ปืนกลมือรุ่นทดลองประเภทที่ 1 ผลิตโดยบริษัท Nambu Arms Manufacturing Company ฟังจากชื่อก็คงจะรู้แล้วใช่ไหมครับว่านายพลคิจิโร นัมบุ ไม่ได้แค่ออกแบบอาวุธให้กองทัพญี่ปุ่นแต่เขามีบริษัทเป็นของตัวเองเลยบริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นหลังเขาเกษียณจากกองทัพครับ
Type 1
ที่จริงแล้วปืนกลมือรุ่นทดลองประเภทที่ 1 เป็นการออกแบบของนายพลชินกาโนะซุเกะ โทกุนากะ ซึ่งเขาออกแบบมันในช่วงปลายปี 1934 แต่คนที่นำการออกแบบนี้ไปจดสิทธิบัตรคือนนายพลนัมบุซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานที่ผลิตตัวต้นแบบออกมาให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเอาไปทำการทดสอบซึ่งรุ่นนี้เมื่อมีการนำไปทดสอบนั้นผลออกมาก็คือไม่ได้เข้าประจำการครับแต่ก็ถูกนำไปทดลองใช้ในจำนวนที่น้อยมากๆนอกจากในญี่ปุ่นแล้วปืนชนิดนี้ยังถูกส่งไปเข้าประกวดในโครงการจัดหา Personal Defense Weapon (PDW) ของกองทัพอังกฤษปี 1938 ด้วยแต่ผลออกมาก็เหมือนในญี่ปุ่นนั่นแหละครับไม่ผ่านการทดสอบมากพอจะนำไปประจำการแบบเป็นจริงเป็นจังได้
Type 1 ติดตั้งกริ๊ปหน้าแบบถอดได้
มาพูดถึงเรื่องการออกแบบบ้างยอมรับเลยว่ามันเป็นของที่ค่อนข้างจะแหวกแนวในยุคสมัยนั้นและก็เป็นการบุกเบิกการใช้ช่องบรรจุที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับคันยิงด้วยซึ่งปืนกลมือ Sa vz. 23 และ Uzi ต่างรับแนวคิดนี้มาด้วยกันทั้งสิ้นระบบปฏิบัติการก็เป็นแบบง่ายๆนั่นก็คือ Blowback พร้อมยิงขณะลูกเลื่อนปิด ซองกระสุนก็มีความจุมากถึง 50 นัด ที่แปลกกว่านั้นก็คือซองกระสุนของปืนชนิดนี้มีสลักบานพับที่สามารถติดตั้งเข้ากับยานพาหนะชนิดต่างๆด้วยและที่เป็นฟีเจอร์ที่ผมมองว่าเป็นการออกแบบที่ล้ำยุคมากสำหรับตอนนั้นก็คือปืนชนิดนี้มีตัว Buffer อัดอากาศสำหรับลดแรงสะท้อนกลับของปืนด้วยหลักการการทำงานคล้ายๆกับ Buffer ที่ใช้ในปืนใหญ่
ภาพร่างของ Type 1 ในโครงการจัดหา Personal Defense Weapon (PDW) ของกองทัพอังกฤษปี 1938
สลักบานพับที่ซองกระสุน
ภาพร่างภายในของ Buffer อัดอากาศสำหรับลดแรงสะท้อนกลับของปืน
ทั้งหมดที่กล่าวมาในเรื่องของการออกแบบนี้ทำให้ผมสันนิษฐานว่าที่กองทัพญี่ปุ่นไม่ประจำการมันก็เพราะมันมีความแปลกแหวกแนวเกินไปสำหรับยุคสมัยนั้นบวกกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นกองทัพที่นายทหารส่วนใหญ่ค่อนข้างจะหัวโบราณไม่รับหรือเปิดใจกับแนวคิดอาวุธปืนสมัยใหม่รวมถึงมีการร้องเรียนจากทหารที่นำไปใช้ด้วยว่าตัวปืนมีปัญหาในเรื่องการใช้งานเพราะการออกแบบนั้นไม่สอดคล้องกับหลักสรีรศาสตร์เท่าที่ควร
ข้อมูลทางเทคนิค
ระบบปฏิบัติการ Blowback
ขนาด 8×22mm นัมบุ
ซองกระสุนบรรจุ 50 นัด
อัตราการยิง 500 นัดต่อนาที
ความยาวตัวปืน 24.4 นิ้ว (62 ซม.)
น้ำหนัก 6.17 ปอนด์ (2.80 กก.)
