช้วัคซีนเชื้อตาย (เช่น ซิโนแวค หรือ ซิโนฟาร์ม) เป็นหลัก
2) ใช้วัคซีนชนิด mRNA พอๆ กับชนิดอื่น และ
3) ใช้วัคซีนชนิด mRNA เป็นหลัก
 

 
นำข้อมูลมาพล็อตเป็นกราฟได้ดังภาพ (เครดิตภาพประกอบ: คุณน้ำใส ศุภวงษ์)
 
แผนภาพนี้บอกเราอย่างชัดเจนว่า ในบรรดาประเทศที่ประชากรได้วัคซีนครบสองเข็มเกินร้อยละ 20 และใช้วัคซีนชนิด mRNA เป็นหลัก ไม่มีประเทศใดที่มีอัตราการตายเฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง สูงกว่า 1 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน ในขณะที่ประเทศ ชิลี หมู่เกาะซีเชลส์ อุรุกวัย และ มองโกเลีย ล้วนมีสัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็มสูงกว่าร้อยละ 50 และใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายเป็นหลัก แต่มีอัตราการตายสูงกว่าประเทศที่ใช้ mRNA เป็นหลัก ค่อนข้างมาก ผู้ดำเนินนโยบายรัฐที่ทำงานเพื่อประชาชน เมื่อเห็น “ข้อมูลเชิงประจักษ์” เช่นนี้ย่อมต้องรีบจัดหาวัคซีน mRNA มาให้กับบุคลากรด่านหน้าและประชาชนอย่างเร่งด่วน
 
รัฐบาลทุกประเทศในแผนภาพนี้ที่มีอัตราการตายสูงกว่า 1.5 ในล้านคน ใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายเป็นหลัก ได้แก่ คูเวต กัมพูชา มองโกเลีย อุรุกวัย ชิลี และ หมู่เกาะซีเชลส์ ล้วนเริ่มทยอยฉีดวัคซีนชนิด mRNA เช่น ยี่ห้อไฟเซอร์-ไบออนเทค เป็นวัคซีนหลักหรือวัคซีน booster (เข็มสาม) ให้กับประชากรของตัวเองแล้ว ไม่จำเป็นต้องรออ่านและตีความผลการวิจัยภูมิคุ้มกันใดๆ ทั้งสิ้น
 
(อนึ่ง แผนภาพนี้ไม่แสดงข้อมูลของประเทศจีน เนื่องจากอัตราส่วนประชากรฉีดครบสองเข็มล่าสุดที่เว็บไซต์ Our World in Data รวบรวมได้ คือร้อยละ 15.5 ณ วันที่ 10 มิถุนายน ไม่พบข้อมูลที่ใหม่กว่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม จีนซึ่งเป็นประเทศที่ใช้วัคซีนเชื้อตายเป็นหลัก กำลังจะอนุมัติวัคซีนชนิด mRNA ที่บริษัทจีน ฟูซุ่น ฟาร์มา ร่วมพัฒนากับ ไบออนเทค ของเยอรมนี และประกาศฉีดให้ประชากรทั่วประเทศฟรีเป็นเข็มสามเช่นกัน)
  
https://www.facebook.com/SarineeA/posts/372671567561870
 


ชี้ชะตา! รพ.สนามธรรมศาสตร์ ย้ำสัปดาห์นี้ยอดโควิดไม่ลด สงครามนี้แพ้ราบคาบ
https://www.dailynews.co.th/news/91305/
 
เมื่อวันที่ 25 ก.ค. เพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความถึงสถานการณ์การทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และการรักษผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นและมี ใจความตอนหนึ่ง ชี้แจงถึงประกาศของโรงพยาบาลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การไม่ใส่ท่อช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยโควิดอาการวิกฤติ ว่า 
 
วันสองวันนี้มีคนสอบถามมามากในเรื่องประกาศของโรงพยาบาลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การไม่ใส่ท่อช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยโควิดอาการวิกฤติที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และเสนอว่า ควรจะดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ในระบบการรักษาแบบประคับประคองเท่านั้น
 
เราอยากจะอธิบายว่า การดูแลผู้ป่วยวิกฤติที่มีโอกาสรอดชีวิตต่ำมากโดยการไม่ใส่ท่อช่วยหายใจซึ่งจะมีผลทำให้คนไข้ต้องทรมาน ไม่ปั๊มหรือช็อคหัวใจ หรือไม่เจาะเส้นเลือดดำที่คอเพียงเพื่อช่วยยื้อชีวิตผู้ป่วยไปอีกระยะหนึ่ง หากแต่เลือกใช้การดูแลรักษาแบบประคับประคองหรือ Palliative care โดยการให้ออกซิเจน ให้มอร์ฟีนหรือยาระงับความรู้สึกนั้น เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยวิกฤติที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นปกติในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลทั้งหลายอยู่แล้ว หากว่าได้รับความยินยอมจากครอบครัวผู้ป่วย เพียงแต่ในสถานการณ์โควิดในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เรามีผู้ป่วยใน stageนี้มากขึ้น อาจจะถือได้ว่าเป็นสิบเท่าของกรณีปกติหรือมากกว่า และในสถานการณ์ที่มีเตียงICU อยู่จำกัดและมีผู้ป่วยวิกฤติรอเข้ารับการรักษาในเตียงไอซียูอีกมากมาย การพยายามช่วยยื้อชีวิตผู้ป่วยออกไปได้บ้าง อาจจะทำให้เกิดภาวะทุกข์ทรมานทั้งต่อตัวผู้ป่วยและคนในครอบครัว และอาจจะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การขาดแคลนเตียง ICU อย่างร้ายแรงที่เป็นอยู่ได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการให้แพทย์ผู้ปฏิบัติงานทราบโดยทั่วไปถึงเกณฑ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบ Palliative careของโรงพยาบาล
 
