ดุสิตโพลชี้ไทยวิกฤตยอดติดเชื้อสูง-จี้รบ.จริงใจ
สวนดุสิตโพลชี้ไทยวิกฤตยอดติดเชื้อเพิ่มสูง จี้รัฐบาลจริงใจช่วยประชาชน ขณะ 49.35% ยังไม่ฉีดวัคซีน
“
สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,702 คน เรื่อง คนไทยในยุควิกฤต โควิด-19
ระหว่างวันที่ 5-15 กรกฎาคม 2564 เมื่อถามถึงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประชาชน พบว่า ร้อยละ49.35 ระบุ ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนรองลงมา ร้อยละ 38.84 ระบุ ฉีดแล้ว 1 เข็ม ร้อยละ 11.81 ระบุ ฉีดแล้ว 2 เข็ม
โดยกลุ่มที่ฉีดวัคซีนแล้วเข็มที่ 1 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ร้อยละ 41.86 ไฟเซอร์ ร้อยละ 25.39 ส่วนกลุ่มที่ฉีดเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็น ไฟเซอร์ ร้อยละ 30.07 โมเดอร์นา ร้อยละ 26.09
ขณะ กลุ่มที่ฉีดเข็มที่ 1 เป็นซิโนฟาร์ม อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็น ซิโนฟาร์ม ร้อยละ 50.00 โมเดอร์นา ร้อยละ25.00 ไฟเซอร์ ร้อยละ 16.67
ทั้งนี้เมื่อถามถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดที่บ่งชี้ว่าประเทศไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤติ พบว่า
ร้อยละ 89.24 ระบุ ยอดผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น
รองลงมา ร้อยละ 81.08 ระบุ บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19/คนทำงานไม่เพียงพอ
ร้อยละ 77.71 ระบุ สถานประกอบการ/ร้านค้า ปิดกิจการ คนตกงาน ว่างงาน
พร้อมกันนี้เมื่อถามถึงวิธีที่ประเทศไทยจะฝ่าวิกฤตได้ พบว่า
ร้อยละ 78.47 ระบุ รัฐบาลต้องจริงใจ ไม่แสวงหากำไรจากประชาชน
รองลงมา ร้อยละ 76.70 ระบุ ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้บุคลากรทางการแพทย์โดยเร็ว
ร้อยละ 75.04 ระบุ จัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและหลากหลายยี่ห้อให้ประชาชน
เมื่อถามความคิดเห็นประชาชนว่าประเทศไทยจะสามารถผ่านวิกฤตได้เมื่อไหร่ พบว่า ร้อยละ 36.74 ระบุ มากกว่า 2 ปี รองลงมา ร้อยละ 27.60 ระบุ 1 ปี ร้อยละ 25.93 ระบุ 2 ปี
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงหน่วยงานที่จะสามารถนำพาประเทศพ้นวิกฤต พบว่า ร้อยละ 36.15 ระบุ ประชาชนทุกภาคส่วนช่วยกัน รองลงมา ร้อยละ 17.03 ระบุ นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 10.61 ระบุ กระทรวงสาธารณสุข
****************
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
คนไทยในยุควิกฤติ โควิด-19
https://ppantip.com/topic/40848621
กลุ่มแคร์ ผนึก 'โทนี่ วู้ดซั่ม' ร่อนจม.ถึง 'บิ๊กตู่' เปิดข้อเสนอแนะแก้วิกฤต 24 ข้อ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2835149
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย เผยแพร่ จดหมายเปิดผนึก เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย และ Tony Woodsome
.
.
เรียน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี และ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)
.
จากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนที่ลุกลามไปทั่วโลก ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแรกในโลกที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสนอกพื้นที่ดังกล่าว สามารถรับมือกับโรคระบาดในระยะแรกได้เป็นอย่างดีด้วยระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง จนได้รับคำชื่นชมในระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันมีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นอีกหลายระลอกและเป็นสถานการณ์รุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในประเทศโดยเฉพาะในด้านสุขภาวะ และ เศรษฐกิจ
.
กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย ได้เฝ้าสังเกตการณ์สถานการณ์การแพร่ระบาด และ การบริหารจัดการของรัฐบาลในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตครั้งนี้อย่างใกล้ชิด มีความเห็นว่า แม้รัฐบาลจะมีความพยายามรับมือกับสถานการณ์ แต่กลับเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการบริหารจัดการของรัฐบาลมีข้อบกพร่องและมีความไม่ชัดเจนในหลายทิศทาง เสมือนไม่เข้าใจวิธีบริหารจัดการวิกฤตและมีความเข้าใจผิดพลาดบางประการเกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อ
.
กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย ในฐานะกลุ่มระดมความคิดและความรู้เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทย เห็นว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและการบริหารจัดการของรัฐบาลมีความน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาวไทย จึงได้รวบรวมข้อเสนอแนวคิดการบริหารจัดการจากผู้เชี่ยวชาญในหลายๆ ด้าน รวมถึงข้อคิดและข้อเสนอของ Tony Woodsome จากการร่วมสนทนาใน CARE Clubhouse เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เพื่อร่วมหาทางออกให้แก่พี่น้องประชาชนต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้
.
ประเด็นด้านการบริหารจัดการ 8 ข้อ
1. ยกเลิกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แล้วให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดการสถานการณ์หลัก และทำงานร่วมกับกระทรวงอื่น ภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรีโดยตรง
2. ลดขั้นตอนแบบระบบราชการ สร้างความรวดเร็วและทันท่วงทีในการแก้ไขปัญหาเชิงรุก
3. สื่อสารความจริงกับประชาชนอย่างเป็นเอกภาพ รอบด้าน และ ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะเรื่องยุทธศาสตร์การจัดการสถานการณ์วิกฤต เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและลดความตื่นตระหนกของประชาชน
4. บริหารจัดการอย่างสมดุลทั้งสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ในมาตรฐานที่ดีทัดเทียมกับอารยประเทศ
5. ปูพรมตรวจคัดกรองเชิงรุก แยกกักตัวผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน ติดตามผู้สัมผัส ขยายพื้นที่การรักษาพยาบาลผู้ป่วยหนัก รีบจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและ ยารักษาโรคที่ได้ผล
6. ยกเลิกการรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง และกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและภูมิภาคร่วมบริหารจัดการและรับมือการแพร่ระบาด
7. ออกมาตรการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
8. ปรับค่ายทหารโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่สีแดงเข้ม เป็นโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมเพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอ
.
ประเด็นด้านการจัดการวัคซีนและยารักษา 8 ข้อ
1. วางยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการวัคซีนที่ชัดเจน
2. เร่งรัดจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ประชาชนอย่างเพียงพอและทั่วถึง
3. เปิดสัญญาและชี้แจงข้อตกลงในสัญญาการจัดซื้อจัดหาวัคซีนทุกชนิดเพื่อความโปร่งใส
4. ควบคุมราคาวัคซีนทางเลือกในราคาต่ำที่สุดเพื่อลดภาระประชาชน
5. นำวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสจากสหรัฐอเมริกาหรือวัคซีน mRNA อื่นที่รัฐจัดหามาได้เบื้องต้นฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ก่อน
6. นำเสนอผลการศึกษาวิจัยการฉีดวัคซีนข้ามประเภทที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ และมีผลการทดสอบอย่างรอบคอบก่อนนำมาฉีดให้กับประชาชน
7. เปิดเจรจาระดับผู้นำประเทศเพื่อขอยืมแลกเปลี่ยนวัคซีนกับต่างประเทศที่มีวัคซีนสำรองจำนวนมากมาใช้ก่อนแล้วคืนในภายหลัง
8. ส่งเสริมการใช้สารสกัด Andrographolide จากสมุนไพรฟ้าทะลายโจรซึ่งมีผลการวิจัยรองรับอย่างเร่งด่วน โดยรีบจัดหาให้กับผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยและผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงเพื่อลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19
.
