21 กค 2564
เมื่อคนรุ่นใหม่ครองโลกของการลงทุน
การเพิ่มจำนวนประชากรของโลกมีแนวโน้วลดต่ำลงเรื่อยๆอัตราการเกิดเหลือเพียงครึ่งเดียวจากปี 1960 คือเมื่อ 60 ปีที่แล้วทำให้แนวโน้ม การเกิดคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นวัยทำงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้แก่ กลุ่มอายุที่มีอายุ 30-50 ปี เป็นสุดยอดวัยทำงานและวัยในการจับจ่ายใช้สอย มีความสำคัญต่อกำลังการซื้อ และกำลังบริโภคมากที่สุดโดยเกือบครึ่งของผลิตภัณฑ์ในตลาดโลกถูกทำมาเพื่อคนกลุ่มวัยนี้
มีนักประชากรศาสตร์คนนึง สังเกตุความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และเหตุการณ์สำคัญของโลก แบ่งคนออกมาเป็น Generation ซึ่งคนที่อยู่ใน Gen เดียวกันจะมีอายุไล่เลี่ยกัน และความคิดที่คล้ายคลึงกันจะมีความนิยม พฤติกรรมที่เหมือนกันและบริโภคแบบเดียวกัน
เมื่อดูจากอายุ 30- 50 ปี ดังนั้นกลุ่มที่มีความสำคัญ มีกำลังมากซื้อมากที่สุด ถูกคาบเกี่ยวระหว่าง Gen X และ Gen Y ซึ่ง Gen X และ Gen Y ก็มีลักษณะและพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกันโดย
Gen X คือคนที่เกิดในยุคที่เศรษฐกิจเติบโตดีที่สุดแต่ว่าก็ต้องเจอกับเศรษฐกิจพังอย่างน้อย 1 รอบทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ กลุ่ม Gen X นี้จะมีแนวคิดที่สบายๆ ไม่ได้เปลี่ยนงานบ่อย ไม่ต้องดิ้นรนมาก มีความเข้าใจในการลงทุน ไม่กล้าได้ กล้าเสียมาก ไม่เร้าใจ นับว่าเป็นโชคดีของคนที่เกิดในระหว่าง พศ 2508-2522 ซึ่งมีอายุปัจจุบันอยู่ระหว่าง 42-56 ปี โดยรวมแล้วตลอดระยะเวลาวัยทำงาน ตลาดหุ้นจะเป็นขาขึ้นมากกว่าขาลง
และกลุ่มที่ผมให้ความสำคัญมากๆ คือกลุ่ม Gen Y ก็คือคนที่เกิดในยุคที่เรามีคอมพิวเตอร์ใช้กันอย่างแพร่หลาย และใช้เทคโนโลยี ได้อย่างดีเยี่ยมตั้งแต่สมัยเด็ก สมัยเรียนหนังสือ Gen Y คนที่เกิดในระหว่าง พศ 2523-2540 ซึ่งมีอายุปัจจุบันอยู่ระหว่าง 24-41 ปี คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายสุดแบบต้มยำกุ้ง ปี 2540 เพราะกันเกิดไม่ได้ทัน จะเจอเพียงซับไพร์ม น้ำท่วม เป็นเพียงหลุมเล็กๆ ของการลงทุนเท่านั้น Gen Y มักจะมองโลกในแง่ดี จึงมีแนวคิดที่เรียกว่า ‘โลกสวย’ ในการลงทุน ในการทำงาน กล้าได้กล้าเสีย กล้าเลี่ยง กล้าเปลี่ยนแปลงสังคม กล้าแสดงว่าคิดเห็นอย่างเสรี ต้องการอะไรที่เร็วรวดทันใจ มีแนวคิดใหม่สำหรับพัฒนาประเทศและมีความต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นแบบที่พวกเค้าคิด
หากเราเป็นนักลงทุนระยะยาวที่มองการลงทุนจากพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นไปในอนาคต จะมองได้ว่าอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้านี้ คนรุ่นใหม่ที่จะมาขับเคลื่อนจะต้องเป็นคน Gen Y 100% อย่างแน่นอน ความต้องการรวยเร็ว รวยลัด เกษียรเร็วจะมีความทวีคูณมากขึ้นกว่าเดิม
หากมองพฤติกรรมอนาคตแบบนี้จะสวนทางกับเศรษฐกิจและธุรกิจที่อีก 10 ปีประเทศไืทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ Ages Society คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ
ในทวีปเอเชีย ประเทศที่เป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ไปก่อนแล้วคือประเทศญี่ปุ่น มีอัตราส่วนผู้ที่มีอายุ 60 ปีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ผ่านไปแล้วเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สิ่งที่ญี่ปุ่นเจอเป็นปัญหาทำให้ขาดแรงงานที่เป็นกำลังสำคัญในเศรษฐกิจ
แต่ประเทศญี่ปุ่นก็พยุงเศรษฐกิจด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานคนมากขึ้นทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการซึ่งก็ประสบความสำเร็จช่วยได้ส่วนนึงแต่ยังมีส่วนที่เป็นปัญหาสำคัญด้านการเงินกับเศรษฐกิจก็คือรัฐต้องจ่ายเงินอย่างมากเพื่อดูแลผู้สูงอายุมากขึ้นล้วนแต่เป็นเงินที่มาจากวัยทำงาน
