คุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ มักจะเป็นกังวลว่าตัวเองจะมีน้ำนมน้อย กลัวว่าน้ำนมจะไม่พอให้ลูกกิน วันนี้ทางทีมงาน theAsianparent Thailand มีเคล็ดลับการเพิ่มน้ำนม วิธีกระตุ้นน้ำนม ทำให้มีน้ำนมมากขึ้นมาฝากกัน ส่วน วิธีกระตุ้นน้ำนม จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย
น้ำนมแม่น้อยจริงหรือไม่?
ก่อนที่จะทราบถึงวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ เรามาดูกันก่อนว่า จริง ๆ แล้ว น้ำนมแม่น้อยจริงหรือคิดไปเอง ซึ่งเวลาเห็นลูกร้องหิวบ่อย ๆ คุณแม่หลายท่านก็อาจจะเข้าใจว่าตัวเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ มีน้ำนมน้อย จนเกิดความเครียด เกิดความกังวล ซึ่งจริง ๆ แล้ว น้ำนมของคุณแม่อาจจะไม่ได้น้อยอย่างที่เข้าใจ และสาเหตุที่มักจะทำให้คุณแม่เข้าใจผิด คิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อย ก็ได้แก่เรื่องต่าง ๆ อย่างเช่น
เต้านมไม่คัด จึงเข้าใจผิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลง
การที่เต้านมไม่คัด จึงเข้าใจผิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลง แต่ที่จริงมาจากร่างกายสามารถปรับการผลิตน้ำนมแม่ได้พอดีกับความต้องการของลูกนั่นเอง
ลูกดูดนมแล้วหลับก่อนจะอิ่ม เมื่อเอาลูกออกจากเต้าไม่นาน ก็ร้องหิวใหม่
เมื่อคุณแม่เห็นลูกหลับจึงเอาลูกออกจากเต้า เพราะเข้าใจว่าลูกอิ่มแล้ว แต่พอจะเอาออกก็ร้องขอดูดต่อ หรือหลับได้ครู่เดียวก็ร้องหิวใหม่อีก ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองน้ำนมน้อย ในกรณีแบบนี้ แนะนำให้คุณแม่สังเกตว่า ถ้าลูกหลับขณะกินนม และคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม แต่ถ้ายังไม่คาย เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบา ๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อโดยวิธีการดังนี้
- ใช้นิ้วชี้ที่ประคองด้านล่างของเต้านม และเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ดูดต่อ
- ใช้มือบีบเต้านม เพื่อไล่น้ำนมเข้าปากลูก ลูกจะกลืนน้ำนมและดูดต่อ เมื่อลูกหยุดดูด ก็บีบใหม่ ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง แต่ถ้า หากว่าบีบไล่น้ำนมสักพักแล้วไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะน้ำนมในเต้านั้นลดน้อยลง และไหลช้าลง ก็ให้เปลี่ยนไปอีกเต้าหนึ่ง ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง
- หากลูกไม่ยอมตื่นมาดูดนมแม่ต่อ ให้เอาลูกออกจากเต้า และปลุกให้ตื่นก่อน จึงนำเข้าเต้าเพื่อดูดนมอีกครั้ง
ให้ลูกดูดนมสลับเต้าไปมาในมื้อเดียวกัน
การที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมสลับเต้าไปมาในมื้อเดียวกัน ก็อาจทำให้ลูกได้แต่น้ำนมส่วนหน้า ไม่ได้น้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันมากกว่า จึงทำให้ลูกหิวเร็ว
สาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อย
- ทีนี้มาดูกันว่า สาเหตุจริง ๆ ที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยมีอะไรบ้าง โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยมีหลายประการ เช่น
- เริ่มให้ลูกดูดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมหลังคลอดช้าเกินไป
- ให้ลูกเข้าเต้าผิดวิธี ลูกอมงับได้ไม่ลึกพอ
- ให้ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอในช่วงแรก (น้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ซึ่งมักจะเกิดร่วมกับการเสริมนมผสม การให้ดื่มน้ำ หรืออาหารเสริม (ก่อนวัยอันสมควรคือ 6 เดือน) ทำให้ลูกอิ่มไม่ยอมดูดนมแม่
- คุณแม่ที่กลับไปทำงานแล้วปั๊มนมออกน้อยเกินไป หรือทิ้งระยะห่างเกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง
- สาเหตุจากความเครียด พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารน้อย
- กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
วิธี เพิ่มน้ำนมแม่
ได้ทราบถึงเหตุผลที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยกันไปแล้ว ต่อไปเรามาดูกันว่า ทำอย่างไรให้มีน้ำนมมากขึ้น แต่ก่อนอื่นคุณแม่เองต้องมั่นใจ และเชื่อมั่นในตัวเองก่อนว่าจะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ หลังจากนั้นก็ทำตามวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ดังนี้
1. ให้นมลูกบ่อยขึ้นและนานขึ้น (ไม่ควรน้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ถ้าไม่ได้อยู่กับลูก ก็ควรบีบหรือปั๊มนมออกให้เกลี้ยงเต้าทุก 3 ชั่วโมง
2. กระตุ้นเต้านม โดยใช้ผ้าอุ่นจัดประคบเต้านม 3 – 5 นาที จากนั้นนวดเต้านมและคลึงหัวนมเบา ๆ ก่อนให้นมลูก
3. ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี ที่สำคัญต้องให้ลูกงับหัวนมจนถึงลานนมได้ลึกพอ
4. ไม่ควรป้อนน้ำ นมผสม หรืออาหารเสริมอื่นก่อนที่ลูกจะมีอายุได้ 6 เดือน
5. หายใจลึก ๆ ทำใจให้สบาย ไม่เครียด เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขณะให้นมลูกหรือขณะปั๊มนม
6. ทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และรับประทานอาหารหรือสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเพิ่มน้ำนม
7. ดื่มน้ำมาก ๆ
8. ให้ลูกดูดข้างหนึ่ง ปั๊มนมอีกข้างหนึ่งไปพร้อม ๆ กันเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่ม แถมยังช่วยให้ปั๊มน้ำนมออกง่ายกว่าการปั๊มนมตอนที่ลูกไม่ได้ดูดเต้าอีกด้วย แต่วิธีนี้ควรใช้เมื่อน้ำนมสร้างได้มากพอ คือประมาณหลัง1 เดือนไปแล้ว
9. เพิ่มรอบปั๊มนมให้แต่ละรอบห่าง 3-4 ชั่วโมง หรือช่วงที่ลูกนอนหลับนานเกิน 3 ชั่วโมง
สำหรับคุณแม่ท่านใดที่มีเคล็ดลับดี ๆ ในการเพิ่มน้ำนมแม่ให้มีมาก นอกเหนือจากวิธีการข้างต้นนี้ ก็สามารถแชร์ประสบการณ์ผ่านทางช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้ เพื่อเป็นประโยชน์กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ต่อไป
https://th.theasianparent.com/how-to-boost-your-milk-supply
วิธีกระตุ้นน้ำนม ให้มีน้ำนมเยอะ ๆ สำหรับคุณแม่มือใหม่
น้ำนมแม่น้อยจริงหรือไม่?
ก่อนที่จะทราบถึงวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ เรามาดูกันก่อนว่า จริง ๆ แล้ว น้ำนมแม่น้อยจริงหรือคิดไปเอง ซึ่งเวลาเห็นลูกร้องหิวบ่อย ๆ คุณแม่หลายท่านก็อาจจะเข้าใจว่าตัวเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ มีน้ำนมน้อย จนเกิดความเครียด เกิดความกังวล ซึ่งจริง ๆ แล้ว น้ำนมของคุณแม่อาจจะไม่ได้น้อยอย่างที่เข้าใจ และสาเหตุที่มักจะทำให้คุณแม่เข้าใจผิด คิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อย ก็ได้แก่เรื่องต่าง ๆ อย่างเช่น
เต้านมไม่คัด จึงเข้าใจผิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลง
การที่เต้านมไม่คัด จึงเข้าใจผิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลง แต่ที่จริงมาจากร่างกายสามารถปรับการผลิตน้ำนมแม่ได้พอดีกับความต้องการของลูกนั่นเอง
ลูกดูดนมแล้วหลับก่อนจะอิ่ม เมื่อเอาลูกออกจากเต้าไม่นาน ก็ร้องหิวใหม่
เมื่อคุณแม่เห็นลูกหลับจึงเอาลูกออกจากเต้า เพราะเข้าใจว่าลูกอิ่มแล้ว แต่พอจะเอาออกก็ร้องขอดูดต่อ หรือหลับได้ครู่เดียวก็ร้องหิวใหม่อีก ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองน้ำนมน้อย ในกรณีแบบนี้ แนะนำให้คุณแม่สังเกตว่า ถ้าลูกหลับขณะกินนม และคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม แต่ถ้ายังไม่คาย เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบา ๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อโดยวิธีการดังนี้
- ใช้นิ้วชี้ที่ประคองด้านล่างของเต้านม และเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ดูดต่อ