ประเด็นด้านการตรวจคัดกรอง 4 ข้อ
1. เปิดให้มีการนำเข้าหรือจัดหาชุดตรวจเร็ว (Rapid Antigen test) หรือชุดตรวจประเภทอื่นให้เพียงพอและกระจายอย่างทั่วถึง
2. ควบคุมราคาหรือลดอัตราภาษีนำเข้าชุดตรวจเร็ว ให้มีราคาต่ำที่สุดเพื่อลดภาระประชาชน
3. เพิ่มและกระจายจุดตรวจคัดกรองโควิด-19 ให้เพียงพอ เพื่อลดความแออัดของประชาชน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่สีแดงเข้ม
4. เปิดรับอาสาสมัครประจำจุดตรวจในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีบุคลากรเพียงพอต่อการขยายหรือเพิ่มจุดตรวจคัดกรอง
.
ประเด็นด้านเศรษฐกิจ 4 ข้อ
1. ออกมาตรการเยียวยาทันทีที่มีประกาศคำสั่งซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประชาชน
2. ออกมาตรการเยียวยาที่ทั่วถึง เพียงพอ และ เป็นธรรมต่อประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจไม่ว่าจะปิดหรือเปิดทำการ
3. ก่อนเปิดการท่องเที่ยวในบางพื้นที่ ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในพื้นที่ควรได้รับวัคซีนที่ได้มาตรฐานและทั่วถึงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว
4. จัดสรรเงินจาก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทอย่างมียุทธศาสตร์ เพื่อหยุดการระบาดของโรคให้เร็วที่สุด และฟื้นฟูธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ เช่น ร้านอาหาร สปา โรงแรม ฯลฯ
.
กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อรัฐบาลในการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตที่เกิดจากการระบาดของของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ
.
.
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
.
กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย
18 กรกฎาคม 2564
https://www.facebook.com/careorth/posts/367142558370774
ยาย78ฉีดวัคซีนAZเข็มแรกไม่ถึงวันสิ้นใจ ญาติเชื่อเกิดจากผลข้างเคียง
https://www.dailynews.co.th/news/66765/
ญาติโวยยายวัย 78 ปี เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนAstraZeneca เข็มแรกได้ไม่ถึงวัน ทั้งที่ร่างกายแข็งแรง เชื่อมาจากผลข้างเคียง
เมื่อวันที่ 18 ก.ค.น.ส.
พิชญา อยู่ศรี อายุ 22 ปี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ได้มีการเผาศพคุณย่า คือนาง
จันทรี อยู่ศรี อายุ 78 ปี ที่วัดท้ายเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังจากฉีดวัคซีน AstraZeneca เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่บางซื่อ กทม. ซึ่งหลังจากที่ย่าไปรับวัคซีนรอเช็คอาการ 30 นาทีย่าก็ไม่เป็นอะไร กลับไปส่งย่าที่ราชบุรี เลยถามอีกครั้งว่าย่าเป็นอะไรมั้ย ปวดเมื่อยตัวรึยัง ย่าก็ยืนยันคำเดิมว่าไม่เป็นอะไร และป้าที่ดูแลย่าโทรมาหาพ่อตอนเช้าว่า ย่าอาเจียน ท้องเสีย และช่วง10โมงย่าก็เสีย
น.ส.