เรายืนยันได้อย่างหนักแน่นด้วยว่าโดยจรรยาบรรณของวิชาชีพ แพทย์ทุกคนจะพยายามช่วยเหลือรักษาชีวิตผู้ป่วยอย่างสุดความสามารถและจะใช้ทุกวิธีการที่เป็นไปได้โดยไม่มีข้อยกเว้น การจะนำผู้ป่วยเข้ารักษาในระบบ Palliative careจะต้องเป็นไปโดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน โดยการหารือของแพทย์หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และจะต้องเป็นไปโดยความยินยอมพร้อมใจของครอบครัวผู้ป่วย หรือเป็นไปตามเจตนาที่ผู้ป่วยได้แสดงไว้ล่วงหน้าเท่านั้น
อีกเพียงสัปดาห์เดียวจะถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นจุดพีคของการระบาดใหญ่ในเวฟที่ 4 นี้ ในความเชื่อของพวกเรา ถ้าตัวเลขผู้ป่วยใหม่รายวันจะไม่ทรงตัวอยู่แถวๆ13000-15000 หรือลดลงบ้างตอนสิ้นเดือนและกลับกลายเป็นว่าจะมีตัวเลขผู้ป่วยใหม่รายวันที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลแทน นั่นก็คงทำให้เห็นได้เลยว่า สงครามคราวนี้จะจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างราบคาบของพวกเรา และของระบบสาธารณสุขของเรา ด้วยเช่นกัน
 
เราไม่รู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอีกหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้า แต่พวกเราก็พร้อมแล้วที่จะยืนเป็นแถวหน้า เพื่อจะเผชิญหน้ากับสถานการณ์นั้น และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหรือสงครามครั้งนี้จะจบลงอย่างไร.. #อนาคตจะต้องมีประเทศไทย 🇹🇭
 
https://www.facebook.com/TUFHforCOVID19/posts/354019249575250

 
วาววา โพสต์สุดสลด หนูน้อยขอผ้าห่มให้แม่เพราะตัวเย็นมาก ไม่รู้ว่าเสียชีวิตแล้ว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6528961

วาววา โพสต์สุดสลด หนูน้อยขอผ้าห่มให้แม่เพราะตัวเย็นมาก ไม่รู้ว่าเสียชีวิตแล้ว
   
วาววา โพสต์สุดสลด / นักแสดงสาว วาววา ณิชชา โชคประจักษ์ชัด โพสต์ข้อความสุดสลด หดหู่ใจเหลือเกิน ผ่านไอจี wawwa_nc โดยมีข้อความว่า 
 
“น้องบอกว่า “ขอผ้าห่มให้แม่หนูหน่อยได้มั้ยคะ แม่ตัวเย็นมาก” 
 
โดยที่น้องไม่รู้ว่าแม่ของน้องได้เสียชีวิตแล้ว 
 
ตอนที่ทีมงานเราไปถึง คุณแม่ของน้องเสียชีวิตไปแล้ว 15 นาที (ระหว่างรอผลตรวจ ไม่มีโรงพยาบาลที่ไหนรับ) แต่ตอนนี้เราได้กำลังช่วยพ่อของน้องอยู่ และยังมีอีกหลายร้อยเคสที่ ป่วยรอเตียงอยู่ที่บ้าน ได้โปรด ช่วย สนับสนุน เราด้วย @bangkokcommunityhelp @frisopoldervaart
 
ตอนนี้มีเคสวิกฤต ที่เราต้องไปช่วยทุกวัน เมื่อคืนนี้ เคสสุดท้ายตอนตีสอง เราอยากช่วยชีวิตทุกคน ตอนนี้เราขาดถังออกซิเจน ที่ซื้อมาใช้ ไม่พอ เพราะมีเคสทุกวัน หาซื้อไม่ได้ ของหมดทุกที่ (ใครมีที่ไหนมีของบอกหน่อยนะคะ) เราอยากได้ชุด PPE แล้ว หน้ากากา N95 ให้อาสาสมัคร ที่โคตรใจลงพื้นที่เสี่ยงทุกวัน 🙏🤍
 
ได้โปรด ช่วยซัพพอร์ตพวกเราด้วย ใครมีของพร้อมส่งมาช่วย DM มาได้เลยนะคะ (ใครมีกำลังพอช่วยได้ช่วยหน่อยนะคะ) หรือร่วมสมทบทุนได้ที่ Bangkok Community Help Foundation (มูลนิธิแบงค็อก คอมมูนิตี้ เฮลป์) Bangkok Bank เลขบัญชี ธนาคาร กรุงเทพ : 105-5-06287-9
 
https://www.instagram.com/p/CRu5nvLBA96/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่