ทำให้วัยทำงานต้องแบกรับภาษีมากขึ้น ประกอบกับรายได้การส่งออกน้อยลง การผลิตในประเทศถดถอยลง หลายปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นจึงดำเนินนโยบายการท่องเที่ยวมากขึ้น ด้วยการลดราคาตั๋วเครื่องบิน ฟรีวีซ่า เพื่อดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามา สร้างรายได้ให้แก่รัฐเพื่อมาดูแลผู้สูงวัย รวมถึงยืดเวลาการเกษียรจาก 60 ปี เป็น 65 ปีทำให้มีแรงงานเพิ่มขึ้นและจ่ายเงินชดเชยน้อยลง
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันแต่แตกต่างกันที่เรามีเทคโนโลยีที่ตามไม่ทันญี่ปุ่น จุดนี้เป็นจุดอ่อนแต่ยังเป็นช่องว่างให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างผลประกอบการจากสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่นระบบอัตโนมัติ ระบบ AI หัวคิดอัจฉริยะ
ออกมาขายในตลาดภายในประเทศ ถ้ามีรัฐบาลช่วยส่งเสริมในจุดนี้ผมคิดว่าเศรษฐกิจไทยไปต่อได้ แม้เราจะเจอกับ Ages- Society
แต่ก่อนจะถึงจุดที่นำเทคโลยีมาใช้ เรายังต้องเจอกับความผันผวน และการแข่งกันของหุ้นเก่าที่มีเทคโนโลยีอยู่แล้ว Battle กับหุ้นในกลุ่มอื่นที่ปรับตัวด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ ตัวไหนจะจริงหรือเก๊ผมไม่สามารถตอบได้ ที่ตอบได้คือ ตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนมากกว่าที่เคย และมีพฤติกรรมแบบขึ้นๆ ลงๆ แบบสวิงไปเรื่อยๆ ในอนาคตทั้งนี้เกิดจากพฤติกรรมนักลงทุน GEN Y แต่จะสวนทางกับเศรษฐกิจไทยที่เชื่องช้า เชื่องซึม เนื่องจากกำลังเข้าสู่ Ages- Society
ซึ่งตอนนี้ผมยังไม่เห็นหุ้นดาวรุ่งพุงไกลแต่มีหุ้นดาวหางที่พุงเร็วและตกแรงอยู่
เมื่อคนรุ่นใหม่ครองโลกของการลงทุน #มุมมองส่วนตัว
เมื่อคนรุ่นใหม่ครองโลกของการลงทุน
การเพิ่มจำนวนประชากรของโลกมีแนวโน้วลดต่ำลงเรื่อยๆอัตราการเกิดเหลือเพียงครึ่งเดียวจากปี 1960 คือเมื่อ 60 ปีที่แล้วทำให้แนวโน้ม การเกิดคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นวัยทำงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้แก่ กลุ่มอายุที่มีอายุ 30-50 ปี เป็นสุดยอดวัยทำงานและวัยในการจับจ่ายใช้สอย มีความสำคัญต่อกำลังการซื้อ และกำลังบริโภคมากที่สุดโดยเกือบครึ่งของผลิตภัณฑ์ในตลาดโลกถูกทำมาเพื่อคนกลุ่มวัยนี้
มีนักประชากรศาสตร์คนนึง สังเกตุความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และเหตุการณ์สำคัญของโลก แบ่งคนออกมาเป็น Generation ซึ่งคนที่อยู่ใน Gen เดียวกันจะมีอายุไล่เลี่ยกัน และความคิดที่คล้ายคลึงกันจะมีความนิยม พฤติกรรมที่เหมือนกันและบริโภคแบบเดียวกัน
เมื่อดูจากอายุ 30- 50 ปี ดังนั้นกลุ่มที่มีความสำคัญ มีกำลังมากซื้อมากที่สุด ถูกคาบเกี่ยวระหว่าง Gen X และ Gen Y ซึ่ง Gen X และ Gen Y ก็มีลักษณะและพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกันโดย
Gen X คือคนที่เกิดในยุคที่เศรษฐกิจเติบโตดีที่สุดแต่ว่าก็ต้องเจอกับเศรษฐกิจพังอย่างน้อย 1 รอบทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ กลุ่ม Gen X นี้จะมีแนวคิดที่สบายๆ ไม่ได้เปลี่ยนงานบ่อย ไม่ต้องดิ้นรนมาก มีความเข้าใจในการลงทุน ไม่กล้าได้ กล้าเสียมาก ไม่เร้าใจ นับว่าเป็นโชคดีของคนที่เกิดในระหว่าง พศ 2508-2522 ซึ่งมีอายุปัจจุบันอยู่ระหว่าง 42-56 ปี โดยรวมแล้วตลอดระยะเวลาวัยทำงาน ตลาดหุ้นจะเป็นขาขึ้นมากกว่าขาลง