พิชญา กล่าวว่า ตนเองก็ไปฉีดกับย่า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ช่วงเวลา 14:42 น. และรอเช็คอาการ 30 นาที ออกจากสถานที่ฉีดวัคซีน 15:12 น. ซึ่งอดคิดไม่ได้ว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากวัคซีน เพราะย่ารับวัคซีนมายังไม่ครบ 24 ชม. และย่าแข็งแรงมาตลอด โรคประจำตัวของย่าคือ ธาลัสซีเมีย และกระดูกทรุด ตามวัยของคนแก่ ซึ่งตนเองยืนยันว่าคุณย่าเสียชีวิตจากวัคซีนแน่นอน พร้อมจะทำเรื่องร้องเรียนให้ถึงที่สุดเพื่อความยุติธรรม โดยเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่จะส่งผลไปยัง กรุงเทพเพื่อรอผลยืนยันอีกครั้งว่าเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร
ด้านนาง
จินตนา วงษ์สร้อยสน อายุ 56 ปี ลูกสาวผู้เสียชีวิต กล่าวว่า หลังจากที่แม่กลับมา จนวันรุ่งขึ้นเวลา 07.30 น.ถามแม่ว่ามีอาการเป็นไงบ้าง แม่บ่นว่าปวดเหมื่อยตามร่างกายแขนไม่มีแรง เวียนหัว และอาเจียนเป็นน้ำอยู่ข้างเตียง ตนเองคิดว่าเป็นอาการปกติของคนฉีดวัคซีน จึงให้แม่นั้นนอนพักก่อนออกไปข้างนอกเพื่อจะซื้อของให้แม่ทาน ประมาณครึ่งชม.ก็กลับมาเห็นแม่ก็ลุกมาเปิดพัดลมได้แต่ไม่ค่อยไหว ก่อนจะมากินกล้วย และน้ำเกือบหมดแก้ว โดยถามแม่ว่าไหวมั้ยบอกว่าเวียนหัวจึงให้แม่นั้นนอนพักผ่อนไปอีกครั้ง จนนอนไปนานมาเกือบ 10.30 น. จึงไปเรียกคิดว่าผิดปกติแต่เรียกเท่าไหร่ก็ไม่ตื่นจึงพลิกตัวแม่ ปรากฏว่าแม่ปากซีดลิ้นจุกปาก ตนเองตกใจโทรเรียก 1669 มา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ชีพบอกว่าแม่เสียแล้วประมาณ 1 ชม. ส่งศพชันสูตร ที่โรงพยาบาลระบุว่า ปอดติดเชื้อ ตนไม่เชื่อว่าจะเสียชีวิตเพราะสาเหตุนี้ จึงต้องการคำอธิบายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าเกิดจากการฉีดวัคซีนแน่นอน
JJNY : ดุสิตโพลชี้ไทยวิกฤต│แคร์ผนึก'โทนี่'เสนอแนะแก้วิกฤต24ข้อ│ยาย78ฉีดAZเข็มแรกไม่ถึงวันสิ้นใจ│เศรษฐีต่างชาติฮุบโรงแรม
สวนดุสิตโพลชี้ไทยวิกฤตยอดติดเชื้อเพิ่มสูง จี้รัฐบาลจริงใจช่วยประชาชน ขณะ 49.35% ยังไม่ฉีดวัคซีน
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,702 คน เรื่อง คนไทยในยุควิกฤต โควิด-19
ระหว่างวันที่ 5-15 กรกฎาคม 2564 เมื่อถามถึงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประชาชน พบว่า ร้อยละ49.35 ระบุ ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนรองลงมา ร้อยละ 38.84 ระบุ ฉีดแล้ว 1 เข็ม ร้อยละ 11.81 ระบุ ฉีดแล้ว 2 เข็ม
โดยกลุ่มที่ฉีดวัคซีนแล้วเข็มที่ 1 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ร้อยละ 41.86 ไฟเซอร์ ร้อยละ 25.39 ส่วนกลุ่มที่ฉีดเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็น ไฟเซอร์ ร้อยละ 30.07 โมเดอร์นา ร้อยละ 26.09
ขณะ กลุ่มที่ฉีดเข็มที่ 1 เป็นซิโนฟาร์ม อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็น ซิโนฟาร์ม ร้อยละ 50.00 โมเดอร์นา ร้อยละ25.00 ไฟเซอร์ ร้อยละ 16.67
ทั้งนี้เมื่อถามถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดที่บ่งชี้ว่าประเทศไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤติ พบว่า
ร้อยละ 89.24 ระบุ ยอดผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น
รองลงมา ร้อยละ 81.08 ระบุ บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19/คนทำงานไม่เพียงพอ
ร้อยละ 77.71 ระบุ สถานประกอบการ/ร้านค้า ปิดกิจการ คนตกงาน ว่างงาน
พร้อมกันนี้เมื่อถามถึงวิธีที่ประเทศไทยจะฝ่าวิกฤตได้ พบว่า
ร้อยละ 78.47 ระบุ รัฐบาลต้องจริงใจ ไม่แสวงหากำไรจากประชาชน
รองลงมา ร้อยละ 76.70 ระบุ ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้บุคลากรทางการแพทย์โดยเร็ว
ร้อยละ 75.04 ระบุ จัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและหลากหลายยี่ห้อให้ประชาชน
เมื่อถามความคิดเห็นประชาชนว่าประเทศไทยจะสามารถผ่านวิกฤตได้เมื่อไหร่ พบว่า ร้อยละ 36.74 ระบุ มากกว่า 2 ปี รองลงมา ร้อยละ 27.60 ระบุ 1 ปี ร้อยละ 25.93 ระบุ 2 ปี
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงหน่วยงานที่จะสามารถนำพาประเทศพ้นวิกฤต พบว่า ร้อยละ 36.15 ระบุ ประชาชนทุกภาคส่วนช่วยกัน รองลงมา ร้อยละ 17.03 ระบุ นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 10.61 ระบุ กระทรวงสาธารณสุข
