เที่ยวอุบล#เขื่อนปากมูล จาลึกพระเจ้าจิตรเสน ดูปลาโดดขึ้นบันได นอนแค้มป์หาดทราย ดูเขาตกปลาและล่าช้างเผือก
ครั้งนี้ (2564-6-19 ดูเขาตกปลา และล่าช้างเผือก เขื่อนปากมูล) เพื่อนต้อมชวนไปดูเขาตกปลาที่เขื่อนปากมูล และผมก็เบื่อๆอยากไปหาที่กางเต็นท์ที่ไหนก็ได้ อยากอยู่เงียบๆ สบายๆไม่เร่งรีบ เลยตกลงขออาศัยรถต้องไปด้วย โดยผมเดินทางจากตลาดวารินฯ ซึ่งผมนั่งขายของอยู่ โดยรถสองแถว วาริน-พิบูล ชิวๆไป ไม่อยากนั่งรถตู้ เพราะกลัวโควิด
นั่งรถประมาณ เกือบ 1 ชั่วโมงก็มาถึงตลาดอำเภอพิบูลมังสาหาร ตอนประมาณเกือบบ่าย 3 แวะซื้อของกินตุนไว้ไม่อยากไปนั่งทำ
ประมาณบ่ายสีต้อมก็ขับมารับ แล้วก็ขับตามถนน 2222 พิบูล-โขงเจียม ก่อนถึงตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 5-6 กิโลเมตร จะทางแยกเลี้ยวขวา(มีป้ายบอก) ไปเขื่อนปากมูล
หรืออีกเส้นทาง เส้นอำเภอสิรินธร-อำเภอโขงเจียม ถึงสามแยก วิ่งไปทางอช.แก่งตะนะ ก่อนถึงอุทยานฯ จะมีทางแยกซ้ายมือวิ่งตรงไปก็จะถึงเขือนปากมูล
มาถึงเขื่อนต้อมก็พาขับสำรวจหาที่แค้มป์ โดยขับไปยังหน่วยพิทักษ์ฯ ปากโดม ซึ่งอยู่บริเวณเขื่อนปากมูล โดยมาจากเส้นทางที่ผมเข้ามา (พิบูล-โขงเจียม) ต้องวิ่งผ่านสันเขื่อนแล้วก็เลี้ยวขวา ถ้ามาจากเส้นที่จะไป อช.แก่งตะนะก่อนถึงสันเขื่อนเลี้ยวซ้าย ทางเป็นลูกรัง ไปถึงหน่วยแต่เจ้าหน้าที่ไม่สะดวกเลยกลับออกมา
บริเวณหน่วยฯปากโดม เป็นหัวเขื่อนปากมูล น้ำจะเยอะเพราะกักน้ำไว้ เส้นทางระหว่างหน่วยฯ ถึงสันเขื่อนพอมีศาลาริมน้ำเพื่อใครอยากกางเต็นท์นอนพักก็ได้ และไม่มีคน แต่ไม่มีห้องน้ำ อาหารการกินต่างๆ ต้องนำมาเองหมด หรือจะซื้อร้านค้าเส้นทางที่ผมเข้ามาก็ได้ (พิบูล-โขงเจียม) ส่วนถ้าเข้ามาทางสิริธร-โขงเจียม แนะนำแวะซื้อก่อนเลี้ยวเข้ามาจะดีกว่า เพราะเข้ามาทางย่อยแล้วจะไม่มีร้านค้า
ขากลับก่อนถึงสันเขื่อนจะมี จารึกจิตรเสน
บริเวณที่พบศิลาจารึกปากลำโดมน้อยเป็นเนินขนาดเล็กก่อด้วยก้อนหินและแผ่นหินทรายธรรมชาติปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะและอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งเขื่อนปากมูลขึ้นมาทางเหนือ ปีที่พบจารึก คือ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 โดยเจ้าหน้าที่โบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม เป็นหินสีเทาแถบชมพูมีจารึกด้านเดียวจำนวน 6 บรรทัดใช้อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต มีรายละเอียดอื่น ๆ ดังนี้
ชื่อจารึก : จารึกปากโดมน้อย(English Version)
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ : ศิลาจารึกปากโดมน้อย
อักษรที่มีในจารึก : ปัลลวะ
ศักราช : พุทธศตวรรษ12
ภาษา : สันสกฤต
ด้าน/บรรทัด : จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด
วัตถุจารึก : หินทราย
ลักษณะวัตถุ :รูปเสมา
ขนาดวัตถุ : กว้าง 38.80 ซม. สูง 147 ซม. หนา 37.7 ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ : 1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น อบ. 28
2) ในหนังสือ โบราณคดีเขื่อนปากมูล กำหนดเป็น ศิลาจารึกปากโดมน้อย
ปีที่พบจารึก : วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
สถานที่พบ : ริมฝั่งแม่น้ำมูล ปากลำโดมน้อย ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ : เจ้าหน้าที่โบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร
ปัจจุบันอยู่ที่ : ไม่ปรากฏหลักฐาน
พิมพ์เผยแพร่ : โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ กรมศิลปากร และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2535), 62-69.
