นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา : ไม่ควรจะสั่งซิโนแวค เข้ามาอีกแล้ว
https://www.matichon.co.th/local/news_2834026
สรุปประเด็น คลับเฮาส์ ‘หมอประสิทธิ์’ ตอบคำถามเหตุวัคซีนล่าช้า ชี้ ไม่ควรสั่งซิโนแวคอีก ย้ำ ไทยควรเริ่มสั่งวัคซีนเจเนอเรชั่นที่ 2 ตอนนี้
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ร่วมพูดคุยในคลับเฮาส์ เกี่ยวกับประเด็นวัคซีนโควิด ทั้งการนำเข้าวัคซีนและ บูสเตอร์โดส โดยมองว่า ซิโนแวคนั้นไม่เพียงพอในช่วงเวลาปัจจุบัน ที่สายพันธุ์เดลต้า กำลังระบาดหนัก และจำเป็นจะต้องจองซื้อวัคซีน เจเนอเรชั่นที่ 2 วันนี้แล้ว เพื่อให้เพียงพอต่อในอนาคต
ประสิทธิภาพ “ซิโนแวค” ไม่เพียงพอ
ผู้ร่วมเสวนาได้ถามถึง กรณีการประชุมวิชาการ ที่ระบุว่าการนำไฟเซอร์เข้ามา จะทำให้แก้ตัวถึงประสิทธิภาพของซิโนแวคไม่ได้นั้น นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า ผมไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการเรื่องการจัดสรรวัคซีน ไปเช็กรายชื่อได้ ผมเป็นที่ปรึกษา ความเห็นของผม คือ ก่อนหน้าจะเจอวัคซีนรุ่นที่ 2 มันมีความเสี่ยง โดยเฉพาะเดลต้า ตั้งแต่ผมเริ่มเน้นเรื่องเดลต้า ก็พยายามพูดว่าต้องมีบูสเตอร์โดส เข้ามา ซิโนแวคนั้น ปีที่แล้ว อาจจะพอ เพราะปีที่แล้วไม่มีสายพันธุ์เดลต้า อย่าลืมนะ มันมีการกลายพันธุ์ ตอนที่เป็นสายพันธุ์อู่ฮั่น มันอาจจะพอ แต่พอกลายพันธุ์ไปสหราชอาณาจักร ก็ยังเข้าใจว่าพอ แต่พอเดลต้า เชื่อว่าชัดเลยว่าไม่พอ
“เมื่อไม่พอ จะไปเสี่ยงมันก็ไม่ถูก มันต้องมี intervention อย่างอื่นเข้ามาเสริม วันนี้ ศบค.ยอมรับที่เราเสนอไปแล้ว ก็แปลว่า ศบค.ยอมรับแล้วแหละว่า ซิโนแวค 2 เข็มไม่พอ ก็พูดเรื่องนี้มาเกือบ 1 เดือนแล้วที่เราแต่ละกรรมการ คิดว่ากรรมการแต่ละชุดยอมรับ ว่าไม่พอ”
“ผมไม่ได้อยู่ใน ศบค.ปกติผมไม่ได้เข้าศบค.ด้วยซ้ำ ครั้งนี้เข้าไปเพราะต้องดันเรื่องวัคซีน เพราะงั้นคำตอบคือผมไม่ได้มี influence กับ ศบค. และนิสัยผมก็ไม่ชอบเข้าไปยุ่งกับระดับข้างบน ผมชอบทำงานวิชาการ เครื่องนี้ไปเกี่ยวเพราะเรื่องวัคซีน คือเข้าไปบอกว่าจำเป็นแล้ว จะต้องเตรียมไม่ล็อกดาวน์ก็ต้องเตรียม 2 เรื่องนี้เท่านั้น”
ทั้งยังระบุว่า ผมไม่มองว่า ซิโนแวคคุณภาพต่ำ มันมีคุณภาพที่ดีตอนไม่มีสายพันธุ์เดลต้า แต่พอมันมีสายพันธ์อย่างนี้ ผมคิดว่ามันไม่เพียง และก็จริงๆ ก่อนหน้านี้ใครคงเคยได้ยินตัวเลข 40 ล้าน ซึ่งเราก็เบรกไปแล้ว เราก็เบรกไปแล้วว่ามันไม่สมควร ส่วนจะไปยังไงต่ออยู่ที่ข้างบน ผมก็ยังยืนยันว่าตราบใดอยู่วัคซีนไม่เหมาะกับใช้ในประเทศไม่เกิดประโยชน์ก็เบรกแน่นอน ถ้าตราบใดที่ยังเป็นที่ปรึกษา
แจงเหตุ วัคซีนไทยได้ช้า
นพ.
ประสิทธิ์กล่าวว่า อ้างอิงจากตัวเลขของ ดร.นพ.
