ทริคง่ายๆดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านช่วงหน้าฝน


 
สภาพอากาศเมืองไทย เมื่อเริ่มเข้าหน้าฝนแล้ว ก็มีสิ่งที่ต้องระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยเวลาเราอยู่บ้านด้วยค่ะ 
โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ยิ่งบ้านเรามีเด็ก เรายิ่งต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน 

วันนี้สตีเบล เอลทรอนขอนำเสนอวิธีที่จะช่วยให้การใช้ไฟฟ้าในบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

1.         ไม่ควรใช้หรือแตะต้องเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียก
กรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่นอกตัวบ้านหรือตัวเปียกจากข้างนอก แล้วเข้ามาในบ้าน 
สิ่งที่ต้องทำคือ หาพื้นที่แห้งหรือเช็ดมือให้แห้ง ก่อนที่จะสัมผัสกับปลั๊กสวิทช์ไฟ 
รวมถึงไม่ควรแตะต้องกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ตัวเปียกโดยตรง 
หากจำเป็นควรมีเครื่องป้องกัน เพื่อไม่ให้กระแสไฟฟ้าที่อาจรั่วจากเครื่องทำอันตรายได้

2.         ตรวจเช็คสายไฟให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เก่าหรือชำรุด อาจทำให้เกิดการช็อตหรือลัดวงจรได้ 
ยิ่งเมื่อฝนตกหรือน้ำท่วมไปถึงสายไฟต่างๆ ที่วางเอาไว้ อาจทำอันตรายคุณได้เมื่อเข้าใกล้ระยะประชิด

3.         จัดแบ่งการต่อพ่วงปลั๊กไฟ ไม่ให้ใช้กระแสไฟในที่เดียว
การแบ่งปลั๊กรางที่ต่อพ่วง ไม่ให้มีความซ้ำซ้อนหรือรับโหลดมากเกินไป
 เช่น ต่อปลั๊กพ่วงจากปลั๊กรางหรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่กินไฟพร้อมกันหลายตัว ก็จะช่วยลดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน

ปลั๊กพ่วงปัจจุบันนี้ มีหลายประเภทค่ะ วิธีการเลือกซื้อ สิ่งสำคัญที่สุด คือ 
·       ควรจะเลือกที่มีมาตรฐาน มอก. 
·       มีสามขาใส่กราวน์ เพื่อป้องกันไฟดูด (ควรเลิกใช้ปลั๊กที่มีสองขากันได้แล้วนะคะ ^^) 
·       มีเบรคเกอร์ตัดไฟอยู่ในตัวด้วยค่ะ


4.         ยกเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นที่สูง ไม่อยู่ติดพื้นหากมีการรั่วซึมของน้ำ
บางครั้งหากเกิดน้ำรั่วซึมจากหลังคาและหยดลงมาบนพื้นบ้าน 
กรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้ามีกระแสไฟรั่วไหล และทำอันตรายต่อผู้ที่เดินไปมาบริเวณนั้น 
จึงควรยกระดับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ให้สูงขึ้นจากพื้น ไม่ให้ถูกน้ำโดยตรง

5.         ติดตั้งเครื่องตัดไฟ ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่มีน้ำท่วงขังหรือความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน 
การติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟอัตโนมัติ เป็นทางออกที่ดี เพื่อการตัดวงจรกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดการช็อตหรือลัดวงจร

6.      เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน 
เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น ควรมีมาตรฐานและตัวป้องกันความปลอดภัย เช่น มอก. 


ทำไมต้องมี มอก.
เนื่องจากทุกๆผลิตภัณฑ์ เช่น ประเภทอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ วัสดุก่อสร้างต่างๆ จะต้องมีแสตนด์ดาร์จเดียวกันในการผลิต คุณภาพ วิธีการทดสอบ และวัสดุหีบห่อ จึงทำให้ หากมี มอก. เราจะมั่นใจได้เปราะหนึ่งว่า สินค้านั้นผ่านการทดสอบมาแล้ว ว่าอยู่ในระดับมาตรฐานการใช้งาน และปลอดภัย

โดยผู้บริโภคควรตรวจสอบเลขที่ มอก. ที่แสดงอยู่ใต้เครื่องหมาย มอก. ว่าตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น เลขที่ มอก. 2214-2548 ตู้เย็นสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกันยังสามารถตรวจสอบเลขที่ มอก. และชื่อผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องได้จากเว็บไซต์ สมอ. www.tisi.go.th
 



ลองมาดูอีกส่วนหนึ่งนะคะ การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้น หากเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง จะเสียค่าไฟเท่าไหร่ เช่น
 
- เครื่องดูดฝุ่น ขนาด 1,400-2,000 วัตต์ ค่าไฟ 6-8 บาท/ชั่วโมง
 
- เตารีดไฟฟ้า 1,000-2,800 วัตต์ ค่าไฟ 3.5-10 บาท/ชั่วโมง
 
- เครื่องเป่าผม ขนาด 1,600-2,300 วัตต์ ค่าไฟ 6-9 บาท/ชั่วโมง
 
- เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500-6,000 วัตต์ ค่าไฟ 13.5 -23.5 บาท/ชั่วโมง
 
- เครื่องซักผ้า ฝาบน-ฝาหน้า ขนาด 10 กิโลกรัม ค่าไฟ 2-8 บาท/ชั่วโมง
 
- เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000-22,000 บีทียู/ชั่วโมง ค่าไฟ 2.5-6 บาท/ชั่วโมง
 
- พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12-18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15-0.25 บาท/ชั่วโมง
 
- โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43-65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40-1 บาท/ชั่วโมง
 
- เตาไมโครเวฟ ขนาด 20-30 ลิตร ค่าไฟ 3-4 บาท/ชั่วโมง
 
- ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5-12.2 คิวบิกฟุต ค่าไฟ 0.30-0.40 บาท/ชั่วโมง
 
- หม้อหุงข้าว ขนาด 1.0-1.8 ลิตร ค่าไฟ 3-6 บาท/ชั่วโมง
 
- เครื่องปิ้งขนมปัง ขนาด 760-900 วัตต์ ค่าไฟ 3-3.5 บาท/ชั่วโมง
 
- เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1-2 หัวเตา ขนาด 2,000-3,500 วัตต์ ค่าไฟ 8-14 บาท/ชั่วโมง
 
หมายเหตุ: คิดจากค่าไฟเฉลี่ยอัตรา 3.9 บาทต่อหน่วย 
*ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง


 เมื่อรู้แบบนี้แล้ว อยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจในความปลอดภัยกันนะคะ
ทำง่ายๆ เพียงเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่มาตรฐาน และหมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ  เ
พื่อความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรักนะคะ 


 ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสตีเบล เอลทรอน 
ได้ที่เฟสบุคเพจ http://bit.ly/Pt-3qUmOlQ หรือเว็บไซต์สตีเบล เอลทรอน  http://bit.ly/Pt-3cjBsPw
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่