ประวัติ ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน 7 หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย
จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. 15) จังหวัดขอนแก่น (สร้างพระศิวะลึงค์)
จารึกปากน้ำมูล 1 (อบ. 1) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
จารึกปากน้ำมูล 2 (อบ. 2) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. 4) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
จารึกปากโดมน้อย (อบ. 28) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. 9) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระโค)
จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) จังหวัดสุรินทร์ (สร้างพระโค) (จารึกหลักนี้ สาบสูญไปแล้ว)
ข้อมูลจาก
http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historic-site/hs-ubon-rajchathani/item/455-hs-ubonrajchathani-024?fbclid=IwAR096WGM-3Gcxqj5jl1epA7WVHpzfIVkPJhFSLhup3WjHgoKt3FPyhnSjgQ
ข้อความจากป้าย
ประวัติศิลาจารึกปากลาโดมน้อย ตั้งอยู่บนเนินริมฝั่งแม่น้ำมูลทางฝั่งขวาของปากน้ำลำโดมน้อยใกล้กับเขื่อนปากมูล
ลักษณะเป็นศิลาจารึกหินทรายรูปใบเสมา จารึกด้วยอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต กำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒
เนื้อหาในศิลาจารึกกล่าวถึงการได้รับชนะของพระเจ้าจิตรเสนเหนือชาวกัมพุช โดยได้เฉลิมพระนามว่า มเหนทรวรมัน ทั้งโปรดให้สร้างศิวลึงค์เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ ดังนี้ “พระเจ้าแผ่นดินผู้มีนามว่าจิตรเสน เป็นโอรสของพระเจ้าศรีวีรวรมัน เป็นนัดดาของพระเจ้าศรีสารเภามะ แม้โดยศักดิ์จะเป็นพระอนุชา แต่มีพระชนมายุมากกว่า จึงเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าภววรมันที่๑ เป็นผู้มีพระนามปรากฏในด้านคุณธรรมแต่พระเยาว์ และได้รับพระนามภายหลังการอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินว่า พระเจ้ามเหนทรวรมัน เมื่อได้ชนะประเทศกัมพูทั้งปวงนี้แล้ว ได้สร้างพระศิวลึงค์อันเป็นเสมือนเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ไว้ ณ ที่นี้”
นอกจากศิลาจารึกที่ปากลำโดมน้อยแล้ว ยังพบศิลาจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันในเขตจังหวัดอุบลราชธานีอีก
รวม 5 หลัก/แห่ง และในเขตจังหวัดอื่นในภาคอีสานอก ๙ หลักแห่ง และจังหวัดสระแก้ว ๑ หลัก รวมเป็นจารึกจิตรเสน
ค้นพบแล้วในประเทศไทย ๑๖ หลักแห่ง ที่มีรูปแบบอักษรและเนื้อความในลักษณะเดียวกัน ต่างกันเพียงสิ่งเคารพบูชาที่สร้างขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันศิลาจารึกปากลำโดมน้อย ได้เคลื่อนย้ายไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี เอกลักษณ์ของศิลาจารึกปากลำโดมน้อยเป็นจารึกพระเจ้าจิตรเสนหลักหนึ่งในหลายๆหลักในดินแดนภาคอีสาน ที่แสดงถึงขอบเขตอำนาจและอารยธรรมเจนละพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และลำน้ำสาขาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานศิลาจารึกปากลำโดมน้อย ในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ๓ งาน 5 ตารางวา ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมาย
สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
เป็นฐานหิน
และบันไดลงสู่แม่น้ำด้วย
[CR] เที่ยวอุบล#เขื่อนปากมูล จาลึกพระเจ้าจิตรเสน ดูปลาโดดขึ้นบันได นอนแค้มป์หาดทราย ดูเขาตกปลาและล่าช้างเผือก