ยศ ตีระวัฒนานนท์ เมื่อปลายปีที่แล้ว กับต้นปี บริษัทวัคซีนทั้งหมด 35 บริษัท คุยกันมากว่าเบ็ดเสร็จจนปลายปีจะผลิตวัคซีนได้ทั้งหมด 2 หมื่นล้านโดส ซึ่งน่าจะพอ เพราะฉะนั้นตอนนั้นเนี่ย ก็คิดว่าพอถึงปลายปี ครึ่งปีหลัง ตลาดวัคซีนควรจะเป็นตลาดของผู้ซื้อ แต่ความจริงไม่ใช่เลย จนถึง ณ วันนี้ ถ้าคำนวณตามอัตรานี้ไปถึงปลายปี เบ็ดเสร็จหมดว่าบริษัททั้งหมด น่าจะผลิตวัคซีนได้ประมาณ 12,000 ล้านโดส ประชากรโลกทั้งหมด 7,800 ล้าน ทั้งหมดยังไม่พอเลย เพราะ 2 โดส ก็ 15,000 ล้านโดสประมาณ เพราะงั้น จริงๆ คือตลาดจนถึงตอนนี้ยังเป็นของผู้ขาย
“นี่คือเหตุผลที่ทำไมหลายๆ แห่งไปติดต่อ มันไม่ขาย หรือติดต่อจริง เหมือนกับเราต้องไปง้อซื้อจากเขา เราไม่ได้ต้องการอย่างนี้นะ แต่ว่าตลาดตอนนี้มันยังไม่สามารถ อยากจะได้เท่าไหร่ได้มาเท่านั้น มันยังเป็นแบบนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นช่วงที่ตลาดยังเป็นแบบนี้ จึงขอให้กลุ่มบุคลากรทางสุขภาพที่ได้ ซิโนแวค 2 โดส ต้องให้ อีกกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ คนที่มี 7 โรค อันนี้ต้องรีบให้ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ขณะเดียวกัน ถ้าบุคลากรด้านสุขภาพเกิดป่วย แยกออกไป คนดูแลน้อยลง ทรัพยากรการดูแลน้อยลง คนไข้ก็จะตายมากขึ้นอีก
ชี้ควรสั่ง ตั้งแต่เฟส 3 ของปีที่แล้ว
นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า ช่วงที่สั่งวัคซีนตอนนั้น ไม่ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามา เมื่อเริ่มมีสังเกตุว่ามีอะไร ก็เลยเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยกันให้ข้อคิดเห็น แต่การสั่งวัคซีนมันเป็นการสั่งล่วงหน้า การสั่งวัคซีนไม่ใช่ว่าสั่งวันนี้แล้วเดือนหน้ามา มันสั่งล่วงหน้า
“หากถามผม วิเคราะห์ย้อนหลัง จุดที่ควรจะสั่งมันควรจะเกิดตั้งแต่ตอน เฟสอบข้อมูลได้ แต่ของเราเวลานั้น ผมเดาว่า เพราะประเทศไทยตอนนั้นดู ชิลๆ มันดูน้อย ก็เลยไม่มีใครที่จะคิดว่าต้องมีความจำเป็นต้องไปติดต่อวัคซีนเอาไว้ก่อน กระทั่งพอเริ่มมีเกิด เริ่มมีเหตุการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น วัคซีนที่ผลิตใหม่ก็จะถูกส่งไปประเทศต่างๆ เหล่านั้น เราก็ไม่ได้เข้ามา ผมเดาว่าตอนนั้น มีการเอาซิโนแวคเข้ามา”
เห็นด้วยไม่ควรสั่ง ซิโนแวคเพิ่มอีก
“ผมเองก็เห็นด้วยว่า ซิโนแวค เราไม่ควรจะต้องสั่งอีกแล้ว เพราะยังไงก็แล้วแต่ ต่อไปในอนาคตมันมีแพลตฟอร์ม 2 อันนี้แล้ว” นพ.
ประสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ นพ.
