https://www.prachachat.net/finance/news-712498
แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แต่การระดมทุนของภาคธุรกิจก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป โดยเฉพาะการนำธุรกิจเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)
พบว่า ตั้งแต่ต้นปีถึง ณ วันที่ 9 ก.ค. 2564 มีหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เข้าระดมทุนแล้วทั้งสิ้น 17 บริษัท แบ่งเป็น ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ SET จำนวน 7 บริษัท และตลาดหลักทรัพย์ mai จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นมูลค่าระดมทุนรวม 64,192.61 ล้านบาท มูลค่าเสนอขาย 102,440.89 ล้านบาท และมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคาไอพีโออยู่ที่ 344,505.14 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า ราคาปิดการซื้อขายวันแรกของหุ้นไอพีโอทั้งหมด มีเพียงหุ้น บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (DMT) ที่ราคาปรับลดลงต่ำกว่าราคาจองซื้อไอพีโอที่ -0.63% ขณะที่ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เป็นหุ้นที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมากสุด 200%
โดย “ภากร ปีตธวัชชัย” กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า แต่ละปีจะมีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเฉลี่ยปีละ 40-50 บริษัท ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละธุรกิจ โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา มีมูลค่าระดมทุนตามมูลค่าหลักทรัพย์(มาร์เก็ตแคป) ในตลาดแรกอยู่ที่ 5.55 แสนล้านบาท ซึ่งมีปริมาณที่ค่อนข้างสูงมาก ครองเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 8 ของโลก
ขณะที่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 นี้ มีมูลค่าระดมทุนตามมาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 3.41 แสนล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นผลจากมีหุ้นขนาดใหญ่อย่าง บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้ามาระดมทุน และในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนแล้วกว่าครึ่งของค่าเฉลี่ย
ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยทั้ง SET และ mai อีกประมาณ 20-25 บริษัท โดยช่วงไตรมาส 4 เป็นช่วงที่มีบริษัทจดทะเบียนเข้ามาระดมทุนมากกว่าทุก ๆ ไตรมาส
ด้าน “นางสาววีณา เลิศนิมิตร” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานInvestment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ ถือว่ามีความผันผวนสูง ดังนั้นเชื่อว่าบริษัทที่เตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น ถ้าเป็นบริษัทที่ถูกผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 หรือล็อกดาวน์มาก ๆ ก็มีโอกาสจะเลื่อนแผนเข้าระดมทุน เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อรายได้และกำไรที่จะลดลง ซึ่งมีผลต่อการกำหนดราคาเสนอขายและมูลค่าหุ้น (valuation) ที่จะต่ำลง
ดังนั้นบริษัทที่จะเข้าระดมทุนช่วงนี้ ต้องมีความพร้อม เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีไม่ถูกกระทบจากโควิด ล็อกดาวน์ หรือนิวนอร์มอล ซึ่งอาจถูกความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดหุ้นช่วงสั้น ๆ
แต่มองในระยะกลางถึงระยะยาวแล้ว ยังเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตดี ทั้งในประเทศและขยายธุรกิจไปต่างประเทศ สามารถจะเข้าระดมทุนได้ตามแผน ดังนั้น การเล่นหุ้นไอพีโอนักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
“ตอนนี้ถ้านำธุรกิจโรงแรม, ออฟฟิศให้เช่า เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นคงไม่ง่าย เพราะนักลงทุนยังไม่รู้ว่าเทรนด์หลังโควิดหน้าตาความสามารถในการทำกำไร จะแตกต่างจากสมัยก่อนโควิดอย่างไร ซึ่งต้องรอดูพฤติกรรมของผู้บริโภคก่อน แต่ถ้าเป็นธุรกิจโลจิสติกส์, ไอที, อีคอมเมิร์ซ หรือธุรกิจที่มี value add หรืออยู่ในเซ็กเตอร์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงยังไปได้ดี”
“วีณา” บอกว่า ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทมีแผนนำหุ้นไอพีโอเข้าจดทะเบียนจำนวน 1 บริษัท คือ บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) เคาะราคาเสนอขายสุดท้ายไปแล้วที่ 9.20 บาท โดยมีนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรรกว่า 17 เท่า คาดว่าจะเข้าเทรดประมาณวันที่ 20 ก.ค. 2564 ตามแผน
“SNNP แผนการเติบโตมีรองรับชัดเจน ในเมืองไทยมีการตั้งบริษัทจัดส่งสินค้าขายเองตามช่องทางจัดจำหน่าย สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าขายดี และล่าสุดไปตั้งโรงงานในเวียดนามแล้ว”