ยอดการผลิต 50 กระบอก
https://guns.fandom.com/wiki/Nambu_Type_1
The World's Machine Pistols and Submachine Guns Vol.II, Nelson & Musgrave, 1980
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 664 ปืนกลมือ Nambu Type 1
Type 1
ที่จริงแล้วปืนกลมือรุ่นทดลองประเภทที่ 1 เป็นการออกแบบของนายพลชินกาโนะซุเกะ โทกุนากะ ซึ่งเขาออกแบบมันในช่วงปลายปี 1934 แต่คนที่นำการออกแบบนี้ไปจดสิทธิบัตรคือนนายพลนัมบุซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานที่ผลิตตัวต้นแบบออกมาให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเอาไปทำการทดสอบซึ่งรุ่นนี้เมื่อมีการนำไปทดสอบนั้นผลออกมาก็คือไม่ได้เข้าประจำการครับแต่ก็ถูกนำไปทดลองใช้ในจำนวนที่น้อยมากๆนอกจากในญี่ปุ่นแล้วปืนชนิดนี้ยังถูกส่งไปเข้าประกวดในโครงการจัดหา Personal Defense Weapon (PDW) ของกองทัพอังกฤษปี 1938 ด้วยแต่ผลออกมาก็เหมือนในญี่ปุ่นนั่นแหละครับไม่ผ่านการทดสอบมากพอจะนำไปประจำการแบบเป็นจริงเป็นจังได้
Type 1 ติดตั้งกริ๊ปหน้าแบบถอดได้
มาพูดถึงเรื่องการออกแบบบ้างยอมรับเลยว่ามันเป็นของที่ค่อนข้างจะแหวกแนวในยุคสมัยนั้นและก็เป็นการบุกเบิกการใช้ช่องบรรจุที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับคันยิงด้วยซึ่งปืนกลมือ Sa vz. 23 และ Uzi ต่างรับแนวคิดนี้มาด้วยกันทั้งสิ้นระบบปฏิบัติการก็เป็นแบบง่ายๆนั่นก็คือ Blowback พร้อมยิงขณะลูกเลื่อนปิด ซองกระสุนก็มีความจุมากถึง 50 นัด ที่แปลกกว่านั้นก็คือซองกระสุนของปืนชนิดนี้มีสลักบานพับที่สามารถติดตั้งเข้ากับยานพาหนะชนิดต่างๆด้วยและที่เป็นฟีเจอร์ที่ผมมองว่าเป็นการออกแบบที่ล้ำยุคมากสำหรับตอนนั้นก็คือปืนชนิดนี้มีตัว Buffer อัดอากาศสำหรับลดแรงสะท้อนกลับของปืนด้วยหลักการการทำงานคล้ายๆกับ Buffer ที่ใช้ในปืนใหญ่
ภาพร่างของ Type 1 ในโครงการจัดหา Personal Defense Weapon (PDW) ของกองทัพอังกฤษปี 1938
สลักบานพับที่ซองกระสุน
ภาพร่างภายในของ Buffer อัดอากาศสำหรับลดแรงสะท้อนกลับของปืน
ทั้งหมดที่กล่าวมาในเรื่องของการออกแบบนี้ทำให้ผมสันนิษฐานว่าที่กองทัพญี่ปุ่นไม่ประจำการมันก็เพราะมันมีความแปลกแหวกแนวเกินไปสำหรับยุคสมัยนั้นบวกกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นกองทัพที่นายทหารส่วนใหญ่ค่อนข้างจะหัวโบราณไม่รับหรือเปิดใจกับแนวคิดอาวุธปืนสมัยใหม่รวมถึงมีการร้องเรียนจากทหารที่นำไปใช้ด้วยว่าตัวปืนมีปัญหาในเรื่องการใช้งานเพราะการออกแบบนั้นไม่สอดคล้องกับหลักสรีรศาสตร์เท่าที่ควร
ข้อมูลทางเทคนิค
ระบบปฏิบัติการ Blowback
ขนาด 8×22mm นัมบุ
ซองกระสุนบรรจุ 50 นัด
อัตราการยิง 500 นัดต่อนาที
ความยาวตัวปืน 24.4 นิ้ว (62 ซม.)
น้ำหนัก 6.17 ปอนด์ (2.80 กก.)
ยอดการผลิต 50 กระบอก
https://guns.fandom.com/wiki/Nambu_Type_1
The World's Machine Pistols and Submachine Guns Vol.II, Nelson & Musgrave, 1980