ประสิทธิ์ ยังกล่าวถึงวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าว่า ตอนนี้เราก็พยายามเร่ง ก็ทะเลาะกับ แอสตร้าเซนเนก้าอยู่เหมือนกัน เพราะแอสตร้าฯ เอาวัคซีนไปให้อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม แต่เราก็ต้องยืนยัน แต่เขาเป็นเจ้าของ เราเป็นผู้ผลิต ซึ่งตอนนี้เป็นปัญหากัน ไม่รู้อะไร ก็น่าจะฟ้องร้องอะไรกัน การเล่นงานกันอยู่ หลายคนอาจจะเคยได้ยินอยู่ตอนนี้
มองหาวัคซีนยี่ห้ออื่นตลอด
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชฯ กล่าวว่า จริงๆแล้วเนี่ย แพลตฟอร์ม 2 อันนี้ อย่าง ไวรัล เวกเตอร์ เราก็ไม่ได้สั่งแค่นี้ เราสั่งจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ก่อนหน้าเราติดต่อ สปุตนิก วี ไว้ด้วย ระหว่างติดต่อเกิดเหตุ 2 เรื่อง เรื่องที่ 1 เอกสารที่ส่งมาเป็นภาษารัสเซีย มันยังไงก็ไม่ได้ก็ต้องแก้ 2.เกิดเหตุที่บราซิล ที่เกิดเคสว่าวัคซีนที่เข้าไปนั้นปรากฏว่าไวรัสมันยัง replicate ได้ ก็เลยมีประเด็น ถ้างั้นเราไปดูลิสต์ขององค์การอนามัยโลก ที่จะรับรองตอนนี้ สปุตนิก วี เป็นตัวถัดไปหลังจากซิโนแวค แต่ตอนนี้ยังไม่รับรอง เพราะโรงงานที่ผลิตยังไม่ได้ prove ว่ามีประสิทธิภาพ
“เราติดต่อวัคซีนพวกนี้ด้วย ไม่ใช่ไม่ติดต่อ แต่สิ่งที่มันติดต่อเหล่านี้ มันไม่ได้มีข่าวในสังคม เพราะระหว่างที่ติดต่อมีข่าวมาเมื่อไหร่ราคามันขึ้นทันที เพราะฉะนั้นตอนนั้นมีการติดต่อเดินคุยกันภายใน คุยกันแม้กระทั่งรัฐบาลกับรัฐบาล ตัวสปุตนิกวี หรือ กามาลายา ก็มีคุยกันรัฐบาลกับรัฐบาล โดยท่านรองนายกท่านหนึ่ง ที่สนิทกับรัสเซีย ว่าขอด่วน เข้ามาช่วย แต่ด่วนอย่างไรก็ต้องผ่านขั้นตอนอย. มันก็ต้องมีเอกสารมาดู แต่พอเป็นเอกสารภาษารัสเซีย ก็ต้องถอดเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะสามารถมาประเมิน เห็นด้วยว่า ขั้นตอนในประเทศไทยมันเยิ่นเย้อ มันมีลำดับมา ก็เห็นด้วย ตอนนี้มันก็คงเป็นบทเรียน” นพ.
ประสิทธิ์ กล่าว
บูสเตอร์โดส เลือกระหว่าง แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์
นพ.
ประสิทธิ์กล่าวว่า 3 อาทิตย์ที่ผ่านมา คณะกรรมการที่ปรึกษา มี อ.ปิยะสกล และอีกหลายๆ คน สรุปแล้วว่าด้วยสถานการณ์ในเวลานั้นเนี่ย มี สายพันธุ์เดลต้า ประมาณ 50% ระบาดในไทย คาดว่าจะต้องขึ้นแน่นอน และสรุปว่า ซิโนแวค 2 เข็มไม่น่าพอ น่าจะต้องบูสเตอร์ และมีเพียง 2 ทางออก คือ mRNA หรือ Viral vector และ ศบค.ก็ได้อนุมัติอย่างเป็นทางการแล้ว
ทั้งนี้ จะมีไฟเซอร์เข้ามา 15 ล้าน ที่รัฐบาลมอบให้กับประเทศไทย แต่เดิมที่จะให้ผู้สูงอายุ ผู้มีความเสี่ยง 7 โรค ก็เสนอว่าขอปันครึ่งหนึ่ง ให้บุคลากรด่านหน้าของกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย 6-7 แสนคน เพราะว่าคนเหล่านี้มีความเสี่ยง ยิ่งเดลต้ามากขึ้นเรื่อยๆ คนเหล่านี้จะเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็ประเมินดูกันอีกว่าตกลงวัคซีนจะมาเมื่อไหร่ ทันหรือไม่ ชั่วขณะเดียวกันก็เปิดให้เลือก ไม่ได้บังคับ เพราะบางคนอยากได้ mRNA ไม่อยากได้ Viral vector