- ใช้มือบีบเต้านม เพื่อไล่น้ำนมเข้าปากลูก ลูกจะกลืนน้ำนมและดูดต่อ เมื่อลูกหยุดดูด ก็บีบใหม่ ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง แต่ถ้า หากว่าบีบไล่น้ำนมสักพักแล้วไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะน้ำนมในเต้านั้นลดน้อยลง และไหลช้าลง ก็ให้เปลี่ยนไปอีกเต้าหนึ่ง ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง
- หากลูกไม่ยอมตื่นมาดูดนมแม่ต่อ ให้เอาลูกออกจากเต้า และปลุกให้ตื่นก่อน จึงนำเข้าเต้าเพื่อดูดนมอีกครั้ง
ให้ลูกดูดนมสลับเต้าไปมาในมื้อเดียวกัน
การที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมสลับเต้าไปมาในมื้อเดียวกัน ก็อาจทำให้ลูกได้แต่น้ำนมส่วนหน้า ไม่ได้น้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันมากกว่า จึงทำให้ลูกหิวเร็ว
สาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อย
- ทีนี้มาดูกันว่า สาเหตุจริง ๆ ที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยมีอะไรบ้าง โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยมีหลายประการ เช่น
- เริ่มให้ลูกดูดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมหลังคลอดช้าเกินไป
- ให้ลูกเข้าเต้าผิดวิธี ลูกอมงับได้ไม่ลึกพอ
- ให้ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอในช่วงแรก (น้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ซึ่งมักจะเกิดร่วมกับการเสริมนมผสม การให้ดื่มน้ำ หรืออาหารเสริม (ก่อนวัยอันสมควรคือ 6 เดือน) ทำให้ลูกอิ่มไม่ยอมดูดนมแม่
- คุณแม่ที่กลับไปทำงานแล้วปั๊มนมออกน้อยเกินไป หรือทิ้งระยะห่างเกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง
- สาเหตุจากความเครียด พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารน้อย
- กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
วิธี เพิ่มน้ำนมแม่
ได้ทราบถึงเหตุผลที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยกันไปแล้ว ต่อไปเรามาดูกันว่า ทำอย่างไรให้มีน้ำนมมากขึ้น แต่ก่อนอื่นคุณแม่เองต้องมั่นใจ และเชื่อมั่นในตัวเองก่อนว่าจะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ หลังจากนั้นก็ทำตามวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ดังนี้
1. ให้นมลูกบ่อยขึ้นและนานขึ้น (ไม่ควรน้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ถ้าไม่ได้อยู่กับลูก ก็ควรบีบหรือปั๊มนมออกให้เกลี้ยงเต้าทุก 3 ชั่วโมง
2. กระตุ้นเต้านม โดยใช้ผ้าอุ่นจัดประคบเต้านม 3 – 5 นาที จากนั้นนวดเต้านมและคลึงหัวนมเบา ๆ ก่อนให้นมลูก
3. ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี ที่สำคัญต้องให้ลูกงับหัวนมจนถึงลานนมได้ลึกพอ
4. ไม่ควรป้อนน้ำ นมผสม หรืออาหารเสริมอื่นก่อนที่ลูกจะมีอายุได้ 6 เดือน
5. หายใจลึก ๆ ทำใจให้สบาย ไม่เครียด เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขณะให้นมลูกหรือขณะปั๊มนม
6. ทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และรับประทานอาหารหรือสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเพิ่มน้ำนม
7. ดื่มน้ำมาก ๆ
8. ให้ลูกดูดข้างหนึ่ง ปั๊มนมอีกข้างหนึ่งไปพร้อม ๆ กันเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่ม แถมยังช่วยให้ปั๊มน้ำนมออกง่ายกว่าการปั๊มนมตอนที่ลูกไม่ได้ดูดเต้าอีกด้วย แต่วิธีนี้ควรใช้เมื่อน้ำนมสร้างได้มากพอ คือประมาณหลัง1 เดือนไปแล้ว
9. เพิ่มรอบปั๊มนมให้แต่ละรอบห่าง 3-4 ชั่วโมง หรือช่วงที่ลูกนอนหลับนานเกิน 3 ชั่วโมง
สำหรับคุณแม่ท่านใดที่มีเคล็ดลับดี ๆ ในการเพิ่มน้ำนมแม่ให้มีมาก นอกเหนือจากวิธีการข้างต้นนี้ ก็สามารถแชร์ประสบการณ์ผ่านทางช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้ เพื่อเป็นประโยชน์กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ต่อไป
https://th.theasianparent.com/how-to-boost-your-milk-supply