ครั้งนี้ (2564-6-19 ดูเขาตกปลา และล่าช้างเผือก เขื่อนปากมูล) เพื่อนต้อมชวนไปดูเขาตกปลาที่เขื่อนปากมูล และผมก็เบื่อๆอยากไปหาที่กางเต็นท์ที่ไหนก็ได้ อยากอยู่เงียบๆ สบายๆไม่เร่งรีบ เลยตกลงขออาศัยรถต้องไปด้วย โดยผมเดินทางจากตลาดวารินฯ ซึ่งผมนั่งขายของอยู่ โดยรถสองแถว วาริน-พิบูล ชิวๆไป ไม่อยากนั่งรถตู้ เพราะกลัวโควิด
นั่งรถประมาณ เกือบ 1 ชั่วโมงก็มาถึงตลาดอำเภอพิบูลมังสาหาร ตอนประมาณเกือบบ่าย 3 แวะซื้อของกินตุนไว้ไม่อยากไปนั่งทำ
ประมาณบ่ายสีต้อมก็ขับมารับ แล้วก็ขับตามถนน 2222 พิบูล-โขงเจียม ก่อนถึงตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 5-6 กิโลเมตร จะทางแยกเลี้ยวขวา(มีป้ายบอก) ไปเขื่อนปากมูล
หรืออีกเส้นทาง เส้นอำเภอสิรินธร-อำเภอโขงเจียม ถึงสามแยก วิ่งไปทางอช.แก่งตะนะ ก่อนถึงอุทยานฯ จะมีทางแยกซ้ายมือวิ่งตรงไปก็จะถึงเขือนปากมูล
มาถึงเขื่อนต้อมก็พาขับสำรวจหาที่แค้มป์ โดยขับไปยังหน่วยพิทักษ์ฯ ปากโดม ซึ่งอยู่บริเวณเขื่อนปากมูล โดยมาจากเส้นทางที่ผมเข้ามา (พิบูล-โขงเจียม) ต้องวิ่งผ่านสันเขื่อนแล้วก็เลี้ยวขวา ถ้ามาจากเส้นที่จะไป อช.แก่งตะนะก่อนถึงสันเขื่อนเลี้ยวซ้าย ทางเป็นลูกรัง ไปถึงหน่วยแต่เจ้าหน้าที่ไม่สะดวกเลยกลับออกมา
บริเวณหน่วยฯปากโดม เป็นหัวเขื่อนปากมูล น้ำจะเยอะเพราะกักน้ำไว้ เส้นทางระหว่างหน่วยฯ ถึงสันเขื่อนพอมีศาลาริมน้ำเพื่อใครอยากกางเต็นท์นอนพักก็ได้ และไม่มีคน แต่ไม่มีห้องน้ำ อาหารการกินต่างๆ ต้องนำมาเองหมด หรือจะซื้อร้านค้าเส้นทางที่ผมเข้ามาก็ได้ (พิบูล-โขงเจียม) ส่วนถ้าเข้ามาทางสิริธร-โขงเจียม แนะนำแวะซื้อก่อนเลี้ยวเข้ามาจะดีกว่า เพราะเข้ามาทางย่อยแล้วจะไม่มีร้านค้า
ขากลับก่อนถึงสันเขื่อนจะมี จารึกจิตรเสน
บริเวณที่พบศิลาจารึกปากลำโดมน้อยเป็นเนินขนาดเล็กก่อด้วยก้อนหินและแผ่นหินทรายธรรมชาติปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะและอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งเขื่อนปากมูลขึ้นมาทางเหนือ ปีที่พบจารึก คือ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 โดยเจ้าหน้าที่โบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม เป็นหินสีเทาแถบชมพูมีจารึกด้านเดียวจำนวน 6 บรรทัดใช้อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต มีรายละเอียดอื่น ๆ ดังนี้
ชื่อจารึก : จารึกปากโดมน้อย(English Version)
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ : ศิลาจารึกปากโดมน้อย
อักษรที่มีในจารึก : ปัลลวะ
ศักราช : พุทธศตวรรษ12
ภาษา : สันสกฤต
ด้าน/บรรทัด : จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด
วัตถุจารึก : หินทราย
ลักษณะวัตถุ :รูปเสมา
ขนาดวัตถุ : กว้าง 38.80 ซม. สูง 147 ซม. หนา 37.7 ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ : 1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น อบ. 28
2) ในหนังสือ โบราณคดีเขื่อนปากมูล กำหนดเป็น ศิลาจารึกปากโดมน้อย
ปีที่พบจารึก : วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
สถานที่พบ : ริมฝั่งแม่น้ำมูล ปากลำโดมน้อย ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้พบ : เจ้าหน้าที่โบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร
ปัจจุบันอยู่ที่ : ไม่ปรากฏหลักฐาน
พิมพ์เผยแพร่ : โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ กรมศิลปากร และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2535), 62-69.