“ย้ำว่า บุคลากรด่านหน้าด้านสุขภาพทุกคนที่ได้รับการฉีด ซิโนแวค 2 เข็ม จะได้รับบูสเตอร์ ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน 2 อย่างก็คือ ไฟเซอร์ ที่หยิบมาจาก 1.5 ล้าน และแอสตร้าเซนเนก้า ส่วนระยะเวลาการเดินทางมาถึงนั้น ได้สอบถามไปทาง หมอโอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ก็บอกว่ายังมาไม่ถึง แต่ยืนยันว่า มาแน่ ปลายเดือนนี้ หมายความว่าปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า จะมีไฟเซอร์ฉีดได้แล้ว ส่วนแอสตร้าเซนเนาก้านี้ หากเอา ก็สามารถฉีดได้เลย ถ้าไม่เอาจะเอาไฟเซอร์ ก็แจ้งไว้ แต่ผมรับปากไม่ได้ว่าจะมาเมื่อไหร่ ถ้ามาเมื่อไหร่จะรีบเอาให้เร็วที่สุด
ศิริราช จองโมเดอร์นา 20,000 โดส ผ่านสภากาชาด
นพ.ประสิทธิ์ ยังได้เปิดเผยว่า ได้ส่งตัวเลขของผู้รับวัคซีนบูสเตอร์โดสของศิริราชไปแล้ว จำนวนทั้งหมดที่ขอไปคือ 22,731 ราย มีแพทย์ 2,445 ราย มีพยาบาล 6,611 ราย ทันตแพทย์ 41 คน เภสัชกร 249 คน นักวิทยาศาสตร์ 256 และอื่นๆ รวมทั้ง พนักงานช่วยสาธารณสุข พนักงานขับรถ และนักศึกษา เข้าไปด้วย ยกเว้นนักศึกษาปี 1 ที่มหาวิทยาลัยจะเป็นคนยื่นไป
“สำหรับคำถามที่ว่า ผู้ที่ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 โดสแล้วนั้น ผลวิจัยบอกว่า ยังเพียงพอสำหรับสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของการป้องกันความรุนแรง ผมเองฉีด 2 โดส ก็ไม่เรียกร้องเข็มที่ 3 ผมต้องเชื่อในวิชาการที่ผมอ่าน คนที่ฉีดซิโนแวค 2 โดส เป็นไพรออริตี้แรกที่ต้องรีบให้ ตอนนี้มีคนกลุ่มเสี่ยงอายุมากกว่า 60 หรือ 7 โรค ทั้งหมดฉีดกันไม่ถึง 20% เลย ซึ่งกลุ่มนี้หากฉีดน้อย อัตราการตายก็จะเพิ่มขึ้น ควรรีบให้เขาก่อน”
“อย่างไรการสั่งวัคซีนมีความเสี่ยง ไม่ใช่ว่าสั่งแล้วจะได้ชัวร์ ต้องบริหารความเสี่ยง ผมได้จ่ายเงินไปเรียบร้อยจากศิริราชมูลนิธิ 26 ล้าน เพื่อสั่ง โมเดอร์นา มาเผื่ออีก 20,000 โดส ผ่านทางสภากาชาด เพราะสภากาชาดจะสั่งจองให้แต่มีเงื่อนไขคือต้องจ่ายเงินเลย ฉะนั้น 20,000 โดย เผื่อไว้ว่ามันไม่มา จะได้ใช้ในส่วนนี้ ซึ่งก็ได้คำตอบว่าจะมาช่วยปลายตุลาคม” นพ.
ประสิทธิ์กล่าว
ต้องเร่งจอง second generation วัคซีน
นพ.
ประสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้เราได้คุยกันเรื่อง second generation ของวัคซีน แล้ว หาทางไม่อยากให้ซ้ำรอยประสบการณ์เดิมที่ผ่านมา ที่เราติดต่อบริษัทช้า ปีหน้านั้น เราพูดถึง second generation ของวัคซีน เราควรจะติดต่อตั้งแต่ตอนนี้แล้ว เพราะตอนนี้มีบริษัททั้ง ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตร้าเซนเนก้า ที่กำลังทำ เจเนอเรชั่นที่ 2 เราควรจะติดต่อเลยดีกว่าไหม ซึ่งมีการคุยกันแล้วด้วยซ้ำ ถ้าติดต่อตอนนี้ อาจจะต้องติดต่อไว้เลย 120 ล้านโดส เพราะเราต้องเผื่อไว้ เราก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่า ต่อไป เข็มเดียวพอหรือไม่ เป็นบทเรียนจากที่ผ่านมา
