อินฟราฟันด์ "ทางเลือกของการลงทุน" และการลงทุนในพลังงานทางเลือก



เราสังเกตว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure Fund (IFF) ดูจะเป็นทางเลือกในการระดมทุนที่นิยมของบลจ. ในช่วงนี้ ถ้าพูดถึงโครงสร้างพื้นฐาน เราอาจจะนึกถึง ขนส่ง, สาธารณูปโภค, โทรคมนาคม แต่เราอาจจะลืมนึกถึงพลังงานทางเลือก
.
เราจึงได้รวบรวมตัวเด่นๆ มา เรียงลําดับตามผลตอบแทน และไฮไลต์ IFF ในกลุ่มพลังงานทางเลือกในตาราง


กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในธุรกิจพลังงานทางเลือก ดูเหมือนจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว กองล่าสุดที่เพิ่งได้รับอนุมัตไฟลิ่งจากกลต. อย่าง กลุ่มน้ำตาลครบุรี KBSPIF จะระดมทุนเพื่อเข้าลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้ๆนฐานประเภทโรงไฟฟ้าของบริษัทผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด (KPP) และน่าจะเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองในอนาคต
.
ถึงแม้กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนมีส่วนร่วมในโครงการใหญ่ๆ ด้วยเงินไม่มาก, รายได้จากเงินปันผลก็ยกเว้นภาษี (สําหรับนลท. รายบุคคล) และเทรดตามกลุ่มเหมือนหุ้นทั่วไป แต่ก็จงพึงตระหนักว่า บางกองทุนผลตอบแทนขึ้นกับการใช้งานจริง เช่น BTSGIF ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มีขาดทุนสุทธิ และอาจงดจ่ายเงินปันผลและมูลค่าต่อหน่วยลงทุนลดลง
.
ในขณะที่โควิด-19 มีท่าทีที่ยังไม่จบง่ายๆ "ตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ปรับปรุงเกณฑ์เปิดเผย Book Closing Date หรือ Record Date สําหรับ 6 ประเภทหลักทรัพย์ (รวมทั้งอินฟราฟันด์) เพื่อการประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทําการได้ เพื่อช่วยให้ผู้ออกหลักทรัพย์ตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที มีผลตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม"
.
อ่านรายละเอียดเต็มของประกาศได้ที่ลิงค์นี้
https://www.set.or.th/rulebook/
.
.
อ้างอิง @BarracudaStocks (www.facebook.com/BarracudaStocks)
.
.
#อินฟราฟันด์
#ifund
#infrastructurefund
#กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่