****************
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
คนไทยในยุควิกฤติ โควิด-19
https://ppantip.com/topic/40848621
กลุ่มแคร์ ผนึก 'โทนี่ วู้ดซั่ม' ร่อนจม.ถึง 'บิ๊กตู่' เปิดข้อเสนอแนะแก้วิกฤต 24 ข้อ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2835149
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย เผยแพร่ จดหมายเปิดผนึก เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย และ Tony Woodsome
.
.
เรียน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี และ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)
.
จากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนที่ลุกลามไปทั่วโลก ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแรกในโลกที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสนอกพื้นที่ดังกล่าว สามารถรับมือกับโรคระบาดในระยะแรกได้เป็นอย่างดีด้วยระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง จนได้รับคำชื่นชมในระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันมีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นอีกหลายระลอกและเป็นสถานการณ์รุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในประเทศโดยเฉพาะในด้านสุขภาวะ และ เศรษฐกิจ
.
กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย ได้เฝ้าสังเกตการณ์สถานการณ์การแพร่ระบาด และ การบริหารจัดการของรัฐบาลในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตครั้งนี้อย่างใกล้ชิด มีความเห็นว่า แม้รัฐบาลจะมีความพยายามรับมือกับสถานการณ์ แต่กลับเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการบริหารจัดการของรัฐบาลมีข้อบกพร่องและมีความไม่ชัดเจนในหลายทิศทาง เสมือนไม่เข้าใจวิธีบริหารจัดการวิกฤตและมีความเข้าใจผิดพลาดบางประการเกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อ
.
กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย ในฐานะกลุ่มระดมความคิดและความรู้เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทย เห็นว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและการบริหารจัดการของรัฐบาลมีความน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาวไทย จึงได้รวบรวมข้อเสนอแนวคิดการบริหารจัดการจากผู้เชี่ยวชาญในหลายๆ ด้าน รวมถึงข้อคิดและข้อเสนอของ Tony Woodsome จากการร่วมสนทนาใน CARE Clubhouse เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เพื่อร่วมหาทางออกให้แก่พี่น้องประชาชนต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้
.
ประเด็นด้านการบริหารจัดการ 8 ข้อ
1. ยกเลิกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แล้วให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดการสถานการณ์หลัก และทำงานร่วมกับกระทรวงอื่น ภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรีโดยตรง
2. ลดขั้นตอนแบบระบบราชการ สร้างความรวดเร็วและทันท่วงทีในการแก้ไขปัญหาเชิงรุก
3. สื่อสารความจริงกับประชาชนอย่างเป็นเอกภาพ รอบด้าน และ ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะเรื่องยุทธศาสตร์การจัดการสถานการณ์วิกฤต เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและลดความตื่นตระหนกของประชาชน
4. บริหารจัดการอย่างสมดุลทั้งสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ในมาตรฐานที่ดีทัดเทียมกับอารยประเทศ
5. ปูพรมตรวจคัดกรองเชิงรุก แยกกักตัวผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน ติดตามผู้สัมผัส ขยายพื้นที่การรักษาพยาบาลผู้ป่วยหนัก รีบจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและ ยารักษาโรคที่ได้ผล
6. ยกเลิกการรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง และกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและภูมิภาคร่วมบริหารจัดการและรับมือการแพร่ระบาด
7. ออกมาตรการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
8. ปรับค่ายทหารโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่สีแดงเข้ม เป็นโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมเพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอ
.