“ยอมรับว่า ที่ผ่านมา ให้ผมพูดก็พูดตรงๆ ไม่อิงข้างใดข้างหนึ่ง แต่อิงความถูกต้อง วิชาการ ที่สั่งวัคซีนช้า เพราะเราคิดว่าประเทศไทยดีมาก เราก็เลยเพิกเฉยในการที่จะรีบสั่ง ผมเดาว่าคนคาดการณ์เอาไว้ว่า พอถึงปลายปีมันจะมีวัคซีนเหลือสั่ง พอตลาดเป็นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะไปซื้อตัวไหนก็ได้ราคามันจะลง ซึ่งในความเป็นจริงทุกอย่างมันไม่ใช่ โปรดักชั่นก็ต่ำว่าที่เคยคิดไว้เดือนสิงหาคม-กันยายน เพราะดูตัวเลขแต่ลบริษัท มันไม่ได้ตามขั้น”
JJNY : นพ.ประสิทธิ์:ไม่ควรสั่งซิโนแวคอีก│อาลัย'น้องจูน'นางฟ้าชุดขาว!│'หมอแล็บ'ปลงกฎเข้มสกัดหน่วยงานช่วย│รถโดยสารโคราชโอด
https://www.matichon.co.th/local/news_2834026
สรุปประเด็น คลับเฮาส์ ‘หมอประสิทธิ์’ ตอบคำถามเหตุวัคซีนล่าช้า ชี้ ไม่ควรสั่งซิโนแวคอีก ย้ำ ไทยควรเริ่มสั่งวัคซีนเจเนอเรชั่นที่ 2 ตอนนี้
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ร่วมพูดคุยในคลับเฮาส์ เกี่ยวกับประเด็นวัคซีนโควิด ทั้งการนำเข้าวัคซีนและ บูสเตอร์โดส โดยมองว่า ซิโนแวคนั้นไม่เพียงพอในช่วงเวลาปัจจุบัน ที่สายพันธุ์เดลต้า กำลังระบาดหนัก และจำเป็นจะต้องจองซื้อวัคซีน เจเนอเรชั่นที่ 2 วันนี้แล้ว เพื่อให้เพียงพอต่อในอนาคต
ประสิทธิภาพ “ซิโนแวค” ไม่เพียงพอ
ผู้ร่วมเสวนาได้ถามถึง กรณีการประชุมวิชาการ ที่ระบุว่าการนำไฟเซอร์เข้ามา จะทำให้แก้ตัวถึงประสิทธิภาพของซิโนแวคไม่ได้นั้น นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า ผมไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการเรื่องการจัดสรรวัคซีน ไปเช็กรายชื่อได้ ผมเป็นที่ปรึกษา ความเห็นของผม คือ ก่อนหน้าจะเจอวัคซีนรุ่นที่ 2 มันมีความเสี่ยง โดยเฉพาะเดลต้า ตั้งแต่ผมเริ่มเน้นเรื่องเดลต้า ก็พยายามพูดว่าต้องมีบูสเตอร์โดส เข้ามา ซิโนแวคนั้น ปีที่แล้ว อาจจะพอ เพราะปีที่แล้วไม่มีสายพันธุ์เดลต้า อย่าลืมนะ มันมีการกลายพันธุ์ ตอนที่เป็นสายพันธุ์อู่ฮั่น มันอาจจะพอ แต่พอกลายพันธุ์ไปสหราชอาณาจักร ก็ยังเข้าใจว่าพอ แต่พอเดลต้า เชื่อว่าชัดเลยว่าไม่พอ
“เมื่อไม่พอ จะไปเสี่ยงมันก็ไม่ถูก มันต้องมี intervention อย่างอื่นเข้ามาเสริม วันนี้ ศบค.ยอมรับที่เราเสนอไปแล้ว ก็แปลว่า ศบค.ยอมรับแล้วแหละว่า ซิโนแวค 2 เข็มไม่พอ ก็พูดเรื่องนี้มาเกือบ 1 เดือนแล้วที่เราแต่ละกรรมการ คิดว่ากรรมการแต่ละชุดยอมรับ ว่าไม่พอ”
“ผมไม่ได้อยู่ใน ศบค.ปกติผมไม่ได้เข้าศบค.ด้วยซ้ำ ครั้งนี้เข้าไปเพราะต้องดันเรื่องวัคซีน เพราะงั้นคำตอบคือผมไม่ได้มี influence กับ ศบค. และนิสัยผมก็ไม่ชอบเข้าไปยุ่งกับระดับข้างบน ผมชอบทำงานวิชาการ เครื่องนี้ไปเกี่ยวเพราะเรื่องวัคซีน คือเข้าไปบอกว่าจำเป็นแล้ว จะต้องเตรียมไม่ล็อกดาวน์ก็ต้องเตรียม 2 เรื่องนี้เท่านั้น”
ทั้งยังระบุว่า ผมไม่มองว่า ซิโนแวคคุณภาพต่ำ มันมีคุณภาพที่ดีตอนไม่มีสายพันธุ์เดลต้า แต่พอมันมีสายพันธ์อย่างนี้ ผมคิดว่ามันไม่เพียง และก็จริงๆ ก่อนหน้านี้ใครคงเคยได้ยินตัวเลข 40 ล้าน ซึ่งเราก็เบรกไปแล้ว เราก็เบรกไปแล้วว่ามันไม่สมควร ส่วนจะไปยังไงต่ออยู่ที่ข้างบน ผมก็ยังยืนยันว่าตราบใดอยู่วัคซีนไม่เหมาะกับใช้ในประเทศไม่เกิดประโยชน์ก็เบรกแน่นอน ถ้าตราบใดที่ยังเป็นที่ปรึกษา
แจงเหตุ วัคซีนไทยได้ช้า
นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า อ้างอิงจากตัวเลขของ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ เมื่อปลายปีที่แล้ว กับต้นปี บริษัทวัคซีนทั้งหมด 35 บริษัท คุยกันมากว่าเบ็ดเสร็จจนปลายปีจะผลิตวัคซีนได้ทั้งหมด 2 หมื่นล้านโดส ซึ่งน่าจะพอ เพราะฉะนั้นตอนนั้นเนี่ย ก็คิดว่าพอถึงปลายปี ครึ่งปีหลัง ตลาดวัคซีนควรจะเป็นตลาดของผู้ซื้อ แต่ความจริงไม่ใช่เลย จนถึง ณ วันนี้ ถ้าคำนวณตามอัตรานี้ไปถึงปลายปี เบ็ดเสร็จหมดว่าบริษัททั้งหมด น่าจะผลิตวัคซีนได้ประมาณ 12,000 ล้านโดส ประชากรโลกทั้งหมด 7,800 ล้าน ทั้งหมดยังไม่พอเลย เพราะ 2 โดส ก็ 15,000 ล้านโดสประมาณ เพราะงั้น จริงๆ คือตลาดจนถึงตอนนี้ยังเป็นของผู้ขาย
“นี่คือเหตุผลที่ทำไมหลายๆ แห่งไปติดต่อ มันไม่ขาย หรือติดต่อจริง เหมือนกับเราต้องไปง้อซื้อจากเขา เราไม่ได้ต้องการอย่างนี้นะ แต่ว่าตลาดตอนนี้มันยังไม่สามารถ อยากจะได้เท่าไหร่ได้มาเท่านั้น มันยังเป็นแบบนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นช่วงที่ตลาดยังเป็นแบบนี้ จึงขอให้กลุ่มบุคลากรทางสุขภาพที่ได้ ซิโนแวค 2 โดส ต้องให้ อีกกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ คนที่มี 7 โรค อันนี้ต้องรีบให้ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ขณะเดียวกัน ถ้าบุคลากรด้านสุขภาพเกิดป่วย แยกออกไป คนดูแลน้อยลง ทรัพยากรการดูแลน้อยลง คนไข้ก็จะตายมากขึ้นอีก
ชี้ควรสั่ง ตั้งแต่เฟส 3 ของปีที่แล้ว
นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า ช่วงที่สั่งวัคซีนตอนนั้น ไม่ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามา เมื่อเริ่มมีสังเกตุว่ามีอะไร ก็เลยเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยกันให้ข้อคิดเห็น แต่การสั่งวัคซีนมันเป็นการสั่งล่วงหน้า การสั่งวัคซีนไม่ใช่ว่าสั่งวันนี้แล้วเดือนหน้ามา มันสั่งล่วงหน้า
“หากถามผม วิเคราะห์ย้อนหลัง จุดที่ควรจะสั่งมันควรจะเกิดตั้งแต่ตอน เฟสอบข้อมูลได้ แต่ของเราเวลานั้น ผมเดาว่า เพราะประเทศไทยตอนนั้นดู ชิลๆ มันดูน้อย ก็เลยไม่มีใครที่จะคิดว่าต้องมีความจำเป็นต้องไปติดต่อวัคซีนเอาไว้ก่อน กระทั่งพอเริ่มมีเกิด เริ่มมีเหตุการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น วัคซีนที่ผลิตใหม่ก็จะถูกส่งไปประเทศต่างๆ เหล่านั้น เราก็ไม่ได้เข้ามา ผมเดาว่าตอนนั้น มีการเอาซิโนแวคเข้ามา”
เห็นด้วยไม่ควรสั่ง ซิโนแวคเพิ่มอีก
“ผมเองก็เห็นด้วยว่า ซิโนแวค เราไม่ควรจะต้องสั่งอีกแล้ว เพราะยังไงก็แล้วแต่ ต่อไปในอนาคตมันมีแพลตฟอร์ม 2 อันนี้แล้ว” นพ.ประสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ นพ.ประสิทธิ์ ยังกล่าวถึงวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าว่า ตอนนี้เราก็พยายามเร่ง ก็ทะเลาะกับ แอสตร้าเซนเนก้าอยู่เหมือนกัน เพราะแอสตร้าฯ เอาวัคซีนไปให้อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม แต่เราก็ต้องยืนยัน แต่เขาเป็นเจ้าของ เราเป็นผู้ผลิต ซึ่งตอนนี้เป็นปัญหากัน ไม่รู้อะไร ก็น่าจะฟ้องร้องอะไรกัน การเล่นงานกันอยู่ หลายคนอาจจะเคยได้ยินอยู่ตอนนี้