และกลุ่มที่ผมให้ความสำคัญมากๆ คือกลุ่ม Gen Y ก็คือคนที่เกิดในยุคที่เรามีคอมพิวเตอร์ใช้กันอย่างแพร่หลาย และใช้เทคโนโลยี ได้อย่างดีเยี่ยมตั้งแต่สมัยเด็ก สมัยเรียนหนังสือ Gen Y คนที่เกิดในระหว่าง พศ 2523-2540 ซึ่งมีอายุปัจจุบันอยู่ระหว่าง 24-41 ปี คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายสุดแบบต้มยำกุ้ง ปี 2540 เพราะกันเกิดไม่ได้ทัน จะเจอเพียงซับไพร์ม น้ำท่วม เป็นเพียงหลุมเล็กๆ ของการลงทุนเท่านั้น Gen Y มักจะมองโลกในแง่ดี จึงมีแนวคิดที่เรียกว่า ‘โลกสวย’ ในการลงทุน ในการทำงาน กล้าได้กล้าเสีย กล้าเลี่ยง กล้าเปลี่ยนแปลงสังคม กล้าแสดงว่าคิดเห็นอย่างเสรี ต้องการอะไรที่เร็วรวดทันใจ มีแนวคิดใหม่สำหรับพัฒนาประเทศและมีความต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นแบบที่พวกเค้าคิด
หากเราเป็นนักลงทุนระยะยาวที่มองการลงทุนจากพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นไปในอนาคต จะมองได้ว่าอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้านี้ คนรุ่นใหม่ที่จะมาขับเคลื่อนจะต้องเป็นคน Gen Y 100% อย่างแน่นอน ความต้องการรวยเร็ว รวยลัด เกษียรเร็วจะมีความทวีคูณมากขึ้นกว่าเดิม
หากมองพฤติกรรมอนาคตแบบนี้จะสวนทางกับเศรษฐกิจและธุรกิจที่อีก 10 ปีประเทศไืทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ Ages Society คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ
ในทวีปเอเชีย ประเทศที่เป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ไปก่อนแล้วคือประเทศญี่ปุ่น มีอัตราส่วนผู้ที่มีอายุ 60 ปีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ผ่านไปแล้วเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สิ่งที่ญี่ปุ่นเจอเป็นปัญหาทำให้ขาดแรงงานที่เป็นกำลังสำคัญในเศรษฐกิจ
แต่ประเทศญี่ปุ่นก็พยุงเศรษฐกิจด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานคนมากขึ้นทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการซึ่งก็ประสบความสำเร็จช่วยได้ส่วนนึงแต่ยังมีส่วนที่เป็นปัญหาสำคัญด้านการเงินกับเศรษฐกิจก็คือรัฐต้องจ่ายเงินอย่างมากเพื่อดูแลผู้สูงอายุมากขึ้นล้วนแต่เป็นเงินที่มาจากวัยทำงาน
ทำให้วัยทำงานต้องแบกรับภาษีมากขึ้น ประกอบกับรายได้การส่งออกน้อยลง การผลิตในประเทศถดถอยลง หลายปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นจึงดำเนินนโยบายการท่องเที่ยวมากขึ้น ด้วยการลดราคาตั๋วเครื่องบิน ฟรีวีซ่า เพื่อดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามา สร้างรายได้ให้แก่รัฐเพื่อมาดูแลผู้สูงวัย รวมถึงยืดเวลาการเกษียรจาก 60 ปี เป็น 65 ปีทำให้มีแรงงานเพิ่มขึ้นและจ่ายเงินชดเชยน้อยลง
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันแต่แตกต่างกันที่เรามีเทคโนโลยีที่ตามไม่ทันญี่ปุ่น จุดนี้เป็นจุดอ่อนแต่ยังเป็นช่องว่างให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างผลประกอบการจากสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่นระบบอัตโนมัติ ระบบ AI หัวคิดอัจฉริยะ
ออกมาขายในตลาดภายในประเทศ ถ้ามีรัฐบาลช่วยส่งเสริมในจุดนี้ผมคิดว่าเศรษฐกิจไทยไปต่อได้ แม้เราจะเจอกับ Ages- Society
แต่ก่อนจะถึงจุดที่นำเทคโลยีมาใช้ เรายังต้องเจอกับความผันผวน และการแข่งกันของหุ้นเก่าที่มีเทคโนโลยีอยู่แล้ว Battle กับหุ้นในกลุ่มอื่นที่ปรับตัวด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ ตัวไหนจะจริงหรือเก๊ผมไม่สามารถตอบได้ ที่ตอบได้คือ ตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนมากกว่าที่เคย และมีพฤติกรรมแบบขึ้นๆ ลงๆ แบบสวิงไปเรื่อยๆ ในอนาคตทั้งนี้เกิดจากพฤติกรรมนักลงทุน GEN Y แต่จะสวนทางกับเศรษฐกิจไทยที่เชื่องช้า เชื่องซึม เนื่องจากกำลังเข้าสู่ Ages- Society
ซึ่งตอนนี้ผมยังไม่เห็นหุ้นดาวรุ่งพุงไกลแต่มีหุ้นดาวหางที่พุงเร็วและตกแรงอยู่