ประเด็นด้านการจัดการวัคซีนและยารักษา 8 ข้อ
1. วางยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการวัคซีนที่ชัดเจน
2. เร่งรัดจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ประชาชนอย่างเพียงพอและทั่วถึง
3. เปิดสัญญาและชี้แจงข้อตกลงในสัญญาการจัดซื้อจัดหาวัคซีนทุกชนิดเพื่อความโปร่งใส
4. ควบคุมราคาวัคซีนทางเลือกในราคาต่ำที่สุดเพื่อลดภาระประชาชน
5. นำวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสจากสหรัฐอเมริกาหรือวัคซีน mRNA อื่นที่รัฐจัดหามาได้เบื้องต้นฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ก่อน
6. นำเสนอผลการศึกษาวิจัยการฉีดวัคซีนข้ามประเภทที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ และมีผลการทดสอบอย่างรอบคอบก่อนนำมาฉีดให้กับประชาชน
7. เปิดเจรจาระดับผู้นำประเทศเพื่อขอยืมแลกเปลี่ยนวัคซีนกับต่างประเทศที่มีวัคซีนสำรองจำนวนมากมาใช้ก่อนแล้วคืนในภายหลัง
8. ส่งเสริมการใช้สารสกัด Andrographolide จากสมุนไพรฟ้าทะลายโจรซึ่งมีผลการวิจัยรองรับอย่างเร่งด่วน โดยรีบจัดหาให้กับผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยและผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงเพื่อลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19
.
ประเด็นด้านการตรวจคัดกรอง 4 ข้อ
1. เปิดให้มีการนำเข้าหรือจัดหาชุดตรวจเร็ว (Rapid Antigen test) หรือชุดตรวจประเภทอื่นให้เพียงพอและกระจายอย่างทั่วถึง
2. ควบคุมราคาหรือลดอัตราภาษีนำเข้าชุดตรวจเร็ว ให้มีราคาต่ำที่สุดเพื่อลดภาระประชาชน
3. เพิ่มและกระจายจุดตรวจคัดกรองโควิด-19 ให้เพียงพอ เพื่อลดความแออัดของประชาชน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่สีแดงเข้ม
4. เปิดรับอาสาสมัครประจำจุดตรวจในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีบุคลากรเพียงพอต่อการขยายหรือเพิ่มจุดตรวจคัดกรอง
.
ประเด็นด้านเศรษฐกิจ 4 ข้อ
1. ออกมาตรการเยียวยาทันทีที่มีประกาศคำสั่งซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประชาชน
2. ออกมาตรการเยียวยาที่ทั่วถึง เพียงพอ และ เป็นธรรมต่อประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจไม่ว่าจะปิดหรือเปิดทำการ
3. ก่อนเปิดการท่องเที่ยวในบางพื้นที่ ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในพื้นที่ควรได้รับวัคซีนที่ได้มาตรฐานและทั่วถึงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว
4. จัดสรรเงินจาก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทอย่างมียุทธศาสตร์ เพื่อหยุดการระบาดของโรคให้เร็วที่สุด และฟื้นฟูธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ เช่น ร้านอาหาร สปา โรงแรม ฯลฯ
.
กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อรัฐบาลในการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตที่เกิดจากการระบาดของของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ
.
.
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
.
กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย
18 กรกฎาคม 2564
https://www.facebook.com/careorth/posts/367142558370774
ยาย78ฉีดวัคซีนAZเข็มแรกไม่ถึงวันสิ้นใจ ญาติเชื่อเกิดจากผลข้างเคียง
https://www.dailynews.co.th/news/66765/
ญาติโวยยายวัย 78 ปี เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนAstraZeneca เข็มแรกได้ไม่ถึงวัน ทั้งที่ร่างกายแข็งแรง เชื่อมาจากผลข้างเคียง
เมื่อวันที่ 18 ก.ค.น.ส.พิชญา อยู่ศรี อายุ 22 ปี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ได้มีการเผาศพคุณย่า คือนางจันทรี อยู่ศรี อายุ 78 ปี ที่วัดท้ายเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังจากฉีดวัคซีน AstraZeneca เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่บางซื่อ กทม. ซึ่งหลังจากที่ย่าไปรับวัคซีนรอเช็คอาการ 30 นาทีย่าก็ไม่เป็นอะไร กลับไปส่งย่าที่ราชบุรี เลยถามอีกครั้งว่าย่าเป็นอะไรมั้ย ปวดเมื่อยตัวรึยัง ย่าก็ยืนยันคำเดิมว่าไม่เป็นอะไร และป้าที่ดูแลย่าโทรมาหาพ่อตอนเช้าว่า ย่าอาเจียน ท้องเสีย และช่วง10โมงย่าก็เสีย
น.ส.พิชญา กล่าวว่า ตนเองก็ไปฉีดกับย่า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ช่วงเวลา 14:42 น. และรอเช็คอาการ 30 นาที ออกจากสถานที่ฉีดวัคซีน 15:12 น. ซึ่งอดคิดไม่ได้ว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากวัคซีน เพราะย่ารับวัคซีนมายังไม่ครบ 24 ชม. และย่าแข็งแรงมาตลอด โรคประจำตัวของย่าคือ ธาลัสซีเมีย และกระดูกทรุด ตามวัยของคนแก่ ซึ่งตนเองยืนยันว่าคุณย่าเสียชีวิตจากวัคซีนแน่นอน พร้อมจะทำเรื่องร้องเรียนให้ถึงที่สุดเพื่อความยุติธรรม โดยเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่จะส่งผลไปยัง กรุงเทพเพื่อรอผลยืนยันอีกครั้งว่าเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร
ด้านนางจินตนา วงษ์สร้อยสน อายุ 56 ปี ลูกสาวผู้เสียชีวิต กล่าวว่า หลังจากที่แม่กลับมา จนวันรุ่งขึ้นเวลา 07.30 น.ถามแม่ว่ามีอาการเป็นไงบ้าง แม่บ่นว่าปวดเหมื่อยตามร่างกายแขนไม่มีแรง เวียนหัว และอาเจียนเป็นน้ำอยู่ข้างเตียง ตนเองคิดว่าเป็นอาการปกติของคนฉีดวัคซีน จึงให้แม่นั้นนอนพักก่อนออกไปข้างนอกเพื่อจะซื้อของให้แม่ทาน ประมาณครึ่งชม.ก็กลับมาเห็นแม่ก็ลุกมาเปิดพัดลมได้แต่ไม่ค่อยไหว ก่อนจะมากินกล้วย และน้ำเกือบหมดแก้ว โดยถามแม่ว่าไหวมั้ยบอกว่าเวียนหัวจึงให้แม่นั้นนอนพักผ่อนไปอีกครั้ง จนนอนไปนานมาเกือบ 10.30 น. จึงไปเรียกคิดว่าผิดปกติแต่เรียกเท่าไหร่ก็ไม่ตื่นจึงพลิกตัวแม่ ปรากฏว่าแม่ปากซีดลิ้นจุกปาก ตนเองตกใจโทรเรียก 1669 มา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ชีพบอกว่าแม่เสียแล้วประมาณ 1 ชม. ส่งศพชันสูตร ที่โรงพยาบาลระบุว่า ปอดติดเชื้อ ตนไม่เชื่อว่าจะเสียชีวิตเพราะสาเหตุนี้ จึงต้องการคำอธิบายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าเกิดจากการฉีดวัคซีนแน่นอน