มองหาวัคซีนยี่ห้ออื่นตลอด
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชฯ กล่าวว่า จริงๆแล้วเนี่ย แพลตฟอร์ม 2 อันนี้ อย่าง ไวรัล เวกเตอร์ เราก็ไม่ได้สั่งแค่นี้ เราสั่งจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ก่อนหน้าเราติดต่อ สปุตนิก วี ไว้ด้วย ระหว่างติดต่อเกิดเหตุ 2 เรื่อง เรื่องที่ 1 เอกสารที่ส่งมาเป็นภาษารัสเซีย มันยังไงก็ไม่ได้ก็ต้องแก้ 2.เกิดเหตุที่บราซิล ที่เกิดเคสว่าวัคซีนที่เข้าไปนั้นปรากฏว่าไวรัสมันยัง replicate ได้ ก็เลยมีประเด็น ถ้างั้นเราไปดูลิสต์ขององค์การอนามัยโลก ที่จะรับรองตอนนี้ สปุตนิก วี เป็นตัวถัดไปหลังจากซิโนแวค แต่ตอนนี้ยังไม่รับรอง เพราะโรงงานที่ผลิตยังไม่ได้ prove ว่ามีประสิทธิภาพ
“เราติดต่อวัคซีนพวกนี้ด้วย ไม่ใช่ไม่ติดต่อ แต่สิ่งที่มันติดต่อเหล่านี้ มันไม่ได้มีข่าวในสังคม เพราะระหว่างที่ติดต่อมีข่าวมาเมื่อไหร่ราคามันขึ้นทันที เพราะฉะนั้นตอนนั้นมีการติดต่อเดินคุยกันภายใน คุยกันแม้กระทั่งรัฐบาลกับรัฐบาล ตัวสปุตนิกวี หรือ กามาลายา ก็มีคุยกันรัฐบาลกับรัฐบาล โดยท่านรองนายกท่านหนึ่ง ที่สนิทกับรัสเซีย ว่าขอด่วน เข้ามาช่วย แต่ด่วนอย่างไรก็ต้องผ่านขั้นตอนอย. มันก็ต้องมีเอกสารมาดู แต่พอเป็นเอกสารภาษารัสเซีย ก็ต้องถอดเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะสามารถมาประเมิน เห็นด้วยว่า ขั้นตอนในประเทศไทยมันเยิ่นเย้อ มันมีลำดับมา ก็เห็นด้วย ตอนนี้มันก็คงเป็นบทเรียน” นพ.ประสิทธิ์ กล่าว
บูสเตอร์โดส เลือกระหว่าง แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์
นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า 3 อาทิตย์ที่ผ่านมา คณะกรรมการที่ปรึกษา มี อ.ปิยะสกล และอีกหลายๆ คน สรุปแล้วว่าด้วยสถานการณ์ในเวลานั้นเนี่ย มี สายพันธุ์เดลต้า ประมาณ 50% ระบาดในไทย คาดว่าจะต้องขึ้นแน่นอน และสรุปว่า ซิโนแวค 2 เข็มไม่น่าพอ น่าจะต้องบูสเตอร์ และมีเพียง 2 ทางออก คือ mRNA หรือ Viral vector และ ศบค.ก็ได้อนุมัติอย่างเป็นทางการแล้ว
ทั้งนี้ จะมีไฟเซอร์เข้ามา 15 ล้าน ที่รัฐบาลมอบให้กับประเทศไทย แต่เดิมที่จะให้ผู้สูงอายุ ผู้มีความเสี่ยง 7 โรค ก็เสนอว่าขอปันครึ่งหนึ่ง ให้บุคลากรด่านหน้าของกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย 6-7 แสนคน เพราะว่าคนเหล่านี้มีความเสี่ยง ยิ่งเดลต้ามากขึ้นเรื่อยๆ คนเหล่านี้จะเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็ประเมินดูกันอีกว่าตกลงวัคซีนจะมาเมื่อไหร่ ทันหรือไม่ ชั่วขณะเดียวกันก็เปิดให้เลือก ไม่ได้บังคับ เพราะบางคนอยากได้ mRNA ไม่อยากได้ Viral vector
“ย้ำว่า บุคลากรด่านหน้าด้านสุขภาพทุกคนที่ได้รับการฉีด ซิโนแวค 2 เข็ม จะได้รับบูสเตอร์ ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน 2 อย่างก็คือ ไฟเซอร์ ที่หยิบมาจาก 1.5 ล้าน และแอสตร้าเซนเนก้า ส่วนระยะเวลาการเดินทางมาถึงนั้น ได้สอบถามไปทาง หมอโอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ก็บอกว่ายังมาไม่ถึง แต่ยืนยันว่า มาแน่ ปลายเดือนนี้ หมายความว่าปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า จะมีไฟเซอร์ฉีดได้แล้ว ส่วนแอสตร้าเซนเนาก้านี้ หากเอา ก็สามารถฉีดได้เลย ถ้าไม่เอาจะเอาไฟเซอร์ ก็แจ้งไว้ แต่ผมรับปากไม่ได้ว่าจะมาเมื่อไหร่ ถ้ามาเมื่อไหร่จะรีบเอาให้เร็วที่สุด