ประวัติ ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน 7 หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย
จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. 15) จังหวัดขอนแก่น (สร้างพระศิวะลึงค์)
จารึกปากน้ำมูล 1 (อบ. 1) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
จารึกปากน้ำมูล 2 (อบ. 2) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. 4) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
จารึกปากโดมน้อย (อบ. 28) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. 9) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระโค)
จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) จังหวัดสุรินทร์ (สร้างพระโค) (จารึกหลักนี้ สาบสูญไปแล้ว)
ข้อมูลจาก
http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historic-site/hs-ubon-rajchathani/item/455-hs-ubonrajchathani-024?fbclid=IwAR096WGM-3Gcxqj5jl1epA7WVHpzfIVkPJhFSLhup3WjHgoKt3FPyhnSjgQ
ข้อความจากป้าย
ประวัติศิลาจารึกปากลาโดมน้อย ตั้งอยู่บนเนินริมฝั่งแม่น้ำมูลทางฝั่งขวาของปากน้ำลำโดมน้อยใกล้กับเขื่อนปากมูล
ลักษณะเป็นศิลาจารึกหินทรายรูปใบเสมา จารึกด้วยอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต กำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒
เนื้อหาในศิลาจารึกกล่าวถึงการได้รับชนะของพระเจ้าจิตรเสนเหนือชาวกัมพุช โดยได้เฉลิมพระนามว่า มเหนทรวรมัน ทั้งโปรดให้สร้างศิวลึงค์เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ ดังนี้ “พระเจ้าแผ่นดินผู้มีนามว่าจิตรเสน เป็นโอรสของพระเจ้าศรีวีรวรมัน เป็นนัดดาของพระเจ้าศรีสารเภามะ แม้โดยศักดิ์จะเป็นพระอนุชา แต่มีพระชนมายุมากกว่า จึงเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าภววรมันที่๑ เป็นผู้มีพระนามปรากฏในด้านคุณธรรมแต่พระเยาว์ และได้รับพระนามภายหลังการอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินว่า พระเจ้ามเหนทรวรมัน เมื่อได้ชนะประเทศกัมพูทั้งปวงนี้แล้ว ได้สร้างพระศิวลึงค์อันเป็นเสมือนเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ไว้ ณ ที่นี้”
นอกจากศิลาจารึกที่ปากลำโดมน้อยแล้ว ยังพบศิลาจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันในเขตจังหวัดอุบลราชธานีอีก
รวม 5 หลัก/แห่ง และในเขตจังหวัดอื่นในภาคอีสานอก ๙ หลักแห่ง และจังหวัดสระแก้ว ๑ หลัก รวมเป็นจารึกจิตรเสน
ค้นพบแล้วในประเทศไทย ๑๖ หลักแห่ง ที่มีรูปแบบอักษรและเนื้อความในลักษณะเดียวกัน ต่างกันเพียงสิ่งเคารพบูชาที่สร้างขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันศิลาจารึกปากลำโดมน้อย ได้เคลื่อนย้ายไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี เอกลักษณ์ของศิลาจารึกปากลำโดมน้อยเป็นจารึกพระเจ้าจิตรเสนหลักหนึ่งในหลายๆหลักในดินแดนภาคอีสาน ที่แสดงถึงขอบเขตอำนาจและอารยธรรมเจนละพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และลำน้ำสาขาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานศิลาจารึกปากลำโดมน้อย ในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ๓ งาน 5 ตารางวา ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมาย
สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
เป็นฐานหิน
และบันไดลงสู่แม่น้ำด้วย
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้