“วีณา” กล่าวด้วยว่า ส่วนปี 2565 มีแผนจะนำหุ้นไอพีโอเข้าจดทะเบียนอีกประมาณ 5-6 บริษัท ซึ่งมีธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทุกคนรู้จัก ซึ่งไม่ได้เลื่อนระดมทุนแต่อย่างใด แต่เป็นไปตามความพร้อมการแต่งตัวเข้าจดทะเบียนตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อาทิ การปรับโครงสร้าง, งบการเงิน เป็นต้น
ด้าน “ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์” ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด กล่าวว่าปีนี้หุ้นไอพีโอค่อนข้างคึกคักและราคาหุ้นไม่ค่อยต่ำจอง โดยมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1.สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ภาวะดอกเบี้ยนโยบายต่ำมาตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.5% และมีแนวโน้มที่น่าจะยังทรงตัวต่ำไปอีกอย่างน้อยครึ่งปีหน้า
“จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูง (search for yield) โดยนักลงทุนได้นำเงินออกจากสินทรัพย์ให้ผลตอบแทนต่ำ เช่น เงินฝากไปลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งสะท้อนได้จากยอดเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อย” นายฐกฤตกล่าว
2.แรงจูงใจจากหุ้นใหญ่เข้าระดมทุนไอพีโอและสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูง อาทิ บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR), บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนหน้าใหม่เห็นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี จึงสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น
สำหรับช่วงครึ่งปีหลังของหุ้นไอพีโอที่เตรียมจะเข้าเทรด แม้อยู่ภายใต้การระบาดโควิดสายพันธุ์เดลต้า มาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้น และภาวะดอกเบี้ยต่ำ แต่ยังเชื่อมั่นว่าตลาดหุ้นไอพีโอจะยังคึกคักได้ เพราะผู้เล่นหลักปัจจุบันซื้อขายลงมาอยู่วันละ 6-7 หมื่นล้านบาท จากก่อนหน้าซื้อขายวันละ 1 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มนักลงทุนรายย่อยเป็นกลุ่มที่ดันตลาด
“ดังนั้น ครึ่งปีหลังแม้ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น คนอยู่บ้าน หรือ WFH ก็น่าจะเล่นหุ้น โดยเฉพาะหุ้นไอพีโอที่กระจายให้นักลงทุนรายย่อยได้เข้าซื้อจำนวนมาก ก็มีโอกาสเห็นการเข้าไปเล่นเก็งกำไรได้ต่อเนื่อง” นายฐกฤตกล่าว
ปีนี้ถือว่ากระแสหุ้นไอพีโอได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี จึงเป็นจังหวะดีที่หลายบริษัทจะยังคงเดินหน้าต่อไปตามแผน แม้จะมีอุปสรรคจากโควิดอยู่บ้างก็ตาม
£££ ทรงตลาดแบบนี้ ตลาดชอบ IPO ฮะ....ไม่เหมือนครึ่งหลังปี 2019->2020
แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แต่การระดมทุนของภาคธุรกิจก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป โดยเฉพาะการนำธุรกิจเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)
พบว่า ตั้งแต่ต้นปีถึง ณ วันที่ 9 ก.ค. 2564 มีหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เข้าระดมทุนแล้วทั้งสิ้น 17 บริษัท แบ่งเป็น ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ SET จำนวน 7 บริษัท และตลาดหลักทรัพย์ mai จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นมูลค่าระดมทุนรวม 64,192.61 ล้านบาท มูลค่าเสนอขาย 102,440.89 ล้านบาท และมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคาไอพีโออยู่ที่ 344,505.14 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า ราคาปิดการซื้อขายวันแรกของหุ้นไอพีโอทั้งหมด มีเพียงหุ้น บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (DMT) ที่ราคาปรับลดลงต่ำกว่าราคาจองซื้อไอพีโอที่ -0.63% ขณะที่ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เป็นหุ้นที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมากสุด 200%
โดย “ภากร ปีตธวัชชัย” กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า แต่ละปีจะมีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเฉลี่ยปีละ 40-50 บริษัท ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละธุรกิจ โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา มีมูลค่าระดมทุนตามมูลค่าหลักทรัพย์(มาร์เก็ตแคป) ในตลาดแรกอยู่ที่ 5.55 แสนล้านบาท ซึ่งมีปริมาณที่ค่อนข้างสูงมาก ครองเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 8 ของโลก
ขณะที่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 นี้ มีมูลค่าระดมทุนตามมาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 3.41 แสนล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นผลจากมีหุ้นขนาดใหญ่อย่าง บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้ามาระดมทุน และในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนแล้วกว่าครึ่งของค่าเฉลี่ย
ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยทั้ง SET และ mai อีกประมาณ 20-25 บริษัท โดยช่วงไตรมาส 4 เป็นช่วงที่มีบริษัทจดทะเบียนเข้ามาระดมทุนมากกว่าทุก ๆ ไตรมาส