ศิริราช จองโมเดอร์นา 20,000 โดส ผ่านสภากาชาด
นพ.ประสิทธิ์ ยังได้เปิดเผยว่า ได้ส่งตัวเลขของผู้รับวัคซีนบูสเตอร์โดสของศิริราชไปแล้ว จำนวนทั้งหมดที่ขอไปคือ 22,731 ราย มีแพทย์ 2,445 ราย มีพยาบาล 6,611 ราย ทันตแพทย์ 41 คน เภสัชกร 249 คน นักวิทยาศาสตร์ 256 และอื่นๆ รวมทั้ง พนักงานช่วยสาธารณสุข พนักงานขับรถ และนักศึกษา เข้าไปด้วย ยกเว้นนักศึกษาปี 1 ที่มหาวิทยาลัยจะเป็นคนยื่นไป
“สำหรับคำถามที่ว่า ผู้ที่ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 โดสแล้วนั้น ผลวิจัยบอกว่า ยังเพียงพอสำหรับสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของการป้องกันความรุนแรง ผมเองฉีด 2 โดส ก็ไม่เรียกร้องเข็มที่ 3 ผมต้องเชื่อในวิชาการที่ผมอ่าน คนที่ฉีดซิโนแวค 2 โดส เป็นไพรออริตี้แรกที่ต้องรีบให้ ตอนนี้มีคนกลุ่มเสี่ยงอายุมากกว่า 60 หรือ 7 โรค ทั้งหมดฉีดกันไม่ถึง 20% เลย ซึ่งกลุ่มนี้หากฉีดน้อย อัตราการตายก็จะเพิ่มขึ้น ควรรีบให้เขาก่อน”
“อย่างไรการสั่งวัคซีนมีความเสี่ยง ไม่ใช่ว่าสั่งแล้วจะได้ชัวร์ ต้องบริหารความเสี่ยง ผมได้จ่ายเงินไปเรียบร้อยจากศิริราชมูลนิธิ 26 ล้าน เพื่อสั่ง โมเดอร์นา มาเผื่ออีก 20,000 โดส ผ่านทางสภากาชาด เพราะสภากาชาดจะสั่งจองให้แต่มีเงื่อนไขคือต้องจ่ายเงินเลย ฉะนั้น 20,000 โดย เผื่อไว้ว่ามันไม่มา จะได้ใช้ในส่วนนี้ ซึ่งก็ได้คำตอบว่าจะมาช่วยปลายตุลาคม” นพ.ประสิทธิ์กล่าว
ต้องเร่งจอง second generation วัคซีน
นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้เราได้คุยกันเรื่อง second generation ของวัคซีน แล้ว หาทางไม่อยากให้ซ้ำรอยประสบการณ์เดิมที่ผ่านมา ที่เราติดต่อบริษัทช้า ปีหน้านั้น เราพูดถึง second generation ของวัคซีน เราควรจะติดต่อตั้งแต่ตอนนี้แล้ว เพราะตอนนี้มีบริษัททั้ง ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตร้าเซนเนก้า ที่กำลังทำ เจเนอเรชั่นที่ 2 เราควรจะติดต่อเลยดีกว่าไหม ซึ่งมีการคุยกันแล้วด้วยซ้ำ ถ้าติดต่อตอนนี้ อาจจะต้องติดต่อไว้เลย 120 ล้านโดส เพราะเราต้องเผื่อไว้ เราก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่า ต่อไป เข็มเดียวพอหรือไม่ เป็นบทเรียนจากที่ผ่านมา
“ยอมรับว่า ที่ผ่านมา ให้ผมพูดก็พูดตรงๆ ไม่อิงข้างใดข้างหนึ่ง แต่อิงความถูกต้อง วิชาการ ที่สั่งวัคซีนช้า เพราะเราคิดว่าประเทศไทยดีมาก เราก็เลยเพิกเฉยในการที่จะรีบสั่ง ผมเดาว่าคนคาดการณ์เอาไว้ว่า พอถึงปลายปีมันจะมีวัคซีนเหลือสั่ง พอตลาดเป็นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะไปซื้อตัวไหนก็ได้ราคามันจะลง ซึ่งในความเป็นจริงทุกอย่างมันไม่ใช่ โปรดักชั่นก็ต่ำว่าที่เคยคิดไว้เดือนสิงหาคม-กันยายน เพราะดูตัวเลขแต่ลบริษัท มันไม่ได้ตามขั้น”