ด้าน “นางสาววีณา เลิศนิมิตร” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานInvestment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ ถือว่ามีความผันผวนสูง ดังนั้นเชื่อว่าบริษัทที่เตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น ถ้าเป็นบริษัทที่ถูกผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 หรือล็อกดาวน์มาก ๆ ก็มีโอกาสจะเลื่อนแผนเข้าระดมทุน เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อรายได้และกำไรที่จะลดลง ซึ่งมีผลต่อการกำหนดราคาเสนอขายและมูลค่าหุ้น (valuation) ที่จะต่ำลง
ดังนั้นบริษัทที่จะเข้าระดมทุนช่วงนี้ ต้องมีความพร้อม เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีไม่ถูกกระทบจากโควิด ล็อกดาวน์ หรือนิวนอร์มอล ซึ่งอาจถูกความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดหุ้นช่วงสั้น ๆ
แต่มองในระยะกลางถึงระยะยาวแล้ว ยังเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตดี ทั้งในประเทศและขยายธุรกิจไปต่างประเทศ สามารถจะเข้าระดมทุนได้ตามแผน ดังนั้น การเล่นหุ้นไอพีโอนักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
“ตอนนี้ถ้านำธุรกิจโรงแรม, ออฟฟิศให้เช่า เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นคงไม่ง่าย เพราะนักลงทุนยังไม่รู้ว่าเทรนด์หลังโควิดหน้าตาความสามารถในการทำกำไร จะแตกต่างจากสมัยก่อนโควิดอย่างไร ซึ่งต้องรอดูพฤติกรรมของผู้บริโภคก่อน แต่ถ้าเป็นธุรกิจโลจิสติกส์, ไอที, อีคอมเมิร์ซ หรือธุรกิจที่มี value add หรืออยู่ในเซ็กเตอร์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงยังไปได้ดี”
“วีณา” บอกว่า ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทมีแผนนำหุ้นไอพีโอเข้าจดทะเบียนจำนวน 1 บริษัท คือ บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) เคาะราคาเสนอขายสุดท้ายไปแล้วที่ 9.20 บาท โดยมีนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรรกว่า 17 เท่า คาดว่าจะเข้าเทรดประมาณวันที่ 20 ก.ค. 2564 ตามแผน
“SNNP แผนการเติบโตมีรองรับชัดเจน ในเมืองไทยมีการตั้งบริษัทจัดส่งสินค้าขายเองตามช่องทางจัดจำหน่าย สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าขายดี และล่าสุดไปตั้งโรงงานในเวียดนามแล้ว”
“วีณา” กล่าวด้วยว่า ส่วนปี 2565 มีแผนจะนำหุ้นไอพีโอเข้าจดทะเบียนอีกประมาณ 5-6 บริษัท ซึ่งมีธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทุกคนรู้จัก ซึ่งไม่ได้เลื่อนระดมทุนแต่อย่างใด แต่เป็นไปตามความพร้อมการแต่งตัวเข้าจดทะเบียนตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อาทิ การปรับโครงสร้าง, งบการเงิน เป็นต้น
ด้าน “ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์” ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด กล่าวว่าปีนี้หุ้นไอพีโอค่อนข้างคึกคักและราคาหุ้นไม่ค่อยต่ำจอง โดยมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1.สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ภาวะดอกเบี้ยนโยบายต่ำมาตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.5% และมีแนวโน้มที่น่าจะยังทรงตัวต่ำไปอีกอย่างน้อยครึ่งปีหน้า
“จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูง (search for yield) โดยนักลงทุนได้นำเงินออกจากสินทรัพย์ให้ผลตอบแทนต่ำ เช่น เงินฝากไปลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งสะท้อนได้จากยอดเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อย” นายฐกฤตกล่าว
2.แรงจูงใจจากหุ้นใหญ่เข้าระดมทุนไอพีโอและสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูง อาทิ บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR), บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนหน้าใหม่เห็นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี จึงสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น
สำหรับช่วงครึ่งปีหลังของหุ้นไอพีโอที่เตรียมจะเข้าเทรด แม้อยู่ภายใต้การระบาดโควิดสายพันธุ์เดลต้า มาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้น และภาวะดอกเบี้ยต่ำ แต่ยังเชื่อมั่นว่าตลาดหุ้นไอพีโอจะยังคึกคักได้ เพราะผู้เล่นหลักปัจจุบันซื้อขายลงมาอยู่วันละ 6-7 หมื่นล้านบาท จากก่อนหน้าซื้อขายวันละ 1 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มนักลงทุนรายย่อยเป็นกลุ่มที่ดันตลาด
“ดังนั้น ครึ่งปีหลังแม้ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น คนอยู่บ้าน หรือ WFH ก็น่าจะเล่นหุ้น โดยเฉพาะหุ้นไอพีโอที่กระจายให้นักลงทุนรายย่อยได้เข้าซื้อจำนวนมาก ก็มีโอกาสเห็นการเข้าไปเล่นเก็งกำไรได้ต่อเนื่อง” นายฐกฤตกล่าว
ปีนี้ถือว่ากระแสหุ้นไอพีโอได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี จึงเป็นจังหวะดีที่หลายบริษัทจะยังคงเดินหน้าต่อไปตามแผน แม้จะมีอุปสรรคจากโควิดอยู่บ้างก็ตาม